Tag Archive | Fantasy

Hello Ghost! (2023)

Hello Ghost! (2023 / Pei-Ju Hsieh)
(Taiwan)

ก็จำต้นฉบับของเกาหลีใต้ไม่ได้เลยซักนิดเดียว แต่จำได้อย่างเดียวเลยก็คือ ร้องไห้หน้าเบี้ยว. ฉะนั้นการดูเวอร์ชั่นรีเมคของไต้หวันมันเลยเหมือนได้ดูหนังเรื่องใหม่ไปเลยหนึ่งเรื่อง เลยไม่สามารถเทียบอะไรของสองเวอร์ชั่นได้ (มิตรสหายบอกคนเคยได้ดูทั้งสองเวอร์ชั่นชมการดัดแปลงของไต้หวันไว้มากเลย)

ตอนแรกก็คิดว่าการดูรีเมคไต้หวันของฉันนี้มันคงทำอะไรฉันไม่ได้แบบฉบับเกาหลีใต้แน่เลย(555ไม่ได้แดกกูหรอก) และนั่นความชะล่าใจ พอถึงไคลแม็กซ์สำคัญเท่านั้นแหละ “I cried so hard and got sofa”

Netflix

Yaanai Mugathaan (2023)

Yaanai Mugathaan (2023 / Rejishh Midhila)
(India)

อย่างหนึ่งที่ทำให้นึกถึงเรื่อง OMG (2012) ก็คือเรื่องการมีเทพเจ้าจำแลงร่างมามีปฏิสัมพันธ์กับแบบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน. ที่ใน OMG Akshay Kumar นั้นคือ พระกฤษณะ ส่วน Yogi Babu ในเรื่องนี้ก็คือ พระพิฆเนศ (ที่ดูเข้ากับรูปร่างอ้วนกลมของเขาดี)

สำหรับเนื้อหาแทบไม่ใกล้เคียงกันเลย ใน Yaanai Mugathaan นั้น การที่ตัวเอกได้พบพระพิฆเนศในร่างชายอ้วนดำ มันคือจุดเริ่มต้นของการมองตัวเองใหม่ ปรับเปลี่ยนนิสัยตัวเองใหม่ ไม่เกี่ยวกับการพิสูจน์ว่าเทพเจ้ามีจริงหรือไม่เหมือนกับ OMG แต่เป็นการพบสิ่งที่คิดว่าเป็นเทพเจ้ามันคือการผลักดันให้ตัวเองมีเป้าหมายในการพิสูจน์ตัวเองว่าจะทำได้หรือไม่.
ตัวเอกของเรื่องคือชายที่นิสัยเหี้ย ขี้โกงต้มตุ๋มโกหกหลอกลวงและเห็นแก่ตัว ทำทุกอย่างเพื่อตัวเองทั้งนั้นใครจะลำบากเพราะเขาก็ไม่สนแคร์เพราะไม่ใช่เรื่องของตนเองละ เราหลอกยืมเงินอีกฝ่ายมาได้ก็จบ พอโดนทวงก็บ่ายเบี่ยงตอแหลไปวันนั้นวันนี้คืน หรือไม่ก็ไปยิมเงินคนอื่นมาคืนเจ้าหนี้คนนี้. โดยไม่เชื่อว่าเทพเจ้ามีจริงแต่ก็มีพระพิฆเนศเป็นที่ยึดเหนี่ยว แบบว่า ถ้าวันไหนโชคดีก็อวยพระพิฆเนศ วันไหนโชคร้ายก็โทษพระพิฆเนศ จนกระทั่งวันหนึ่ง องค์พระพิฆเนศในห้องที่เขากราบไหว้ทุกวันหายไป ไม่ใช่แบบโดนขโมยหรือทำหาย แต่พระพิฆเนศทุกองค์ในทุกแบบที่สามารถพบเห็นได้ เขาจะไม่เห็นพระพิฆเนศเลยซักที ไม่ว่าจะปฏิทินหรือรูปภาพที่ไหนก็ตาม เหมือนพระพิฆเนศได้หนีหายไปจากเขา แต่กับคนอื่นก็ยังมองเห็นปกติ, แล้วเมื่อพระพิฆเนศในร่าง Yogi Babu จำแลงกายลงมา มันก็เหมือนได้ทำข้อตกลงกัน ถ้าต้องให้พระพิฆเนศปรากฏตามที่เดิม เจ้าต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเป็นคนดีให้ได้ เลิกโกหก เลิกขี้โกง ทำเพื่อคนอืน ทำตามที่พูด อะไรประมาณนี้ที่จะส่งผลไปในด้านตรงข้ามกับคนแย่ๆ แบบที่ตัวเอกเป็นมาตั้งแต่เริ่ม.

แล้วในช่วงการเป็นคนดี มันก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเข้าใจหัวอกคนที่ตกเป็นเหยื่อจากคนแบบเขาเช่นกัน เช่น ใช้ความใจดีของเหยื่อหลอกเอาเงินไปซื้อเหล้ากิน เป็นต้น

ช่วงหลังๆ เหมือนหลุดโทนไปสู่การออกเดินทางค้นหาจิตวิญญาณแบบเข้มข้น แต่สุดท้ายก็เก็ทถึงสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อ แม้หน้าหนังจะเหมือนการพูดถึงแค่เทพเจ้าของคนอินเดีย แต่ในความเป็นจริงแล้วหนังมันได้พูดรวมๆ ไปเลยถึงการศรัทธาและความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า/พระเจ้าของมนุษย์ ที่สะท้อนผ่านตัวคนๆ นั้นอีกที

ตัวหนังภาษาทมิฒเรื่องนี้ เป็นงานรีเมคจาก Innumuthal (2021) หนังภาษามาลายาลัมของผู้กำกับคนเดียวกัน โดยจะปรับเปลี่ยนอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ตัวเทพเจ้าที่ใช้ในหนัง. Innumuthal นี้จะใช้เป็นพระกฤษณะ ส่วนที่เหลือของหนังน่าจะเหมือนๆกัน.

Haman (2015)

Haman (2015 / Tetsuya Okabe)
(Japan)

เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ ***********

มันคือหนังที่เด็กสาวมีปัญหาในร่างกายตนเองจนไม่สามารถเข้ากับใครคนอื่นได้ เป็นปัญหาร้ายแรงที่สามารถคร่าชีวิตอีกฝ่ายได้ โดยตัวหนังก็ไม่ได้พูดพร่ำทำเพลง ให้ฉากเปิดเป็นการอธิบายปัญหาของเด็กสาวไปเลย เด็กสาวคือนักเรียนอายุ 18 ที่เข้าโรงแรมกับแฟนหนุ่มเพื่อเปิดซิงประสบการณ์เซ็กส์ซึ่งกันและกัน แล้วในจังหวะที่เด็กสาวขึ้นคร่อมขย่มจนเสียวซ่านนั้น ปัญหาที่ว่าก็ได้ปรากฏขึ้น แฟนหนุ่มร้องลั่นห้อง เด็กสาวถอยหลังออกจากจุดที่ขย่ม เลือดพุ่งออกเป็นน้ำพุขึ้นเพดานจากหว่างขาแฟนหนุ่ม … ใช่แล้ว ปัญหาในที่นี้มันคือเรื่องแบบเดียว Teeth (2007) จิ๋มเขมือบเลยนั่นเอง

ที่เหลือจากนั้นตัวหนังก็ไม่ได้เล่นกับความระทึกขวัญว่าใครจะตาย/ควยขาดซักเท่าไหร่ แต่จะไปเน้นที่ความรันทดและผลกระทบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวเด็กสาว เช่น ข่าวเรื่องแฟนหนุ่มทำให้ครอบครัวเด็กสาวโดนคุกคามบ้าง เด็กสาวไม่กล้าไปโรงเรียนบ้าง จนถึงการโดนผู้ใหญ่กระชากลากเข้าป่าไปทำร้าย ไปเตะหวดเด็กสาวที่นอนอยู่กับพื้น ดึงผมขึ้นแล้วตบหน้า แล้วพยายามจะข่มขืน … ใช่ครับ ไอ้ผู้ใหญ่คนนี้คือผู้โชคร้ายที่ควยขาดตายคนถัดมา

สำหรับมุมมองความคิดของตัวเด็กสาวมันเต็มไปด้วยความต้องรับผิดชอบบางอย่าง เช่น การเดินทางมาในภูเขาพร้อมนำเอาควยของแฟนหนุ่มที่ห่อกุงมานำมาฝัง ..เยส ควยผู้ชายมักขาดคาหีเด็กสาว ไม่เว้นแม้แต่ควยผู้ใหญ่คนนั้น ที่เด็กสาวต้องไปเข้าห้องน้ำแล้วควักเศษควยออกมาโยนชักโครกทิ้ง. หนึ่งในความรับผิดชอบหลังจากนั้นก็คือ เด็กสาวพยายามลากศพผู้ใหญ่ขึ้นเขาไปเพื่อฝังกลบ
ซึ่งระหว่างนั้นก็จะมีตัวละครชายคนหนึ่งเข้ามาในชีวิตของเด็กสาว เขาคือที่มีความเห็นอกเห็นใจและสนใจในความเศร้าของเด็กสาวนับตั้งแต่เขาให้ผ้าเช็ดหน้าแก่เด็กสาว ตอนที่เขามาเจอเด็กสาวกำลังลากศพ เขาก็เข้าใจสถานการณ์บางส่วนและพร้อมยื่นช่วยย้ายศพผู้ใหญ่คนนั้นเท่าที่เด็กจะยินยอมให้เขาช่วย

จากตรงนี้ไป ความสัมพันธ์ในมุมมองของเด็กสาวต่อชายคนนี้จึงเป็นดั่งหนังรัก ที่เธอก็รู้ดีแหละว่ามันไม่สามารถพัฒนาไปได้มากกว่าการเป็นเพื่อนคุยที่เปิดอกต่อกัน เด็กสาวเองก็ไม่คาดคิดเช่นกันว่าความสนิทของตนเองกับชายคนนั้นมันจะนำปัญหารักสามเส้าที่เธอไม่ได้ตั้งใจให้เกิด เพราะหนึ่งในรักสามเส้าเองก็คือหญิงสาวคนทีเด็กสาวเพิ่งรู้จักและพูดคุยกันถูกคอพอประมาณเช่นกัน
จนเมื่อปัญหารักสามเส้ามันบั่นทอนความสัมพันธ์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขึ้น เด็กสาวจนตกเป็นเครื่องมือการเล่นงานขึ้น …ถูกต้อง หญิงสาวคนนั้นหมายเล่นงานเด็กสาวคนนี้ในรูปแบบของเลสเบี้ยนแบบจับเด็กสาวขึงแล้วยัดคำว่า อีโรคจิตใส่เด็กสาวระหว่างนิ้วหญิงสาวกำลังเบ็ดใส่เด็๋กสาวอย่างเมามัน … นั่นแหละ ไม่รอด อะไรที่เข้าไปในเขตแดนจิ๋มเด็กสาวต้องมีอันเป็นไป

ในตอนจบของหนัง สถานการณ์ทั้งหลายที่เด็กสาวและชายคนนั้นผ่านกันมาก็กลายเป็นการเปิดประตูไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์อีกขั้นขึ้น สถานการณ์ที่ว่าก็คือรักสามเส้าที่เพิ่งสิ้นสุดลงด้วยความตายของคนๆ หนึ่งจากน้ำมือของชายคนนี้ที่พยายามช่วยเด็กสาวเอาไว้ การปลอบประโลมที่มีให้กันจึงเหมือนเป็นการส่งคืนแบบที่ชายคนนี้เคยมอบให้เด็กสาวมาก่อน
การพัฒนาความสัมพันธ์ไปอีกขั้นที่ว่านี้ มันจะหนีไม่พ้น ‘การมีเซ็กส์’ กันนั่นเอง แต่มันก็จะทำให้เกิดขึ้นขึ้นตัวใหญ่ๆ เลยว่า พวกเขาก็รู้ทั้งรู้นะว่า ถ้ามีเซ็กส์กันแล้ว ฝ่ายชายจะต้องควยขาดแล้วตายในที่สุด แต่พวกเขาก็ยังคงตัดสินใจไปในทางนั้นอยู่ดี คำถามในหัวฉันกับตอนจบนี้มันก็คือ ในเมื่อพวกเขาได้รักแท้ต่อกันแล้ว ทำไมไม่ถนอมรักครั้งนี้กันให้ยืนยาวล่ะ ทำไมถึงต้องทำให้ความรักกับความตายมันไปด้วยกันแบบนี้ ในเมื่อพวกเขาสามารถครองรักกันไปต่อนานๆ ได้โดยไม่ต้องมีความตายขึ้นมา แค่เพียงพวกเขามีเซ็กส์กันได้เหมือนเดิมนี่แหละ แต่เปลี่ยนจากจิ๋มเด็กสาวมาเล่นประตูหลังเด็กสาว แค่นี้ทั้งคู่ก็แฮปปี้แบบไม่ต้องมีใครตายกันแล้ว …เนอะ

แต่ก็อย่างว่าแหละ คนเรามันมีความคิดการยึดติดและศักดิ์ศรีไม่เหมือนกัน ชายในเรื่องอาจมีความคิดว่า กูยอมเย็ดหีเด็กสาวแล้วควยตายดีกว่าจะต้องเอาควยตัวเองไปเย็ดรูตูดคนอื่น แม้อีกฝ่ายจะเป็นผู้หญิงก็ตาม…. แบบนี้ก็ได้มั้ง

Blood Curse (TV Mini Series, 2023)

Blood Curse (TV Mini Series, 2023 / Kimo Stamboel)
(Indonesia)

ซีรี่ส์ใหม่ของ Kimo Stamboel ที่เกี่ยวกับคำสาป คนเล่นของและเหยื่อที่โดนของใส่ ที่สภาพของเหล่าคนโดนของแต่ละคนนี่ชวนขนลุกขนพองและสยดสยองพอตัวเลย มีทั้งหนอน ทั้งตะขาบในร่างกายและทะลุออกมา ทั้งเสกตะปูเข้าท้อง ทั้งตัวต่อในกระเพาะแทบจะทั้งรัง ทั้งแมลงสาปที่ออกจากมาหนังหัว โดยตัวหนังจะเทการเล่าเรื่องส่วนใหญ่ไปยังครอบครัวคนรวยที่เป็นเหยื่อของการโดนของใส่เป็นหลัก

ชอบที่เรื่องไม่ได้สร้างตัวละครให้เชื่อเรื่องสไยศาสตร์/การเล่นของพวกนี้ทันทีตั้งแต่แรก พยายามทำความเข้าใจและใช้ตรรกะตามหลักวิทยาศาสตร์มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนในครอบครัว แต่พอโดนเข้าหนักๆ ตายกันมากขึ้น การได้เชื่อจึงเหมือนเปิดประตูให้เกิดการรับมือและมองเห็นความเป็นไปได้สำหรับเบาะแสที่น่าจะตามรอยต่อกันได้ว่าใครคือตัวการที่เล่นของใส่ครอบครัวพวกเขาครั้งนี้ และอีกอย่างที่พวกเขาคนที่ยังอยู่รอดและต้องการหยุดยั้งต้องการคำตอบก็คือ พวกเขาไปทำอะไรให้โกรธแค้นถึงได้หันมาเล่นงานครอบครัวเขาอย่างเหี้ยมโหดด้วยอวิชาจัญไรประเภทนี้, การดำเนินเรื่องตรงส่วนนี้แหละที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างในซีรี่ส์ที่ตรึงให้คนดูที่เต็มไปด้วยความอยากรู้เช่นกันว่า ใครคือตัวการและอะไรคือเหตุผลที่ครอบครัวนี้ต้องโดนเล่นของใส่

ชอบมากที่หนังที่หนังวางฝักฝ่ายไว้ประมาณสามฝ่าย ก็คือ ฝ่ายคนเล่นของด้านมืดที่น่าจะเต็มไปด้วยความโกรธที่ต้องการล้างแค้นใส่ครอบครัวนี้ให้สิ้นซากไม่ตายดี ฝ่ายคนเล่นของด้านสว่างที่องค์ความรู้เขาสามารถปกป้องเหยื่อจากคำสาปได้บ้าง บรรเทาความรุนแรงจากการโดนของได้บ้าง และการวิชาพวกนี้แกะรอยย้อนกลับเพื่อหาต้นตอว่าคนเล่นของมันอยู่ที่ไหน แล้วฝ่ายสุดท้ายคือคนปกติคนธรรมดานี่แหละ ที่โดยหลักแล้วคือเป็นเหยื่อ ครอบครัวคนรวยที่ทั้งการตกเป็นเหยื่อ ทั้งการเป็นเหตุและผลในการแก้แค้นของคนที่เล่นของใส่ ทั้งการต้องพยายามปกป้องครอบครัวเท่าที่จะทำได้แบบคนที่ไม่ได้เกี่ยวขอ้งกับคนการเล่นของ ซึ่งถ้านับฝ่ายคนธรรมดามันก็ต้องนับรวมคนธรรมดาที่มันได้เกิดอะไรเลวร้ายขึ้นกับชีวิตเขาจนต้องหันหน้าเข้าสู่ด้านมืดแล้วกลายเป็นคนคนเล่นของด้านมืดขึ้นมา และคนธรรมดาอีกกลุ่มที่ความรุนแรงจากน้ำมือพวกเขาได้ส่งผลให้พวกเขากลายเป็นเหยื่อจากการโดนเล่นของใส่ด้วยในเวลาต่อมาเช่นกัน.

โดยรวมแล้ว ในทุกตอนแม่งจบด้วยความพีคเหมือนกันหมด บางตอนแม่งก็สับขาใส่คนดู ไม่เว้นแม้แต่ตอนสุดท้าย ที่ก่อนหน้าได้เผยบางอย่างที่ชวนช็อคไว้ก่อนจะปิดฉากซีรี่ส์ด้วยการขยี้สิ่งนั้นจนกระอักกระอ่วมมากขึ้นไปอีก
ในตอนสุดท้ายมองผ่านๆ อาจคิดว่าบทสรุปมันดูจบลงง่ายเกิน แต่ถ้าพินิจจากการเฉลยส่วนสำคัญบางอย่างไว้ก็จะเห็นได้ว่า ทุกการกระทำต่อกันของพวกเขานั้น มันแฝงไว้ด้วยความหนักอึ้งทั้งบนฝ่ามือหรือบาดแผลผิดบาปภายในใจแบบถ้าอิงความคิดตามหลักความเป็นจริงไว้อยู่นะ.

สปอยตอนจบ **************

พวกคาถาอาคมที่เล่นของใส่อีกฝ่ายนั้น ทั้งหมดล้วนมีพื้นฐานและเงื่อนไขที่จะทำให้ของที่เล่นใส่อีกฝ่ายนั้นมันได้ผลขึ้นมา เช่นจุดแรกเริ่มเลยคือการส่งญินไปลงที่บ้านเป้าหมายเพื่อวางของต้องสาปไว้เพื่อให้เงื่อนไขแรกสำเร็จ จุดนี้มักจะทำให้คนที่บ้านหลังนั้นได้ยินเสียงที่ดังมาจากหลังคาแบบผิดปกติ พวกเรื่องเงื่อนไขพวกนี้แอบนึกถึงเรื่องของ “เน็น” ใน HxH ขึ้นมาเลย โดยเฉพาะตอนจบของซีรี่ส์ ที่ทำให้เกิดการแหกกฏความคิดพื้นฐานออกไปที่ว่า “ถ้าเราฆ่าคนที่เล่นของใส่เราสำเร็จ คำสาปทั้งหมดก็จะคลายไปเอง” พอมองในมุมของเน็นจาก HxH แล้ว การที่ผู้ใช้เน็นตายมันอาจทำให้ความสามารถของเน็นนั้นๆ แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้ พอมองแบบนี้ปุ๊บ ตอนจบของซีรี่ส์เลยเกิดภาพแบบนั้นขึ้นมานั่นเอง.

เรื่องของศาสนาก็เป็นอีกอย่างที่หนังใช้งานค่อนข้างจริงจังและหนักหน่วง จากคนนับถือและศรัทธาในศาสนาอิสลามและอัลเลาะห์อย่างแรงกล้ามาโดยตลอด พอพี่ชายตัวเองถูกฆ่าตายศรัทธาก็ล้ม ทุกอย่างมันก็กลับด้านกันหมด เลิกเชื่อเลิกศรัทธาในอัลเลาะห์ หันหลังให้ศาสนาทันที พร้อมมุ่งเข้าสู่ด้านมืดอย่างเต็มตัว แดกเหล้า ซื้อบริการทางเพศ และกลายเป็นพวกเล่นของเชื่อในอาคมมนต์ดำไป

Suzume (2022)

Suzume (2022 / Makoto Shinkai)
(Japan)

“และคนอย่างฉัน
จะอยู่อย่างไร
ต้องสูญเสียเธอไปไร้เธอคู่
ฉันไม่รู้จะอยู่เพื่อใคร”

การกระทำหีผีทำ ..เอ๊ย suzume

ครึ่งแรกนี่ไปสุดมาก สนุกมาก แบบที่รู้สึกเหมือนว่านี่คือไคลแม็กซ์ท้ายเรื่องแล้ว แต่ไม่ ยังเหลืออีกตั้งครึ่งเรื่องเลยนะ
นีก็คิดนะว่า ถ้านิสียของหีผีทำ ..เอ๊ย suzume เป็นเหมือนตัวเอกใน Weathering With You ครึ่งแรกของหนังบ้านเมืองคงลงเอยไปอีกแบบเป็นแน่แท้.

นอกเหนือจากการแทนค่าเรื่องของแผ่นดินในเรื่องแล้ว อีกอย่างน่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ ประเด็นเด็กหนีออกจากบ้าน แน่ล่ะว่าน้องหีผีทำ ..เอ๊ย suzume เธอไม่ได้หนีออกจากบ้านแต่เป็นการไม่สามารถสิ่งที่ตนเองต้องรับผิดชอบไปได้จึงไหลตามน้ำไปไกลจากผูป้กครองขึ้นเรื่อยๆ น้าสาวที่เป็นผู้ปกครองก็เป็นห่วง จากที่หายห่วงเพราะหลานสาวยังบอกว่าตอนนี้อยู่ไหน แต่พอขาดการติดต่อไปน้ำหนักในมุมมองน้าสาวเรื่องหลานหนีออกจากบ้านก็มีน้ำหนักมากขึ้นชนิดที่ขบคิดเท่าไหร่ก็หาเหตุผลในฝั่งตนเองไม่เจอเลยว่าอะไรคือเหตุผลในบ้านในการเป็นผู้ปกครองที่ทำให้หลานสาวต้องหนีออกจากบ้านแบบนี้ .. ส่วนตัวของหีผีทำ ..เอ๊ย suzume ในช่วงเวลาหนึ่งสายตาคนทั่วไปต่างก็มองสภาพของเธอเป็นดั่งเด็กหนีออกจากบ้านจริงๆ แล้วพอได้เจอน้าสาวสิ่งเดียวที่พูดออกไปได้ก็คือ มันอธิบายยาก ซึ่งถ้าอิงตามเรื่องราวเหตุการณ์มันก็อธิบายยากจริงๆ นั่นแหละ แฟนตาซีขนาดนี้ใครจะไปเชื่อ ทั้งแมวที่ดูน่ารัก ทั้งเก้าอี้แข็งๆ ทั้งหนอนตัวใหญ่อวบโตน่ากลัวซะขนาดนั้นที่ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยพบเคยเจอมาก่อน,
แม้จะอธิบายเรื่องที่ถูกมองว่าหนีออกจากบ้านว่าไม่ใช่หนีออกจากบ้านได้ยาก แต่หลังจากนั้นในครึ่งหลังทุกคนคงมองถึงตัวหีผีทำ ..เอ๊ย suzumeไปในทางเดียวเหมือนๆ กันหมดว่า “นี่คือภาพเด็กสาววัยรุ่นยังอายุไม่ถึง 18 ที่พยายามวิ่งไล่ตามหนุ่มมหาลัยคนหนึ่งอยู่”
//น้องซูสุเมะอาจสวนกลับมาว่า “ก็ฉันรักของฉัน…”

And the Word Was Made Flesh (1971)

And the Word Was Made Flesh (1971 / Dusan Marek)
(Australia)

ตอนดูก็มองว่าเป็นหนังทดลองที่มีแอมเบี้ยนนุ่มหูที่บางครั้งก็เป็นดนตรีครึกครื้นซะงั้น และสารภาพเลยแหละว่าดูไม่รู้เรื่อง จนกระทั่งมาอ่านเรื่องย่อ อ้าว หนังไซ-ไฟหรอกเหรอ แล้วก็เข้าใจรู้เรื่องภาพรวมของหนังมากขึ้นตามไปด้วย

A Girl in My Room (2022)

A Girl in My Room (2022 / Natsuki Takahashi)
(Japan)

คนเฮ็ดผี (*เฮ็ด ที่แปลว่า เห็น*)

ชายหนุ่มเลิกกับแฟน อยู่ห้องคนเดียว ซักพักเจอผีสาววัยรุ่นในชุดขาวไม่สวมยกทรง(ก็แบบผีๆ) จริงๆ ผีสาวอยู่มานานแล้วแต่ปรากฏตัวไม่ได้เพราะยันต์ของแฟนชายหนุ่มที่อยู่ด้วยกันก่อนหน้านี้ แรกๆ ชายหนุ่มก็กลัวนะ นั่นมันผี แต่ไปๆมาๆ คุยกันรู้เรื่อง สนิทกันรวดเร็ว ผีสาวก็เหมือนเด็กสาว มีความอยากรู้อยากเห็นความสนใจ เช่น อยากแตะลูกกะเดือกผู้ชายมานานแล้ว พอได้แตะก็พูดเบาๆ “แข็งเหมือนกันนะเนี่ย” แต่แรกๆ คนเป็นกับผีไม่สามารถแตะตัวกันได้ แต่พออยู่ด้วยกันแบบไม่มีพิษมีภัยต่อกัน ก็สามารถโดนตัวด้วยกันได้ พอสามารถจับต้องกัน ชายหนุ่มก็บอกกับผีสาวว่า “พอฉันแตะตัวเธอได้แบบนี้…เธอก็ไม่ต่างจากคนเป็นเลยนะ”

สปอยตอนจบ*********

จริงๆ ก็พอไหว เหมือนจะจบแบบสมเหตุสมผลดีอยู่แล้ว จนกระทั่ง แม่งเสกการโกงหน้าด้านๆ ขึ้นมาเพื่อตอนจบมีความอบอุ่นแฮปปี้ขึ้นมา มันเป็นการโกงประหนึ่ง “ชุบชีวิตแอริธใน FF7 ทำได้จริง”
โกงจนทำให้ที่หนังวางมาทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นนั้นแม่งขัดแย้งสะดุดขาตัวเองไปหมด เหมือนโปรดิวเซอร์/นายทุนมาเปลี่ยนตอนจบใหม่หมดโดยไม่ได้ดูหนังทั้งเรื่องเลยว่า มันมีการวางหลักการของการมีผีในหนังไว้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ตอนจบสั้นๆ นั่นมันทำให้กลายเป็นว่า “ผีเผออะไร ไม่มีหรอก คิดไปเองทั้งนั้น ไม่มีใครตายหรอก นี่ไงหลักฐาน” … แต่ก็อยากรู้อยู่ดีว่า ในมังงะจริงๆแล้วมันจบแบบไหนกันน้า

พอไปค้นดูตัวมังงะแล้ว มันแอบมีความทะลึ่งอยู่ไม่น้อยเลยแฮะ…

Arrebato (1979)

Arrebato (1979 / Iván Zulueta)
(Spain)

แล้วนี่คือการดูของฉันที่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้เลยแม้แต่น้อย พอเจอโลโก้ ANUS FILM ฉันก็พะวงเลย “นี่กูต้องเจอหนังเกย์อีกแล้วเหรอ” (คือเคยเจอโลโก้แบบนี้มาเรื่อยนึงก่อนจะพบว่าหนังเรื่องนั้นคือหนังเกย์ที่ติดกลิ่ยอายฮาร์ดคอร์โคตรๆเรื่องนึง) แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ค่อนข้างสบายใจขึ้นมามากเพราะมันไม่ใช่หนังเกย์อย่างที่กังวลละ.

สิ่งแรกเลยที่สัมผัสได้จากภาพรวมของหนังก็คือ ครึ่งแรกกับครึ่งหลังนี่แทบจะเป็นคนละเรื่องเลยถ้าเทียบกับสิ่งที่หนังเล่าออกมา ในครึ่งแรกจะเป็นการเล่าถึงคนทำหนังสยองขวัญทุนต่ำคนหนึ่งกับวัยรุ่นไฟแรงที่อยากเป็นคนทำหนังแต่ไม่มีความรู้อะไรซักอย่างเลย มีแต่การลองผิดลองถูกแล้วพอนั่งดูผลงานตัวเองก็ร้องไห้ประหนึ่งนี่มันคือผลงานที่ห่วยแตก แต่ก็ไม่ลดละยังคงพยายามถ่ายหนังของตัวเองต่อไป ซื้ออุปกรณ์จากญี่ปุ่นมาแล้วอ่านคู่มือภาษาญี่ปุ่นไม่ออกแต่ก็ลองผิดลองถูกจนใช้งาน ทั้งหมดนี้คือการเล่าย้อนความในมุมมองของคนทำหนังคนนั้นที่ได้มาพบเจอเด็กหนุ่มคนนี้ผ่านหญิงสาวที่เขาคบที่เป็นญาติของครอบครัวนี้ที่อยู่ต่างจังหวัด, เหตุผลที่ทำให้คนทำหนังย้อนความนึกถึงเพราะเขาได้ม้วนฟิล์มมาจากเด็กหนุ่มคนนี้ที่ถูกส่งเป็นพัสดุมาให้เขาพร้อมกับเทปคาสเซ็ทที่เด็กหนุ่มอัดเสียงส่งมาพร้อมๆ กัน
นอกจากการย้อนความก็ยังมีช่วงเวลาปกติของคนทำหนังคนนี้ ที่เขายังคงเป็นพวกเสพยาสูดผงหรือฉีดเข้าเส้นเพื่อบรรเทาความเครียดทั้งจากงานและจากผู้หญิงที่เขาอยู่ด้วยในเวลานี้ การย้อนความจริงมีสองช่วง คือช่วงแรกสุดที่เขาได้พบกับเด็กหนุ่มคนนั้นครั้งแรก กับช่วงที่สองที่เขาไปหาพร้อมกับผู้หญิงคนที่อยู่กับในปัจจุบัน.

ส่วนครึ่งหลังมันจะค่อยๆ แปรสภาพกลายเป็นบรรยากาศลี้ลับ ระทึกขวัญก่อนจะไปบรรจบลงที่ความสยองขวัญบรรยากาศหลอนเต็มสูบ จากตอนที่คนทำหนังคนนี้ได้เริ่มหยิบฟิล์มของเด็กหนุ่มที่ส่งมาให้เขาเปิดดู ภาพจากเครื่องฉายประกอบการเสียงจากเทป นับตั้งแต่เริ่มจากการถ่ายหนังไปเรื่อยของเด็กหนุ่มที่ตอนนี้มาอยู่ในเมือง ไปสู่จุดผิดสังเกตในเฟรมนึงจากกล้องที่เขาอัดไว้ หลังจากนั้นมันก็ค่อยๆ ขยายความลี้ลับตรงนี้ขึ้นเรื่อยๆ จนไปสู่จุดพีคแห่งความหลอนเซอร์เรียลในท้ายที่สุด .. จะว่าไปในครึ่งหลังของนี่มันแทบจะแบ่งเป็น 3 องค์ของภาพยนตร์เลยก็ว่าได้นะ.

พอเหมือนความรู้สึกตนเองจะแยกหนังออกเป็นสองครึ่งที่เหมือนคนละเรื่องกัน มันก็เลยต้องยอมรับว่า ความเรื่อยเปื่อยในตอนแรกแต่พอเข้าครึ่งหลังช่วงท้ายๆ มันสามารถพลิกอารมณ์หนังได้อย่างขีดสุดจริงๆ จนตรึงฉันให้จดจ่ออยู่กับหนังจนไม่สามารถกระดิกไปสนใจอย่างอื่นได้เลยซักนิดเดียว.

ความไม่เคลียร์อะไรซักอย่างในตอนจบของหนังนี่ มันก็เหมือนจะมีคำอธิบายอยู่นะ พอย้อนกลับนึกถึงตอนต้นของหนังที่คนทำหนังถกเถียงกับคนตัดต่อถึงการจบหนังแบบไหนของเขานี่แหละ.

Jin & Jun (2023)

Jin & Jun (2023 / Anggy Umbara)
(Indonesia)

ฉันสับสนไปเองจนคาดหวังไปผิดที่ผิดทางไปหมด ดูจากตัวละครบนโปสเตอร์ โฮ่ นั่นเพ้นต์หน้าเป็นพวกวงแบล็กเลย ต้นเรื่องนางเอกคุยกับพระเอก พระเอกถามฟังเพลงไรเหรอ นางเอกยื่นหูฟังให้พระเอกฟัง ปรากฏว่ามันคือพวกเพลงเมทัลอันเดอร์กราวของอินโด เท่านั้นแหละ ฉันคาดหวังไปเลยว่ามันจะเป็นหนังเกี่ยวกับดนตรีเมทัลอะไรทำนองนี้

..แต่เปล่าเลย มันคือเกี่ยวกับ ญิน เอ๊ะไม่ใช่ มันต้อง ญินนี่ ….เดี๋ยวนะ เอาง่ายๆ เลยก็คือ จินนี่ในตะเกียงวิเศษนี่แหละ
ส่วนพวกแต่งแบล็กเมทัลในรูปนั้นก็คือจินนี่ ในรูปลักษณ์แบบมนุษย์ที่อิงตามโปสเตอร์วงดนตรีในห้องพระเอก ส่วนร่างยักษ์ของจินนี่ มองผ่านๆ มันแทบจะถอดแบบมาจาก ลุค ในเรื่อง Deathnote เลย

ช่วงต้นเรื่องนี่มันตลกแฟนตาซีดูได้ทุกเพศทุกวัยมาก จินนี่ชอบอ่านการ์ตูนเช่น จิมมี่หมัดเหล็กและดราก้อนบอล ส่วนการขอพรทั้งสามข้อของพระเอก ก็เป็นอะไรแบบคนส่วนใหญ่คิด คือขอเพื่อตัวเอง เช่นช่วงกำจัดคนเก็บหนี้ที่ตามทวงและทำร้ายพ่อ ช่วยทำให้ตนเองและเพื่อนสนิทป๊อปปูล่าในโรงเรียนที อะไรแบบนี้ แต่หลายต่อหลายครั้ง จินนี่ก็มักยื่นมือมาใช้พลังช่วยพระเอกในหลายๆ สถานการณ์ ก็สงสัยว่า ขอให้ช่วยกับขอพร มันคนละหัวข้อกันเหรอ
แต่ช่วงที่ชอบสุดของหนังก็คือกลางเรื่อง ที่เป็นโทนหนังไปเลย ซึ่งค่อนข้างดำมืดดีและสามาารถจบแบบโหดๆ ย่ำยีจิตใจได้อยู่นะ แต่ไม่ใช่หรอก เพราะช่วงท้ายจริงๆ ของหนังก็คือ การปรากฏตัวของตัวร้ายที่แท้จริง ที่ทำให้พระเอกกับจินนี่ต้องจับมือร่วมกันเพื่อปราบตัวร้ายทรงพลังตนนั้นลงให้ได้

จริงๆ หนังมันก็จบสมบูรณ์ไปก็ดีอยู่แล้วนะ แต่ไม่รู้ผู้สร้างมองการณ์ไกลข้ามช็อตไปเลยหรือยังไง ถึงได้จบแบบทิ้งปมเรื่องที่ดูใหญ่โตเอาไว้สำหรับภาคต่อได้ … ถ้าถามฉันนะ ฉันคงไม่ตามไปดูภาคต่อแล้ว พอ!

ที่เหวอที่สุดก็คือ เรื่องนี้เป็นการดัดแปลงจากละครทีวีสุดป๊อปปูล่าช่วง 90 ชื่อเดียวกัน
เหวอยังไงก็ดูภาพเอา

Incredible But True (2022)

Incredible But True (2022 / Quentin Dupieux)
(France / Belgium)

สองสามีภรรยาอายุเยอะคู่หนึ่งซื้อบ้านใหม่ ความพิเศษมหัศจรรย์พันลึกที่เซลขายบ้านอยากให้คู่นี้ได้เห็น นั่นก็คือ ท่อที่ชั้นใต้ดินเปิดแผ่นไม้ออกแล้วปีนลงกะไดไป ผ่านความมืดก่อนจะโผล่ลงที่กลางบ้านหลังเดียวกันที่ชั้นสอง …. จากชั้นใต้ดินปีนลงไปโผล่ชั้นสอง เท่านั้นไม่พอ ระหว่างการลงท่อแล้วออกมา มันคือการกระโดดข้ามเวลาไปข้างหน้าเป็นเวลาสิบสองชั่วโมง

ฟังดูอาจคิดว่าเป็นหนังไซไฟการซ้อนทับของเส้นเวลาสินะ ไม่ใช่เลย มันคือหนังที่ว่าด้วยมนุษย์ปกตินี่แหละที่อาจโดนครอบงำด้วยความเชื่อบางอย่างเอาไว้จนค่อยๆ ไม่เหลือความป็นตัวเองดั้งเดิมมากขึ้น ถ้าจะถามว่า พิเศษมหัศจรรย์พันลึกของท่อมันคืออะไรมีประโยชน์ยังไง เซลบอกก็ไม่รู้ แต่อย่างหนึ่งที่เซลบอกไว้ก็คือ เมื่อคุณลงท่อไป คุณจะเด็กกว่าเดิม 12 ชั่วโมง ว่ากันตามสมการก็เหมือนเอาตัวเองในอดีตไปอยู่ในอนาคต 12 ชัวโมงข้างหน้า เท่านั้นเอง แต่เพียงแค่การบอกว่า ลงท่อแล้วเด็กขึ้น แค่นี้มันก็ทำให้ตัวภรรยาฟุ้งซ่านแล้ว มันเหมือนไปโดนสวิตซ์ความเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องการทำทุกอย่างเพื่อให้ตนเองเด็กลงถ้ามันเป็นไปได้ แล้วการมีอยู่ของท่อข้ามเวลานี้เลยกลายเป็นความหลอนที่ภรรยาคนนี้จดจ่อจนสูญเสียความเป็นตัวเองเพื่อต้องการให้เด็กขึ้นมา ที่เป็นความขัดแย้งต่อต้านกับสามีที่ไม่ยอมเสี่ยงอะไรแบบนี้ ใครจะไปรู้ว่าการลงท่อข้ามเวลามันจะส่งผลอะไรกับร่างกายตัวเองบ้าง

นอกเหนือจากเรื่องท่อ มันก็ยังมีเรื่องการจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่งเกินไป ตรงนี้หนังจะใส่ตัวละครบอสของสามีบ้านหลังนั้นมา สิ่งที่บอสคนนี้ให้ความสำคัญและจดจ่อเพื่อให้ได้มีไว้กับตัวเองถ้าไม่มีจะรู้สึกไม่สบายใจขาดความมั่นใจและไม่เป็นตัวเอง สิ่งนั้นก็คือ iPennis คว-ยอิเลคโทรนิคส์ที่สั่งการได้ด้วยมือถือ แข็งได้อ่อนได้ ปรับความแข็งระดับ 1-10 ร่วมด้วยระบบสั่นอีกหลายระดับ ที่ภายนอกยังคงรูปลักษณ์หน้าตาเหมือนเดิมเป๊ะ, ตัวอย่างสถานการณ์ที่แสดงผลได้ชัดที่สุดว่าเขาให้ความสำคัญกับคว-ยอิเลคโทรนิคส์มากเป็นพิเศษก็คือ ช่วงนึงค-วยเขาช็อตสั่งการอะไรไม่ได้เลย เขาทิ้งงานทิ้งบ้านทิ้งทุกอย่างแล้วบินไปญี่ปุ่นทันที เพราะในยุโรปยังไม่ได้รับการยอมรับอะไรแบบนี้ ไปญี่ปุ่นก็คุยอะไรกันยาก ตนเองพูดฝรั่งเศสพวกหมอนักวิทย์ก็พูดญี่ปุ่นกัน แต่ไม่ว่ายังไง เมื่อคว-ยอิเลคโทรนิคส์เขาซ่อมหายแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือความทะนงตัวในความเลิศเลอเพอเฟ็คของคว-ยอิเลคโทรนิคส์ที่หญิงสาวทุกคนประทับใจ ที่ตามมาซึ่งการเพิ่มระดับความเจ้าชู้จนยากที่จะลงด้วยความสัมพันธ์แบบรักเดียวใจเดียวอยู่ด้วยกันแม้ปะทะผิดใจกันก็ตาม แบบที่สามีภรรยาบ้านมีท่อครอบครัวนั้นเป็นกันอยู่.

แต่ไม่ว่ายังไง การเปิดเรื่องด้วยเรื่องของท่อข้ามเวลานี่ แม่ง Quentin Dupieux นี่มัน Quentin Dupieux จริงๆ

ปล. การมีแมวอยู่ในหนัง ทางหนึ่งฉากนึงมันเป็นเสมือนจุดต่อขยายความรู้สึกของคนดูมากขึ้นจริงๆ เช่นเรื่องของเวลา