Tag Archive | Spain

Celos (1999)

Celos (1999 / Vicente Aranda)
(Spain)

จุดเริ่มของการฟื้นฝอยหาตะเข็บเลยก็คือ “ความหึง” จากรูปถ่ายใบหนึ่งเมื่อนานของนางเอกที่มีชายคนหนึ่งยืนโอบไหล่อยู่ ความหึงของพระเอกมันรุนแรงและงี่เง่าชนิดที่ว่าแทบจะทำให้งานแต่งงานที่กำลังจะถึงล่มได้เลยก็ว่าได้.

ความหึงงี่เง่าของพระเอกมันก็งี่เง่าจริงๆนั่นแหละ สำหรับนางเอกเธอก็บอกชัดแล้วตอนนี้พระเอกคือคนที่เธอรักมากที่สุด ฉะนั้นพระเอกแม่งจะไปโกรธไปหึงชายในรูปขึ้นมาแล้วระเบิดใส่นางเอกใช้ความรุนแรงแม่งก็ไม่ใช่เรื่องใช่ป่ะ อดีตก็คืออดีตสิวะ.
แต่สิ่งที่หนังเป็นจริงๆ ไม่ได้เป็นการสำรวจความสัมพันธ์ของพระเอกนางเอกเป็นหลักจากความรู้สึกหึงจนชีวิตรักดิ่งลงเหวหรอกนะ แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าที่หนังใช้เดินเรื่องเป็นหลักควบคู่ไปกับการสำรวจความรู้สึกของทั้งคู่ที่อดีตมามีผลต่อพวกเขาในปัจจุบันนี้ สิ่งนั้นก็คือ ‘ชายในรูปคนนั้น มันคือใคร’

นางเอกว่ามันนานมาแล้ว จำไม่ได้หรอกว่าเป็นใคร เจอกันตอนไปเที่ยวแล้วถ่ายรูปกันแค่นั้น แต่เมื่อพระเอกเริ่มสอบถามพวกเพื่อนนางเอกมากเข้า ก็เรี่มได้รู้ว่านางเอกกำลังโกหกอยู่ พระเอกสอบเสาะจนรู้ได้ว่า ชายคนนั้นชื่ออะไร นางเอกก็บอกว่าเขาไม่มีความสำคัญกับฉันอีกต่อไปแล้วอย่าได้ห่วงไปเลย เพราะเขาตายไปแล้ว, พระเอกก็เบาใจขึ้น ทว่าช่วงเวลาหนึ่งเขากลับได้ข้อมูลจากคนที่เคยรู้จักนางเอกมาก่อน ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับนางเอกเลย ที่ว่าชายคนนั้นตายไปแล้ว แต่ความจริงเขายังไม่ตาย .. แล้วการพยายามไล่ล่าความจริงที่ว่า ชายคนนั้นเกี่ยวข้องยังไงกับนางเอก เป็นคนสำคัญของนางเอกหรือไม่ สำคัญมากพอที่จะทำให้ในใจนางเอกไม่ได้มีเขาอยู่คนเดียวหรือไม่

นางเอกเองก็ย้ำนั่นแหละว่า ชายคนนั้นมันไม่สำคัญกับเธออีกต่อไปแล้ว การโกหกจึงเสมือนการไม่ต้องการจะเอ่ยถึงชายคนนั้นอีกต่อไป ความคิดของทั้งคู่เลยมีความสวนทางกัน สำหรับนางเอกคนที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือพระเอกที่เธอมอบความรักให้หมดทั้งกายและใจ แต่พระเอกคือการพยายามหาคำตอบที่ว่า สำหรับนางเอกแล้ว เขาหรือชายคนนั้น ใครคือคนที่อยู่ในใจและนางเอกคิดถึงมากกว่ากัน. และยิ่งเมื่อพระเอกขุดคุ้ยอดีตของชายคนนั้นที่เกี่ยวพันกับนางเอกมากขึ้น มันก็ยิ่งค่อยๆทำร้ายนางเอกมากขึ้นตามไปด้วย เสมือนการไปขุดอดีตที่นางเอกพยายามฝังกลบมันมาโดยตลอด



เปิดเผยเนื้อหาตอนจบ*****

คำว่า “เกลียด/อยากให้มันตายไปซะ” ของนางเอกี่มีต่อชายในอดีตคนนั้น อาจเป็นแค่คำพูดที่มีน้ำหนักประมาณหนึ่งสำหรับพระเอก ดังนั้นฉากจบแม่งเลยกลายเป็นความรุนแรงอย่างถึงที่สุดที่นางเอกได้พิสูจน์ให้เห็นว่า คำพูดของเธอ เธอคิดแบบนั้นจริงๆ, มันมีน้ำหนักและเด็ดขาดอย่างถึงที่สุดชนิดที่ว่า พระเอกยังต้องหยุดมือไว้เมื่อเห็นว่ามีคนที่รู้จักอยู่ แต่ไม่ใช่กับนางเอก ต่อให้เป็นคนรู้จักก็ไม่สามารถหยุดการกระทำของตนเองต้องการจะพิสูจน์ให้พระเอกเห็นซึ่งๆหน้าได้ว่ากูคิดแบบนั้นจริงๆ.

Julieta (2016)

Julieta (2016)

Julieta (2016 / Pedro Almodóvar)
(Spain / France / USA)

Julieta มีชีวิตที่เป็นสุขกับชายคนรักที่ทั้งคู่กำลังจะไปจากสเปน แต่บังเอิญได้เจอเพื่อนสนิทลูกสาวระหว่างทาง เท่านั้นแหละ Julietaเหมือนโดนเปิดประตูความทรงจำที่เจ็บปวดและผิดหวังขึ้นมาอีกครั้งพร้อมด้วยความหวังอย่างแรงกล้าที่มีต่อลูกสาวของเธอเอง ชนิดที่ Julieta ยอมเลือกที่จะทิ้งความตั้งใจเดิมไปจากที่นี่ไปมีชีวิตใหม่กับชายคนรัก กลับสู่การจมปลักอยู่ที่เดิมด้วยความหวังที่อยากจะเจอลูกสาวตัวเองอีกครั้ง.

จากนั้น Julieta ก็จะค่อยเริ่มเล่าชีวิตตัวเองมุมหนึ่งที่ไม่เคยเล่าให้ลูกสาวฟังหรือไม่คิดจะบอกใครถึงอดีตในส่วนนี้ทั้งนั้นแม้แต่ชายคนรักของเธอที่ก็ยังเคารพเรื่องที่ Julieta ไม่อยากพูดเรื่องนี้ไว้ มันก็เป็นเรื่องราวตั้งแต่ Julieta สมัยยังสาว ได้เจอชายคนนึงที่ภายหลังก็เป็นสามีและกลายเป็นพ่อคน แล้วตามมาซึ่งการสูญเสียและการเสียศูนย์ของ Julieta, ณ เวลานั้นลูกสาวกับเพื่อนลูกสาวคือคนสำคัญที่ทำให้ Julieta มีกำลังได้ยืนขึ้นได้อีกครั้ง ก่อนที่การตัดสินใจเข้าค่ายบำบัดแห่งหนึ่งของลูกสาว จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นการหายตัวไปของลูกสาวที่ Julieta ไม่อาจเข้าใจได้เลยว่า “ทำไมและเพราะอะไรกัน”…



ตลอดเวลาการที่ลูกสาวได้หายไปจากชีวิตของแม่นั้น มันก็ชวนให้สงสัยแบบเดียวกับ Julieta นั่นแหละ แต่พอถึงคำพูดนึงของเพื่อนสนิทลูกสาวที่พูดออกมา มันก็ได้คลายความคิดเยอะอะไรออกไปได้มากโขเลย มันไม่มีหรอก ความลี้ลับพิศวงซับซ้อนซ้อนเงื่อนเกี่ยวกับการหายตัวไปจากชีวิตแม่ของลูกสาว มันก็แค่ … เท่านั้นเอง

แต่มันจะมีอย่างหนึ่งที่ชวนให้ลุ้นตามแบบออกจะส่วนตัวและนอกลู่นอกทางไปซะหน่อย นั่นก็คือ ในทุกครั้งเกิดการตายและ Julieta อยู่ในช่วงเวลาเหล่านั้น มันจะตามมาซึ่งการร่วมรักอย่างดุเดือดขึ้น บนรถไฟกับชายคนหนึ่งภายหลังการตายของชายชราคนหนึ่ง ที่บ้านของชายคนเดิมภายหลังการตายของภรรยาเขา … มันเลยลุ้นตามขึ้นมาทันที เมื่อเกิดความสูญเสียครั้งเลวร้ายขึ้น ลุ้นว่า Julieta จะมีเซ็กส์กับใครอย่างดุเดือดขึ้นกันน้าาาาาาา แต่ปรากฏว่า นอกจากสองครั้งแรกแล้วนั้น มันก็ไม่มีอีกเลย //จบกัน

Burma VJ: Reporting from a Closed Country (2008)

Burma VJ: Reporting from a Closed Country (2008 / Anders Østergaard)
(Denmark / Sweden / Norway / UK / USA / Germany / Netherlands / Israel / Spain / Belgium / Canada)

ตัวสารคดีคือเหตุการณ์ “การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ / Saffron Revolution” เมื่อปี 2007 
โดยจะค่อยๆเล่าผ่านกลุ่มนักข่าวอิสระตัวเล็กภายใต้ชื่อองค์กรสื่อ Democratic Voice of Burma (DVB) ที่จะเน้นการเก็บภาพวีดีโอเป็นหลักแล้วค่อยๆ ส่งออกไปยังนอกประเทศในหลายๆ ช่องทางเพื่อบอกกล่าวแก่ชาวโลกว่า “เกิดอะไรขึ้นในพม่าตอนนี้”. ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้พวกเขาก็พร้อมจะโดนตำรวจนอกเครื่องแบบรวบเช่นกัน จากนั้นการตามข่าวก็ค่อย ๆ ไปบรรจบกันที่จุดเริ่มของการปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ขึ้น เมื่อพระสงค์หลายร้อยรูปออกเดินขบวน ซึ่งบรรยากาศจากพลังของพระสงค์ก็พร้อมดึงมวลชนให้ออกมาเดินขบวนด้วย ออกมายืนบนตึกยืนที่ระเบียงแล้วส่งเสียงให้กำลังใจการเดินขบวนครั้งนี้ จนการเดินขบวนกลายเป็นแรงขับทางการเมืองไปจนถึงการเดินขบวนไปหาอองซานซูจีถึงบ้านที่กักขังไว้ ซึ่งอองซานซูจีก็ได้ออกมาแค่ประตูรั้วและทักทายประชาชนโดยมีตำรวจยืนกั้นไว้อยู่ไม่กี่นาย



เสมือนว่านี่คือพระสงค์ ฝ่ายรัฐจึงไม่อยากตัดสินใจลงมือทำอะไรที่รุนแรง…ตอนแรกคือคิดงี้เลย จนกระทั่งวันถัดมาฝั่งรัฐเกณฑ์มาพร้อมรับมือ แล้วลงเอยด้วยการปราบปรามแบบไม่ไว้หน้าถึงจะเป็นพระก็ตาม ทั้งกระบอกและแก๊สน้ำตา, ถ้าคิดว่านี่เลวร้าย หลังจากนั้นมันป่าเถื่อนเลวทรามยิ่งกว่า เมื่อวัดถูกบุกพระโดนรุมทำร้ายแล้วถูกนำตัวออกไปเป็นร้อยสองร้อยคน ทิ้งไว้แต่คราบเลือดและความเสียหายทั้งอาคาร

สำหรับฉากที่ชวนช็อกที่สุดก็คือ ตอนที่ทหารเติมกำลังพลเพื่อมาคุมฝูงชนที่ปักหลักประท้วงกันหลายร้อยคน แต่การคุมฝูงชนที่ว่านี้คือมาพร้อมอาวุธปืน ซึ่งจังหวะที่กระสันนัดแรกลั่นขึ้น นักข่าวญี่ปุ่นก็ล้มทั้งยืนไปแล้วฝูงชนก็แตกกระเจิง …. เหี้ยยยยเอ๊ย หนักฉิบหาย
แต่ที่หดหู่สุดก็คือ ภาพศพพระขึ้นอืดที่แม่น้ำ ที่ไม่ว่าจะมองมุมไหนมันก็ต้องเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่พระถูกฝั่งรัฐคุมตัวไปอย่างเลี่ยงไม่ได้.



รายละเอียดที่เหลือก็คือความปลอดภัยของเหล่านักข่าว DVB นี่แหละที่บางครั้งพวกเขาก็ต้องเอาตัวรอดกันแม้ตรงหน้าเหล่านักศึกษาจะร้องขอชีวิตจากพวกทหารที่มาปราบปรามก็ตาม แล้วยิ่งภาพเหตุการณ์ใหญ่ๆ จนถึงมีคนตายเพราะการปราบปรามมันแพร่ไปทั่วโลกผ่านสำนักข่าวใหญ่ ๆ เช่น BBC มันก็ยิ่งทำให้คนที่ถือกล้องจะตกเป็นเป้าหมายสำคัญที่ถูกเพ่งเล็งจากตำรวจเป็นอันดับแรกก่อนเลย

What Have I Done to Deserve This? (1984)

What Have I Done to Deserve This? (1984 / Pedro Almodóvar)
(Spain)

เหมือนแม่บ้านจะมีชีวิตที่ปวดหัวกับครอบครัวตัวเอง ลูกชายคนโตก็โตเกินวัยแบบที่หันเข้าหาบุหรี่และยา ลูกชายคนเล็กก็ไม่ให้ความสำคัญกับการมีบ้านมีครอบครัวตัวเองซักเท่าไหร่ สามีก็ทำตัวชายเป็นใหญ่สั่งเมียทุกอย่างแต่ไม่เคยเจียดเงินมาให้เมียซื้อข้าวของอะไรบ้างเลย กับแม่ผัวก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็ปกติแต่ชอบหยิบอะไรข้างนอกเข้าบ้านมาด้วย เช่นขอนไม้ขนาดใหญ่และกิ้งก่าหนึ่งตัว, มิตรภาพเดียวที่แม่บ้านดูจะสบายใจที่สุดก็คือกะหรี่ห้องข้างๆ แต่ผัวไม่ชอบให้คบค้ากับกะหรี่แบบนั้น เอาจริงๆ ทุกตัวละครล้วนมีความประหลาดในตัว แต่ที่ประหลาดแย่งซีนหมดทุกภาคส่วนก็คือ ครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวห้องข้างบน ที่แม่สั่งสอนลูกสาวอายุประมาณ 10 ขวบให้เตรียมพร้อมสำหรับการเป็นแม่บ้านทุกเมื่อ!! แต่ที่เหวอสุดคือลูกสาวนางคือผู้มีพลังจิต!!!!

การปูเรื่องตลอดมาจึงเหมือนการให้ดูชีวิตแม่บ้านที่แบกรับที่ผ่านมาและการได้ปรับตัวไปในทางดีคือการมีงานแม่บ้านนอกบ้านให้เธอทำมีเงินเก็บเอง ซึ่งในเวลานั้นก็ค่อย ๆ ดีใจกับแม่บ้านที่ดูชีวิตดีขึ้น จนกระทั่งเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงกับผัว ผัวชายใหญ่ที่ต้องการกำราบเมียด้วยความรุนแรง แต่ในเวลานั้นเมียคือผู้ที่เปลี่ยนไปแล้วที่จะไม่ยอมโดนข่มแน่นอน. เหตุการณ์ครั้งนี้ในมุมหนึ่งก็เหมือนว่าหลังจากนี้ นี่น่าจะเป็นชีวิตของแม่บ้านที่น่าจะสงบสุขแบบที่เธอต้องการมาตลอดก็เป็นได้ แต่ในเวลาเดียวกันเมื่อสมาชิกในบ้านที่เฟดเอาท์ออกไปกันหมดจนกระทั่งแม่บ้านเหลือตัวคนเดียว เมื่อนั้นมันเลยเกิดบรรยากาศความเหงาอ้างว้างโดดเดี่ยวเข้าเล่นงานอย่างรุนแรงจนไม่อยากคิดไปในทางนั้นเลย ตอนที่แม่บ้านยืนริมระเบียงตัวคนเดียว ถ้าสภาพการไม่เหลือใครมันทำให้ชีวิตเธอหมดสิ้นความหมายละก็นะ … แต่หนังก็ไม่ใจร้ายแบบนั้น โชคดีที่ผู้ชายคนหนึ่งในครอบครัวยังคงคิดถึงและให้ความสำคัญกับเธอแม่บ้านคนนี้และการเป็นครอบครัวอยู่ดั่งเดิมไม่เสื่อมคลาย.



ซีนที่ชอบสุดคือการแหกกระบวนความคิดแบบชายแท้ของลูกค้าชายคนหนึ่งของกะหรี่ข้างห้อง ความชายแท้ผ่านการโอ้อวดอย่างจริงจัง “ผมน่ะไม่มีเจี้ยวหรอก ผมมีแต่กะดอม้า เมื่อผมมีเซ็กส์มันคือการทำลายหีผู้หญิงคนนั้นๆ ผู้หญิงทั่วไปน่าจะกลัวผมมากกว่า ฉะนั้นผมจึงเลือกมีเซ็กส์กับกะหรี่แทน เพราะหีกะหรี่มันน่าจะหลวมและสามารถรับกะดอม้าของผมได้” … ตัดภาพมาอีกที กะหรี่นอนครางปลอมๆ แบบเหม่อ นี่นะเหรอความโอ้อวดกะดอม้า

Hell of the Living Dead (1980)

Hell of the Living Dead (1980 / Bruno Mattei)
(Italy / Spain)

วิกฤติซอมบี้ในหนังเกิดขึ้นในโลกที่สามอย่างแอฟริกา โดยต้นทางอยู่ที่โรงงานแห่งหนึ่งที่ต้นเหตุของวิกฤติทั้งหมดนี้ที่เกิดในโรงงานนี้มันเกิดขึ้นจากหนูตัวเดียวเท่านั้น

จากนั้นหนังก็ข้ามฝากมาเล่าถึงหน่วยคอมมานโดหน่วยหนึ่งที่ได้รับภารกิจลับในแอฟริกานี้ ระหว่างเจอนักข่าวฝรั่งเศสที่มาทำเรื่องชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งหมดเลยติดสอยกันไป จนมาชัดเจนว่าผู้คนที่นี่ได้ติดเชื้อเป็นซอมบี้กันไปหมดแล้วระหว่างทางผ่านหมู่บ้านชนเผ่าแห่งหนึ่ง, หลักๆ หนังมันก็มีแค่นี้แหละที่สุดท้ายพวกเขาก็หลงเหลือไปถึงโรงงานปลายทางกันไม่กี่คน…

หนังซอมบี้ยุคนั้นโปรดอย่าคาดหวังการมีสติและฉลาดต่อการเผชิญหน้าซอมบี้เลย เพราะเราจะได้เห็นครบ ทั้งความประมาทและโง่จนนำมาซึ่งความตาย อีกอย่างที่ตัวละครแม่งไม่จำกันเลย พอได้รู้ว่าการหยุดซอมบี้คือต้องยิงที่หัว แต่หลังจากนั้นแม่งก็สาดกระสุนใส่แต่ร่างซอมบี้อยู่แบบนั้น มึงเป็นทหารทำไมพวกมึงไม่จำอะไรกันเลยวะ !!!

จะมีสิ่งหนึ่งที่มัน Contrast จัดจนแบบว่าชอบมาก ก็คือการเล่นกับตัวละครนางเอกที่แสดงโดย Margie Newton. ความ Contrast ที่ว่านี้ก็คือ ของสวยๆงามๆ อย่างการต้องแก้ผ้าเปลือยท่อนบนของนางเอก และตอนจบที่เป็นการตายที่ค่อนข้างโหดและรุนแรงกว่าใครเขาในหนังสำหรับตัวละครนางเอกตัวเอกตัวนี้ … อุ้ยตาย เผลอสปอย

ช่วงพบผ่านเจอชนเผ่านั้น ตัวหนังก็จะตัดต่อผสมกับสารคดีเรื่อง Nuova Guinea, l’isola dei cannibali (1974) เข้าไปด้วย เผยให้เห็นกิจกรรมของคนป่าทั้งหลายผ่านความตายและดองศพของพวกเขาแบบเต็มๆ ตา มีกระทั่งการหยิบหนอนจากศพมาเข้าปากด้วย ซึ่งจะสื่อถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องที่ผู้คนในแอฟริกาได้ติดเชื้อล้มตายกัน ด้วยการตัดต่อรวมกันพอตัดมาเข้าฉากที่ตัวละครเจอคนป่าก็จะใช้นักแสดงเมคอัพกันเป็นคนป่าปกติแทน

Death Walks at Midnight (1972)

Death Walks at Midnight (1972 / Luciano Ercoli)
(Italy / Spain)

นางเอกตกเป็นเหยื่อนักข่าวกับการลองยาแล้วเขียนคอลัมน์เพื่อขายข่าว แรกๆตกลงกันดีว่าจะปิดชื่อและหน้าตา แต่สุดท้ายชื่อและหน้าตานางเอกก็โผล่หรอขึ้นปกนิตยสารจนเธอไม่สามารถหางานถ่ายแบบได้เลย เพราะเนื้อหาคอลัมน์หน้าปกมันคือ บ่งชี้ว่า นางเอกหลอนจนเห็นคดีฆาตกรรมด้วยกำปั้นหนามเหล็กขึ้นมา.

ซึ่งข้อความที่เห็นภาพหลอนนั้น นางเอกเธอเห็นตามนั้นจริงๆ ตอนเมายา แต่สุดท้ายก็เชื่อตามที่คนอื่นพูดแหละว่า คงหลอนยาไปเองมั้ง จนกระทั่งนางเอกบังเอิญเห็นผู้ชายที่มีใบหน้าและแต่งตัวเหมือนฆาตกรที่เธอเห็นตอนหลอนยาตามท้องถนนเหมือนกำลังสะกดรอยตามเธออยู่ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ตำรวจเรียกเธอไปคุยรอบสองจากรอบแรกที่มองว่านางเอกเมายาไปสู่ประหนึ่งการสอบปากคำ เพราะคดีฆาตกรรมด้วยกำปั้นหนามเหล็กที่นางเอกดห็นนั้น มันคือคดีเมื่อหกเดือนก่อน นางเอกไปเห็นมาได้อย่างไรกัน แต่สิ่งที่ขัดแย้งกันก็คือ ผู้ตายกับฆาตกรที่ถูกจับไปแล้วในแฟ้มของตำรวจนั้น มันคือคนละคนกับที่นางเอกเห็นตอนหลอนนั่นเลย.

ชอบกับหนังที่เล่นกับความเชื่อในมุมตัวเองของนางเอกที่หลายคนไม่เชื่อเพราะไม่ได้เห็นแบบนางเอกเช่นนักข่าวหรือคนรักเธอ และการไม่เชื่อนางเอกเพราะไม่มีหลักฐานที่จับต้องได้เช่นพวกตำรวจ จึงไม่แปลกเลยที่นางเอกจพถูกชักจูงไปไหนต่อไหนเพียงเพราะคนๆ นั้นเชื่อในสิ่งที่นางเอกบอก เช่นการบอกว่า ฆาตกรที่ตำรวจจับนั้นไม่ใช่ฆาตกรตัวจริง นางเอกเชื่อเพราะชายที่แอบตามเธออยู่มันหน้าตาเหมือนในภาพหลอนที่เธอเห็นตอนก่อเหตุฆาตกรรม

ชอบที่ภายหลังสุดเมื่อหนังเฉลยอะไรหลายๆ อย่างออกมา แล้วหลักฐานสิ่งที่จับต้องได้ทั้งหมดมันได้พาหนังแทบจะไปสู่เรื่องราวคนละแบบกับตอนแรกเลยพวกที่นางเอกเห็นเลย ที่กลายเป็นนางเอกคือคนที่ซวยขึ้นมา เพราะการที่นางเอกหลอนเห็นอะไรแบบนั้นมันก็เหมือนสะกิดให้หลายฝ่ายสนใจจนเริ่มขุดคุ้ยหลักฐานความจริงมันค้านนางเอกที่เชื่อในสิ่งตนเองเห็นคนเดียวมา พอตำรวจเริ่มขุดคุ้ย นางเอกเลยได้ตกเป็นเป้าหมายจริงๆ ขึ้นมาแทน.

บทนางเอกนี่แม่งเห็นแล้วโคตรเหนื่อย ไหนจะหลอนเห็นฆาตกรตามเธอ ไหนจะโดนดึงไปรู้ความจริงไปเจอคนโดนฆ่าต้องหนีเอาตัวรอด แต่สิ่งที่ตัวเองเห็นมาดันไม่มีใครเชื่อเพราะขาดหลักฐานที่จับต้องได้ ไปจนตอนท้ายที่เรียกได้ช้ำทั้งกายและใจเลยจริงๆ

Arrebato (1979)

Arrebato (1979 / Iván Zulueta)
(Spain)

แล้วนี่คือการดูของฉันที่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้เลยแม้แต่น้อย พอเจอโลโก้ ANUS FILM ฉันก็พะวงเลย “นี่กูต้องเจอหนังเกย์อีกแล้วเหรอ” (คือเคยเจอโลโก้แบบนี้มาเรื่อยนึงก่อนจะพบว่าหนังเรื่องนั้นคือหนังเกย์ที่ติดกลิ่ยอายฮาร์ดคอร์โคตรๆเรื่องนึง) แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ค่อนข้างสบายใจขึ้นมามากเพราะมันไม่ใช่หนังเกย์อย่างที่กังวลละ.

สิ่งแรกเลยที่สัมผัสได้จากภาพรวมของหนังก็คือ ครึ่งแรกกับครึ่งหลังนี่แทบจะเป็นคนละเรื่องเลยถ้าเทียบกับสิ่งที่หนังเล่าออกมา ในครึ่งแรกจะเป็นการเล่าถึงคนทำหนังสยองขวัญทุนต่ำคนหนึ่งกับวัยรุ่นไฟแรงที่อยากเป็นคนทำหนังแต่ไม่มีความรู้อะไรซักอย่างเลย มีแต่การลองผิดลองถูกแล้วพอนั่งดูผลงานตัวเองก็ร้องไห้ประหนึ่งนี่มันคือผลงานที่ห่วยแตก แต่ก็ไม่ลดละยังคงพยายามถ่ายหนังของตัวเองต่อไป ซื้ออุปกรณ์จากญี่ปุ่นมาแล้วอ่านคู่มือภาษาญี่ปุ่นไม่ออกแต่ก็ลองผิดลองถูกจนใช้งาน ทั้งหมดนี้คือการเล่าย้อนความในมุมมองของคนทำหนังคนนั้นที่ได้มาพบเจอเด็กหนุ่มคนนี้ผ่านหญิงสาวที่เขาคบที่เป็นญาติของครอบครัวนี้ที่อยู่ต่างจังหวัด, เหตุผลที่ทำให้คนทำหนังย้อนความนึกถึงเพราะเขาได้ม้วนฟิล์มมาจากเด็กหนุ่มคนนี้ที่ถูกส่งเป็นพัสดุมาให้เขาพร้อมกับเทปคาสเซ็ทที่เด็กหนุ่มอัดเสียงส่งมาพร้อมๆ กัน
นอกจากการย้อนความก็ยังมีช่วงเวลาปกติของคนทำหนังคนนี้ ที่เขายังคงเป็นพวกเสพยาสูดผงหรือฉีดเข้าเส้นเพื่อบรรเทาความเครียดทั้งจากงานและจากผู้หญิงที่เขาอยู่ด้วยในเวลานี้ การย้อนความจริงมีสองช่วง คือช่วงแรกสุดที่เขาได้พบกับเด็กหนุ่มคนนั้นครั้งแรก กับช่วงที่สองที่เขาไปหาพร้อมกับผู้หญิงคนที่อยู่กับในปัจจุบัน.

ส่วนครึ่งหลังมันจะค่อยๆ แปรสภาพกลายเป็นบรรยากาศลี้ลับ ระทึกขวัญก่อนจะไปบรรจบลงที่ความสยองขวัญบรรยากาศหลอนเต็มสูบ จากตอนที่คนทำหนังคนนี้ได้เริ่มหยิบฟิล์มของเด็กหนุ่มที่ส่งมาให้เขาเปิดดู ภาพจากเครื่องฉายประกอบการเสียงจากเทป นับตั้งแต่เริ่มจากการถ่ายหนังไปเรื่อยของเด็กหนุ่มที่ตอนนี้มาอยู่ในเมือง ไปสู่จุดผิดสังเกตในเฟรมนึงจากกล้องที่เขาอัดไว้ หลังจากนั้นมันก็ค่อยๆ ขยายความลี้ลับตรงนี้ขึ้นเรื่อยๆ จนไปสู่จุดพีคแห่งความหลอนเซอร์เรียลในท้ายที่สุด .. จะว่าไปในครึ่งหลังของนี่มันแทบจะแบ่งเป็น 3 องค์ของภาพยนตร์เลยก็ว่าได้นะ.

พอเหมือนความรู้สึกตนเองจะแยกหนังออกเป็นสองครึ่งที่เหมือนคนละเรื่องกัน มันก็เลยต้องยอมรับว่า ความเรื่อยเปื่อยในตอนแรกแต่พอเข้าครึ่งหลังช่วงท้ายๆ มันสามารถพลิกอารมณ์หนังได้อย่างขีดสุดจริงๆ จนตรึงฉันให้จดจ่ออยู่กับหนังจนไม่สามารถกระดิกไปสนใจอย่างอื่นได้เลยซักนิดเดียว.

ความไม่เคลียร์อะไรซักอย่างในตอนจบของหนังนี่ มันก็เหมือนจะมีคำอธิบายอยู่นะ พอย้อนกลับนึกถึงตอนต้นของหนังที่คนทำหนังถกเถียงกับคนตัดต่อถึงการจบหนังแบบไหนของเขานี่แหละ.

Manticore (2022)

Manticore (2022 / Carlos Vermut)
(Spain / Estonia)

You make everyone “จะอ้วก”

เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ ***********

ประเด็นหลักที่หนังได้ใช้ไว้มันคือสิ่งที่เปราะบางและอ่อนไหวอย่างเรื่อง Pedophilia. ซึ่งปฏิเสธไม่ได้จริงๆ กับความรู้สึกรังเกียจ/ขยะแขยง/จะอ้วก ที่เมื่อได้พบว่าใครบางคนนั้นเป็นพวกใคร่เด็กแบบนี้ ซึ่งกับสภาพการเป็นคนดูมันก็ก่อเกิดความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมาต่อตัวละครในหนังเช่นกัน แต่สิ่งที่สะท้อนได้ดียิ่งกว่าก็คือ การรองรับมุมของชายผู้ที่เป็นแบบนั้น เขาไม่ได้ทำร้ายใคร มันแค่อยู่ในหัวของเขา และเขาได้พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเต็มที่แล้วเพื่อพาตัวเองกลับสู่เส้นทางของผู้ชายปกติ แต่การพลาดที่เกิดขึ้นมันเป็นแค่การที่คนอื่นได้พบรสนิยมทางเพศของเขาแบบนี้ขึ้นมา เมื่อคนอื่นรู้ สายตาและความรู้สึกมันก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อ มันเต็มไปด้วยการผลักใสไล่ส่ง เหมือนการรู้ว่าชายคนนี้มีรสนิยมทางเพศแบบนี้มันคือ การทำผิดบาปอย่างไล่หลวงที่ไม่สมควรได้รับโอกาสแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง.

ถ้าย้อนกลับไปก่อนที่ชีวิตเขาจะพังทุกคนที่สนิทถีบส่งเขาออกห่าง มันก็ชัดเจนแหละว่าเขาพยายามทิ้งความคิดที่เคยคิดกับเด็กผู้ชายไปให้ได้ โดยคนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะช่วยนำทางเขาได้ก็คือ ผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้หญิงคนที่ตัดผมสั้นเป็นเด็กผู้ชาย(ที่ดูคล้ายเด็กผู้ชายคนนั้นในสายตาเขา) แม้เขาจะไม่เคยมีแฟนเลยหรือเข้ากับผู้หญิงไม่ค่อยได้ แต่สำหรับสาวผมสั้นคนนี้เขาน่าจะทำได้สำเร็จ … แต่ก็อย่างที่บอกไว้ ความผิดพลาดเดียวที่เกิดขึ้นก็คือ เขาใช้อุปกรณ์การทำงานแบบผิดประเภท พอสิ่งที่เขาเคยทำไว้แล้วกำจัดทิ้งไปตอนที่เขาตั้งใจจะถอยออกมามันได้หลุดไปการรับรู้ของคนรอบข้าง เส้นทางที่เขาหวังไว้กับการเป็นผู้ชายปกติมันก็ได้ถูกปิดตายลงในทันที กับสีหน้าแววตาของคนที่รู้ที่ล้วนสื่อแทนคำพูดออกมาชัดเจนว่า You make me จะอ้วก.

นั่นคือสิ่งที่ฉันชอบมากสำหรับการสื่อมุมมองอีกทางออกมา แม้ว่าประเด็นหลักมันค่อนจะล่อแหลมและเปราะบางไปเยอะเลยก็ตาม ซึ่งหนังก็ไม่ได้พาเรื่องตรงนี้ไปสุดทางเช่นกัน (แม้จะเกือบๆ อีกนิดเดียวก็ตาม) การเบี่ยงทางลงของหนังคือการแลนดิ้งที่ดี สำหรับประเด็นเปราะบางพวกนี้ที่หนังเองก็ไม่ได้เอื้อหรือให้ท้ายแต่อย่างใด อาจมองได้ว่าทางลงของชายคนนี้คือบทลงโทษที่โหดร้ายไร้ปราณีที่สังคมล้วนมองไปในทางเดียวกันได้ แต่การเบี่ยงทางลงนิดหน่อยในตอนจบ มันก็คือสิ่งที่หนังพอจะมอบใจดีเสี้ยวหนึ่งให้กับชายคนนี้ได้มากที่สุดแล้วก็ได้ ผ่านตัวตนที่สาวผมสั้นคนเดิมคนนั้นเคยเป็นมา

ชอบการพูดคุยของสาวผมสั้นคนนี้ที่เป็นคอหนัง ชอบหนังสยองขวัญ ชอบการเล่าเรื่องตัวเองสมัยเด็กที่ไร้เดียงสา จากการหยิบม้วนวีดีโอของพ่อเรื่อง videodrome มาดู (แม่เธอคือแฟนหนังของCronenberg) ปกนอกคือ videodrome แต่ม้วนในคือหนังโป๊ ตอนนั้นเธอยังเด็กเธอเลยเชื่อว่านี่คือหนัง ไซไฟ คนเอากันในหนังคือการแสดงคือเอฟเฟค โตมาถึงได้เข้าใจว่า มันไม่ใช่หนังไซไฟ

แต่มันก็มีความรู้สึกบางอย่างต่อหนังขึ้นมาเช่นกัน เหมือนกับหนังมีท่าทีจะบอกว่า คนประเภทนี้คือคนป่วย เป็นไปได้เราควรรักษาและนำทางเขาให้ถูกทาง เฉกเช่นการได้พบสาวสั้นเหมือนการบำบัดเขาทีละนิดให้ถอยห่างสิ่งที่ไม่ควรแล้วเดินเคียงข้างไปถูกทางด้วยกัน ไม่ใช่ว่า พอรู้ว่าชายคนนี้เคยจิตนาการบางอย่างกับเด็กผู้ชายปุ๊บ เราต้องจะอ้วกต้องผลักไสต้องถีบส่งต้องไล่ให้ชายคนนี้ไปตายทันที จนส่งผลให้ความคิดของชายคนนั้นเตลิดไปไกล จากที่แค่จินตนาการอยู่แค่หัว มันอาจจะพาลให้ชายคนนั้นไปก่อเหตุขึ้นจริงๆ มาก็เป็นได้.

สำหรับชื่อหนัง Manticore ตอนแรกก็คือไม่เก็ตและไม่รู้ความหมายเลย พอดูจบและหาข้อมูลปุ๊บ ก็รู้ความหมายของคำนี้ทันที แล้วก็เข้าใจตามหนังทันทีเลยว่า ทำไมถึงเลือกใช้ชื่อนี้เป็นชื่อหนัง นั่นก็เพราะ เมื่อตัวหนังถึงจุดสุ่มเสี่ยงที่ชายคนนี้จะก่อเหตุจริงๆ มา ภาพหนึ่งที่ปรากฏบนหัวเตียงของเด็กผู้ชายตัวน้อย คือภาพวาดที่เด็กน้อยวาดตามสิ่งที่ได้คุยกับชายคนนี้ตอนต้นเรื่อง ชายคนนี้บอกว่า ตอนเด็กๆ เขาอยากเป็นเสือ ภาพวาดของเด็กเลยก็เป็นเสือตัวหนึ่งที่มีหัวเป็นหน้าผู้ชาย เสือตัวนี้มีชื่อของชายคนนั้น … เท่านั้นแหละ ชายคนนี้ตาสว่างทันที ภาพวาดของเด็กสามารถมองเป็น Manticore ได้ และ Manticore มันคือสัตว์ร้ายในตำนานที่เข่นฆ่ามนุษย์ การที่ชายคนนี้ตาสว่างขึ้นมาก็เพราะเขาได้ตระหนักทันทีว่า “ตัวเขาไม่ใช่สัตว์ร้าย” “เขาต้องหยุดเรื่องที่ตั้งใจจะกระทำต่อเด็กเดี๋ยวนี้” “และสัตว์ร้ายไม่สมควรที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกต่อไป”

จะมีฉากนึงที่ทั้งคู่ไปเดินดูนิทรรศการภาพชุด “The Black Paintings” ของโกยา แล้วชายคนนี้ก็ให้ความสนใจกับภาพ “Saturn devouring his son” มาก
ตรงนี้คิดว่า ถ้าคนเชี่ยวศิลปะอาจตีความการมาดูผลงานของโกยาได้หลากหลายทางแน่นอน

Piety (2022)

Piety (2022 / Eduardo Casanova)
(Spain / Argentina)

สิ่งที่ตราตรึงใจมากที่สุดจนอยากดูเอามากๆ เลยก็คือการได้เห็นโปสเตอร์ตัวนี้แหละ เจ้าของเดียวกับผู้กำกับหนังเรื่องที่ผู้หญิงมาปากเป็นรูตูดนั่น.

กับเรื่องนี้แม้เซ็ตติ้งตั้งต้นจะดูจัดวางเกิน แต่เนื้อในจริงๆ ที่หนังต้องการเล่าก็คือ ความสัมพันธ์ของแม่กับลูกชายที่ปัญหาอย่างนึงก็คือ แม่เป็นห่วงหวงลูกเกินเหตุจนลูกแทบไม่มีอิสระอะไรเลยต้องอยู่ในสายตาแม่ตลอดเวลา จะมีอย่างนึงที่ไม่เข้าใจในตอนแรก ก็คือการแทรกเนื้อหาอิงความเป็นจริงเกี่ยวกับเกาหลีเหนือเข้ามาเป็นภาพข่าว ที่บอกว่าประชาชนที่เกาหลีเหนือคือผู้คนที่มีความสุขมากที่สุด, จะมาเก็ทในส่วนของเกาหลีเหนือก็ตอนที่ได้เห็นอีกมุมของเกาหลีเหนือแบบที่เราๆ เข้าใจกันนั่นแหละ ว่าเป็นประเทศเผด็จการที่พร้อมกำจัดประชาชนที่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่ให้ความท่านประธานาธิบดีของประเทศ(ในขณะนั้นคือ คิม จ็อง-อิล).

ซึ่งพอเอาความเป็นเกาหลีเหนือมาวางทาบกับปมวิกฤติชีวิตของลูกชายกับแม่ มันก็พอดีเป๊ะเลย ภายนอกอาจเห็นแม่ลูกคู่นี้มีความสุขรักกันมาก แต่ความจริงคือลูกชายไร้อิสระภาพและถูกจับตาดูอยู่ตลอดเวลา แม่ที่เหมือนเผด็จการไม่ปล่อยให้ลูกชายมีความคิดเป็นของตัวเองใดๆ ทั้งนั้น จนกระทั่งลูกชายตั้งหนีแม่ไปหาพ่อที่กำลังจะตาย, ตรงนี้คมยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อยกสถานการณ์พลเรือนเกาหลีเหนือหนีมาอยู่เกาหลีใต้ แน่นอนว่าพวกเขาไม่มีความสุข อยู่เหมือนมดที่แทบจะบุคคลที่ไร้ตัวตนในเกาหลีใต้นี้ สุดท้ายการปลูกฝังในหัวที่มีมาตั้งแต่เกิดต่อการปกครองประธานาธิบดีคิม จ็อง-อิลว่าท่านคือคนสำคัญของมวลมหาประชาชน ก็ชนะความคิดการหนีตายเอาตัวรอด ชนิดที่ว่า ถ้าอยู่เกาหลีใต้แล้วลำบากไร้ตัวตนถูกมองข้าม ก็จะขอกลับไปสู่อ้อมอกท่านดั่งเดิมที่บ้านเกิดเสียยังดีกว่า โดยไม่สนไม่ห่วงหรอกว่าจะโดนโทษอะไรบ้าง เปรียบการเป็นลูกที่ได้ความรักความอบอุ่นที่ได้รับจากพ่อมันสบายใจกว่าแน่นอนอยู่แล้ว.

แล้วการวางเทียบกันแบบนี้ระหว่างแม่ลูกชายกับเกาหลีเหนือมันก็ไปจนสุดทางประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของเกาหลีเหนือจริงๆ จนอดไม่ได้ว่านี่คือการเทียบซ้อนเพื่อใช้ประโยชน์ในการเล่าเรื่องเชิงเปรียบเทียบหรือว่านี่การวางเทียบซ้อนกันเพื่อแซะเกาหลีเหนือผ่านการเล่าเรื่องแม่ลูกชายนี้กันแน่.

สำหรับคนที่เก็ทโปสเตอร์ ก็จะชี้ไปที่รูปแล้วพูดว่า “ตอนจบ GOZU!!”

Martín (Hache) (1997)

Martín (Hache) (1997)

Martín (Hache) (1997 / Adolfo Aristarain)
(Spain / Argentina)

หนังเริ่มด้วย Jay หนุ่มวัย 19 ที่เพิ่งโดนแฟนสาวทิ้งเพราะเขาไร้หลักและความมั่นคงในชีวิต เพราะเจเป็นนักดนตรีที่ไร้เป้าหมายในชีวิต เจเฮิร์ทยกเหล้าดื่มจนเมา เพื่อนในวงชวนอัดโค้กเข้าจมูกอีก ผลลัพท์จึงปรากฏบนเวทีด้วยการที่เจโอเวอร์โดสโคม่าเข้าโรงพยาบาล.

หลังจากนั้นก็เส้นทางชีวิตของเจ ผ่านพ่อที่เป็นคนทำหนังหย่ากับแม่และย้ายออกจากอาเจนติน่าไปอยู่สเปนตัวคนเดียวมาตลอดห้าปี โดยหลักแล้วแม่ก็รักเจนะแต่ครอบครัวแม่ที่แต่งงานใหม่และพี่สาวมีครอบครัวมีลูกด้วยแล้ว บ้านหลังนี้จึงไม่มีพื้นที่พอสำหรับเจ สำหรับพ่อที่ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมาจนชินก็เหมือนเขาหาจุดตั้งหลักได้ยากเพราะจะมีลูกชายมาอยู่ด้วย แน่นอนว่าเขารักลูกแหละแต่มันก็ไม่ชินอยู่ดี.

พ่อมีเพื่อนเป็นนักแสดงอินดี้เล่นยาแบบมีลิมิต พ่อมีคนรักเป็นมือตัดต่อภาพยนตร์เล่นยาแบบไม่มีลิมิต ในทางหนึ่งพ่อก็กลัวลูกชายจะคิดสั้นและหันไปหายาอีกจึงแสดงภาพพ่อในอุดมคติเบอร์ใหญ่ออกมาว่าเขาต่อต้านยาเสพติดนะ ที่เอาเข้าจริงพวกผู้ใหญ่ล้วนเข้าใจผิดเจไปหมดเลย เจไม่ได้ติดยาไม่ได้เป็นพวกคิดสั้นไม่ได้อยากตาย เจแค่พลาดไปเท่านั้นเขาเมาและเพื่อนชวนให้สูดเข้าไปฟึดเดียวแค่นั้นเอง

เจอาจกลายเป็นศูยน์กลางในความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่ทั้งสามคนนี้ ซึ่งแต่ละคนก็มีความเป็นตัวเองและการแสดงความเห็นที่โต้เถียงดูไม่เป็นไปทางเดียวกัน ในมุมหนึ่งมันคือการยึดมั่นในตัวเองสูง ซึ่งพออีกฝ่ายยกเรื่องผิดชอบชั่วดีขึ้นมา คนๆ นั้นก็จะบอกว่า “มันเป็นปัญหาของฉัน”, โดยเฉพาะคนพ่อ ที่เป็นดั่งตัวหลักในการดำเนินเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเขากับลูกชาย เพราะตัวพ่อมีคาแรกเตอร์ที่แข็งแกร่งเกินไป มันเลยทำให้ลูกชายเข้าไม่ถึงพ่อและคำโต้ตอบของพ่อก็ดูใจร้ายไปบ้างเป็นบางครั้ง ซึ่งทำให้ชอบมากตอนที่พ่อพยายามสื่อสารถึงลูกชายโดยไม่ใช้การพูดคุยกันต่อหน้า แต่เป็นการเขียนบทหนังสั้นๆ แผ่นหนึ่งเพื่อสื่อความรู้สึกเป็นห่วงถึงลูกชายแทนการพูดกันต่อหน้า.

ในบทสรุปหนังก็ยังคงมีเจเป็นตัวกลางอยู่ดี เสมือนโลกของเจวัย 19 ปีนี้มันช่างเล็กเหลือเกิน เจที่กำลังสับสนใจโลกเล็กของเขาก็ได้มาพบโลกของผู้ใหญ่ที่มักมีอะไรเหนือความคาดหมายอยู่เสมอ ทั้งพ่อทั้งเพื่อนพ่อและคนรักของพ่อ เหตุการณ์มากมายทั้งเบาและหนักที่เกิดขึ้นในช่วงที่เจอยู่กับผู้ใหญ่กลุ่มนี้มันก็ได้ทำเจเข้าใจโลกได้มากขึ้น เข้าใจพ่อที่มีกำแพงหนาได้มากขึ้น เข้าใจตนเองที่กำลังหลงทางได้มากขึ้น และเข้าใจว่าทำไมผู้ใหญ่กลุ่มนี้ถึงพยายามชี้แนะให้เขาก้าวขาออกมาสู่ผู้ใหญ่และตระหนักถึงคุณค่าในชีวิตตัวเองมากกว่านี้ พร้อมกันนั้นเราก็จะได้เข้าใจเนื้อในของผู้ใหญ่ทั้งสามคนนี้มากขึ้นเช่นกันในระหว่างที่เจมาอยู่ด้วยกับพวกเขา.

ช่วงที่พ่อพูดถึงประเทศอาเจนติน่ากับลูกชายนี่ ประเด็นโคตรหนักเลย เข้าขั้นชังชาติได้เลยนะนั่น 55555