Archive | August 2021

The Penultimate (2020)

The Penultimate (2020 / Jonas Kærup Hjort)
(Denmark)

พนักงานจดมิเตอร์น้ำเดินทางมาพร้อมลา ผูกลาไว้ที่ต้นไม้ก่อนจะเดินเข้าไปในตึกใหญ่เพื่อจดมิเตอร์น้ำ ภายในดูมืดๆ มีประตูเรียงรางสองฝั่ง เคาะห้องไหนก็เหมือนไม่มีใครอยู่ทุกห้อง ระหว่างขึ้นลิฟท์เจอชายตัวใหญ่ฝาแฝดคู่หนึ่งอยู่ในลิฟ พอออกจากลิฟท์มาฝาแฝดคู่นั้นก็เดินตามเขาไปตลอดทุกที่ทุกเวลา นั่นคือความประหลาดเหวอๆ ชิ้นแรกที่กระทบฉันเต็มๆ

สำหรับพนักงานจดมิเตอร์น้ำคนนี้ สิ่งเดียวที่เขาประสบจนแทบจะประสาทแดกก็คือ เขาไม่สามารถออกจากตึกแห่งนี้ไปได้ ประตูเปิดไม่ออก พอมีคนเข้ามาประตูก็ดันปิดเร็ว พอจะคุยกับคนนั้นก็คุยกันไม่รู้เรื่อง ดังนั้นเป้าหมายเดียวที่สำคัญที่สุดของพนักงานจดมิเตอร์น้ำคนนี้คือ ต้องไปคุยกับผู้ดูแลตึกให้ได้เพื่อจะออกจากตึกนี้ ว่าแต่ผู้ดูแลตึกอยู่ที่ไหนวะ จนพนักงานจดมิเตอร์น้ำได้เจอผู้หญิงคนหนึ่ง เธอบอกว่าเธอรู้จักผู้แลตึก เดี๋ยวจะพาไปหา แต่สุดท้ายพนักงานจดมิเตอร์น้ำก็โดนบีบให้ทั้งต้องเสียตัวให้ผู้หญิงคนนี้ ไปจวบจนต้องแต่งงานกับผู้หญิงคนนี้เพียงเพื่อต้องการให้เธอพาไปหาคนดูแลตึกเพื่อจะออกไปจากที่นี่

เอาแค่พอละ ที่เหลืออยากให้ไปโดนกันเอง ยอมรับซึ่งๆ หน้าเลยว่าบางอย่างนั้นมันตีไม่แตก มันไม่เข้าใจ มัน weird สัสๆ ถึงกระนั้นแม้จะไม่เข้าใจหรือรู้ความหมายในความแปลกตรงที่จะสื่อถึง แต่พวกสิ่งเหล่านั้นที่ถูกนำเสนอมันดันจับใจฉันสุดๆ เลยก็ว่าได้ ไม่รู้นะหมายถึงอะไร ไม่เข้าใจ แต่โคตรประทับใจโคตรรักสิ่งเหล่านี้เมื่อมันถูกนำเสนอออกมาในหนังเรื่องนี้รูปแบบหนึ่ง ว่าง่ายๆ มันให้อารมณ์เหมือนดูหนัง David Lynch อ่ะ บางเรื่องไม่เข้าใจอะไรแต่มันช่างตราตรึงจิตใจเหลือเกิน

เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ ******************

แต่ถ้าได้รับชมไปเรื่อยๆ มันก็สามารถปะติดปะต่ออะไรซักอย่างออกมาได้เป็นรูปเป็นร่างเองแหละ สองชั่วโมงในหนังคือไม่เสียเปล่าซักเท่าไหร่
สำหรับฉันคือมันต้องดูถึงตอนจบจริงๆ ถึงจะเก็ทภาพรวมหลักของหนังได้เป็นอย่างดี ตอนจบหนังนี่เป็นอะไรที่โคตรชอบ ขนลุกสัส กับตอนจบตรงนั้นคือเก็ทบางอย่างไปโดยละม่อมแล้วนะ แต่เนื้อหาที่มีต่อหลังจากเอนเครดิต(สั้น) มันดันทำให้กล่องความคิดที่จัดเรียงความเข้าใจในตอนจบตรงนั้นไว้แล้ว แตกโพล๊ะออก กลายเป็นว่าเนื้อหาหนังที่มีต่อมันทำให้ภาพรวมสรุปของหนังมันกว้างใหญ่ยิ่งกว่าเดิมไปอีกหลายเท่าตัวเลย
จริงๆ ตัวหนังก็แอบเปรยไว้ตลอดแล้วแหละประมาณว่า พนักงานจดมิเตอร์น้ำคนนี้ไม่ใช่คนแรก ตอนจบของหนังเลยพบว่า แท้จริงแล้วตึกแห่งนี้มันได้กระทำการอะไรบางอย่างต่อพวกพนักงานจดมิเตอร์น้ำคนอื่นๆ ก่อนหน้านี้มาแล้วเช่นกัน เหมือนกับเมื่อสิ้นสุดกับพนักงานจดมิเตอร์น้ำคนหนึ่ง รอพนักงานจดมิเตอร์น้ำคนใหม่มาก็จะกระทำการแบบวนลูปแบบคนเดิมต่อคนใหม่อีกครั้ง นั่นคือความเข้าใจต่อหนังในตอนจบของหนังครั้งแรก
แต่พอมีเนื้อหาเสริมต่อท้ายอีกหน่อย มันขยายความเข้าใจต่อหนังไปว่า นี่มันไม่ใช่แค่เรื่องของมนุษย์เพียงอย่างเดียวละ เพราะเนื้อหาหลังตอนจบนั้น ตึกทั้งตึกหายไป เมื่อพนักงานจดมิเตอร์น้ำคนใหม่จดมิเตอร์น้ำ นั่นจึงทำให้การมองไปยังตัวเด็กน้อยคนหนึ่งที่มาถามคำถามพนักงานจดมิเตอร์น้ำด้วยภาษามือไม่กี่ฉาก กลายเป็นตัวละครหลักที่มีผลต่อบทสรุปหนังไปในทันที เด็กน้อยที่ถามคำถามเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ที่มนุษย์ยากจะตอบได้ พอตอนจบ สังเกตการสั่นสะเทือนภายในตึก เนื้อหาหลังตอนจบตึกหายไป อนุมานได้ว่า เด็กและผู้คนบางกลุ่มที่เห็นในตึกและตึกแห่งนี้ ไม่ใช่สิ่งที่อยู่บนโลก เป็นสิ่งจากนอกโลก เมื่อเด็กน้อยได้สิ่งที่ตนเองต้องการก็ไปจากโลกบนนี้ทันที ตรงตามชื่อหนังนั่นแหละ อาจเพราะพนักงานจดมิเตอร์น้ำตัวหลักในหนัง คือคนที่สามารถคุยกับเด็กน้อยด้วยภาษามือได้และครั้งสุดท้ายที่ได้เจอ เขาก็สัญญาว่าจะตอบคำถามต่อเด็กน้อยทั้งหมดแม้ว่าไม่จริงหรือหักล้างไม่เด็ดขาดก็ตาม ซึ่งนั้นมันคงเพียงพอแล้วสำหรับการเข้าใจต่อมนุษย์ของเด็กน้อย พนักงานจดมิเตอร์น้ำคนนี้จึงเป็นคนสุดท้าย หยุดการวนรอบกับคนใหม่ลง แล้วจากโลกนี้ไป

สำหรับปลายทางของเหล่าพนักงานจดมิเตอร์น้ำ แม้น่าสงสารเหี้ยๆ คือเราไม่อาจมั่นใจได้ว่า ท้ายที่สุดแล้วปลายทางที่พวกเขาไปแล้วตอนจบมาเจอหน้ากันทั้งหมดนั้น มันคือที่ไหน อาจจะเป็นในตึกแล้วออกจากโลกไปพร้อมกับตึก หรืออยู่ใต้ดินกันแน่ เพราะปากทางเข้าที่พนักงานจดมิเตอร์น้ำหลบหนีออกมา คือจุดที่มีมิเตอร์น้ำให้จด พอเนื้อหาหลังตอนจบ จุดที่มีมเตอร์น้ำนั้นมันอยู่บนผืนดินปกติ เลยรู้สึกเหวอๆ ว่า หรือพวกพนักงานจดมิเตอร์น้ำทั้งหมดจะอยู่ใต้ดินในจุดมิเตอร์นำตรงนี้กันแน่วะ ….

Antebellum (2020)

Antebellum (2020 / Gerard Bush, Christopher Renz)
(USA)

เปิดเรื่องแนวหนังทาสคนดำในยุคกลางที่ถูกกดขี่ด้วยคนขาว หูย น่าเบื่ออ่ะ รู้สึกแบบนี้จริงๆ
ผ่านไปซัก 40 นาที เอ๋ ก่อนหน้านี้มันคือชาติที่แล้วเหรอ รู้สึกแบบนี้จริงๆ
พอเฉลยทั้งหมด โอ้ววววว ชอบนะ แม้จะรู้สึกว่ามันไม่สดใหม่เลยก็ตามที
ตอนจบก็มองว่าเข้าใจคิดนะ ในแง่ของการต่อยอดในสิ่งที่พวกนี้ทำเป็นธุรกิจหลักกันอยู่

Keep Your Hands Off Eizouken! (2020)

Keep Your Hands Off Eizouken! (2020 / Yuasa Masaaki)
(Japan)

อย่างดี ♥

เมื่อคนบ้าอนิเมะอยากจะสร้างอนิเมะกันเอง คนหนึ่งไอเดียเป็นเลิศ เทพด้านออกแบบ คิดคอนเซปเก่งกาจ เก็บรายละเอียดทุกเม็ด คนหนึ่งเก่งด้านออกแบบตัวละครและเรื่องโมชั่น/การเคลื่อนไหวทุกอย่าง ใส่ใจเรื่องความสมจริงเป็นหลัก อีกคนไม่ได้มีความรู้อะไรในเรื่องอนิเมะเลยแม้แต่นิด แต่สำหรับในแง่การผลิตผลงาน/ธุรกิจ คนนี้คือสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสายงานแบบนี้ เปรียบได้ดั่งคนคุมงาน/โปรดิวเซอร์ที่พาวเวอร์ที่สามารถกดดันหาทางออกให้ผู้ผลิตต่อผลงานตนเองอย่างถึงที่สุด

ส่วนตัวแล้วชอบคนสุดท้ายมากที่สุด เพราะถ้าไม่มีคนคุมในตำแหน่งนี้งานอนิเมะคงพังหรือล้มเหลวในขั้นตอนสุดท้ายเป็นแน่ เพราะคนนี้คือคนที่ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับพวกอีโก้อารมณ์ศิลปินของผู้สร้างสรรค์ในบางสถานการณ์ มุมมองความเห็นแบบคนนอกจึงสำคัญเช่นกัน เรื่องไหนพลิกแพลงได้ก็จงทำ บ้าวาดมือแต่งานไม่เดินหน้าเลยก็ฉิบหายได้นะ การมีตัวละครนี้มันเลยทำให้ฉันสัมผัสได้ถึงอีกโลกของผู้ผลิตอนิเมะทั้งหลาย ที่ฟันเฟืองสำคัญของการผลิตผลงานดีๆ สักชิ้นมันไม่ได้มีแค่คนวาดคนสร้างสรรค์เป็นหลักหรอก ถ้ากระบวนการหนึ่งเกิดปัญหา ฝั่งผู้วาด/สร้างสรรค์เขาคงไม่มีเวลาลงมาดูและแก้ไขปัญหาหรอก โปรดิวเซอร์อย่างตัวละครนี้แหละที่เป็นอีกหัวใจหลักที่จะประคองผลงานเข็นให้สามารถเสร็จสมบูรณ์เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้

แม้สิ่งที่พิมพ์ด้านบนจะดูเครียดๆ แต่ภาพรวมของอนิเมะ 12 ตอนจบนี้ทั้งหมด คือโคตรสนุกสุดๆ เลยครับ ยิ่งคนบ้าหนังหรือสนใจในเรื่องการผลิตสื่อทั้งหลาย อาจจะยิ่งอินไปด้วยก็ได้ เพราะภายใต้ความลำบาก ระดมสมองคิดเรื่อง สร้างสรรค์ ปรับแต่ง มันล้วนมีความเป็นเบื้องหลังการผลิตผลงานซักชิ้นหนึ่งออกมาจริงๆ ยิ่งพอถึงฉากไคลแม็กซ์กับผลงานที่สมบูรณ์ ความเวอร์ในรีแอคชั่นบรรยากาศของผู้ชม/ห้องฉายหนังก็พีคน่าขนลุกขึ้นไปอีก (Masaaki Yuasa ไม่ทำให้ผิดหวังจริงๆ)

ถ้าพูดถึงภาพยนตร์ มันจะมีหนังซ้อนหนัง แต่กับเรื่องนี้คงต้องเรียกว่า เมะซ้อนเมะ
เพราะมันอุดมไปด้วยจินตนาการที่พลุกพล่านที่ถูกนำมาวางทับโลกจริงแล้วเขียนสตอรี่ใหม่กันขึ้นมาจนสามารถกลายเป็นบทอนิเมะของพวกเขาได้ในที่สุด

พลอตเรื่องในอนิเมะเรื่องที่สามที่พวกสร้างกัน คือ โคตรดี!!

Tsugaru Folk Song (1973)

Tsugaru Folk Song (1973 / Kôichi Saitô)
(Japan)

เมืองๆ ริมทะเลไร้ความเจริญ คนหนุ่มสาวหันหน้าเข้าเมืองไปหางานทำ จึงเหลือแต่คนแก่ๆ ผู้หญิงและเด็ก
วันหนึ่งหญิงชายมาพร้อมวัยรุ่นอายุน้อยกว่า ที่นี่เป็นบ้านเกิดของหญิงสาว ชายหนุ่มที่เป็นคนเมืองเกิดและโตในเมืองมองว่าที่นี่น่าเบื่อไม่มีอะไรทำ จริงๆ ตัวหญิงสาวก็เลิกที่จะผูกพันกับบ้านเกิดที่นี่แล้ว ที่กลับมาเพราะมีเหตุผลเท่านั้นร่วมด้วยความต้องการสร้างสุสานให้ครอบครัวด้วยเงินประกันชีวิตที่เธอต้องไปเรียกร้องกับบริษัทจากอุบัติเหตุที่ทำให้พ่อกับพี่ชายเธอตายกลางทะเล
ส่วนวัยรุ่นก็เดินโต๋เต๋ไปมา แล้วบังเอิญไปเจอเด็กสาวตาบอดคนหนึ่งของที่นี่ นั่นทำให้เขาไม่รู้เบื่อแม้ว่าจุดประสงค์แอบแฝงจะมีความสกปรกอยู่บ้างตามสไตล์ผู้ชายคนหนึ่งก็ตาม
สำหรับเด็กสาวตาบอด อนาคตเธอก็มีทางเลือกไม่มาก ยายเธอคิดว่าจะให้เด็กสาวตาบอดนี้ไปทำงานหญิงบริการที่บาร์แห่งเดียวในเมือง แต่เด็กสาวเธอมีฝันว่า เธออยากจะเป็น Goze (กลุ่มหญิงสาวตาบอดตะเวนเล่นซามิเซน) แม้ในอดีตจะเคยมีเดินทางมาที่เมืองนี้บ้าง แต่ปัจจุบันพวกยายๆ ก็ไม่แน่ใจว่ายังมีกลุ่ม Goze หลงเหลืออยู่อีกหรือเปล่า

นี่คือสามตัวละครที่เกี่ยวพันกันเมืองเล็กๆ แห่งนี้
คนหนึ่งที่นี่เคยเป็นบ้านเกิด ตอนนี้พร้อมที่หันหลังให้บ้านเกิดอย่างไร้ความผูกพัน
คนหนึ่งไม่เคยเกี่ยวพันกับที่นี่เลยแม้แต่นิด แต่สุดท้ายก็เกิดความผูกพันจนไม่ต้องการไปจากที่นี่
คนหนึ่งไร้ตัวเลือกในชีวิตต่อการอาศัยอยู่ที่นี่นัก แต่การมาของคนๆ หนึ่งมันทำให้ชีวิตเธอมีความสุขที่นี่ ที่ๆ มีเขาอยู่เคียงข้างเธอ

ในความปลอดโปร่งเหมือนอะไรๆ ก็ถูกปลดปล่อยแล้วในช่วงท้ายๆ ไอ้ฉันก็หลงลืมไปแบบหมดสิ้นเลย ถึงเหตุผลของหญิงสาวกับวัยรุ่นในการออกจากเมืองมายังบ้านนอกไร้ความเจริญแบบนี้

ชอบตอนจบมาก มันคือชะตากรรมของคนทั้งสามคนที่ไม่อาจหลีกหนีหรือหลบเลี่ยงไปได้ โดยเฉพาะบรรยากาศที่รายล้อมของเด็กสาวตาบอดคนนั้น

Ghost Lab ฉีกกฎทดลองผี (2021)

Ghost Lab ฉีกกฎทดลองผี (2021 / Paween Purijitpanya)
(Thailand)

ครึ่งแรกว้าวมาก ขนาดรู้ว่ามีจุดเปลี่ยนของหนังที่ชาวบ้านด่าๆ กัน ก็ยังรู้สึกว้าว
จนเมื่อได้พบจุดเปลี่ยนด้วยตาตัวเอง “พวกหนูทำอะไรกันอยู่ลูก” ….. เออหว่ะ อะไรที่มีหลักการณ์ที่มีสายสัมพันธ์ในครึ่งแรก โยนทิ้งแม่งให้หมด หรือว่านี่จะเป็น ก้าวข้าม อย่างที่หนังตั้งใจเอาไว้ แต่ไม่ว่ายังไง มันก็ไม่เข้าท่าอยู่ดี เพราะมันแทบจะกลายเป็นเรื่องคนละเรื่องไปเลยก็ว่าได้ อะไรที่ว้าวจากการทดลองวางกฏทฤษฎีการจะเจอผีแบบสนุกๆ มีหลักการ เจอกำแพง หาทางออกกัน จนกระทั่งก้าวข้ามไปสู่ ความดราม่า,อารมณ์และความรู้สึก จากการทำอะไรของหนูลูก ที่เกิดขึ้น แม้มันจะแซมๆ คงเรื่องการเดินหน้าทดลองกันไว้แต่มันก็เต็มไปด้วยการประเคนโอกาสการค้นพบในการจับจุดการทดลองไปอย่างง่ายดายซะหมด แล้วฟีลหลักครึ่งหลังก็กลายเป็นเรื่องของคนเป็นเจอผีจากการทดลองซะมากกว่าการทดลองเพื่อเจอผี

สปอย**
ตอนท้ายฉากปั้มหัวใจนั่น ตอนแรกคิดว่า แฟนของกล้ามาเป็นคนปั้มหัวใจให้นะ แต่พอได้เห็นชัดๆ ว่าใครคือปั้มหัวใจ หัวเราะก๊ากเลย อะไรของมึงเนี่ย ไบโพล่าร์เหรอ !!!!

Fuck Cinema (2005)

Fuck Cinema (2005 / Wu Wenguang)
(China)

ซับเจ็คหลักเลยคือ ชายคนหนึ่งพร้อมสคริปท์หนังที่เขาเขียนเองกับมือเรื่องหนึ่ง ดัดแปลงโดยอิงจากชีวิตของเขาเองนี่แหละ

เขามาพร้อมฝันอันสูงส่ง คือ หนังเขาเรื่องนี้จะต้องคว้ารางวัลจากเทศกาลหนังต่างชาติแน่นอน แต่ติดอยู่หลายปัญหาที่จะทำให้ความฝันเขาเป็นจริง ปัญหาแรกที่เขาต้องตามหาให้เจอก็คือ หานายทุนหาคนที่จะมาทำให้สคริปท์หนังเขากลายเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งให้ได้ ระหว่างนั้นเขาก็พบปัญหาอีกหลายอย่าง จากคนทำงานที่เกี่ยวกับหนังที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับสคริปท์หนังของเขา แม้เขาจะมั่นใจว่าสคริปท์หนังที่เขาเขียนคือสุดยอดหนัง โคตรเรียล แต่ไอ้ความเรียลนี่แหละ ที่จะทำให้สคริปท์หนังเขาไม่มีวันได้กลายเป็นภาพยนตร์จริงๆ
บางคนก็แนะนำเขาว่า ให้ลดความเรียลหน่อย แต่เขายืนยันว่าสคริปท์หนังนี่เปรียบเสมือนเนื้อและหนังของเขา ตัดหั่นดัดแปลงก็เหมือนเอามีดกรีดเนื้อหนังเขาออกไป แต่ถ้ายังคงความเรียลไว้ มันจะไม่มีวันผ่านกองเซนเซอร์ไปได้แน่นอน เขาก็บอกงั้นก็หนังเขาลงไปเป็นหนังใต้ดินแทน อีกฝ่ายก็บอก จะใต้ดินมายังไง เมื่อถึงกระบวนการปริ้นออกเป็นฟิล์มหนังเพื่อฉาย ทุกบริษัทล้วนเกี่ยวพันกับวงการหนังในจีนหมด จะไม่รอดพ้นกองเซนเซอร์ก็ตรงนี้แหละ

แม้ว่านี่จะเป็นความฝันอันสูงสุดที่ต้องไล่ตาม แม้จะได้มีโอกาสพบผู้กำกับมีชื่อจากเส้นสายของ Wu ที่ตามถ่ายเขาอยู่ มันก็ไม่ได้เพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ในช่องทางการทำให้สคริปท์หนังกลายเป็นภาพยนตร์จริงๆ สิ่งเดียวที่เขารู้ตัวดีและตระหนักอยู่ตลอดระหว่างการวิ่งโร่หาโอกาสทำให้ความฝันเป็นจริงก็คือ การใช้ชีสิตเอาตัวรอดในปักกิ่งเมืองหลวงแห่งนี้ การทำงานหาเงินของเขามีเพียงอย่างที่ทำได้ก็คือ การงานเป็น Extra หน้าอคาเดมี่ฟิล์มที่เขาเคยจบการศึกษามาก่อน การเข้าเมืองมาครั้งนี้พร้อมสคริปท์หนัง เขาไม่ได้เตรียมพร้อมทุกอย่าง การหาที่ซุกหัวนอนตอนกลางคืนเขาเลยเลือกลักลอบปืนขึ้นไปนอนบนดาดฟ้าหอพักศึกษาตึกหนึ่ง เป็นต้น

จุดพีคจริงๆ ของหนังสารคดีที่ยาวเกือบสามชั่วโมงนี้สำหรับฉัน ก็คือตอนท้าย ตอนที่ชายคนนี้อ่านเรียงความที่เขาเขียนไว้ระหว่างการใช้ชีวิตที่ ตามฝันกับสคริปท์หนังและกลายเป็นซับเจ็คหลักให้ Wu Wenguang ตามถ่ายเป็นสารคดี จุดพีคจริงๆ คือตอนที่เขาอ่านช่วงที่เขาเขียนถึงตัว Wu Wenguang การทำงานร่วมกับเขาในฐานะซับเจ็ค มันสะท้อนได้ชัดเลยว่า มุมมองการทำงานร่วมกันนี้มันคือด้านที่ตรงข้ามกันจริงๆ Wu Wenguang รู้สึกอย่างหนึ่งตอนถือกล้องถ่ายชายคนนี้ตลอดทั้งวัน แต่สำหรับชายคนนี้มันคือความรู้สึกอีกแบบนึง ถ้า Wu รู้สึกสนุก ชายคนนี้คือความทรมาณ ไม่ใช่ในแง่ความรำคาญความกดดันต่อการถูกตามถ่าย แต่เป็นความสิ้นหวังมากกว่า ชายคนนี้คือคนที่ต้องการทำงานในวงการภาพยนตร์ แต่ไม่มีโอกาส เมื่อเห็น Wu ผู้กำกับมีชื่อแม้จะไม่ใช่ในกระแสหลักของวงการหนังของจีน มีความสุขสนุกในการตามถ่ายทำสารคดีเรื่องนี้ นั่นแหละจึงก่อเกิดความทรมาณในใจของชายคนนี้
แต่อารมณ์เหล่านี้ มันได้แสดงออกมาอย่างโจ่งแจ้งอะไรเลย ตลอดทั้งเรื่อง ชายคนนี้ก็มีรอยยิ้มตลอดเวลา รับมือสถานการณ์ทุกอย่างไปได้เรื่อยๆ ไม่ได้แสดงความท้อแท้หรือสิ้นหวังออกมาเมื่อพบความผิดหวัง มีใจสู้ สิ่งที่ชายคนนี้เขียนถึงผู้กำกับ ก็เป็นแค่การอ่านออกมาให้อีกฝ่ายได้ฟังเท่านั้น ไม่ได้มีอารมณ์แฝงในข้อความพวกนั้น สุดท้ายเขายังพูดกับผู้กำกับด้วยน้ำเสียงปกติเลยว่า “คุณคงเข้าใจผมนะ”

นอกเหนือจากซับเจ็คหลักคนนี้แล้ว ก็จะมีอีกสองเรื่องที่สอดแทรกมาพร้อมๆ กัน ในธีมหนุ่มสาวต่างในเมืองหลวงที่เกี่ยวกับภาพยนตร์
มีการสัมภาษณ์สาวๆ วัยรุ่นที่ต้องการเข้าวงการบันเทิง หนึ่งในคำถามสำคัญที่ถามทุกคนก็คือ พวกเธอคิดอย่างไรเกี่ยวกับ โฮสสาว/หญิงขายบริการ ส่วนใหญ่มักตอบกลางๆ จะมีแบบมองกดต่ำกับอาชีพอยู่บางคน และในทุกๆ จะมีความเกี่ยวข้อง/สนใจต่างกัน บางคนก็มีเพื่อนทำงานแบบนี้ เข้าใจถึงการเลือกใช้ชีวิตเส้นทางนี้ ถ้าไม่ขัดสนลำบากเรื่องเงินทองพวกเธอคงไม่เลือกอาชีพแบบนี้ บางคนก็ไม่คิดแม้จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้หญิงทำงานแบบนี้ มองต่ำเป็นคนไร้ศักดิ์ศรี บางก็เกี่ยวเต็มๆ เพราะเคยทำงานเป็นฝ่ายข้อมูลบันทึกปากคำของผู้หญิงประเภทที่โดนตำรวจจับมา
อีกเรื่องหนึ่งจะเป็นวัยรุ่นชายคนหนึ่ง กับการเป็นพ่อค้าขายหนังอาร์ท … พ่อค้าที่ว่านี้ก็คือ พ่อค้าหนังเถื่อนจ้า มีสมุดปกหนังให้ลูกค้าเลือก ลูกค้าถามมาให้คำแนะนำได้หมด ส่วนประเภทของหนังอาร์ทก็เปรียบเสมือน หนังยุคแว่นวีดีโอ นั่นแหละ จะว่าไป Wu Wenguang นี่ก็เถื่อนใช่เล่น ทำงานในวงการหนังแต่ก็ยังนำเสนอธุรกิจขายหนังเถื่อนเล็กๆ แบบนี้ได้หน้าตาเฉย
มันจะมีความตลกอยู่ช่วงหนึ่ง ตอนหนุ่มคนนี้เดินเข้ามหาลัย จะมีพวกผู้หญิงร้องทักเขาและผู้กำกับมา ประหนึ่งอยู่พันทิพ “โป๊มั้ยพี่” ไอ้หนุ่มกับผู้กำกับก็ขำเลย พวกเขาทักคนในวงการธุกิจแบบเดียวกัน (ขายหนังเถื่อน) 5555

รับชม youtube / Vimeo

Blood Ties (2009)

Blood Ties (2009 / Chai Yee-Wai)
(Singapore)

หนังล้างแค้นของคนตาย(ผี)

ตำรวจโดนฆ่าพร้อมเมียอย่างเหี้ยมโหดคาบ้านพัก น้องสาววัย 13 ที่อยู่ด้วยกันรอดเพราะแอบอยู่ 7 วันผ่านไปหลังงานศพ วิญญาณพี่ชาย(ตำรวจ)เข้าสิงร่างน้องสาววัย 13 เพื่อเป้าหมายเดียวคือการล้างแค้น ฆ่าไอ้พวกกลุ่มคนพวกนั้นที่มาฆ่าตำรวจตายพร้อมเมีย
ครึ่งแรกของหนังให้เวลากับที่มาที่ไปของเรื่องราวทั้งหมดหน่อย แม้ว่าจะหนังจะเริ่มด้วยฉากเด็กสาวเอาปืนจ่อปากตัวร้ายแล้วยิงตายคาที่ก็ตาม ฝั่งผู้ร้ายแค้นตำรวจเพราะเกิดปะทะกันช่วงบุกจับ น้องหัวหน้าตัวร้ายโดนตำรวจยิงตาย แล้วนั่นแหละคือเหตุผลให้ตัวร้ายมาล้างแค้นตำรวจ บุกถึงบ้าน แล้วทำระยำตำบอนมากมายใส่ตำรวจและเมียก่อนจะยิงทิ้งปล่อยให้ตายอยู่กลางห้อง
แล้วก็ต่อเนื่องด้วยเรื่องราวในส่วนของตำรวจสิงร่างน้องสาวกับการเดินทางไล่ฆ่าพวกตัวร้ายผู้ใหญ่ทีละคน

ชอบช่วงบทสรุปตอนใกล้จบมากๆ มันเป็นอะไรที่ไม่ได้นึกถึงไว้เลยก็ว่าได้ แต่พอผลลัพท์มันออกมาเป็นแบบนี้ มันก็ดันลงตัวสุดๆ เข้ากับหนังอย่างลงตัวไปเลยก็ว่าได้

เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ***********************

ส่วนตอนจบ ถ้าไม่คิดอะไรมาก มันก็จบไปสบายๆ ของมันแหละ แต่เมื่อมองกฏเรื่องคนตายที่หนังวางไว้ มองย้อนไปถึงคำพูดของตำรวจที่ซื้อของขวัญให้แม่ ฉุกคิดถึงถึงคำพูดของแม่ก่อนจบ โอ้ยยยยย เกิดความชุลมุนในหัวมาก ตกลงจะเป็นแบบที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงๆ แบบนั้นจริงเหรอ … คือ สิ่งที่ฉันประมวลผลออกมาในตอนจบของหนัง มันพลอตหลักของหนังญี่ปุ่น Himitsu (1999) เลยนั่นแหละ

Raped by an Angel (1993)

Raped by an Angel (1993 / Andrew Lau)
(Hong Kong)

ทนายชายผู้คร่ำหวอดในกฏหมาย ใช้ทักษะในหน้าที่การงานตัวเองเพื่อเป้าหมายในการข่มขืนผู้หญิงคนหนึ่งแล้วไร้ซึ่งความผิด เพราะเป็นทนายจึงรู้หลักการณ์ที่ก่อให้เกิดความผิดทั้งหมดในการกระทำต่อฝ่ายหญิงข้อหาข่มขืน ดังนั้นทนายจึงสร้างหลักฐาน/พยานแวดล้อมทุกอย่างเพื่อมัดตัวเองไว้กับความจริงที่จัดฉากขึ้นมา ว่าทนายคนนี้นะคือคนรักของฝ่ายหญิง เมื่อทุกอย่างพร้อมทนายก็เข้าห้องอีกฝ่ายพร้อมลงมือข่มขืนอย่างไร้ความกังวลใดๆ ทั้งนั้น ไม่ตกใจหรือประหม่าเช่นกันเมื่อฝ่ายหญิงไปแจ้งตำรวจ ฟ้องศาลว่าเธอถูกชายคนนี้ข่มขืน กลับกันทุกสิ่งอย่างที่ทนายเตรียมตัวไว้ มันทำให้ทนายกลายเป็นเหยื่อในคดีนี้แทนฝ่ายหญิงไป ทนายโดนส่งฟ้องข้อหาข่มขืนแต่เอาตัวรอดมาได้ในการตกเป็นเหยื่อของการขู่กรรโชกทรัพย์ของฝ่ายหญิง ที่มีผลมาจากการวางแผนเตรียมตัวทั้งหมดของทนายระยำคนนี้

ช่วงนี้ตั้งต้นมาทำมาดีนะ มีความน่าเชื่อถือ แต่หลังจากนั้นดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือซักเท่าไหร่ เหมือนทำเอามันมือมากขึ้นๆ สภาพเหยื่อสาวที่ถูกข่มขืนแล้วชายข่มขืนรอดตัว เธอกลับไม่ได้จบแค่ความชอกช้ำเท่านั้น ความไปไกลในการกระทำของทนาย มันคือการถึงเลือดถึงเนื้อแบบที่ เอ่อ ต้องเอากันถึงขนาดนี้เลยเหรอวะ
ยิ่งช่วงท้ายยิ่งไม่น่าเชื่อถือเข้าไปแบบสุดกู่ มันคือการเดินเกมของตัวละครด้วยความโง่ที่ต้องการจะเอาคืนอีกฝ่าย มึงเพิ่งรอดมานะ ทำไมมึงถึงโง่จะเอาชนะเอาคืนอีกฝ่ายให้ได้วะ หรือเพื่อนเธอเพิ่งโดนอะไรมาจำไม่ได้เหรอแล้วนี่จะเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยง แล้วช่องว่างระหว่างกันคือ รู้ทั้งรู้แหละว่าอีกฝ่ายคือใครแต่ก็ยังเดินเกมเพื่อจะเอาคืนอีกฝ่าย แบบว่า อีนี่มันเพื่อนคนนั้นนี่หว่า ไม่ได้ๆ อันตราย มันต้องวางแผนอะไรไว้แน่ๆ แต่หนังก็เลือกที่จะให้ตัวละครโง่แบบมีความมั่นใจสูงว่าจะเล่นงานอีกฝ่ายได้แน่นอน …กูไม่เชื่อมึงก็ตรงนี้แหละ
แต่พอถึงตอนจบก็เข้าใจแหละว่า ที่ต้องทำให้ทุกอย่างดูโง่งั่งไปซะหมด ก็เพียงแค่ต้องการให้คนดูรู้สึกสะใจที่บทสรุปของทนายระยำมันต้องโดนจัดหนักแบบนี้เท่านั้น อย่าให้มันลอยนวล

Spring Awakens (1947)

Spring Awakens (1947 / Mikio Naruse)
(Japan)

ชอบที่เปิดเรื่องมาใสๆ หนังวัยรุ่นแบบเด็กมัธยมเฮฮาๆ ผ่านไปซักครึ่งเรื่องเริ่มจริงจัง ความรักคืออะไร มันดีหรือไม่ดี เราจะรู้ได้ไงว่าเรามี แล้วถ้าเรามีมันจะรับมือกับมันยังไง พอไปช่วงท้ายนี่ หนักพอสมควร ในแง่ทางออกของเด็กในการรับรู้เข้าใจและรับมือกับเรื่องที่เจอตรงหน้า หนึ่งเดียวที่น่าจะช่วยเด็กได้คงมีเพียงพ่อแม่ แต่จะพ่อแม่แบบไหนการรับมือความว้าวุ่นใจของลูกย่อมไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะแนวคิดที่ฝังหัวติดตัวของผู้เป็นพ่อแม่

อ่านเพิ่มโดยละเอียดจากที่นี่ได้ แน่นอนว่าเปิดเผยเนื้อหา

Tea-Horse Road Series: Delamu (2004)

Tea-Horse Road Series: Delamu (2004 / Tian Zhuangzhuang)
(China / Japan)

สารคดีบันทึกเส้นทางการเดินทาง Tea-Horse เก่าแก่ทางตอนใต้ของจีนที่มีพรมแดนติดกับยูนนานและทิเบต ที่ดูมีความอันตราย เอาเข้าจริง สารคดีมันไม่ได้มุ่งไปทางการบันทึกเส้นทางสุดหวาดเสียวอะไรเลย แต่เป็นการบันทึกวิถีชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านเล็กๆ ทั้งหลายระหว่างทางผ่านบนเส้นทางแห่งนี้มากกว่า

อ่านเพิ่มเอาจากที่นี่แทนละกันนะ