Archive | July 2019

Karenjit Kaur – The Untold Story of Sunny Leone (2018)

Karenjit Kaur - The Untold Story of Sunny Leone.jpg

 

Karenjit Kaur – The Untold Story of Sunny Leone (TV Series, 2018 / Aditya Datt)
(India)

Season 1

ดูชื่อเรื่องก็รู้ได้ทันทีเลยว่า ต้องเป็นซีรี่ส์ที่พูดชีวิตของ Sunny Leone นับตั้งแต่ก่อนเข้าวงการไปจนถึงขั้นสูงสุดของวงการ Porn ที่หลายคนรู้จักและหลงไหล
แต่ส่วนที่ดีกว่าจริงๆ คือมันพูดไปถึงตัวตนจริงๆ นอกตัวตนในวงการอย่าง Sunny Leone นั่นคือชีวิตของ Karenjit Kaur (ชื่อจริง) ครอบครัวเธอ พ่อ แม่และน้องชาย กับเส้นทางชีวิตที่หยิบเอาหลายช่วงอายุของ Karen มาเล่า (ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นเป็นต้นไป Sunny Leone แสดงนำเองหมด)

ตัวหนังจะแบ่งการเล่าแบบสลับไปมาแบบไม่ลำดับเวลา จะมีปัจจุบันที่ชื่อ Sunny Leone คือติดลมบนไปแล้ว เคยเป็น Porn Star ในอเมริกาแต่ปัจจุบันมาเป็นดารา/นักแสดงในวงการบอลลีวู้ดของอินเดีย ที่จะมาเป็นแขกในรายการคุยแบบถึงลูกถึงคนรายการหนึ่ง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นตัว Sunny นี่แหละที่เล่าชีวิตเธอย้อนไป มีทั้งสมัยยังอยู่แคนาดา ย้ายมาลอสแอนเจลิสทั้งครอบครัว ชีวิตในเมืองใหม่ที่โดนบูลลี่จากญาติตัวเอง ทั้งช่วงวัยรุ่นที่มาพร้อมความตกต่ำของครอบครัวเรื่องการเงิน แล้วตัว Karen ก็ได้โอกาสจากงานถ่ายแบบที่ต้องแอบไม่ให้พ่อแม่ที่หัวโบราณรู้ โดยมีน้องชายเป็นที่ปรึกษาเดียวสำหรับ Karen ในการตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตตัวเอง ตรงช่วงนี้้คือจุดสำคัญ จุดพีคที่มีจุดเปลี่ยนหนักๆ มากมาย เพราะจากการแอบถ่ายแบบหาเงิน ก็เริ่มถลำลึกไปยังงานถ่ายนู้ดเซ็กซี่ให้นิตยสาร Penthouse ก่อนจะฟลุ๊คไปได้ Pets of the Year พร้อมเงินรางวัลรวมไปถึงขึ้นปกนิตยสารขายทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วงท้ายซีซั่นก็มีโดดไปแตะชีวิตช่วงที่เป็น Porn Star รุ่งเรือง

ทั้งนี้ทั้งนั้นในซีซั่น 1 นี้ เนื้อหาโดยรวมทั้งหมด ยังไม่ได้ไปแตะช่วงการเปลี่ยนผ่านจากถ่ายนู้ดไปสู่การเข้าวงการถ่าย Porn ของ Sunny

ที่บอกส่วนที่ดีของซีรี่ส์เรื่องนี้ส่วนนั้น คือมันสามารถเอามาสะท้อนเส้นทางชีวิตของผู้หญิงคนที่เลือกเดินเส้นทางอาชีพขายเรือนร่างเซ็กซี่แลกเงินได้ ว่า แม้การเลือกเส้นทางตรงนี้ตนเองอาจจะไตร่ตรองมาดีแล้ว แต่ผลกระทบที่ตนเองไม่สามารถควบคุมได้นั้น มันได้สร้างบาดแผลต่อคนใกล้ชิด ครอบครัว พ่อแม่ ไว้ร้ายแรงเพียงใดกัน จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน ถ้าคนอื่นในสังคม ญาติพี่น้องพ่อแม่ล่วงรู้ว่า ลูกสาวตนเองทำอาชีพถ่ายเซ็กซี่ ขายเรือนร่างอะไรแบบนี้ 

ช่วง EP 9-10 นี่มันบานปลายแบบหนักจริง เพราะผลกระทบของ Karenjit Kaur ภายใต้ตัวตน Sunny Leone ที่้ทำหน้าที่ในสายงานตัวเองแบบเต็มที่ ถูกกลุ่มคนอินเดียในอเมริการะแวกนั้นลากประเด็นนี้มาโหนให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่เล่นงานครอบครัว Karen แบบไม่ไว้หน้า โหนเรื่องศาสนาที่ Karen เป็นชาวซิกส์ โหนเรื่องเชื้อชาติอินเดีย โหนเรื่องผู้หญิง/ลูกสาว แล้วเอาทั้งหมดมาจ้วงแทงผู้เป็นพ่อเป็นแม่ ถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาป เพียงเพราะเส้นทางชีวิตที่ลูกสาวตัวเองเลือกเดิน
ซึ่งก็รวมไปถึงหัวอกของผู้เป็นพ่อแม่หรือน้องชายที่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ จะมองลูกสาวยังไงแล้วจะรับมือในแรงสะท้อนต่องานลูกสาวที่ทำให้ครอบครัวงานเข้าได้อย่างไร

นี่ขนาดในซีซั่น 1 นี้ พูดแค่ตัว Sunny Leone ในวงการถ่ายแบบนู้ดเปลือยเท่านั้น ยังสามารถยังระดับผลกระทบต่อครอบครัวได้น่าใจหายถึงขนาดนี้ จึงรู้สึกอยากดูซีซั่น 2 ต่อโดยทันทีเลย เพราะแน่นอน ซีซั่น 1 ทิ้งท้ายถึงการเปิดตัวเข้าวงการถ่าย Porn ของ Sunny Leone แบบเต็มตัวกันไปเลย ซีซั่น 2 การถ่าย Porn านขายเซ็กส์แลกเงินจริงๆ จะส่งผลถึงตัวตนจริงๆ อย่าง Karenjit Kaur และครอบครัวได้หนักหน่วงขึ้นถึงระดับไหนกันแน่

The Ghost Train of Manggarai (2008)

The Ghost Train of Manggarai.jpg

 

The Ghost Train of Manggarai (2008 / Nayato Fio Nuala)
(Indonesia)

หนังผีจากอินโดของผู้กำกับคนนี้ แรกๆ ที่เคยดูไปสองเรื่องนี่ ร้องว้าวเลยนะ ความไม่แคร์มั่วไปเรื่อยผสมกับตุ้งแช่ (jump scare)หากินพลาง แต่เมื่อดูไปบ่อยเข้าหลายเรื่องเข้า ก็เริ่มปลงให้กับหนังของผู้กำกับคนนี้ละ
ที่เคยว้าวและเพลินกับหนังผีที่ไม่มีที่มาไป ก็เริ่มกลายเป็นการก่นด่าหนังไปแทน สำหรับเรื่องนี้ รถไฟผีที่มาที่จากเหตุการณ์รถไฟตกเขาตายทั้งโบกี้ ที่เหลือจากนั้นก็การใช้ตรรกะความเป็นหนังผีขึ้นมาเป็นโล่ป้องกัน มั่วไปเรื่อยเล่นงานคนเป็นมันซะทุกคน แรงจูงใจของผีคืออะไร ไม่รู้ รู้แต่ว่าผีจากรถไฟตนนั้นที่พิเศษกว่าตนอื่น มันมักแอบมาโผล่แวปๆ ลอยผ่านตาผ่านหลังไปมาให้คนเป็นขนลุก บ้างก็ฆ่าคนเป็นด้วยการไปนั่งซ้อนมอเตอร์ไซอีกฝ่าย พอคนเป็นหันมาตกใจเจอผีบังคับมอเตอร์ไซค์ไม่อยู่ก็เกิดอุบัติเหตุตาย (ตอนดูไม่ได้รู้สึกแบบนี้นะ แต่ทำไมตอนมาเขียนถึงฉากผีซ้อนมอเตอร์ไซค์แล้วกูพิมพ์ไปขำไปวะ)

ถึงที่สุดแล้ว ก็แอบหวังว่าตอนท้ายมันจะแอบมีความเหวอในการสรุปถึงรถไฟผี ผีตนนั้น แล้วน้องสาวนางเอกว่าเกิดอะไรขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรในกอไผ่ให้เหวอทั้งสิ้น มีแต่การเดินตุ้งแช่ (jump scare)ต่อไป โดยไม่แคร์กฏบางอย่างจากสิ่งของที่หนังวางไว้สำหรับตัวละครบางตัว แล้วนางเอกในเฟรมสุดท้ายของหนัง มันเชี่ยยยยยยยยอะไรรรรรรรรรรร

หลังดูจบลองย้อนไปดูหนังเรื่องอื่นๆ ของผู้กำกับคนนี้ที่เคยเขียนถึง ก็พบความฮาบางอย่างที่ไม่รู้ว่าผู้กำกับมันตั้งใจหรือเปล่า มันคือการใช้ผีให้ดูมีความเบาสมองในความสยองขวัญ อย่างเรื่อง Jeritan kuntilanak (2009) จะมีฉากที่ตัวละครนั่งลงบนโซฟา ที่มาขนลุกหลอนแล้วกรี๊ดแตกในภายหลังว่า กูเพิ่งนั่งทับผีไป อีกเรื่องก็ Kuntilanak kamar mayat (2009) ฉากอาบน้ำสระผมแล้วเอื้อมไป ผีก็หยิบขวดแชมพูยื่นส่งไปให้ ส่วน The Ghost Train of Manggarai (2008) ก็ไม่ใช่ไม่มีนะ ซีนตลกทำไปได้ทำนองนี้ คือจังหวะตัวละครหญิงคนหนึ่ง ที่หลอนกับการแวปหลอกไปมาของผี ค่อยๆ หย่อนก้นลงที่โซฟา ก่อนจะสัมผัสได้ว่า กูนั่งทับผีที่นั่งอยู่โซฟาก่อนแล้ว …. เอากับมึงสิ

Four Times that Night (1971)

Four Times that Night (1971).jpg

 

Four Times that Night (1971 / Mario Bava)
(Italy / West Germany / USA)

สิ่งที่ทำให้ตาลุกโชนระหว่างดูหนัง คือเมื่อช่วงกลางๆ เรื่องไปนิดนึง ที่ตอนแรกสงสัยถึงชื่อหนัง พอหนังผ่านไปสองบทที่เล่าเรื่องแบบสองมุมมอง ตรงนี้ก็พอคลำทางหนังได้ละ จนเมื่อมุมมองบุคคลคนที่สามโผล่มานี่ ไอ้สาส Rashomon หว่ะเฮ้ย

โดยตัวหนังจะใช้เหตุการณ์ในห้องของผู้ชายเป็นสถานที่หลัก เกิดอะไรขึ้นในห้องนี้ในมุมมองของตัวละครทั้งสามคน เริ่มจากผู้หญิงที่เรื่องของเธอนั้น ตนเองเป็นเหยื่อโดนลูกไม้ของผู้ชายทำให้เธอเกือบจะโดนฝ่ายชายขืนใจในเขา ได้ฝากรอยเล็บไว้ที่หน้าผากฝ่ายชายก่อนจะหนีมาได้แบบเสื้อขาดแล้วเล่าให้แม่เธอฟัง
มุมมองที่สองคือมุมมองผู้ชายที่เล่าให้เพื่อนๆ ในวงเหล้าถึงที่มาที่ไปของรอยข่วนบนหน้าผาก เรื่องจากปากของผู้ชายแทบจะกลายเป็นคนอารมณ์กับเรื่องในมุมผู้หญิงเลย สิ่งที่สื่อมาหลักๆ เลยก็คือ ความยั่วเย็ดหิวเซ็กส์อารมณ์ทางเพศสูงของฝ่ายหญิงคือการคุกคามเข้าถึงตัวเขาในห้องของเขาเอง ส่วนรอยเล็บเกิดขึ้นโดยบังเอิญจากความหิวของนาง
มุมมองที่สาม คือคนเปิดประตูโรงแรม คนนี้มันเล่าให้คนส่งนมฟังว่า เมื่อคืนมันแอบส่องคู่รักอยู่ผ่านดาดฟ้าตึกข้างๆ อยู่ ความเหวอในช่วงมุมมองคนที่สามนี้คือการทำลายกฏการเล่าเรื่อง ที่มันแน่ชัดอยู่แล้วว่านี่คือเรื่องเล่าในมุมคนเปิดประตูโรงแรมจากการส่องตึกข้างๆ แต่ภายในเรื่องราวในห้องนั้นกลับเกิดการเล่าเรื่องซ้อนขึ้นจากเพื่อนตึกเดียวของฝ่ายชายที่เล่าเรื่องของตัวเองซ้อนทับขึ้นมา … บ้าไปแล้ว
แต่ก็ชอบการบิดเนื้อหาหลักที่เหมือนกันสามมุมมองที่เป็นเรื่องเซ็กส์ให้แปลกแยกไปมากกว่าเรื่องเซ็กส์ชายกับหญิงเพียงอย่างเดียว 

สำหรับมุมมองที่สี่ แม่งคือการโดดออกจากตัวหนังหลักมา break the fourth wall กับคนดูแบบมึนๆ โดยในมุมมองที่สี่นี้ จะเป็นการยกตัวอย่างจากนักจิตวิทยา โดยใช้เรื่องราวที่เกิดขึ้นที่โรงแรมเหมือนเดิมนั่นแหละ จะเน้นย้ำหนักๆ ไปในเหตุการณ์นี้ด้วยการทำให้โลกสวยสุดๆ ชนิดที่ไม่สามารถเชื่อมุมมองที่สี่นี้ได้เลย แต่ทำไมน้อ เมื่อเทียบองค์ประกอบหลายๆ อย่างที่น่าจะยืนอยู่บนความเป็นจริงที่มีโอกาสขึ้นตามจรีงได้มากที่สุด แม่ง ไอ้เหตุการณ์โลกสวยในมุมมองที่สี่กลับดูน่าเชื่อถึอที่สุดไปได้วะ

Glass (2019)

Glass (2019).jpg

 

Glass (2019 / M. Night Shyamalan)
(USA)

เปิดเผยเนื้อหา ****

-ตอนดู Split ก็สงสัยอยู่ฉากนึง ช่วงที่ Dennis / Patricia / Hedwig / Kevin Wendell Crumb / Barry / Orwell /Jade ไปซื้อดอกไม้แล้วเอาไปวางที่ชานชลารถไฟ(ก่อนกลายร่างเป็น he Beast) เพื่ออะไร หาคำตอบไม่ถูกจริงๆ ระหว่างดูแล้วนึกย้อนก็ไม่พบคำตอบอ่ะนะ จนได้มารู้คำตอบเอาตอนที่ดู Glass นี้แหละ เคลียร์ข้อข้องใจได้เสียที

-ชอบการลากทฤษฎีบนหลักความเป็นจริงมากล่อม/โน้มน้าวให้ความพิเศษในพลังกลายเป็นความปกติไม่ใช่การเป็นคนที่พิเศษจริงๆ แล้วยิ่งมาเจอบทสรุปตอนท้ายอีก ยิ่งทำให้ฉากพูดกล่อมของหมอหญิงกลายเป็นแรงจูงใจที่มีน้ำหนักโคตรๆ ไปโดยปริยาย การพูดกล่อมดูเป็นการใช้ไม้นวมนวดเพื่อเปลี่ยนความคิดของเป้าหมายให้มองตัวเองเป็นคนธรรมดา ถ้าไม่ได้ผลก็จะใช้ไม้แข็งหวดให้ไร้ตัวตนในสังคมบนโลกนี้ไปในที่สุด
เอาจริงๆ โคตรชอบการมองสมดุลบนโลกของกลุ่มโพธิดำนี้ มนุษย์ทุกคนต้องเป็นคนปกติ อย่าได้มีมนุษย์ที่พิเศษกว่าคนอื่น ต้องกำจัดคนพิเศษทิ้งไปให้หมดความหมายบนโลก ตัดไฟแต่ต้นลม ตัดวงจรการกราบไหว้บูชาคนพิเศษของมนุษย์ปกติออกไป มิเช่นนั้นอาจเกิดการปกป้องหรือแตะต้องไม่ได้จากเหล่าสาวก ใครแตะต้องคนนั้นคือศัตรู แบบหนังฮีโร่ของมาเวล.. #ล้อเล่นนะคร้าบบบ


-แต่ที่ชอบจริง จนเทคะแนนให้มากมายเลยก็คือบทสรุปของหนังในตอนจบ ชอบตรงที่ว่า มันไม่ควรมีคนต้องถูกลืมหรือถูกทำให้ไม่มีตัวตนในสังคม คนทุกคนไม่ว่าจะพิเศษกว่าคนธรรมดาแค่ไหน จะเป็นคนดีหรือจะชั่วเกินเยียวยา สังคมก็ควรได้รับรู้ว่าพวกเขา(เคย)มีตัวตนบนโลกใบนี้

The Children (1980)

The Children (1980).jpg

 

The Children (1980 / Max Kalmanowicz)
(USA)

เด็กแบบนี้ Hugตายเลย..



ชอบที่หนังใช้ความเป็นผู้ใหญ่/พ่อแม่มองเด็กเป็นเด็กด้วยความเอ็นดูและเป็นห่วงมาเป็นอันดับแรก เด็กที่น่ารักน่าเอ็นดูที่อ้าแขนต้องการกอดผู้ใหญ่/พ่อแม่ เจอแบบนี้ผู้ใหญ่ทุกคนก็เข้ามาสวมกอดโดยอัตโนมัติโดยหารู้ไม่ว่า Hugนี้ตายเลยนะนั่น
ซึ่งตรงส่วนนี้ก็ถูกนำมาใช้เพิ่มในแง่ การต้องปกป้อง ความใจอ่อนไม่กล้าลงมือ ต่อสิ่งอันตรายตรงหน้าในคราบเด็กหรือลูกของตัวเอง แล้วสุดท้ายก็ยิ่้งขยี้ซ้ำหนักขึ้นกับเรื่องการมองเป้าหมายต้องกำจัดโดยมาตรฐานตนเอง ลูกตัวเองจะกล้ามือหรือไม่ แล้วถ้าเป็นลูกคนอื่นล่ะ จัดเต็มเลยป่ะ…

Vella Raja (2018)

Vella Raja.jpg

 

Vella Raja (TV Series, 2018 / Guhan Senniappan)
(India)

หนังเปิดด้วยภาพตึกแห่งหนึ่งที่ออกข่าวใหญ่ว่าเกิดการยิงกันภายในมีคนตายจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นหนังก็จะทำเราสับสนด้วยการเล่าเรื่อง 2-3 ไทม์ไลน์ มีช่วงเวลาหนึ่งก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ย้อนไปประมาณสองสัปดาห์ แล้วก็ช่วงเวลาหนึ่งตอนปี 2015 กับเรื่องของแก๊งค้ายา ความสับสนที่ว่าคือในระยะเวลาสองสัปดาห์ก่อนหน้าเหตุการณ์ในตึกที่ออกข่าวนั้น มันสับย่อยเป็นเรื่องของคนอื่นไปประมาณ 4-5 คน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องเบาๆ แฝงความหวังมั่ง ตลกร้ายมั่ง อาภัพโชคมั่ง เหนือธรรมชาติมั่ง และซีเรียสอีกเรื่องกับการประท้วงโรงงานของผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มความสับสนก็คือบางครั้งมันก็ไม่ได้บอกช่วงเวลาของเรื่องที่กำลังเล่าอยู่ ตอนแรกจึงงงตามเลยเวลาตัดเข้าเรื่องของพวกแก๊งค้ายา เท่านั้นไม่พอ เรื่องของตำรวจหญิงคนหนึ่งก็ด้วย ที่ตอนแรกก็หลงคิดว่าเป็นช่วงเวลาหลังจากนั้นตอนเธอพยายามสืบเรื่องที่เกิดขึ้นในตึกแห่งนั้นว่าเกิดอะไรขึ้น 

จนเมื่อผ่านไปถึงซัก EP ที่ 4 ทุกอย่างก็เข้ารูปเข้ารอย ไม่งงไม่สับสนอีกต่อไปละ เรื่องแก๊งค้ายาเมื่อปี 2015 นั้น คือที่มาที่ไปของหัวหน้ากลุ่มค้ายาคนหนึ่งที่อยู่ในตึกที่เป็นข่าวต้นเรื่องนั่น ส่วนเรื่องของคนอื่นๆ ประมาณ 4-5 คนนั้น มันจะลากโยงเข้ามาเกี่ยวกับตึกแห่งนี้ยังไง ในที่สุดก็มีคำตอบใน EP ที่ว่านี้แหละ ได้รู้ว่าตึกแห่งนี้นั้นก็คือโรงแรมกึ่งร้างที่พวกค้ายากับหัวหน้าใช้เป็นที่ซ่อนตัว แล้วโชคชะตาความบังเอิญก็ทำให้พวกคน 4-5 คนนั้น หลงเข้ามาใช้บริการโรงแรมแห่งนี้ จบข้อสงสัยความสับสนลงแค่นี้ ที่เหลือก็จะพบแต่ความสนุก เดือด และตลกร้ายปะปนกันไป

อย่างหนึ่งเลยที่น่าเสียดายคือ ทริลเลอร์โหดๆ เดือดๆ ในหนังนี่ทำออกมาได้มาก แต่ภาพรวมทั้งหมดมันใช่หนังทริลเลอร์เต็มตัวไง มันผสมจังหวะความตลกร้าย บรรยากาศเบาๆ ไม่กดดันร่วมไว้ตลอดเกือบ 10 EP เลย แต่เมื่อไหร่ที่หนังตบเข้าหาฉากทริลเลอร์นะ เมื่อนั้นคือจุดพีคของหนังแทบจะทุก EP เลยก็ว่าได้ ยิ่งช่วงรอยต่อระหว่าง EP 9 กับ 10 นี่ ความลุ้นตามเล่นเอาแทบจะหยุดหายใจกันไปเลย

สิ่งที่ดีที่เอื้อเปิดทางต่อคนดูได้ทุกกลุ่ม นั่นคือ แต่ละ EP นั้น ยาวแค่ยี่สิบนาทีนิดๆ เอง พอแต่ละ EP มันกระชับ ทั้งหมดของซีรี่ส์เรื่องนี้ก็พลอยกระชับตามไปด้วย ดูไปแปปๆ จบ 10 EP ละ 

Alice no Toge (2014)

Alice's Thorn.jpg

 

Alice no Toge (Mini-Series, 2014 / Ayuko Tsukahara)
(Japan)

เปิดเผยเนื้อหา *****

หนังล้างแค้นของหมอหญิงคนหนึ่ง ต่อบุคลากรบางคนในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของพ่อเธอเมื่อ 15 ปีก่อน
การล้างแค้นของเธอคือการแทรกซึมเข้าไปเป็นหมอที่นี่้ในอีกตัวตนหนึ่งจากเมื่อ 15 ปีก่อน ด้วยข้อมูลและเบาะแสที่เธอเก็บรวบรวมมาตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เมื่อเธอได้บรรจุเป็นหมอที่นี่จริงจัง เธอก็จึงเริ่มเแผนการล้างแค้นขึ้น สำหรับวิธีการล้างแค้นของเธอ ในทีแรกก็สวมบทบาทเข้าด้านมืดเต็มตัว ใช้ความสกปรกทุกวิถีทางเพื่อเล่นงานอีกฝ่ายแบบถึงพริกถึงขิง แต่ก็ไม่ได้ถึงเลือดถึงเนื้อ เป็นแค่การปิดประตูตายอาชีพการงานในสายการแพทย์ของคนที่เธอต้องการล้างแค้นแค่นั้น

สิ่งที่ชอบเลยในหนัง คือการเผยด้านมืดในวงการแพทย์เพื่อหาผลประโยชน์ให้ตัวเองในหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหน้าตาชื่อเสียงในฐานะหมอคนหนึ่ง โดยใช้ผู้ป่วยเป็นเครื่องมือหรือมองเป็นอุปกรณ์/สิ่งของเพื่อใช้ผลักดันยกระดับขั้นตัวเองเพียงเท่านั้น ไม่เคยแม้จะมองผู้ป่วยในด้านศีลธรรมหรือความเป็นมนุษย์เลยแม้แต่นิด ใช้แล้วทิ้งหมดประโยชน์ก็ทิ้งขว้าง ทำนองนั้น ซึ่งด้านมืดที่ปรากฏในหนังก็จะค่อยๆ เพิ่มระดับความหลากหลายมากขึ้น จนไปสุดที่ความระยำสูงสุดที่มีความเป็นความตายเข้ามาเกี่ยวเพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว


ตัวมินิซีรี่ส์นี้ มีสิบตอน แต่มันดำเนินเรื่องไปเร็วมาก จนรู้สึกเอะใจว่านี่ยังไม่กลางเรื่องเลย ตัวใหญ่ก็เผยแล้ว ที่เร็วเพราะ 3-4 ตอนแรกนี่ จัดไปตอนละ 1 คนเลย แล้วพอถึงตอนที่ 5 ทุกอย่างก็หยุดนิ่ง ถ้าเทียบให้เห็นภาพเลย ตอน 1-4 นี่มันคือการเคี้ยวง่ายมาก นางเอกเดินหน้าล้างแค้นได้สะดวกไหลลื่น จากนั้นก็ค่อยๆ เป็นการคี้ยวยากขึ้นแต่ก็ยังเคี้ยวจนละเอียดเช่นเดิม ส่วนการหยุดที่ตอน 5 เมื่อตัวใหญ่เผยตัวชัด มันคือความเหนียวเคี้ยวไม่เข้ากัดไม่ลง จนจวบจนติดคอตัวเองอีก ซึ่งสถานการณ์พวกนี้จะถูกลากยาวต่อไปได้อีกประมาณ 2-3 ตอนเลย

ความตลกอย่างหนึ่งที่อาจจะเป็นฉันที่ตลกไปคนเดียวก็ได้ก็คือ โครงสร้างการปะทะตัวร้ายเรียงคนที่ให้ความรู้สึกเหมือนพวกมังงะสายหลัก คือจากคนแรกในตอนที่ 1 ที่จบด้วยการซัดทอดไปหาอีกคนที่มีตำแหน่งใหญ่กว่า ฉะนั้นตอน 2 ก็จะเป็นการเล่นงานเป้าหมายคนที่ถูกซัดทอดมา ที่จะจบลงด้วยการซัดทอดไปหาอีกคนอีก ซึ่งเป็นแบบนี้ไปประมาณ 5 ตอน จนคนดูจะรู้สึกได้ว่า การซัดทอดมันเดินทางมาสุดแล้วที่ตัวบอสใหญ่เคี้ยวยากคนนี้ แต่ไม่ใช่หว่ะ แม่งยังมีบอสลับคุมเบื้องหลังบอสเคี้ยวยากตัวนี้อีก
แต่ที่บ้าบอที่สุดสำหรับฉัน(เท่านั้น) คือช่วงตอน 9-10 สิ่งที่เกิดขึ้นมันทำให้ฉันคิดถึงทฤษฎีลุงขายราเม็งในมังงะนารูโตะขึ้นมาทันทีเลย เพราะใครมันจะคิดล่ะว่า แม่งยังมีตัวละครเงาอีกคนที่แทบไม่ได้ถูกวางอยู่ในสารบบตัวร้ายคนเลวทางการแพทย์ในเรื่องนี้ เหมือนเป็นคนนอกตัวประกอบที่เราเห็นผ่านๆ ประจำในเรื่อง แบบทฤษฎีลุงขายราเม็งในมังงะนารูโตะ ซึ่งกับเรื่องนี้คือทำให้ทฤษฎีลุงราเม็งนี้เป็นจริง คนนอกที่มองข้ามกลับกลายเป็นตัวละครเงาตัวสำคัญที่สุดที่อยู่เบื้องหลังต้นตอเป้าหมายการล้างแค้นของนางเอกคนนี้

อีกอย่างหนังที่แอบหวังไว้เองคนเดียวในหนัง(ที่มีบทสรุปแบบสว่างไม่มืดมน) คือ ช่วงตอน 9 กับ 10 เนื้อหามันสามารถพาสู่ความดาร์กได้สบายๆ ในตอน 9 มันสามารถพานักข่าวให้ก้าวไปสู่การเป็นปิศาจเสียเองได้ ส่วนตอน 10 ถ้าจบแบบความตายคือการชดใช้แล้วสิ่งเดียวที่นางเอกมอบให้คนนั้นคือรอยยิ้ม น่าจะพีคสุดๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้รู้สึกว่าบทสรุปของเรื่องจริงๆ มันมีปัญหาหรอกนะ จบแบบของมันก็ดีอยู่แล้ว

สุดท้ายนี้ รู้สึกอยากตบหน้าตัวเองดังซักหนึ่งที ทำไมน้อ ฉันถึงจำ Ueno Juri ไม่ได้ เอาจริงๆ เหตุผลเดียวที่ทำให้หาเรื่องนี้มาดูเลย ก็คือตัว Ueno Juri นี่แหละ แต่การดองไว้นานเป็นปี ทำให้ตอนเปิดมาดูจนจบสิบตอน ไม่ได้เอะใจว่านางเอกนั่นคือ Ueno Juri อาจเพราะดันไปติดภาพ Juri ในโนดาเมะ ต็องๆรั่วๆ มา พอได้เห็นเธออีกครั้งในบทที่เครียดจริงจังแทบไม่มียิ้มเลย ก็เลยพลอยจำเธอไม่ได้ไป //ตบหน้าๆ

Backwater (2013)

Backwater (2013).jpg

 

Backwater (2013 / Shinji Aoyama)
(Japan)

ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

ตอนแรกก็ไม่คิดถึงคำนี้หรอก แต่ทุกอย่างก็เป็นไปตามคำนี้ชัดขึ้นๆ แม้ว่าตัวลูกชายไม่ได้อยากเป็น แต่สันดานดิบในตัวที่ได้จากพ่อมามันก็เริ่มครอบงำเขาอยู่ทุกที

สิ่งที่พ่อเป็นคือ ติดเซ็กส์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ อันที่แย่จริงๆ คือชอบใช้กำลังตบตีบีบคอคู่รักระหว่างมีเซ็กส์นี่แหละ ตัวลูกสัมผัสด้านปกติก่อน จากวันเกิดครบรอบอายุ 17 ปี ที่นัดกับเพื่อนหญิงไว้จะมีเซ็กส์ครั้งแรกกันทั้งคู่วันนี้ สิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าลูกชายคนนี้เสพติดเซ็กส์ ก็คือ เสร็จกัน 13 รอบ…
แต่แล้ว เมื่อความเงี่ยนมันนำพาลูกชายให้หลงทางมากขึ้น บวกกับได้เห็นภาพการร่วมรักของพ่อกับคนรักผสมการตบตีบีบคอ มันเลยกลายเป็นการปลุกสันดานดิบในลูกชายขึ้นมาตามพ่อ ความหน้ามืดของลูกชายทำให้ฝ่ายหญิงออกห่าง เขาก็รู้ตัวและเกลียดตัวเองที่กลายเป็นสิ่งที่ตัวเองเกลียดในตัวพ่อ ฉะนั้นเมื่อมีโอกาส ฝ่ายหญิงปล่อยวางเรื่องที่เกิดขึ้น เขาก็ยังคงยับยั้งไม่อยากให้เรื่องแย่ๆ เกิดขึ้นอยู่ดีด้วยการพยายามถอยห่างฝ่ายหญิงด้วยความตั้งใจตัวเอง

ช่วงประมาณชั่วโมงนิดๆ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี่แม่งเล่นเอาจิตตกอารมณ์ร่วงชั่ววูปเลย ความผิดที่ผิดเวลาที่ก่อให้เหตุการณ์ที่ดันเอาสันดานดิบให้กลายเป็นความระยำแบบสุดขีดขึ้นมา

ก็คิดว่า ไอ้ความจิตตกช่วงนั้นมันแทบจะกลายเป็นจุดพีคของหนังไปละ แล้วที่เหลือช่วงท้ายเรื่อง หนังจะนำเสนอเรื่องราวแบบไหนต่อไปล่ะ
แต่พอถึงบทสรุปของหนังจริงๆ กลับกลายเป็นความชอบช่วงท้ายนี้สุดๆ ขึ้นมาทันทีเลยแฮะ โดยมันแล้วมันยังคงอยู่กับประเด็นลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นอยู่
ทางหนึ่งมันคือการขยายความเรื่องที่บอกว่า พ่อเขาจะไม่ทุบตีคนรักในช่วงที่คนรักเขาตั้งท้อง แบบอ้อม
อีกทางหนึ่งก็คือการหาทางออกให้ตัวลูกชาย กับความเงี่ยนในตัวที่อยากระบายแต่จะทำยังไงในเมื่อเขามักจะห้ามมือห้ามสันดานดิบเรื่องตบตีคนรักแบบพ่อตัวเองยังไม่ได้ ชอบทางออกของทั้งคู่ มันเรียบง่ายแต่ได้ผลดีฉิบหาย

Finale in Blood (1993)

Finale in Blood.jpg

 

Finale in Blood (1993 / Fruit Chan)
(Hong Kong)

ความหงุดหงิดที่ขึ้นอย่างเเลี่ยงไม่ได้เลย ก็คือภาพนางเอกแสนดีเจ้าของโรงแรมที่ไปตกหลุมรักตำรวจหนุ่มแบดบอย/เพลย์บอยแบบโงหัวไม่ขึ้น หลายครั้งที่เธอต้องเจ็บเพราะการนอกใจของเขา แต่สุดท้ายเธอให้อภัยเขาอยู่ดีเมื่อคำพูดเขามันคือการให้คุณค่าในความรักที่มีต่อเธอ …ตัดภาพมาอีกที เขาก็หลบไปซั่มกับผู้หญิงอีกคนลับหลังเธอเหมือนเดิมอยู่ดี

ในเรื่องราวตรงนี้จะถูกเล่าผ่านชายที่จัดรายการวิทยุเรื่องเล่าและตัวเธอเองที่เป็นตายไปเป็นผี แรกเริ่มเธอต้องการล้างแค้นแต่ก็มาติดอยู่กับชายคนนี้คนที่มองเห็นตัวเธอผ่านร่มคันหนึ่งที่เปรียบเสมือนที่สิงของเธอ เรื่องเล่าของเธอก็เป็นความบังเอิญที่ชายคนนี้ถูกโยนให้มาจัดรายการเอาดื้อๆ
แม้เรื่องของหญิงสาวคนนี้กับคนรักและกิ๊กเขาแบบรักสามเส้าจะชวนหงุึดหงิด แต่ในเรื่องของชายคนจัดรายการคนนี้กลับเป็นอะไรที่สนุก เรียกรอยยิ้มได้เฉยเลย ทั้งการเจอผีต่อหน้าแล้วจำเป็นต้องอยู่กับเธอช่วยตามคำขอของเธอ ไปจนถึงดีเจสาวทรงเสน่ห์ของสถานีที่เขาแอบชอบที่มีท่าทีเปลี่ยนแปลง มองมายังเขาคนที่จัดรายการเรื่องเล่าได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ

แต่บทสรุปหนังนี่ รู้สึกมันโกงความรู้สึกชะมัด ชนิดที่ว่าหงุดหงิดกับเรื่องรักสามเส้าของผู้ชายเลวๆ มายังไง ก็ต้องโยนความรู้สึกหงุดหงิดนั้นทิ้งไป เพราะมันจะหันมาใช้การขยี้เรื่องรักสามเส้าทั้งตัวผู้หญิงที่ตายไปแล้ว ตัวผู้ชายเลวๆกับความรักที่ยังคงหนักแน่นของเขา และหญิงสาวกิ๊กผู้ชายคนนี้ที่ความรักของนางต่อชายคนที่เธอมันคือการคุกคามที่รุนแรงและอันตราย จนฉันรู้สึกเห็นใจในความรักห้วงใหญ่ของคนสามคนนี้แบบไม่แยกเลวดีใดๆ ทั้งนั้น

ฉากจบก็เฟี้ยวมาก ในความพยายามสุดท้ายของชายจัดรายการวิทยุที่ยังคงอยากให้ทั้งสามคมและความรักอยู่ด้วยกันหมดแบบพร้อมหน้า

An Elephant Sitting Still (2018)

An Elephant Sitting Still (2018).jpg

 

An Elephant Sitting Still (2018 / Hu Bo)
(China)

นับตั้งแต่ฉากในห้องบนตึกนั่นมา อารมณ์ฉันก็ดิ่งลงตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นหนังมาตลอด ซ้ำร้ายกว่านั้นคือความใจร้ายที่หนังประคองอารมณ์ความดิ่งพวกนี้ไว้เรื่อยๆ มา อาจกินระยะมากกว่า2-3ชั่วโมงโดยไร้ซึ่งความเยียวยา/จรรโลงใจให้ฉันฟื้นจากอารมณ์ที่ดิ่งลงเรื่อยๆ เลยแม้แต่นิด

ความอนาคตหมดของตัวละครหลักทั้งสี่คน มันก็ต่างกรรมต่างวาระกัน บางคนก็กำลังจะหมดเพราะโดนลูกบีบไปอยู่บ้านพักคนชรา บางคนก็หมดอนาคตมานานแล้วด้วยการมีชีวิตนักเลง แต่สำหรับบางคนโชคชะตา/ความซวยร่วมกับการตัดสินใจของตนเองได้กลายเป็นการลิขิตชะตากรรมตัวเองให้หมดอนาคตไปในเมืองๆ นี้อย่างที่ไม่มีโอกาสแก้ไข/แก้ตัวหรือหันหลังกลับมาเริ่มใหม่ได้

อีกหนึ่งสิ่งที่สะท้อนความเส็งเคร็งของเจ้าตัว(บางคน)ในมุมมองความฉิบหายร้ายแรงที่เกิดขึ้น นั่นคือการ อ้าง ตอนตัดสินใจกระทำลงไปด้วยตัวเองก็ไม่ได้ตระหนักถึงผลที่ตามมา รู้แค่ว่าสบายใจหรือสุขใจ แต่พอชีวิต/สภาพจิตใจฉิบหายเท่านั้นแหละ อ้างนั่น โทษโน้น มั่วไปหมด ซึ่งถ้าสิ่งอ้างมันจะส่งผลตามผลลัพท์ที่เกิด มันก็คงเป็นอะไรที่อ้อมโลกเอามากๆ แล้วทำให้ตัวเองดูแย่และน่าสมเพชลงอย่างเลี่ยงไม่ได้
กับบางคนอาจไม่ได้เกิดการอ้างขึ้นในตอนที่ฉิบหาย อย่างการอ้างเพื่อยื้อตัวเองไว้ในบ้านกับครอบครัวหรือหลานต่อด้วยสุนัขของเขา หรือการโดนผู้เป็นพ่อแม่อ้างสถานะตัวเองที่เป็นพี่ให้จัดการสะสางในสิ่งที่เกิดขึ้นกับน้องชายเฮงซวยของตัวเอง

ตลอดระยะเวลาเกือบสี่ชั่วโมงของหนัง อย่างแรกเลยที่ตรึงฉันไว้จนสามารถไปรอดปลอดภัยไม่หลับหรือเบื่อหนังแม้แต่นิด คือช่วงเวลาความดิ่งที่ว่าไว้ในย่อหน้าแรก ซึ่งทำให้ฉันเหมือนติดกับโดนตัวหนังขย้ำไว้กับความหม่น/ดาร์กเรื่้อยมาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว จะมารู้ตัวอีกทีก็เมื่อหนังจบลงแล้วพบว่าตัวเองที่แล้วมานั่นฉันทำได้แค่เพียงเฝ้าดูชะตากรรมชีวิตของพวกเขาว่าจะนำพาตัวเองสิ้นสุดที่จุดไหนกันแน่ จะหมดอนาคตที่เดิมหรือจะได้พบช้างที่นั่งรออยู่ตัวนั้น…