Archive | June 2023

Oh No! Here Comes Trouble (TV Series, 2023)

Oh No! Here Comes Trouble (TV Series, 2023 / Lin Kuan Hui)
(Taiwan)

พระเอกหนุ่มผู้ที่ตื่นจากโคม่าแล้วพบว่าตนเองถูกดึงเข้าไปเกี่ยวกับพวกสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น คนตายมีชีวิต วิญญาณ ผี เทพ ก่อนจะรู้ถึงพลังตนเองบางอย่างที่สามารถช่วยปัดเป่าให้สิ่งเหล่านั้นไปสู่ที่ชอบที่ชอบได้, โดยตัวซีรี่ส์จะผลักดันให้เรื่องราวเหล่านี้ที่พระเอกคนนี้เจอได้ไปสู่การเป็นแนวสืบสวนไขคดี ผ่านตัวละครตำรวจหญิง ที่เป็นตำรวจจราจร ที่สิ่งเหนือธรรมชาติที่พระเอกนั้นมันล้วนลงล็อคกับการเป็นคดีของตำรวจ ทั้งตอนแรกที่เป็นเรื่องอุบัติเหตุในมุมมองตำรวจ ก่อนจะได้ติดต่อกับสิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านั้น ข้อมูลเบาะแสที่ได้มาก็เริ่มทำให้ความจริงบางอย่างในคดีนั้นๆ ปรากฏ
ซึ่งนอกเหนือจากการไขคดีในมุมแบบตำรวจปกติแล้ว ก็ยังมีการไขคดีในแบบของพระเอกกับสิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านั้นด้วย ว่า พวกเขาต้องการให้พระเอกช่วย แต่พวกเขาไม่ได้บอกชัดเจนว่า สิ่งที่จะช่วงพวกเขานั้นน่ะคืออะไร เช่น การบอกว่าช่วยผมด้วย แต่พระเอกก็เกาหัวเลย ช่วยอะไรล่ะ ซึ่งอีกฝ่ายก็บอกไม่รู้สิ แต่คุณต้องช่วยผมด้วยนะ หรือ ช่วยฉันด้วย ฉันอยากรู้ว่าชายคนนั้นเขาชื่อว่าอะไร ชายคนนั้นที่ตายมา 6-7 ปีแบบศพไร้ชื่อนั่น หรือการไปเกี่ยวพันกับคดีลักพาตัวเด็กที่ปิดไม่ได้เกือบ 10 ปีโดยบังเอิญของพระเอก เป็นต้น

แต่สิ่งหนึ่งที่สอดแทรกไว้ที่ชวนให้เกิดความอยากรู้มากถึงมากที่สุดที่เป็นปมยิงตรงสู่พระเอกโดยตรงเลย คือเรื่องพลังของเขาที่เขียนพู่กันจีนสวยเป็นความสามารถสืบทอดมาจากปู่ที่เป็นอาจารย์มีชื่อ พลังนี้มันเกี่ยวพันอะไรอดีตของปู่มาก่อนหรือเปล่า และอุบัติเหตุน่ากลัวที่เกิดทำให้พ่อเขาตายและปู่นอนโคม่ามาตลอด มันบังเอิญหรือเป็นฝีมือของสิ่งๆ หนึ่งที่อยู่กับปู่ที่พระเอกเคยเห็นตอนเด็กมาหรือเปล่า และเรื่องนี้มีตัวร้ายหลักฝนฝั่งของความแฟนตาซีสิ่งเหนือธรรมชาตินี้หรือไม่….

เห็นเกริ่นตัวละครหลักมาสองตัว พวกคุณอาจคิดว่าพระเอกกับตำรวจหญิงคือผลพวงที่จะก่อร่างสร้างความโรแมนติกขึ้นในซีรี่ส์นี้ใช่ม้าาาาา …… ขอบอกเลยว่า ไม่ ตัวละครชายอีกคนที่เป็นเด็กหนุ่มเรียนเก่งมีแต่คนรักที่เรียนที่เดียวกับพระเอกและมักโดนพระเอกที่เป็นอันธพาลนักเลงมีแต่คนเกลียดและไม่ฉลาดกลั่นแกล้งมาโดยตลอด ตัวละครนี้กับพระเอกล้วนไม่ชอบขี้หน้ากันที่ภายหลังดันมาอยู่บ้านติดกันเป็นเพื่อนกัน ใช่แล้วครับ ความโรแมนซ์แทบไม่มี แต่ความโบรแมนซ์ของคู่นี้มันช่างชุ่มฉ่ำเสียเหลือเกิน 🙂 ส่วนตำรวจหญิงก็รับสภาพพี่สาวที่พึ่งพาได้ไปแทนละกัน.

ช่วงตอนหนึ่งในท้ายซีรี่ส์ก็ทำให้ฉันเคลียร์อย่างหนึ่งได้ นั่นก็คือ ทำไม Tseng Jing Hua กับ Vivian Sung ถึงได้บินมาเปิดตัวซีรี่ส์เรื่องนี้อย่างเป็นทางการที่ไทยแบบเป็นงานใหญ่ด้วย แถมยังมีการสัมภาษณ์สองคนนี้ร่วมกับนักแสดงไทยอีกคนที่โรงแรมหนึ่งในกรุงเทพมาแบบจัดเต็มมากๆ อีกด้วย นั่นก็เพราะ ตอนหนึ่งในท้ายๆ ซีรี่ส์นั้น มีนักแสดงไทยคนดังกล่าวร่วมแสดงอยู่ด้วยนั่นเอง (Nonkul Chanon Santinatornkul) ก็เคลียร์ว่าทำไมในงานเปิดตัวเห็นนนกุลขึ้นเวทีไปกับสองนักแสดงนี้ด้วย และการสัมภาษณ์สามคนนี้ก็ให้ความสำคัญเท่าๆ กันด้วย.

Following Diana (2015)

Following Diana (2015 / Kamila Andini)
(Indonesia)

ถ้ามองว่านี่คือการชน หนังเรื่องนี้ก็คือการพร้อมฟาดวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ของอิสลามแม่งเหี้ยและทุเรศเกินไป ที่ถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็สะใจในภายหลัง, แต่ถ้ามองเป็นการประนีประนอม หนังนี้ก็คือตัวแทนการส่งเสียงของเหล่าผู้หญิง/ภรรยาที่ไม่สามารถมีปากมีเสียงใดๆ ต่อสามีหรือผู้หลักผู้ใหญ่ได้ถึงความไม่พอใจเอามากๆ ของพวกเธอกับสถานการณ์ตรงหน้านี้

เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ *********

สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นเหมือนการปิดปากผู้หญิง/ภรรยาด้วยกฏระเบียบทางหลักศาสนาอิสลามที่สืบทอดกันมานาน สิ่งที่ว่านี้ก็คือ สามีแต่งงานกับผู้หญิงอื่นที่จะกลายมาเป็นภรรยาคนที่สองโดยเป็นการตัดสินใจจากตัวสามีแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นแบบไม่เห็นภรรยาคนแรกเลย

จู่ๆ เขาก็เปิดพาวเวอร์พ้อยให้ภรรยาดูว่า ต่อจากนี้กับครอบครัวเขาจะแบ่งเวลากันแบบนี้ ภรรยาอึ้งแดก ภรรยาต้องการคุยว่านี่มันเรื่องอะไรแต่สามีเอาแต่เงียบตอบไม่กี่่คำ เหมือนกับว่าเขาไม่จำเป็นต้องอธิบายใดๆ เพราะภรรยาจะต้องยอมรับเรื่องนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว
พอภรรยาคุยกับครอบครัว น้องสาวก็รู้สึกไปในทางเดียวกับพี่สาวที่ไม่พอใจกับการแต่งงานกับผู้หญิงอีกคนของสามีพี่สาว แต่ผู้เป็นแม่กลับพูดให้มีความหมายแค่ว่า “ถ้าลูกหย่าไป บาปจะติดตัวลูกนะ”…..
ไปคุยกับครอบครัวทางสามี ก็แบบเดียวกับครอบครัวภรรยา พี่น้องของสามีล้วนแสดงความเห็นไม่พอใจแบบเดียวกับน้องสาวภรรยา แต่ผู้เป็นพ่อไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ ออกมา บอกว่า “ลูกต้องคุยกับสามีเองนะเรื่องนี้ว่าจะเอายังไง คุยกันให้เคลียร์ให้รู้เรื่อง” …แล้วลูกชายพ่อแม่งไม่คิดจะเปิดอกคุยกันให้รู้เรื่องแบบนี้ มันจะเคลียร์กันยังไงล่ะ บรรยากาศของสามีก็เหมือนจะสื่อออกมาว่า ภรรยาไม่ต้องเป็นห่วง เธอยังคงเป็นภรรยาผมและลูกก็ยังเป็นลูกชายเรา นี่คือครอบครัวเรา แต่เราจะไปแต่งงานมีอีกครอบครัวนะก็เท่านั้นเอง ผลลัพท์จึงถูกบีบให้ภรรยาต้องยอมรับสถานภาพเมียคนที่ 1 แต่โดยดีนั่นแหละ

ความเหี้ยที่ถึงที่สุดที่รู้สึกเจ็บปวดถัดมาก็คือ ภรรยารู้ว่าสามีลาหยุด ลาหยุดกี่วันลาหยุดทำไม สามีบอก 3 วันแต่ไม่ได้บอกเหตุผล ภรรยาหน้าเสียในเวลาถัดมาที่รู้ว่า สามีลาหยุด 3 วันเพื่อไปแต่งงาน….

ในบทสรุปของหนังนี่จึงเป็นเหมือนการเอาคืนผ่านสถานะของตัวภรรยาที่สามารถลุกขึ้นยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเองจนได้ ชนิดที่ว่า สามีเกิดความไม่พอใจต่อการที่ภรรยาไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอะไรสามีอีกต่อไปแล้ว จะไปมีชีวิตเป็นของตัวเองกับอีกครอบครัวก็เชิญ แล้วที่สะใจในเวลาถัดมาก็คือ ความเสียงดังของสามี แหม ตอนมึงเห็นแก่ตัวและทำร้ายจิตใจภรรยามึงเงียบแล้วก็ได้สิ่งที่ต้องการคือการมีภรรยาอีกคน แต่พอภรรยาคนแรกเขาดูท่าทีว่าไม่ต้องการมีมึงในชีวิตก็ได้ ทำเป็นเสียงดังไม่พอใจ ประหนึ่งเป็นความอิจฉาที่ชีวิตภรรยาอยู่ได้ ทำงานได้ มีความสุขกับงาน มีช่วงเวลาผ่อนคลายกับเพื่อนร่วมงาน ชิลๆ และที่สำคัญที่ฮีลใจในตอนจบเลยก็คือ ลูกชายก็รู้ดีอยู่แล้วว่า เราสองคนแม่ลูกอยู่กันแค่นี้ก็สามารถมีความสุขได้ ส่วนพ่อก็ไปอยู่กับภรรยาใหม่เหอะ.

ผลงานหนังสั้นของผู้กำกับ Yuni (2021)

Diary of a Shinjuku Thief (1969)

Diary of a Shinjuku Thief (1969 / Nagisa Ôshima)
(Japan)

ช่วงต้นเรื่องในร้าน kinokuniya นี่น่าสนใจมาก กับชายคนหนึ่งขโมยหนังสือออกจากร้านแล้วโดนพนักงานหญิงจับได้พาขึ้นไปฟ้องเจ้าของ kinokuniya สาขานั้น ซึ่งเจ้าของร้านมองว่าไอ้หนุ่มคนนี้เลือกหนังสือที่ขโมยได้มีเซนต์ดีเลยปล่อยไปครั้งแรก ถัดมาแม่งกลับมาขโมยหนังอีกแล้ว คราวนี้การเลือกหนังสือยกเครื่องเรื่องเกี่ยวกับเซ็กส์ล้วนๆ ไม่ว่าจะหนังสือในประเทศหรือหนังสือแปล แต่ก็ยังน่าประหลาดอยู่ดีที่เจ้าของก็ยังไม่ส่งตำรวจ พร้อมกับให้หนังสือที่เขาเป็นคนเขียนเองกับไอ้หนุ่มคนนี้ไปด้วยพร้อมลายเซ็นต์เขา
หลังจากนั้นเหมือนไอ้หนุ่มถูกชะตากับพนักงานสาว พนักงานที่ก่อนหน้าบอกปัดแฟนหนุ่มเรื่องการขอมีเซ็กส์ไปเพราะนี่คือครั้งแรกของเธอ แล้วหลังจากนั้นเมื่อเจ้าของร้าน kinokuniya พาหนุ่มสาวคู่นี้ไปพบปะพวกนักเขียนนักวิชาการเลคเชอร์เรื่องเซ็กส์กันรัวๆ เท่านั้นแหละ ฉันแม่งก็ไม่รู้ห่าเหวอะไรของหนังอีกเลย แล้วก็ไม่อาจทราบได้ด้วยอีกต่อไปว่า Diary of a Shinjuku Thief นี้มันคือหนังที่พูดเกี่ยวกับอะไรกันแน่

ถึงจะรู้สึกแบบนั้นต่อหนัง แต่พอนั่งรับชมมันไปจนจบก็เข้าใจแก่นของหนังขึ้นบ้าง แม้หน้าหนังจะวางตัวละครหนุ่มสาวไว้สองตัว แต่หนังมันก็แทรกความเป็นกึ่งสารคดีไว้ด้วยเช่นกัน เช่นการจับกลุ่มพูดคุยเกี่ยวกับเซ็กส์แบบวิชาการและจริงจังสุดๆ นั่น หรือการโยนเข้าสู่แนะนำหนังสือแบบรัวๆ เร็วๆ ภายในร้าน kinokuniya ที่สาวคนนั้นเลือกมา เราจะได้เห็นปกเห็นชื่อหนังและผู้เขียนพร้อมกับคำโปรยคร่าวๆ ของหนังสือเล่มนั้นผ่าน voice over และสุดท้าย เหตุการณ์จราจลกลางชินจูกุที่เป้าหมายของป้อมตำรวจที่ถูกฝูงชนทำลายและการเข้าควบคุมฝูงชนของตำรวจชุดใหญ่แบบสงบไม่ได้มีภาพการปะทะรุนแรงหรือเลวร้ายแต่อย่างใด

อีกอย่างที่เข้าใจและเข้าถึงตามผ่านตัวละครหนุ่มสาวคู่นี้ก็คือ การพูดถึงเรื่องเซ็กส์และการขโมย สาวที่เครียดหนุ่มบอกลองไปขโมยอะไรซักอย่างสิ สาวขโมยมาแล้วรู้สึกดีจริง แล้วเธอก็ได้มอบพรหมจรรย์ให้หนุ่มคนนี้ในทันทีแบบไร้การยับยั้งชั่งใจเฉกเช่นเธอปฏิเสธแฟนตัวเองเพราะพรหมจรรย์เธอคือสิ่งสำคัญ การได้เห็นบทเรียนเรื่องเซ็กส์กับการสร้างบรรยากาศที่บิ้วส์ได้ดี การถูกรุมข่มขืนของสาวคนนั้น ส่วนเรื่องของการขโมยก็จะมีการนำเสนอแบบไม่ตรงตัวผสมไปด้วย เช่นช่วงที่หนุ่มสาวเข้าร่วมกับนักแสดงละครเร่ หนุ่มต้องการแสดงเป็นตัวเอก ก่อนที่การขโมยของอย่างหนึ่งมันจะนำไปสู่การขโมยอัตลักษณ์ที่เด็ดขาดขึ้นจนเจ้าตัวยินยอมให้สองหนุ่มสาวเป็นตัวละครนั้นๆ ที่ลงเอยกันด้วยเซ็กส์ที่สุขสมที่สุดกัน

จริงๆ สนใจหนังขึ้นมาก็จากเครดิตต้นเรื่องขึ้นว่า In cooperation with Kinokuniya มันเลยทำให้อยากรู้ล่วงหน้าเลยว่า Kinokuniya จะมีบทบาทซักแค่ไหนกันเชียวในหนังของ Nagisa Ôshima นี้, พอได้รับชมก็พบว่า มันก็มีทั้งถ่ายทำกันร้าน Kinokuniya สาขาชินจูกุที่ลูกค้าพลุกพล่านเต็มร้าน กล้องก็เดินเลื้อยตามตัวละครที่แทรกผู้คนหนาแน่นในร้านไปเรื่อย ไปจนถ่ายทำกันในตอนปิดร้าน เป็นร้านโล่งๆ มืดๆ ไปจนร้านสว่างแล้วสามารถเสกสรรอะไรกันก็ได้ลงกลางร้านหนังสือ Kinokuniya นี้กัน จนทำให้แอบลุ้นเพิ่มเลยว่า Nagisa แกจะให้หนุ่มสาวเย็ดกันกลางร้าน Kinokuniya เลยมั้ยน้อ 555555 (ปรากฏว่าไม่มีนะ)

Fuan no tane / Pet Peeve (2013)

Fuan no tane / Pet Peeve (2013 / Toshikazu Nagae)
(Japan)

มั่วซั่วสัส..หลอนฉิบ..นี่มันห่าอะไรกัน!!??

ความน่ากลัวก็พอมีอยู่นะ แต่จะโดนเส้นสุดๆ ก็เมื่อทุกอย่างในหนังไร้กรอบเรื่องของมิติเวลาและความสมเหตุสมผลนี่แหละ
รู้สึกได้เลยว่าต้นเรื่องผู้กำกับมันวางกับดักเอาไว้ด้วยประโยคที่ว่า “6 เดือนต่อมา” พอติดกับดักตรงนี้มันก็หลอนตามหนังในทันทีว่า นี่มันก่อนหน้า นั่นมันอดีต หรือว่าเป็นปัจจุบันแล้ว การหลอนเรื่องลำดับตรงนี้มันจะพลอยทำให้เกิดความดูหนังไม่รู้เรื่องขึ้นมาได้ ทางที่ดีที่แนะนำเลยก็คือ “ปล่อยจอยแม่งไป” อย่าไปยึดติดหรือพยายามหาจุดเชื่อมโยงไทม์ไลน์ว่าฉากนี้/เหตุการณ์นั้นคือช่วงเวลากันแน่.

Air (2023)

Air (2023 / Ben Affleck)
(USA)

ก่อนดูก็หวั่นๆ นะ เพราะไม่ได้เป็นคนสนใจวงการบาสเก็ตบอลหรือพวกรองเท้าบาสและผู้ผลิตอะไรเลย ไมเคิล จอร์แดนก็มารู้จักหลังเป็นตำนานไปแล้ว ผ่านพวกการ์ตูนบาสที่อ้างอิงเขาและจากหนังเรื่อง Space Jam.

ไม่เคยรู้มาก่อนว่ารองเท้าบาส Nike เคยอยู่ใต้ตีนอาดีดาสและคอนเวิร์สมาก่อน ความตกต่ำชนิดที่แม้แต่ตัวไมเคิล จอร์แดนที่ดังก่อนจะเป็นตำนานยังเมินหน้าหนีแบบที่ไม่คิดจะติดต่อคุยธุรกิจอะไรด้วยเลย พอหนังมาปูเรื่องมาแบบนี้ก็ทำให้เกิดความเอาใจช่วยตัวละครในแผนกรองเท้าบาสของ Nike ที่ใกล้จะโดนบุยละว่า เพราะเหตุใด หนึ่งในหัวหอกคนสำคัญถึงจี้จะต้องเลือกไมเคิล จอร์แดนเท่านั้น และจะทำอย่างไรให้เกิดการคุยธุรกิจกันขึ้นระหว่าง Nike กับไมเคิล จอร์แดนที่ชอบ Nike ได้.

การเล่าเรื่องตรงส่วนนี้แหละที่เป็นจุดแข็งของหนังมากๆ เลย ไม่ว่าจะรู้เนื้อหารายละเอียดมาก่อนหรือไม่เคยรู้อะไรซักอย่างเช่นฉันนี่ มันก็ไม่เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อกับหนังแต่อย่างใดเลย ทุกอย่างเดินหน้าไปแบบเข้าใจง่าย ไม่ตีลังกาไม่ซิกแซก เล่าเรื่องมันไปตรงๆแต่ทำให้สนุกได้ แค่นี้ก็ดีงามเกินพอแล้ว.

Folklore (TV Mini Series, 2018)

Folklore (TV Mini Series, 2018 / Eric Khoo)

Season 1

• A Mother’s Love / Joko Anwar / Indonesia
ตอนแรกคิดว่าหนังผี แต่ไปๆ มาๆ คิดว่าเป็นเรื่องของมนุษย์ แต่ที่สุดแล้วมันคือสองเส้นเรื่องที่เหมือนแยกกันไว้แล้วพานมาบรรจบพันกันอย่างลงตัว ชนิดที่ว่า เหย แม่งจบได้อบอุ่นอย่างไม่น่าเชื่อเลยจริงๆ .

• Tatami / Takumi Saitoh / Japan
น่าเบื่อ หลับ จากที่คิดว่าเป็นผีเสื่อทาทามิ ก็เปล่า มันคือหนังครอบครัวที่อยู่บนผลประโยชน์และเห็นแก่ตัวจนเกิดการนองเลือดขึ้น แล้วเสื่อทาทามิก็คือหลักพยานในการฆาตกรรมที่เกิดขึ้น

• Nobody / Eric Khoo / Singapore
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งเรื่องของมนุษย์ที่มีชนชั้นคนรวยนายทุนเจ้านายและกรรมกรก่อสร้าง ทั้งเรื่องของคน/ผี/ความเชื่อ ทั้งเรื่องของจิตใจ/ความเห็นใจของคนเป็นต่อคนตายและจากคนตายสู่คนเป็น การฆ่าที่เกิดขึ้นจึงขึ้นอยู่กับความคิดของผีที่ไม่ได้สักแต่ฆ่าไปซะมนุษย์ทุกคน

• Pob / Pen-Ek Ratanaruang / Thailand
เย็ดเข้ !!! ทำไมมันดูโดดจากเรื่องอื่นไปมาก มันคือปอบที่ฆ่าคนแดกเครื่องในคน แต่การเล่าเรื่องของเป็น-เอกมันคือความตลกสัสๆ ตลกร้ายแทบทั้งตอน แม้จะดึงให้รู้สึกดาวน์ไปฉากนึง เผลอแปปเดียวแม่งตลกท้องแข็งอีกละ, จริงๆ มันสามารถเริ่มและจบด้วยการเริ่มคุยกับปอบและจบตอนเรื่องของปอบหมดได้นะ แต่พอหนังมันปูเรื่องชีวิตบัดซบของคนเอาไว้ มันเลยดูต้องยืดออกไปเพื่อทางลงในเรื่องของคนๆ เดิมอีกที

• Toyol / Ho Yuhang / Malaysia
ค่อนข้างธรรมดาพอสมควร แบบไม่ต้องหวังเรื่องความน่ากลัวแบบหนังผีซักเท่าไหร่ เพราะสิ่งที่ช็อกคนดูมากที่สุดมันก็คือเรื่องของคนกันเองนี่แหละ

• Mongdal / Lee Sang-woo / South Korea
อันนี้ค่อนข้างเซอร์ไพส์ เพราะมันคือหนังผีของ Lee Sang-woo แต่ส่วนที่ทำให้ชอบหนังมากก็คือส่วนที่น่าจะเป็นลายเซ็นต์ของตัว Lee Sang-woo อ่ะ กับการสร้างตัวละครที่พร้อมจะประสาทแดกได้ทุกเมื่อผ่านสภาพของคนที่ไม่ปกติ/ป่วยจิต/ไม่เต็ม/ผิดปกติทางความคิด โดยตัวละครนี้ในเรื่องก็คือ เด็กผู้ชายที่เอาแต่ใจ ลูกคนรวย รักใครชอบใครก็จะหมกหมุ่นกับคนๆ นั้นจนแม่ปวดหัวและอีกฝ่ายเหมือนโดนคุกคามอย่างไร้มารยาทอยู่ตลอดเวลา

สำหรับแก่นกลางของ Folklore ที่ต้องมีไว้นั้น ก็คือ สิ่งที่เป็นดั่งเรื่องเล่า ตำนานผีสางวิญญาณร้าย ของแต่ละประเทศ

A Mother’s Love คือ Wewe Gombel ผีผู้หญิงตัวสูงใหญ่ที่จะลากเด็กน้อยขึ้นต้นไม้แล้วหายไป จับเด็กไว้หลายคนปล่อยให้เด็กหิวจนตายแล้วค่อยแดกศพเด็ก
Tatami อันนี้คือคลุมเครือ ไม่ค่อยเป็นสิ่งที่ชัดเจนเหมือนเรื่องอื่นๆ เหมือนจะบอกแค่ว่าทาทามิคือหลักพยานของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นบนเสื่อเท่านั้น
Nobody คือ Pontianak (ชื่อมาเล) เป็นผีตายทั้งกลม ที่การสะกดผู้หญิงตายทั้งกลมไว้เพื่อไม่ให้เป็นผีก็คือ ตอกตะปูไว้ที่กระดูกสันหลังของศพ
Pob คือ ปอบ คงไม่ต้องอธิบายซักเท่าไหร่ ผีปอบแดกเครื่องในคนปกติๆ นี่แหละ แต่เรื่องนี้คือปอบชายโทนจริงจังไม่มีวิ่งหนีลงโอ่งอะไรแบบนั้น
Toyol คือ Toyol ศัพท์ตรงตัวของมาเล ที่ถ้าตีเป็นแบบไทยๆ เข้าใจง่าย ก็คือ กุมารทองของไทยนั่นแหละ
Mongdal คือ ผี/วิญญาณของคนที่ตายโดยยังไม่ได้แต่งงานหรือตายทั้งๆ ที่ยังซิงอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงมากกว่า วิธีการแก้หรือขับไล่ผีซิงนี้ก็คือ หาคู่ให้เขา หาจากศพที่ยังซิงอยู่ นำผมมาประกอบพิธีแล้วจัดงานแต่งงานให้พวกเขาไป เท่านี้ก็เสร็จสิ้น

Sayaka: The Cute & Careless Girl (2009)

Sayaka: The Cute & Careless Girl (2009 / Daigo Udagawa)
(Japan)

สาวแว่นเด็กเรียนนมโตติดหื่นและอยากเสียซิง …. ไอ้ความคิดที่จู่ๆ ก็สนใจเรื่องเซ็กส์ขึ้นมา อยากมีแฟนอยากโดนจูบ เห็นเป้าอาจารย์แล้วใจเต้น ไปจนการแอบเช่า AV มาดูเพื่อศึกษาเรื่องเซ็กส์สำหรับการเสียซิงที่เฝ้าฝัน
แต่ด้วยลุคเด็กเรียนขี้อายหลายคนจึงมองว่าซายากะก็เป็นคนแบบลุคที่เห็นนี้แหละ หารู้ไม่ ในหัวซายากะมันจินตนาการไปไหนต่อไหนอยู่เรื่อย เช่น เข้าร้านเช่าหนังเห็นแผนก 18+ ก็อยากเข้าแล้วในหัวก็เกิดภาพถ้าเข้าไปแล้วเจออาจารย์เข้าล่ะ คงเสร็จอาจารย์แน่ พอเข้าไปแล้วเรียกเรื่องไหนดีแต่พอเห็นพวกลูกค้ามายืนเลือก ก็จินตนาการไปว่าเราจะรอดจากการโดนชักชวนถ่าย AV ในร้านหนังหรือเปล่าเนี่ย…

โชคยังดีที่ซายากะได้พบเพื่อนใหม่ที่หัวอกเดียวกัน คือจู่ๆ ก็เริ่มสนใจผู้ชายเห็นผู้ชายแล้วใจเต้นแต่ไม่รู้จะจัดการตัวเองยังไง ก็มีสาวห้าวทอมบอยชื่อโซระ สาวร่าเริงเกินปกติและสาวขี้อาย ร่วมกันตั้งชมรมแล้วศึกษาวิจัยหาทางออกให้แก่สถานการณ์ที่เกิดกับตัวเองนี้กัน ทั้งการศึกษาทำตัวเซ็กซี่หรือวางท่าว่าทอดสะพานสื่อว่า ฉันพร้อมแล้วนะ บุกเข้ามาได้เลย อะไรประมาณนี้.

โดยตัวหนังก็จะมีเส้นเรื่องหลักที่เป็นภารกิจที่ซายากะต้องประสบต้องหันหน้าหาทางสู้ให้ได้ นั่นก็คือ เธอแอบปลื้มพ่อหนุ่มนักกีฬามากสเน่ห์ขวัญสาวๆ ทั้งโรงเรียนที่จู่ๆ เขามาก็ขอร้องให้เด็กเรียนอย่างเธอช่วยติววิชาเลขให้ แน่นอนแค่การติวกันตัวต่อตัวที่ห้องสมุดมันก็ทำให้ซายากะคิดเตลิดไปไกลมากพออยู่แล้ว แต่หลังจากนั้นเมื่อเขาคนนั้นขอร้องให้ซายากะมาช่วยติวอีกรอบคราวนี้ที่บ้านเขาโดยพ่อแม่เขาไม่อยู่บ้านด้วย ซายากะจะเตรียมตัวพร้อมที่จะเสียซิงไหวมั้ยน้อ นั่นคือความร้อนรนประหม่าที่เกิดขึ้นกับตัวซายากะในสถานการณ์ที่เป็นใจแบบนี้.

Semi-dokyumento: kankō basu – nure nure jakku (1977)

Semi-dokyumento: kankō basu – nure nure jakku (1977 / Tsuyoshi Kuga)
(Japan)

รถบัสที่เต็มไปด้วยพนักงานฝึกหัดมัคคุเทศก์ถูกชาย 2 คนจี้ และเหมือนกับว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ชายสวมหน้ากากสองคนปล้นรถบัสที่นางาซากิปี 77 มีตำรวจปิดล้อมเป็นร้อยกว่าคน, แต่กับหนังเรื่องนี้มันคือหนังตลก+เซ็กส์อ่ะนะ.

หนังมันไม่มีซับอะไรให้เลยแต่กูก็ตะแบงดูมันไปจนจบอ่ะเนอะ ไอ้คนสองคนก็ไม่ได้มีความคิดว่าจะปล้นรถบัสตั้งแต่แรก แต่เพราะพวกมันหิวแล้วแอบขึ้นไปหาไรกินที่รถบัสตอนไม่มีใครอยู่ สำหรับการข่มขู่ที่เกิดขึ้น ไอ้สองคนนี้ก็มีแค่เลื่อยอันเล็กๆ โง่ๆ แค่นั้นเอง แต่พวกสาวๆ มัคคุเทศก์ 5-6 คนก็กลัวเหมือนกันหมด ก่อนจะตามมาซึ่งความเงี่ยนของไอ้สองคนกับสาวมัคคุเทศก์กระโปรงสั้นๆ แน่นอน เลื่อยโง่ๆ สามารถทำให้พวกมันหาเรื่องมีเซ็กส์กับพวกสาวๆ ได้
ส่วนการปิดล้อมโง่ๆ ในหนังก็มีเช่นกัน ตำรวจขี่จักรยานโง่ๆ ไล่ตามจนรถบัสจอดแล้วเกิดการต่อรองกันขึ้นที่แถวๆ ทุ่งนาโล่ง ตำรวจกลุ่มหนึ่ง(ไม่ถึง100ตามข่าวจริง) ก็ตั้งเต้นท์โง่ๆ เฝ้ามองส่องกล้องดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนรถ บ้างก็ได้เห็นสาวคนหนึ่งโดนคนร้ายเย็ดริมหน้าต่างรถจนตำรวจต้องแย่งกล้องมาส่องดูกัน

แต่ฉากที่จัญไรที่สุดในหนังเลยก็คือ ตำรวจไปพ่อแก่ๆ ของคนร้ายคนหนึ่งมาเพื่อเจรจากับลูกชาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือบรรยากาศสุดเศร้าที่พ่อแก่ๆ ระบายออกมา ทั้งลูกชายทั้งตำรวจล้วนน้ำตานองหน้ากันหมด โดยสิ่งหนึ่งที่ลูกชายจะสามารถมอบให้พ่อแก่ๆ ก่อนตายได้ก็คือ การขอร้องให้สาวๆ มัคคุเทศก์ แก้ผ้าแล้วให้พ่อแก่ๆ ของเขาได้เย็ดด้วยเถอะคร้าบบบบ สาวๆ ปฏิเสธไม่ได้ด้วยสิ ส่วนการเย็ดที่เกิดขึ้นก็ได้ลูกชายเป็นไม้เป็นมือให้ สาวๆ มัคคุเทศก์แก้ผ้าก้มหน้าไปตรงที่นั่ง ลูกชายถอดกางเกงพ่อออกแล้วจัดแจงท่าประคองสะโพกพ่อแก่ๆ ให้กระแทกใส่จิ๋มสาวๆ รุ่นลูก เรียกได้ว่าบนมีสาวกี่คน ลูกชายจัดให้พ่อแก่ๆ ได้กระเด้าเย็ดครบทุกคน ก่อนจะลงเอยด้วยการขึ้นสวรรค์แบบที่ไม่ใช่คำเปรียบเปรย พ่อแก่ๆ ถึงจุดสุดยอดจนตายคาHeeไปเลย………

สำหรับช่วงตอนจบของหนัง มันคือการจบแบบแฮป”ปี้”เอนดิ้งกันทุกฝ่าย หรือก็คือ คนร้ายเรียกให้พวกตำรวจขึ้นมาบนรถแล้วเซ็กส์หมู่ของตำรวจกับพวกสาวๆ มัคคุเทศก์ก็ได้เริ่มต้นขึ้นแบบทั้งคืน แฮป”ปี้”เอนดิ้งมั้ยล่ะมึง.

In My Own Hands (1996)

In My Own Hands (1996 / Rory B. Quintos)
(Philippines)

ถ้ามองด้วยกรอบแว่นคนดูหนังยุคนี้ ตัวหนังเรื่องนี้มันก็จะมีความสำเร็จรูปไปเลยจริงๆ แต่ถึงอย่างไรมันก็ยังคงชักชวนให้คนดูพลอยลุ้นตามได้อยู่ดีเช่นกัน

เนื้อหาในหนังก็จะเกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่องรูปหล่อ ที่จะเลือกเหยื่อเป็นพวกผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เมื่อเหยื่อหลงคารมมาหลับนอนกับเขา ช่วงเวลานั้นจิตของเขาจะหลุดบาดแผลในอดีตเกี่ยวครอบครัวก็เข้าครอบงำ มองว่าเหยื่อคนนี้คืออีผู้หญิงโสโครกสมควรจะต้องโดนกำจัด นั่นแหละคือกระบวนการฆาตกรรมต่อเนื่องของเขา
ตำรวจพยายามตามล่าแกะรอยฆาตกรคนนี้ที่ถูกตั้งฉายาไว้ว่า “ฆาตกรดอกแคทลียา” ก็ทำได้ยากเพราะมันเก็บรายละเอียดลบหลักฐานเบาะแสหลังการฆ่าจนเกลี้ยง แต่การไม่ลดความพยายามตามจับของตำรวจก็ทำให้เขาเข้าใกล้ได้อย่างสุดๆ แม้จะจับฆาตกรยังไม่ได้แต่เหยื่อคนล่าสุดก็รอดตายมาได้แม้จะอยู่ในสภาพช็อคจนไม่สามารถให้ปากคำใดๆ กับตำรวจก็ตาม

ตำรวจที่คุมคดีนี้เขามีครอบครัวที่สมบูรณ์ที่ภรรยาที่รักมีลูกชายที่น่ารัก แต่ลึกลงไปในรายละเอียดมันไม่ได้สมบูรณ์อย่างตาเห็น ตำรวจคือบ้างานยิ่งกว่าการให้สำคัญกับครอบครัว ภรรยาที่ไม่พอใจเมื่อสามีได้เลื่อนขั้นอันหมายถึงเขาจะอยู่กับงานมากกขึ้นกว่าครอบครัวไป ส่วนลูกชายเป็นเด็กขี้กลัวเกินเหตุจนแม่ต้องเอาแต่โอ๋แบบที่พ่อไม่พอใจเป็นลูกชายซะเปล่ากลัวอะไรไม่เข้าเรื่อง
แล้วครอบครัวตำรวจนี่แหละที่จะตกเป็นเป้าหมายของฆาตกรหน้าหล่อถัดไป ตำรวจจะตามจับได้ก่อนหรือว่าฆาตกรต่อเนื่องหน้าหล่อจะหาช่องว่างแล้วเสียบเข้าถึงความเหงาของภรรยาตำรวจได้ก่อนกันแน่.

จริงๆ แล้วก็ไม่ได้สนใจหนังเรื่องนี้มาแต่แรกหรอกนะ แต่เพราะไปเห็น TV Series เรื่อง Cattleya Killer (2022) แล้วสนใจขึ้นมา ก่อนจะพบว่ามันได้ถูกระบุรายละเอียดไว้ตรงๆ เลยว่าเป็นภาคต่อของ In My Own Hands ภาพยนตร์เมื่อ 26 ปีที่แล้ว โชคดีถัดมาก็คือ In My Own Hands นี้ได้ถูกนำมาบูรณะใหม่ภาพคมชัดเป๊ะแล้วลงสตรีมไว้ที่ Prime แบบที่ซับไทยด้วย นั่นแหละคือเหตุผลที่ขอเลือกจะดูภาคต้นภาคนี้ก่อนจะไปหาเวลาดูตัวซีรี่ส์ภาคต่อทีหลัง.
โดยระหว่างดูภาคต้นนี้ก็มีข้อสงสัยปรากฏขึ้นเรื่อยๆ ว่า มันจะใช้เนื้อหาอะไรยังไงเพื่อเชื่อมโยงก่อให้เกิดเรื่องราวที่สามารถนำพาไปสู่ตัวซีรี่ส์ที่เป็นภาคต่อได้ โดยรอยต่อระหว่างกันมันห่างถึงยีสิบกว่าปีแบบนี้ แล้วพอดูภาคต้นนี้จบมันก็มีความไม่แน่ใจอย่างหนึ่งขึ้นว่า ไอ้ตรงจุดนี้ที่น่าจะไปสานต่อเป็นภาคต่อได้อยู่นา ….แล้วพอไปอ่านเรื่องย่อของภาคต่อซีรี่ส์ก็ลงตัวเป๊ะทันทีว่า ที่เดาไว้นั้นไม่ผิดพลาดเลยแฮะว่าจะใช้อะไรยังไงเป็นจุดเชื่อมมายังภาคต่อซีรี่ส์ยี่สิบกว่าปีผ่านไปนี้.

>>Prime<<

.com for Murder (2002)

.com for Murder (2002 / Nico Mastorakis)
(USA)

ถ้าดูหนังเรื่องนี้ในช่วงเวลา 20 ปีก่อนอาจมองสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังว่าเวอร์เกิน แต่ถ้าดูหนังเรื่องใน 20 ปีต่อมาหรือปัจจุบันนี้ ก็อาจได้มุมมองที่ว่า มันอาจทำได้จริงและเกิดขึ้นได้เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปไกลแล้วของยุคนี้ แน่นอนแหละว่ามันอาจทำได้ในยุคนี้จริงแต่สิ่งที่ทำไว้ในหนังมันก็อาจเต็มไปด้วยความไม่สมจริงมากมายเช่นกัน

เชื่อนะว่า ถ้าจับคนดูเป็นพวก เนิร์ด พวกฝ่ายไอที พวกเก่งเน็ตเวิร์ค และพวกรู้เรื่องการแฮก มานั่งดูหนังเรื่องนี้กันเป็นหมู่คณะ มันคงกลายเป็นปาร์ตี้ที่สนุกสนานเอนจอยและบันเทิงมากๆ เลยก็ว่าได้ เพราะการจับผิดต่อหนังมันจะกลายเป็นความเฮฮาสุดๆ เลยก็ว่าได้
โดยเฉพาะซีน หัวและจานหมุนของ HDD นั้น ฉันนี่แทบจะ Standing ovation ให้เลย แม่งโคตรโดนเส้นจัด

เอาเรื่องย่อซักหน่อยนะ เรื่องราวมันเริ่มจากสาวอยู่บ้านแฟนหนุ่มที่มีคอมที่ไฮเทคแล้วแฟนไม่อยู่ก็คุ้ยอะไรในคอมจนไปเจอเวปแชทกับสาวๆ จุดเริ่มมันเกิดที่ห้องหนึ่งเมื่อสาวสวมรอยเป็นแฟนในไอดีนั่น ไปผิดใจและด่ากับแฮกเกอร์คนหนึ่ง นั่นจึงทำให้แฮกเกอร์ยอมไม่ได้ ตามล่าไอพีตรวจดูทุกอย่างว่ามันคือใคร ที่แท้จริงแล้วแฮกเกอร์คนนี้คือฆาตกรที่ชอบ Live ไปฆ่าเหยื่อสาวไป
คราวซวยหนังของเหยื่อสาวที่ไม่รู้ตัวเลยกำลังโดนแฮกเกอร์ดักจับทุกการสื่อสารไว้ เพราะคอมสุดไฮเทคดันเชื่อมต่อถึงกัน พอแฮกเกอร์แฮกได้มันก็สบายหมด ดักทางรู้หมดว่าโทรหาใครมีบทสนทนาอะไร แล้วสุดท้ายก็คือการสวมรอยเป็นช่างคอมของแฮกเกอร์ที่ทำให้เขาสามารถเข้าถึงเหยื่อสาวคนนี้ที่ปากดีใส่เขาได้ในที่สุด

สำหรับจุดจบของตัวร้ายแฮกเกอร์คนนี้แม้จะ อิหยังวะมากๆ แต่ภาพรวมทั้งหมดของหนังคือถ้าไม่จ้องจะจับผิดจริงจังแล้วตัดสินว่าหนังห่วยแตกเพราะไม่สมจริง ผลตอบรับที่ได้มันก็กลายเป็นความบันเทิงสุดๆ ไปเลยเช่นเดียวกันแบบที่ฉันได้รับมาเลย