Archive | August 2022

Hikiko’s Tragedy (2013)

Hikiko’s Tragedy (2013 / Hisatake Kikkawa)
(Japan)

สัส กูกลัว กลัวแล้วอีเหี้ยยยยยยยยย !!!

ทีมผลิตรายการพิสูจน์ผีเล็กๆ ทีมหนึ่ง ใช้คอนเท้นเป็นให้ผู้คนเข้ามาบอกว่าสถานที่ไหนหลอนต้องคำสาปมีคำล่ำลือว่าเฮี้ยน ทีมนี้ก็จะไปถ่ายทำรายการกันที่นั่น แต่ทำมาสองตอนดูเหมือนไม่ค่อยมีคนสนใจ จนกระทั่งมีคนๆ หนึ่งแนะนำเรื่องของผีฮิกิโกะในจังหวัดหนึ่งมาให้ ฮิกิโกะคือผีอาฆาตที่เกิดการจากกลั่นแกล้ง ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ฮิกิโกะจะทำร้ายและฆ่าผูคนด้วยการถลกหนัง ด้วยข้อมูลประมาณนี้ทำให้ทีมงานสนใจแล้วเดินทางไปถ่ายทำรายการ ทว่าพอไล่สัมภาษณ์ผู้คนแถวนั้น ก็ไม่มีใครซักคนเลยที่เคยได้ยินตำนานเรื่องเล่าของฮิกิโกะเลยซักคนเดียว ผู้กำกับเลยต้องใช้ไม้ตาย เรียกนักแสดงมาคนหนึ่งแล้วเตี้ยมเรื่องฮิกิโกะกันมันซะเลย ทำเป็นเหมือนนักแสดงคนนั้นคือที่นี่แล้วเคยได้ยินเรื่องของฮิกิโกะ พูดไปแล้วส่งต่อไปยังโรงเรียนร้างแถวนี้ ที่ทีมงานก็ต้องเสาะหาโรงเรียนร้างแถวๆ นี้ เพื่อถ่ายทำรายการมันให้จบ
ตรงช่วงนี้ ค่อนข้างตลกร้ายเลยแหละ เพราะมันเหมือนเป็นการแหกพวกรายการทำนองนี้ในญี่ปุ่นที่มีอยู่มากมาย ในเมื่อหาความเฮี้ยนความหลอนไม่เจอเราก็ต้องสร้างมันขึ้นมากันเอง อย่างเช่นเรื่องฮิกิโกะ รวมไปถึงการแสดงทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นในรายการด้วย ร่างขาวๆ ผมยาวๆ เดินผ่านแวปๆ นั่น มันก็คือการจัดฉากกันเองหมด ความตื่นกลัวขวัญผวาของพิธีกรหญิงมันก็คือแสดงเช่นกัน

ความหลอนจริงๆ มันจะค่อยๆ กัดกร่อนเล่นงานทีมงานกันทีละนิดๆ โดยเริ่มจากวันถัดมา ข่าวที่ออกในทีวีคือเหตุการณ์ฆาตกรรมในจังหวัดที่ทีมงานไปถ่ายทำรายการกัน สภาพการตายของเหยื่อเหมือนกับคำอธิบายการฆ่าคนของฮิกิโกะเป๊ะๆ เลย หลังจากนั้นผู้คนที่เมืองนี้เวลาทีมงานไปขอสัมภาษณ์คำตอบของพวกเขาก็แทบจะตรงกันข้ามกับครั้งแรกที่ทีมงานเคยมาถามไถ่เลย หลังจากคดีฆาตกรรมออกข่าวไป จะถามใครก็ตามแถวๆ นี้ พวกเขาก็ล้วนตอบมาว่า อ๋อ ฮิกิโกะนะเหรอ รู้จักอยู่นะ เคยได้ยินมาเหมือนกัน
ความจริงถัดมาพวกเขาก็เริ่มพบว่า แท้จริงแล้ว ตำนานเรื่องเล่าของฮิกิโกะมันไม่เคยมีตัวตนจริงๆ มาก่อนเลยอยู่แล้ว รูปลักษณ์ฮิกิโกะก็คือสิ่งพวกทีมงานสร้างกันขึ้นมาเองทั้งนั้น แล้วก็มีหลายครั้งที่ทีมงานได้รับวีดีโอของคนที่บังเอิญเจอฮิกิโกะแบบหลอนๆ ทีมงานบางคนก็รู้สึกหลอน ทีมงานบางคนก็รู้สึกไม่แคร์มองว่าเฟค เพราะเอาจริงๆ ฮิกิโกะแต่ดั้งเดิมที่ปรากฏโฉมมันก็มาจากการจัดฉากกันเองของทีมงานทั้งนั้น

ความน่ากลัวจากฮิกิโกะจะเริ่มก่อตัวขึ้นผ่านพวกทีมงานรายการนี่แหละ จากที่คิดว่าปล่อยวางเรื่องคอนเท้นฮิกิโกะไปก่อน ไปสถานที่ลึกลับอื่น แต่ก็เหมือนพวกเขายังเจอดีพบความหลอนจากสิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นฮิกิโกะอยู่ดี จากความรู้สึกหลอนผ่านฟุตเทจที่มีฮิกิโกะในนั้น ก็กลายเป็นพวกเขากำลังจะกลายเป็นเหยื่อของฮิกิโกะซะเอง
แล้วด้วยความเป็นหนัง found footage การวางตัวละครเป็นทีมงานผลิตรายการจึงดูเป็นอะไรที่สมเหตุสมผลในเรื่อง พกกล้องกันไว้ จะได้บันทึกกันไว้ได้ว่าเกิดอะไรผิดปกติกับพวกเราทีมงานหรือเปล่า ซึ่งพอฮิกิโกะบุกเอาตายจริงๆ เราจึงได้สัมผัสความน่ากลัวผ่านกล้องที่พวกทีมงานพกกันไว้โดยไม่เสียอรรถรสความไม่สมจริงใดๆ ทั้งนั้น

ค่อนข้างมั่นใจแล้วว่า หนัง found footage แบบที่เรียลที่ดิบไร้ jumpscare คือ found footage แบบที่ทำทำงานกับฉันมากที่สุด ทำให้ฉันทั้งอินและมีความรู้สึกร่วมไปกับหนังเอามากๆ กลัว หลอน ขนลุกไปหมดแล้ว

Jana Gana Mana (2022)

Jana Gana Mana (2022 / Dijo Jose Antony)
(India)

โอ้โห เอาอยู่จริงๆ เรียกได้ว่าความยาวของหนังที่รวมสองชั่วโมงสี่สิบนาทีไม่ใช่ปัญหาเลย กลับกันความยาวหนังแบบเต็มที่อย่างนี้คือการทำให้สามารถลงเนื้อหาได้อย่างละเอียดยิบ ชนิดที่ พีคแล้วเดือดอีก แบบที่ไม่มีใครยอมใครกันเลย (ครึ่งแรกกับครึ่งหลัง)

ด้วยการที่ตัดสินใจรับชมหนังเรื่องนี้โดยไม่รู้เรื่องย่อใดๆ ทั้งสิ้น มันเลยดำดิ่งไปกับเรื่องราวในหนังแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวที่เต็มไปด้วยความรุนแรงและหดหู่จากความตายที่เกิดขึ้น ก่อนจะโดนฟาดซ้ำจนเนื้อเต้นด้วยเรื่องราวที่คาดไม่ถึง/ไม่คาดคิดหรือไม่แม้ที่จะไปคิดถึงมันเลย

การที่เหวอสัสจริงๆ ต่อหนังเรื่องนี้ คือการเสมือนได้ดูหนังสองเรื่องในเรื่องเดียวกัน/เหตุการณ์เดียวกัน โดยแบ่งไว้เป็นครึ่งแรกกับครึ่งหลังของหนังมันนี่แหละ
หนังเริ่มด้วย เหตุการณ์เผาเหยื่อสาวคนหนึ่งที่เป็นครู ตามมาด้วยการยกระดับของเหล่านักศึกษาไปสู่การประท้วงที่โดนตำรวจเข้าสลายการชุมนุมด้วยความสงบแบบเลือดตกยางออก ก่อนจะกลายเป็นการลุกฮือของเหล่านักศึกษาทั่วประเทศจากเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงของตำรวจ ก่อนที่เราจะหลงลืมจุดเริ่มจากเรื่องฝั่งนักศึกษา ตัวหนังก็จะกลับมาเริ่มขุดคุ้ยหาคนร้ายที่ฆ่าเผาครูสาวคนนั้น การปะทะกันก็มีประปรายผ่านอารมณ์อยู่เหนือเหตุผลเป็นหลัก ตำรวจที่พยายามใช้เหตุผลในการสืบ ส่วนนักศึกษาคือถูกขับดันด้วยอารมณ์ล้วนๆ

ในครึ่งหลังก็จะกลายเป็นขึ้นศาล ที่ยังคงยึดโยงกับเหตุการณ์จุดเริ่มไว้ที่ว่าด้วยเรื่องของเหล่าคนร้ายและสิทธิมนุษยชน พวกคนร้ายผิดจริงมั้ยและพวกคนร้ายควรได้รับการปกป้องจากความผิดพวกนี้มั้ย จากเรื่องเหยื่อครูสาวถูกเผาไปสู่การเรื่องของพวกคนร้าย หลังจากนั้นก็คือขยายความลงลึกจากประเด็นที่เกิดขึ้นในคดีนี้ที่บานปลายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ไปแตะการทำหน้าที่ของสื่อ ไปแตะการทำหน้าที่ของตำรวจ ไปแตะเรื่องการผู้มีอิทธิพล ไปแตะเรื่องการเมือง แล้วขอบอกเลย แม้ประเด็นพวกนี้จะถูกลากไส้ออกมามากมายเกี่ยวพันกันเยอะแยะ แต่ทั้งหมดทั้งมวลเมื่อหล่อหลอมเรืองราวเข้ากันหมดแล้ว มันคือความทรงพลังที่ไร้จุดสิ้นสุดของหนังจริงๆ แล้วบางอย่างที่ถูกนำเสนอในหนังนี่มันสามารถนำมาวางทับในไทยหรืออีกหลายประเทศได้อย่างพอดีเป๊ะเลยเช่นกัน …สัส อย่างอิน !!!

>>Netflix<<

Adarna Gang (2022)

Adarna Gang (2022 / Jon Red)
(Philippines)

อย่างแรกเลยคือความผิดหวังกับความเป็น Vivamax ของหนังเรื่องนี้ก็ตรงที่ ภาพจำของ Vivamax ในสายตาฉันคือหนังติดเรท-อีโรติกมีซีนโป๊ไว้ขายเยอะแยะ แต่กับหนังเรื่องนี้มันไม่ได้มอบภาพจำแบบนั้นให้ฉันเลย ถึงมันจะมีก็เหอะแต่แค่ฉากเดียวเท่านั้นที่จัดเต็ม แถมเป็นนักแสดงหญิงตัวประกอบอีก นักแสดงหญิงตัวหลักมีให้เห็นแวปๆ ในลุคเซ็กซี่ๆ เท่านั้น

แต่ถ้าไม่ยึดติดถวิลหาแต่ความโป๊ในภาพจำแบบ Vivamax แล้ว เนื้อหาหนังมันก็ดูได้เพลินๆ ดี ว่าด้วย แก๊งพ่อค้ายาขาใหญ่ที่หนึ่งในผู้ก่อตั้งต้องการก้าวลงจากเวทีแก๊งที่มีอิทธิพลนี้ เพราะเขาต้องการมีชีวิตที่สบายๆ อยู่กับภรรยาและอดาร์น่าลูกสาวที่รัก แม้ขาใหญ่จะบอกว่านี่ก็สบายนะ ไม่มีใครแตะพวกเขาได้ แต่ความจริงเส้นทางอาชีพแบบนี้มันยืนอยู่บนความเสี่ยงตลอดเวลานั้นแหละ ไหนจะตำรวจ ไหนจะลูกปืน ซึ่งทั้งสองที่เป็นก่อตั้งแก๊งก็เข้าใจ คนที่อยากลงก็บอกขาใหญ่ว่างั้นงานหน้าขอเป็นงานสุดท้ายของเขาละกัน
พอหนังเกริ่นมาแบบนี้ก็เหมือนปักธงไว้แล้วว่าหนึ่งในผู้ก่อตั้งคนนี้จะตายในงานสุดท้ายของเขา แต่ถ้าตายจะการปะทะตำรวจหรืออีกฝ่ายหนึ่งมันก็จะไม่ซับซ้อนสะเทือนใจเท่ากับการโดนคนในแก๊งเดียวกันอย่างลูกชายของขาใหญ่ยิงตายนี่แหละ ผลที่ตามมาทำให้ลูกสาวของผู้ตายที่มีชีวิตเป็นนักร้องในโบสถ์ที่มีความสามารถ ความแค้นเริ่มก่อตัวขึ้นในใจ เริ่มจับปืนฝึกยิงปินกับเหล่าลูกน้องคนสนิทของพ่อที่ยังเหลืออยู่ แล้วก็ตามมาซึ่งการควบคุมตัวเองไม่ได้เมื่อเห็นขาใหญ่เพื่อนสนิทพ่อคนที่รักเขาเหมือนลูกเดินเข้ามาทักทาย สิ่งที่อดาร์น่าคนนี้ทำก็คือ ควักปืนมายิงใส่อีกฝ่ายเข้าที่ท้อง

เมื่อนั้่นอดาร์น่าสาวรู้ตัวเองดีแล้วว่าไม่สามารถถอยหลังได้อีกต่อไป ในอีกฝั่งหนึ่งลูกชายทั้งสามคนของขาใหญ่ต้องการล้างแค้นให้พ่อ โดยหนึ่งในนั้นคืออดีตคนรักของอดาร์น่าสาวแบบหลบๆ ซ่อนๆ กันอยู่ก่อนหน้านี้ พอความแค้นก่อตัวมากๆ กดดันใส่ฝ่ายอดาร์น่าสาวที่ดูพยายามจะหลีกเลี่ยงการปะทะมากเข้า สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการต้องตายกันไปข้าง
แต่ก็ใช้ว่าความแค้นจะฆ่ากันให้ตายกันไปข้างมันคือเจตจำนงเสมอไป สำหรับอดาร์น่าสาวท้ายที่สุดเธอก็ยังคงต้องการชีวิตที่อิสระและสงบเหมือนดั่งที่พ่อเธอต้องการมอบให้ครอบครัวตัวเองเหมือนกัน

เท่าที่หาอ่านเพิ่มเติมดู ตัวหนัง Vivamax Original เรื่องนี้นั้นดัดแปลงมาจาก Ibong Adarna บทกวีมหากาพย์ของชาวฟิลิปปินส์ในศตวรรษที่ 16 ที่ว่าครอบครัวกษัตริย์ พ่อแม่และลูกชายทั้งสาม ที่หลังจากพ่อป่วยด้วยโรคลึกลับ ลูกทั้งสามจะต้องตามหาและจับนกอดาร์น่าในตำนานที่บทเพลงมหัศจรรย์สามารถรักษาทุกสิ่งได้มา จากบทกวีเรื่องราวแฟนตาซีได้ถูกดัดแปลงกลายมาสู่หนังแก๊งสเตอร์ได้ด้วย

The Violent Breed (1984)

The Violent Breed (1984 / Fernando Di Leo)
(Italy)

ทหารอเมริกันซุ่มเข้าบุกช่วยตัวประกันเด็กในเวียดนาม ภารกิจนี้มีเพื่อนร่วมรบตายไปพอประมาณพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเมื่อหนึ่งในเพื่อนทหารไม่ได้ทำงานเพื่อประเทศชาติเพียงอย่างเดียว เขายังทำงานเพื่อตัวเองคือการมีกองกำลังอยู่แถบชายแดนทำการค้าขายยาเสพติดแถวๆ สามเหลี่ยมทองคำ

วันเวลาผ่านไป หัวหน้าทหารหน่วยเดิมได้เรียกเพื่อนทหารหนุ่มคนหนึ่งที่รอดมาด้วยกัน ให้มาทำภารกิจลับนั่นคือการพยายามเข้าหาอดีตเพื่อนทหารคนนั้น เพื่อต่อรองเจรจาเรื่องการค้ายาเสพติดแถวสามเหลี่ยมทองคำ อเมริกันต้องการแทรกแซงการค้าของสหายเก่าที่ทำการค้ากับรัสเซียอยู่ โดยภารกิจจะต้องเข้าหามาดามฝรั่งเศสคนหนึ่งในไทยก่อนแล้วจะได้นำพาไปสู่ที่กบดานของกองกำลังสหายทหารร่วมรบคนนั้น แล้วสถานที่ๆ มาดามฝรั่งเศสตั้งรกรากอยู่ก็อยู่ในผืนที่ป่าที่นั่นเป็นกึ่งๆ ซ่องนั่นแหละ มีหญิงขายบริการ แล้วหนึ่งในหญิงขายบริการก็ถูกโฉลกกับทหารอเมริกันที่มาทำภารกิจนี้ จนภายหลังทั้งคู่ก็ได้ร่วมรบกับอีกฝ่ายเพื่อเอาตัวรอด

สิ่งที่ชอบเล็กๆ ในหนังก็คือสิ่งที่เรียกว่า ในวงการนี้ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร หนี้บุญคุณต้องทดแทน จะฆ่ากันตายหรือจับมือกันใหม่มันก็ขึ้นอยู่กับคำว่า ภารกิจก็คือภารกิจ

สิ่งที่ทำให้สนใจหนังเรื่องนี้ก็จะอยู่ที่เรื่องราวส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นในไทยและถ่ายทำกันในไทย แล้วในสายตาคนไทยมันก็มักจะหลีกเลี่ยงการจับผิดไปไม่ได้เช่นกัน ซึ่งแต่ก่อนฉันก็เป็นแหละ แต่นับจาก The Hangover 2 ขับเรือจากกรุงเทพไปภูเก็ตนั่น หลังจากนั้นก็ปรับมุมมองเรื่องพวกนี้ใหม่กันไป จริงๆ มันคงมีหนังต่างประเทศอีกมากมายที่อาจมีลักไก่เรื่องสถานที่ไกลกันแต่การเดินทางที่เหมือนใกล้แบบนี้บ้างแหละ แต่เราไม่ใช่คนในพื้นที่เราก็เลยไม่ทันสังเกตเห็นการลักไก่อะไรแบบนี้ นับแต่นั้นฉันก็หาได้แคร์ความไม่สมจริงตรงนี้อีกต่อไป มองว่าหนังก็คือหนังแหละว้า สถานที่ทั้งหลายในหนังเชื่อมถึงกันแบบ fiction ที่ถูกเขียนเป็นบทขึ้นมาก็เท่านั้น

กับเรื่องนี้ก็เช่นกัน ถ้าจะมองเรื่องความไม่สมจริงการลักไก่แบบที่ยกตัวอย่างมา มันก็มี ทหารอเมริกันเดินทางมากรุงเทพ มาสนามบินดอนเมือง นั่งแท็กซี่ที่เป็นรถเบนซ์คลาสสิคมาโรงแรมเพนนินซูลา แล้วช่วงการไล่ล่า ทหารอเมริกันวิ่งหนีพวกตัวร้ายจากโรงแรมไปสู่ย่านตัวเมืองชั้นใน ไปสู่แถวนอกเมือง แล้วไปสู่ประมาณต่างจังหวัด หรือว่านี่จั้มคัทที่แท้จริง คัททีนึงวิ่งผ่านไปแขวงนึง คัทสามทีก็วิ่งไปโผล่ต่างจังหวัดละ แล้วก็ไม่ต้องสืบเลยว่า ภารกิจของทหารอเมริกันอยู่แถวสามเหลี่ยมทองคำ ไทย-พม่า-ลาว การขึ้นรถสองแถวจากต่างจังหวัดที่วิ่งสามคัทมาจากกรุงเทพ เผลอแปปเดียวทหารอเมริกันไปสู่จัดหมายปลายทางซ่องของมาดามฝรั่งเศสแล้วก็เข้าถึงแหล่งกบดานของเพื่อนทหารเก่า นี่นั่งรถสองแถวข้ามจังหวัดกันในระยะเวลาไม่ถึง 30 นาที …. เนี่ย ถ้าจะจับผิดหนังเรื่องลักไก่เพราะเรามันคนในพื้นที่ มันก็จะให้ความรู้สึกหนังไม่สมจริงด้วยประการทั้งปวงแบบนี้แหละ

Moon Over Parador (1988)

Moon Over Parador (1988 / Paul Mazursky)
(USA)

นักแสดงชายแถวสองคนหนึ่ง อยู่ระหว่างการถ่ายทำหนังในประเทศ Parador แถบอเมริกาใต้ประเทศที่นำโดยผู้นำเผด็จการคนหนึ่ง ระหว่างการกล่าวทักทายกับผู้นำเผด็จการที่ดูเป็นคนอารมณ์ดีและชื่นชอบศิลปะการแสดง นักแสดงก็ถูกยุให้แสดงเลียนแบบผู้นำเผด็จการคนนี้ให้เขาได้ดู ซึ่งตัวผู้นำเผด็จการก็ชอบ แสดงได้ดี

แล้วช่วงเวลาหนึ่ง ระหว่างนักแสดงชายเมากับปาร์ตี้ ผู้นำเผด็จการคนนั้นก็เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจ มือขวาข้างกายผู้นำเผด็จการจึงสั่งลูกน้องให้ไปหิ้วไอ้นักแสดงชายคนนั้นมา แล้วก็บีบให้เขามาสวมบทบาทเป็นผู้นำเผด็จการที่เพิ่งตายไปชั่วคราว นักแสดงไม่มีทางเลือกอื่นเลยเลือกทางที่จะสวมบทบาทเป็นผู้นำเผด็จการไป แล้วเขาก็ดันทำได้ดีด้วย

ใจจริงนักแสดงชายอยากจะปลีกหนีออกจากสถานการณ์นี้กลับอเมริกา แต่เขาไม่มีโอกาสเลย ในความเป็นจริงมือขวาก็สัญญากับนักแสดงชายไว้ว่า ให้สวมบทบาทชั่วคราว ยังไงประชาชนก็ต้องรู้ว่าผู้นำเผด็จการตัวจริงตายไปแล้ว แต่จะเผยการตายโง่ๆ แบบนี้ไม่ได้ การตายของผู้นำเผด็จการที่เป็นที่รักของคนทั้งประเทศมันต้องยิ่งใหญ่ ฉะนั้นนักแสดงชายก็สวมบทบาทผู้นำเผด็จการไปก่อนละกัน
สิ่งหนึ่งที่นักแสดงชายสวมบทผู้นำเผด็จการไม่รู้ก็คือ มือขวาและเหล่าพรรคพวกคือกลุ่มคนที่จ้องจะหาประโยชน์จากสถานการณ์แบบนี้อยู่แล้ว เหมือนกับว่าผู้นำเผด็จการที่สวมบทบาทโดยนักแสดงชายไม่ต้องทำอะไรหรอกในเรื่องหน้าที่การงานปกครองประเทศ เดี๋ยวมือขวาคนนี้จะจัดการให้ ที่จะกลายเป็นหาผลประโยชน์ส่วนตัวเข้าพวกพ้องมือขวาแทน
แต่เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งนักแสดงชายในบทบาทผู้นำเผด็จการ ก็หาช่องโหว่ป้องกันตัวเองจากการข่มขู่ของมือขวาได้ แล้วค่อยสอดแทรกหลักการ/ระบอบที่ตรงข้ามกับระบอบเผด็จการสู่ประเทศนี้ จากการรวบอำนาจทั้งหมดของภาครัฐ นักแสดงชายในบทบาทผู้นำเผด็จการก็ค่อยๆ ทำให้เกิดการกระจายอำนาจ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นปรปักษ์กับเผด็จการมากที่สุด นั่นก็คือ การเลือกตั้ง ที่นักแสดงชายในบทบาทผู้นำเผด็จการหย่อนเอาไว้ โดยหนึ่งในผู้ร่วมเส้นทางเดียวกันนี้ก็คือ คนรักของผู้นำเผด็จการตัวจริงที่คว้าเธอมาเป็นคนรักจากนักเต้นในบาร์ ซึ่งความคิดการรู้จักผู้นำเผด็จการตัวจริงแบบถึงรูขุมขน มันก็ทำให้นักแสดงชายเข้าถึงบทบาทผู้นำเผด็จการได้ละเอียดยิ่งกว่าเดิม แล้วการมีคนรักออกสื่อก็ถือเป็นกลยุทธที่ใช้ต่อรองจนมือขวาไม่กล้าจะขยับตัวแบบสุ่มสี่สุ่มห้าไป

แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่นักแสดงต้องการมากที่สุด ไม่ใช่การเสวยสุขในบทบาทผู้นำเผด็จการอะไรแบบนี้หรอก ยิ่งการได้เจอการปะทะจากกลุ่มกองโจรต่อต้านเผด็จการด้วยแล้ว มันยิ่งทำให้นักแสดงหวาดกลัวห่วงชีวิตตัวเองแล้วยังตั้งเป้าหมายแบบเดิมไว้อยู่ก็คือ หนีไปจากประเทศนี้ให้ได้

ชอบความตลกร้ายฉากหนึ่งในหนัง ช่วงที่ผู้คนที่ทำงานในวังของผู้นำเผด็จการคุยกัน ต่อหน้านักแสดงและมือขวาก็ทำเหมือนการสวมบทบาทยังคงแนบเนียนไม่มีใครจับได้ แต่ความจริงแล้วพวกคนที่ทำงานในวังต่างก็รู้ตั้งแต่แรกแล้วว่า นั่นคือผู้นำตัวปลอม แต่จะหาเรื่องใส่ตัวกันทำไม พวกเขายังอยากทำงานกันอยู่ไม่ได้อยากตกงาน จึงเออออห่อหมกทำงานปฏิบัติตนต่อหน้าตัวปลอมเหมือนเขาเป็นตัวจริงอยู่เหมือนเดิมนี่แหละ

ในส่วนของภาคประชาชนในหนังถูกวางไว้ด้านเดียวเท่านั้น คือประชาชนในด้านที่รักผู้นำเผด็จการคนนี้อย่างสุดหัวใจ ประชาชนมายืนรอต้อนรับกันเต็มลานกว้าง ส่งเสียงร้องด้วยความรักและศรัทธาต่อเผด็จการคนนี้

ตัวหนังรีเมคมาจาก The Magnificent Fraud (1939) ที่มี Point หลักเหมือนกันแค่ หาคนมาสวมบทบาทเป็นผู้นำเผด็จการที่เพิ่งเสียชีวิตไป ส่วนอื่นๆ ที่เหลือก็น่าจะไม่เหมือนกันรวมไปถึงอารมณ์หนังที่ต้นฉบับดูจะจริงจังและตรึงเครียด ส่วนรีเมคนี้คือมีความติดตลกซะเป็นส่วนใหญ่

Supîkâman: The Boo (2004)

Supîkâman: The Boo (2004 / Yoshihiro Nishimura)
(Japan)

เป็นหนังอสูรกายที่ชนบทและฟีลกู้ดดีจัง

Speakerman ตัวเตี้ยๆ ตันๆ มีใบหน้าเป็นลำโพง จะส่งเสียงเหมือนไซเรนหวอดังๆ ตอนเที่ยงตรงเป๊ะๆ ทุกครั้งที่ผู้คนได้ยินก็จะรู้ว่าได้เวลากินข้าวเที่ยงแล้ว ในอดีตเคยผูกพันกับพวกคนงานเหมือง โดยเฉพาะทานากะเทพคนเหมืองที่สามารถขุดเหมืองด้วยมือเปล่าได้ ความสนิทสนมของทานากะกับ Speakerman ออกมาในรูปแบบโบรแมนซ์ (เอาจริงๆ จะเรียก โบรแมนซ์ ก็พูดได้ไม่เต็มปาก เพราะ Speakerman ระบุเพศไม่ได้)
จนเมื่อเหมืองปิดแล้วทานากะไม่ได้อยู่กับSpeakermanอีกต่อไปแล้ว ชีวิตของSpeakermanจึงไร้เป้าหมายนั่งๆ นอนๆ ไปวันๆ แล้วก็ส่งเสียงหวอตอนเที่ยงเป็นปกติ
เขาไม่ค่อยอยากเข้าเมืองเพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีที่ได้จากผู้คนที่กลัวตัวSpeakermanอยู่ แต่อย่างน้อย ช่วงเวลาหนึ่งเขาก็ยังสามารถทำความดีได้ จากการส่งเสียงหวอนอกเวลาตอนเที่ยงเพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ แล้วผู้คนในหมู่บ้านก็ไม่ได้เป็นแบบคนในเมือง Speakerman รู้สึกอบอุ่นเป็นกันเองเหมือนได้อยู่กับเหล่าคนเหมืองในอดีต

แต่อสูรกายก็คืออสูรกายอยู่วันยังค่ำ ไม่ใช่ความป่าเถื่อนหรอกนะ แต่เป็นการรู้ตัวเองมีความสามารถอะไรแต่ไม่สามารถใช้ความสามารถนั้นเข้ากับความเป็นอยู่หรือวิถีชีวิตแบบมนุษย์ทั่วไปได้ แค่เพียงการเฝ้าโจรขโมยเมล่อน ผลลัพท์ที่ออกมากลับสร้างความเสียหายยิ่งกว่าเมล่อนโดนขโมยไปบางส่วนเสียอีก
แต่ในความเป็นอสูรกาย มันยิ่งขับความเป็นเอกลักษณ์ได้ชัดเจนขึ้นในช่วงท้าย เมื่อการมีตัวร้ายคนหนึ่งโผล่มา Speakerman เป็นตนเดียวที่รู้สึกได้ว่าเขามีอันตรายแล้วต้องปกป้อง แน่นอนเขารู้ว่าพลังตัวเองใช้ยังไง แต่ถ้ามันเกิดไม่ได้ผลในภายหลังล่ะ Speakerman คงรู้สึกผิดไปตลอด แต่โชคดีที่คำๆ หนึ่งที่ทานากะเคยพูดกับ Speakerman ไว้ มันดันกลายเป็นจุดพลิกแพลงการใช้พลังของ Speakerman เพื่อปกป้องผู้คนที่เขารักได้ ซึ่งผลลัพท์การใช้พลังที่พลิกแพลงใหม่นี่แหละ ที่คงความเป็นอสูรกายไว้ชัดดี ชนิดที่เล่นเอาตัวร้ายซะไม่เหลือซาก

นี่หลังดูจบไปดูผลงานผู้กำกับที่คุ้นๆ ชื่อ ก็เหวอเลย เพราะผลงานของเขานี่สาย GORE เลือดสาดทั้งนั้น เช่น Anatomia Extinction, Tokyo Gore Police, Vampire Girl vs. Frankenstein Girl, Mutant Girls Squad, Helldriver และ Meatball Machine ภาคล่าสุดเป็นต้น
Supîkâman: The Boo นี่ จึงเป็นหนังที่เหมือนเริ่มตั้งหลักหลังจากผลงานกำกับเรื่องก่อนหน้า Anatomia Extinction เมื่อ 9 ปีที่แล้ว เป็นการตั้งหลักด้วยหนังสายอสูรกายแบบฟีลกู้ดอบอุ่นและทุนต่ำด้วยเช่นกัน ชนิดที่เห็นแล้วรู้เลยว่าทุนต่ำมากแต่ก็เข้าใจใช้ความเป็นทุนต่ำมาขยี้ให้เป็นเอกลักษณ์ได้ค่อนข้างดี แล้วหลังจาก Supîkâman: The Boo นี่เป็นต้นไป ผลงานส่วนใหญ่ของ Yoshihiro ก็เริ่มกลายเป็นภาพจำในหนังสาย GORE เลือดสาดญี่ปุ่นไป แบบไม่เกี่ยงว่าหนังจะดีหรือแย่ก็ตาม

“BLOW THE NIGHT!” Let’s Spend the Night Together (1983)

“BLOW THE NIGHT!” Let’s Spend the Night Together (1983 / Chûsei Sone)
(Japan)

ตัวหนังให้นิยามว่าเป็น docu-drama เพราะส่วนหนึ่งก็เหมือนตีแผ่ชีวิตเด็กนักเรียนที่หลงทางติดยาดมกาวเป็นอันธพาลซิ่งป่วนเมืองหลงระเริงในแสงสีไปจนถึงเมาทินเนอร์แล้วโดนเวียนเทียน แต่หลักๆ เลยความเป็น docu ที่ว่าไว้น่าจะเป็นการเอาเหล่าแยงกี้จริงๆ มานำแสดงในบทบาทของตัวเองในหนังเรื่องนี้ น่าจะเป็นแยงกี้ที่สังกัดแก๊งกันจริๆ โดยเฉพาะ Namie Takada นี่คือคนที่โดดเด่นเอามากๆ เป็นคนที่มีคาแรคเตอร์แยงกี้หญิงโคตรคมชัดเป็นภาพจำเริ่มต้นของแยงกี้หญิงดุๆ เหวี่ยงๆ ได้เลย (ค่อนข้างเซอร์ไพส์ที่นอกเหนือหนังจะมีการดมกาวกันรัวๆ อีกหนึ่งอย่างที่เคยเห็นแค่ในมังงะนักเลงก็คือพวกที่ปากคาบกระป๋องตลอดเวลา มาเก็ตเอาเรื่องนี้แหละที่กระป๋องที่ปากคาบอยู่นั้นมันคือกระป๋องทินเนอร์)

ตัวหนังหลักๆ จะแบ่งออกเป็นสามส่วนที่มีสัดส่วนไม่เท่ากัน หลักๆ เลยที่เน้นก็จะอยู่ที่ต่างจังหวัดเป็นเรื่องในโรงเรียนและเหล่าอันธพาลในโรงเรียนการรับมือของพวกครูที่ทำได้แค่ คือพวกนักเรียนนักเลงจะไม่เรียนก็ช่างแต่ช่วยอย่ารบกวนเด็กนักเรียนคนอื่นที่กำลังเรียนอยู่ได้ไหม การปะทะกันระหว่างครูกับนักเรียนไม่ค่อยมีหรอก อย่างมากช่วงต้นก็คือมีปากมีเสียงเท่านั้น ส่วนนักเรียนด้วยกันเองก็เล่นกันแบบไม่มีความเกรงใจครูกันเลย ลากนักเรียนให้ออกมาจากห้องแล้วไปกระทืบต่อยตีกันตรงอื่น นึกไม่อยากเรียนก็เดินออกห้องไป แล้วไปรวมกลุ่มนั่งดมกาวกันซักที่ในโรงเรียนแทน อย่างเช่นยัยนามี
อีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นเรื่องของเด็กนักเรียนในโตเกียวที่เลิกเรียนก็ไปห้องเพื่อนที่หนุ่มสาวนอนกกกันอยู่ เปลี่ยนชุดแล้วตะลอนเดินเที่ยว แล้วอีกส่วนหนึ่งที่คาบเกี่ยวกับเรื่องของโรงเรียนอันธพาลก็คือน้องสาวของนามี ที่เป็นเหมือนด้านตรงข้ามของพี่สาวที่ไม่ได้รับอิทธิพลพฤติกรรมแย่ๆ มา แต่จังหวะหนึ่งที่ทำให้น้องสาวนามิความคิดเปลี่ยนไปก็คือ การได้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์หนุ่มคนรู้จักของพี่แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

เท่าที่สังเกตและเทียบดูได้ก็จะเห็นการเทียบเส้นทางเดินของเด็กๆ ในวัยนี้ระหว่างสภาพแวดล้อมในต่างจังหวัดกับสภาพแวดล้อมในตัวเมืองที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขา กับต่างจังหวัดนี่เหมือนเห็นสภาพแวดล้อมที่จะส่งผลต่อตัวเด็กเองได้ชัดเจนอยู่ มีทั้งสามารถหลบเลี่ยงกันได้และไม่คิดจะเลี่ยงแต่ตัดสินใจเดินทางนั้น ยอมรับผลเสียงผลเสียกันเอง เช่นพวกเหล่านักเรียนอันธพาลทั้งหลายทั้งชายและหญิง ที่พวกเขาไม่เลือกเยอะเลย มาเส้นนักเลงแล้วก็มักจะไปให้สุดในเส้นทางนักเลงแบบนี้ แบบที่ครูคนหนึ่งเตือนนามีว่า ถ้าเธอเลือกเส้นทางชีวิตแบบนี้ อีกไม่นานก็คงไปลงเอยกับงานนวดหมอนวดที่อยู่ในอุ้มมือของพวกยากูซ่าแน่นอน
แต่เมื่อได้เห็นสภาพแวดล้อมในตัวเมืองแล้ว มันช่างอันตรายมากกว่าอีกโดยเฉพาะเด็กบ้านนอกเด็กไม่ทันต่อโลก เราไม่มีวันล่วงรู้ได้เลยว่าอันตรายจะมาเยือนเราเมื่อไหร่ ไม่เหมือนกับต่างจังหวัดที่เห็นๆ กันอยู่ชัดเจนแล้วสามารถเลี่ยงหนีได้

ฉากที่ชอบมากที่สุดในหนังคือ โรงเรียนลุกเป็นไฟจากภาพนักเรียนส่วนใหญ่ยกพวกไล่อัดเหล่าครูแบบไม่ไว้หน้า ที่คราวนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับนักเลงปะทะครู แต่เมื่อพวกครูบางคนแม่งกระทำตัวไม่สมกับเป็นครู ปฏิบัติต่อนักเรียนแบบไม่เห็นหัว ที่ทำเอานอกเหนือจากพวกเด็กเรียนในโรงเรียนที่น่าจะมีไม่ถึง 5% ของทั้งหมด นักเรียนส่วนใหญ่ทั้งโรงเรียนรวมไปถึงพวกอันธพาลแม่งคือการรวมพลไล่บี้พวกครูด้วยความรุนแรงแบบที่ถ้าครูแม่งคนเหี้ยแล้วปฏิบัติกับนักเลงแย่ๆ พวกนักเรียนก็จะไม่ไว้หน้าเหล่าครูเช่นเดียวกัน

The Woman Who Dreamed of a Man (2010)

The Woman Who Dreamed of a Man (2010 / Per Fly)
(Denmark / Norway / Sweden / Poland / France)

ชายในฝัน—ติดควย—พังพินาศ

ช่างภาพหญิงฝีมือดีจากเดนมาร์ก ฝันถึงชายคนหนึ่งที่เธอไม่รู้จัก ระหว่างเธอมาถ่ายแฟชั่นที่ฝรั่งเศส เธอก็ได้พบผู้ชายคนนั้น เขาเป็นคนโปแลนด์ ทั้งคู่คุยกันด้วยภาษาอังกฤษ เธอมีครอบครัวแล้ว เขาก็มีครอบครัวเช่นกัน เธอไม่สามารถลืมชายคนนี้ไปได้ หลังการพบกันครั้งแรกมันทำให้เอาเขาไปฝันแบบน้ำเดินโดยไม่ได้ตั้งใจ
จนเมื่อเธอได้มาถ่ายงานอีกรอบฝรั่งเศส แล้วได้เจอเขาคนนั้นอีกครั้ง คราวนี้เรื่องบนเตียงของทั้งคู่นั้นไม่ใช่ภาพฝันของเธออีกต่อไป แล้วหลังจากนี้เป็นต้นไปนี่แหละ คือ อาการของคนติดควย ใจก็อยากต่อต้าน desire ของตัวเอง รู้ว่าผิดทั้งตัวเธอและผิดต่อครอบครัว แต่สถานการณ์มันก็พาเธอไปหาเขาจนได้ คราวนี้งานที่ต้องทำคือแถวๆ วอร์ซอ อันที่ๆ ชายคนนั้นอาศัยอยู่ พอเธอหักห้ามใจไม่ได้ แล้วมีที่สำหรับพลอตรักกันเองโดยเฉพาะจากการจัดหาให้ของผู้ชาย สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือความพังพินาศ ทั้งเรื่องครอบครัวและเรื่องการงาน ไม่สนว่าห่างไปไม่ไกลคือบ้านของเขากับภรรยา ไม่สนว่าผู้หญิงที่เขาทำงานด้วยจะมีลับลมคมในอะไรหรือเปล่า เธอต้องการแค่ ควย ของเขาเท่านั้น โปรดเสียบเข้ามาในปาก⇧ของฉัน และโปรดกระเด้าเข้ามาที่ปาก⇩ของฉัน ความหลงผู้ชายของเธอมันค่อยๆ ยกระดับไปสู่ความคลั่ง ที่พร้อมจะทำลายผู้หญิงทุกคนที่เขามีสัมพันธ์ด้วยรวมไปถึงตัวผู้ชายคนนั้นด้วย

ว่ากันตามตรงหนังค่อนข้างน่าเบื่อ เป็นเส้นตรงแบบชั้นเดียวแบบเชยๆ แต่เมื่อมาถึงจุด twist ในตอนจบ โคตรคือดี มันก่อให้เกิดคำถามในหัวขึ้นมาทันทีว่า “มันตั้งแต่เมื่อไหร่/ช่วงไหนกันแน่วะเนี่ย”

Reel Evil (2012)

Reel Evil (2012 / Danny Draven)
(USA)

ชอบเนื้อหาการปูเรื่องมากๆ เมื่อวัยรุ่นไฟแรงอยากทำหนังแต่ไร้โอกาสหรือจุดเริ่ม แต่แล้วพวกเขาก็ได้โอกาสจากสตูดิโอหนึ่ง งานของพวกเขาคือการเป็นฝ่ายถ่ายสารคดีเก็บภาพเบื้องหลังกองถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้ ส่วนสถานที่ถ่ายทำของกองถ่ายนี้นั้นอยู่ในตึกโรงพยาบาลร้างแห่งหนึ่ง ระหว่างมึนๆ งงๆ กับการเตรียมงานพวกเขาก็ไปเดินสำรวจโรงพยาบาลร้างกัน ไปพบความจริงดำมืดของโรงพยาบาล ไปพบความหลอนของสภาพห้องผู้ป่วย โดยหนึ่งในแกนนำก็เหมือนพบโอกาสทองของพวกเขา กล่าวคือลองลุยๆ ถ่ายกันไปเรื่อยๆ ไปให้ลึกไปให้ไกลในโรงบาล ถ้าเกิดเจออะไรดีๆ มันอาจทำให้ผลงานการถ่ายทำกันแบบลุยในโรงพยาบาลร้างของพวกเขาดังกันไปเลยก็ได้

ส่วนแง่ความเป็นหนังสยองขวัญ found footage ค่อนข้างน่าเบื่อและห่วยแตก เอาเป็นว่าชั่วโมงกว่าแล้วแทบไม่มีห่าอะไรเลย แล้วพอจะมีห่าอะไรก็ชอบเอากันให้ตกใจ แต่ที่ต้องมองบนสุดๆ ก็คือการใช้ซีจีร่วมมาสร้างผีหลอกวิญญาณหลอนนี่แหละ แล้วไอ้ห่า ซีจีอย่างลอย
จริงๆ ในบรรยากาศของโรงพยาบาลมันก็ได้อยู่นะ ยิ่งช่วงหลังพวกวัยรุ่นก็เหมือนหลงออกจากส่วนนี้ของโรงพยาบาลไปหากองถ่ายไม่ได้ด้วย คิดว่าถ้าเอาสยองขวัญให้เข้ากับบรรยากาศของหนังมันไม่ควรเป็นผี/วิญญาณ แบบแวปมาแวปไปตามจังหวะไฟที่กระพริบแบบนี้ มันน่าจะออกมาเป็นพวกตัวเป็นๆ คนไม่ตาย บุกวิ่งไล่อะไรแบบนี้ซะมากกว่า

First Love (TV Mini Series, 2002)

First Love (TV Mini Series, 2002 / Jiro Shono, Natsuki Imai, Hiroshi Matsubara)
(Japan)

คาสุมิหลงรักอาจารย์สอนวรรณกรรม อาจารย์คือรักแรกของคาสุมิ วันหนึ่งคาสุมิได้ใกล้ชิดได้โดนอาจารย์กอดและจูบ แต่มีคนเห็น และมีคนพยายามฆ่าตัวตายเพราะช้ำรัก อาจารย์ลาออกจากโรงเรียน แล้วจากคาสุมิไปโดยไม่อธิบายใดๆ ทั้งสิ้น
ห้าปีผ่านไป คาสุมิได้เจออาจารย์ที่เป็นรักแรกของเธออีกครั้ง ทว่าสถานะอาจารย์ก็คือคู่หมั้นของพี่สาวที่พร้อมจะแต่งงานกันในเร็ววัน อาจารย์จำคาสุมิลูกศิษย์ของเขาที่เคยก้าวล่วงมาก่อนได้ คาสุมิก็จำอาจารย์ที่เป็นรักแรกได้เป็นอย่างดีเช่นกัน การวางตัวของทั้งคู่โดยทำเหมือนไม่รู้จักกันต่อหน้าพี่สาวและพ่อแม่เลยมีความอึดอัด สิ่งเดียวจากคาสุมิที่ยังไมมูฟออนต้องการจากอาจารย์คือคำอธิบายเรื่องห้าปีก่อนนั่น ส่วนอาจารย์เหมือนเขาจะมูฟออนได้ก็ไม่ต้องการทำให้เรื่องราวมันบานปลายไปมากกว่านี้

ถ้าเอาตามหน้าหนังหรือเรื่องย่อ มันก็เข้าเค้าความเป็นหนังรักสำเร็จรูปได้ในทันที แต่ในความจริงแล้ว ตัวละครหนึ่งในเรื่องนี้มันจะมีหน้าที่สำคัญที่เสมือนคลื่นรบกวนทำให้เรื่องราวทุกอย่างมันไม่เป็นไปตามสูตรสำเร็จที่ว่า ตัวละครนั้นก็คือพี่สาวคาสุมิ
พี่สาวคาสุมินี่คือตัวละครที่อ่านทางได้โคตรยาก มองไม่ออกว่าความตั้งใจเป้าหมายของเธอคืออะไรกันแน่ อย่างช่วงต้นเรื่อง สำหรับความสัมพันธ์ของอาจารย์และคาสุมิก็เหมือนทั้งคู่จะพยายามตั้งใจมูฟออนต่อกันได้อยู่แล้วนะ แต่สิ่งที่พี่สาวคาสุมิทำ มันยิ่งทำให้ทั้งคู่ไม่สามารถมูฟออนกันไปได้ง่ายๆ คาสุมิที่พยายามกลบฝังความรู้สึกรักแรกต่ออาจารย์มันก็ปะทุขึ้นตลอด อาจารย์ที่เหมือนมูฟออนได้แล้วก็ดันถูกขุดความรู้สึกเยื่อใยที่มีต่อคาสุมิขึ้นมาเล่นงานเขาต่อ แล้วตัวพี่สาวคาสุมิแท้จริงแล้ว เธอรักอาจารย์จริงหรือไม่ แล้วสิ่งที่เธอที่ทำให้ทุกอย่างมันซับซ้อนและยุ่งเหยิง เธอทำไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร

ระหว่างเดียวกัน หนุ่มเพื่อนสมัยเรียนของคาสุมิ คนที่แอบรักคาสุมิมาตลอดตั้งแต่สมัยเรียน เขาก็เหมือนได้จังหวะโอกาสที่จะซื่อตรงกับตัวเองบอกความจริงกับสาวตรงหน้าว่า ผมรักคุณ
เอาจริงๆ ฉันเชียร์คู่นี้มากกว่า อยากให้คาสุมิหลุดพ้นจากคำสาปรักแรกต่ออาจารย์มามีความสุขกับชายหนุ่มคนนี้ที่รักและจริงใจต่อเธอแต่เพียงผู้เดียวมานานนม แต่ก็อย่างว่า หลายจังหวะคาสุมิกำลังจะหลุดพ้นกำลังจะมูฟออน แต่ก็โดนพี่สาวตัวเองจัดวางเหตุการณ์อะไรซักอย่างใส่จนทำให้คาสุมิไม่อาจหลุดพ้น หนำซ้ำกลับกลายเป็นย้ำเตือนคาสุมิหนักขึ้นไปอีกว่า คนที่้เธอรักมากที่สุดในหัวใจนั้นมีหนึ่งเดียวคืออาจารย์รักแรกของเธอ ส่วนชายหนุ่มคนนี้ ถ้าความรักของคาสุมิที่มีต่ออาจารย์มันลดน้อยไป คนที่คาสุมิจะรักเป็นคนต่อไปก็น่าจะเป็นชายหนุ่มคนนี้แทน

ถ้าอ่านๆ ดูคงจะรู้สึกว่าพี่สาวคาสุมิคือคนที่มีเล่เหลี่ยมใช้มารยาเล่นไม่ซื่อวางแผนวางกับดักอะไรหลายอย่าง ใช่ เธอเป็นแบบนี้แต่คนที่จะล่วงรู้ได้เห็นจะมีเพียงคนดูเท่านั้นแหละ เพราะพื้นที่ที่พี่สาวคาสุมิอยู่มันคือสถานะมีตัวช่วยเป็นช่องโหว่ของความรักความเห็นใจของผู้หญิงที่น่าเห็นใจน่านับถือคนดีคนหนึ่งคนนี้
สำหรับคาสุมิ พี่สาวคือคนที่เธอรักและเคารพ สำหรับอาจารย์พี่สาวคาสุมิคือคนที่น่าสงสารมีความเปราะบางบางอย่างในตัว สำหรับครอบครัวพี่สาวคาสุมิคือลูกสาวคนโตที่พึ่งพิงได้และเป็นคนสำคัญคนหนึ่งของครอบครัว
แล้วสำหรับพี่สาวคาสุมิล่ะ ทุกคนรอบตัว คือ อะไรสำหรับเธอ ตรงนี้แหละที่ทำให้เนื้อหาของเรื่องนี้มันหนักขึ้น มันจริงจังขึ้น มันแทบจะไม่เป็นหนังรักสูตรสำเร็จเลยมากขึ้น และสุดท้าย ชื่อเรื่องคำว่า First Love มันอาจไม่ได้หมายถึงความรักครั้งแรกแบบหนุ่มสาวเท่านั้นก็ได้

สำหรับช่วงตอนสุดท้าย ก็คงต้องยอมรับกันตรงๆ เลยนะว่า แม้ทุกอย่างจะขยายความคลี่คลายได้ชัดเจนทุกจุดประสงค์สำหรับตัวพี่สาวคาสุมิ แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ ความรำฯ ในระดับสูงสุด ณ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้