Archive | May 2023

Sophie’s World (2022)

Sophie's World (2022)

Sophie’s World (2022 / Lee Jae-han)
(South Korea)

ไม่แปลกเลยที่ระหว่างรับชมจะรู้สึกเหมือนกำลังนั่งดูหนังของฮองซานซูอยู่ผ่านบรรยากาศที่สัมผัสได้ ตัวละครน้อย คุยกันปกติไปมาบางซีนก็ลากยาวหน่อย เดินไปมาโลเคชั่นวนไปวนมาไม่กี่ที่ เพราะ Lee Jae-han ผู้กำกับเรื่องนี้นั้นทำงานในกองถ่ายของ Hong Sang-soo มา7 ปีตั้งแต่เรื่อง Our Sunhi (2013) ในตำแหน่ง Technical Supervisor ซะเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็ทำตำแหน่ง Assistant Director ให้กับเรื่อง Nobody’s Daughter Haewon กับ Our Sunhi + ตัดต่อเรื่อง Our Sunhi อีกหนึ่ง.
Sophie’s world (2022) คือผลงานกำกับ+เขียนบทเรื่องแรกของเขา เลยพยักหน้าตามได้เลยเมื่อได้เห็นโลเคชั่นที่คุ้นๆ ตาจาก The Woman Who Ran (2020) มาปรากฏเป็นโลเคชั่นหลักในหนังเรื่องนี้บ้าง

ถึงกระนั้นมันก็แค่รู้สึกคุ้นเคยและนึกถึงฮองซานซูเท่านั้น เพราะการเล่าเรื่องดูจะต่อติดได้ยากกว่าหนังของฮองซานซูหลายเท่านัก จนบางครั้งก็ไม่เข้าใจว่า Sophie’s World กำลังเน้นเล่าเรื่องสื่อถึงอะไรกันแน่ จนกระทั่งถึงตอนจบของหนังนี่แหละ ถึงเก็ทสิ่งที่หนังเรื่องนี้วางไว้มาตั้งแต่แรก มันเหมือนถ้าไม่ได้ตอนจบมาสรุปอีกทีก็จะไม่เก็ตตามเลยก็ว่าได้

Sophie’s World ในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหนังสือวรรณกรรม/ปรัชญา Sophie’s World แต่อย่างใดเลย ว่าง่ายๆ หนังเรื่องนี้มีจุดสำคัญหลักคือ 3-4 วันที่โซเฟียเดินมาอยู่บ้านซูยังเพื่อนในเกาหลีใต้ แล้วภายใน 3-4 วันมันมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ที่จริงๆ มันก็เรื่องราวปกติๆ นี่แหละ แต่ทั้งหมดใน 3-4 ของโซเฟียที่เกาหลีใต้เธอจะเขียนลงบล็อกไว้
จากนั้นตัวหนังก็จะมี voice over เล่าเรื่องไปพร้อมๆ กัน ซึ่งพอตอนยังไม่เคลียร์ไม่เก็ตกับหนังก็ไม่เข้าใจถึงการมีอยู่ของ voice over แบบนี้ แต่พอเก๊ตก็เข้าใจได้ว่า voice over สองคนมีซูยังกับโซเฟีย มันก็เปรียบดังความคิดในหัวของตัวละครนั้นๆ ที่เล่าเรื่องออกมา กับโซเฟีย voice over นี้อาจเป็นเนื้อหาเรื่องราว 3-4 วันที่เขียนลงบล็อกเอาไว้ ส่วนซูยัง voice over ก็คือการระลึกถึงเรื่องราวของตัวเองภายใน 3-4 วันที่โซเฟียมาอยู่ด้วยผ่านการได้อ่านบล็อกของโซเฟีย ซึ่งอาจเป็นทั้งช่วงที่โซเฟียอยู่กับตนเองหรือเป็นช่วงเวลาช่วงอื่นๆ ที่ระลึกตามขึ้นมาในภายหลัง อาจเป็นทั้งโมเม้นต์สำคัญแบบชีวิตคู่ทั้งแรงทั้งซึมทั้งปลอบโยนและรักกันเข้าใจกันมากขึ้นที่ทั้งคู่อาจหลงลืมไปแล้วจนได้มาอ่านบล็อกของโซเฟียแล้วระลึกขึ้นมาได้นี่แหละ, จะมีอยู่หนึ่งซีนที่อยู่นอกเหนือกรอบการเล่าเรื่องแบบ voice over นี้ แต่จะขึ้นตรงอยู่กับเนื้อหาบนบล็อกโซเฟียและผู้อ่านคนนั้นที่เกี่ยวขอ้งกับ 3-4 ของโซเฟียในเกาหลีใต้ คนๆนั้นก็คือ หนุ่มร้านหนังสือคนหนึ่ง.

Kim Sae-byuk ในบทซูยังนี่ รู้สึกคุ้นหน้ามาก พอมาหาข้อมูลเพิ่มก็ถึงได้อ๋อ นางเล่นหนังให้ฮองซานซูหลายเรื่องอยู่เหมือนกันนะ, Lee Jae-han นี่ใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกับฮองซานซูรวมไปถึงการดึงนักแสดงมาแสดงนำได้ด้วยแฮะ แล้วซีนระเบิดอารมณ์ของ Kim Sae-byuk นี่เชื่อมือได้เลย ขนลุกมาก เป็นการทะเลาะกันแบบสามีภรรยาที่ตึงเครียดเหี้ยๆ น่ากลัวจริงแบบที่ดูแล้วก็เป็นห่วงเลยว่าทั้งคู่จะหาทางในเรื่องการทะเลาะกันนี้ยังไง ซึ่งการทะเลาะแบบคู่รักในเรื่องก็จะมีสองคู่ที่สามารถวางเทียบกันได้ว่า นี่คือการทะเลาะของสามีภรรยาที่แต่งงานกันแล้วที่ขึ้นสุดแล้วลงสุดหาจุดสงบต่อกันได้ กับการทะเลาะของคู่รักที่ยังไม่ได้แต่งงานกันที่ขึ้นสุดแล้วไม่ลงเว้ย ปล่อยทิ้งรอยแตกหักแม่งไว้แบบนั้นแหละ.

Vikram (1986)

Vikram (1986)

Vikram (1986 / Rajasekar)
(India)

ที่อยากดูเรื่องนี้ เพราะนี่คือต้นฉบับตัวละคร Vikram ที่ไปมีภาคแยกเชื่อมจักรวาลในสามสิบปีต่อมาในปี 2022 ที่ชื่อเรื่องเดียวกัน
แต่พอได้รับชมจริงๆ ก็บอกตามตรงแหละว่า ผิดหวัง ที่พอติดภาพแอคชั่นมันส์ๆ เวอร์ๆ แบบหนังอินเดียในยุคปัจจุบันแล้ว ก็พบว่าทุกอย่างในหนังเมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้วมันช่างเชยสะบัดจริงๆ ฟีลหนังก็เหมือนได้ดูพวกหนังสายลับ 007 ที่ไร้อุปกรณ์เครื่องมือไฮเทคทั้งหลาย มีแต่หมัดตีนนี่แหละที่เอาไว้สู้กับพวกเหล่าร้ายอย่างเดียว แถมด้วยข้อผิดพลาดแบบมนุษย์มนาของวิกรมจนสูญเสียโอกาสบางอย่างไปบ้าง

แต่ก็ชอบฉากเปิดเรื่องนะ มันค่อนข้างแรงและไม่ทันตั้งตัวมาก เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ของวิกรมกับเมียที่กำลังตั้งท้อง ร้องเพลงเต้นวิ่งกันในผ่านต้นไม้ในป่า แต่แล้วสวรรค์ก็เล่นตลก เมียจับปืนของวิกรมแล้วกระสุนหล่นใส่ไม่เป็นขณะที่วิกรมโทรศัพท์อยู่ พอเมียจะบอกเรื่องกระสุนวิกรมก็ปิดปากเมียแล้วหาความสุขกัน ทีนี้ตัวร้ายรู้แล้วทางรัฐจะจ้างวิกรมให้มาไล่ล่าพวกมันที่ขโมยมิไซล์ไป จึงจ้างมือปินรับจ้างมาซุ่มยิงวิกรม พอนัดแรกซุ่มยิงพลาด วิกรมหยิบปินมาตั้งใจยิงใส่คนที่ซุ่ม ยิงไปออกกระสุนไม่มี แล้วพออีกฝ่ายยิงนัดถัดมา เมียวิกรมก็โดนเข้ารับกระสุนเข้ากลางหน้าผากตรงจุดบินดี(จุดแดงที่กลางหน้าผาก)พอดี วิกรมสูญเสียทั้งเมียและลูกในท้อง.

ในภายหลังก็มีผู้หญิงสองคนมาเคียงข้างวิกรม หนึ่งคือนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ต้องไปทำภารกิจกับวิกรมเรื่องการถอดรหัสเพื่อหยุดยั้งการระเบิดของมิไซล์ที่ทางรัฐตั้งค่าเอาไว้ภายในสิบวัน อีกคนคือเจ้าหญิงในประเทศหนึ่งแถวแอฟริกาที่ตัวร้ายกบดานพร้อมมิไซล์ เจ้าหญิงตกหลุมรักวิกรมเพราะเขาช่วยดูดพิษงูเข้าที่ฉกขาเจ้าหญิงออกให้ ถึงกระนั้นวิกรมก็ได้ฉายแววเพลบอย์เหมือนพวกหนัง 007 แต่อย่างเดียว เพราะในใจเขายังคงมีภรรยาอยู่ในใจเพียงคนเดียวเท่านั้นอยู่ …จนกระทั่งตอนจบ เขาต้องเลือก—และเลือกไม่ได้

หลังดูจบก็แอบคิดนะว่า เหล่าคนดูที่เคยดู Vikram (1986) แล้วเป็นแฟนวิกรมจากเรื่องนี้ พวกเขาจะรู้สึก/ปรับอารมณ์ยังไงเมื่อได้ดู Vikram (2022) ที่มีตัวละครวิกรมคนเดิมอยู่ในหนัง ภาพจำของ Vikram (1986) คือหนังแอคชั่น/ผจญภัยเบาๆ เพลินๆ นั้น คงจะรู้สึกเหวอแดกเมื่อต้องมาเจอกับความรุนแรงโหดอำมหิตแบบสุดทางใน Vikram (2022) สามสิบปีให้หลังนี้ !!!

สุดท้ายก็มีคำแนะนำให้ถึงจักรวาล Lokesh Kanagaraj ของที่กำลังสร้างตัวเชื่อมโยงหนังกันอยู่ Vikram (1986) ที่อาจเป็นหนังตั้งต้นสำหรับตัวละครวิกรมของ Vikram (2022) นั้น มันไม่จำเป็นต้องดู Vikram (1986) เพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ของจักรวาลหนังของ Lokesh Kanagaraj ก็ได้นะ ข้ามๆ ไปก็ไม่เสียหายอะไร.

Rouge (1987)

VHS01316

Rouge (1987 / Stanley Kwan)
(Hong Kong)

เป็นหนังรักที่ เอาตายมากๆ

แม้ตอนแรกๆ จะรู้สึกคลิเช่อยู่บ้าง (แหม หนังมันสามสิบกว่าปีแล้วนะ) กับหญิงสาวที่ตายไปแล้วเมื่อห้าสิบปีก่อนแล้วมาขอความช่วยเหลือจากชายหนุ่มคนหนึ่งในปัจจุบันว่าเธอต้องการพบคนรักในวันครบรอบที่ฆ่าตัวตายด้วยกันอีก2-3วันข้างหน้า ชายหนุ่มพอรู้ว่าเธอคือผีก็กลัวแต่พอปรับตัวได้ก็ เออ เป็นผีที่สวยที่ไม่น่ากลัวเลยนี่นา งั้นช่วยเธอหน่อยละกัน เรื่องของเรื่องก็คือ ห้าสิบปีแล้วบ้านเมืองเปลี่ยนไปมาก เธอไม่รู้ว่าหอนางโลมของเธออยู่ตรงไหน แล้วการเข้าหาชายหนุ่มคนนี้ของผีสาวคืออยากจะประกาศลงหนังสือพิมพ์ว่า เธอจะรอเขาอยู่ที่เดิมเวลาเดิมผ่านรหัสที่รู้กันสองคนเท่านั้น,
สำหรับตัวชายหนุ่มนั้นมีแฟนอยู่แล้ว ตรงนี้ตลกดี เพื่อเป็นการจริงจังต่อกัน เขาก็บอกไปเลยว่า ตอนนี้พาผู้หญิงเข้าบ้านมาคนนึงนะ แบบนี้ชัวร์กว่าที่จะเรียกให้กลับมาบ้านเพื่อคุยกับเรื่องผีสาว เพราะถ้าบอกว่าพาผีเข้าบ้าน แฟนก็ไม่เชื่ออีก ซึ่งก็แน่นอน ช็อตเหวอกลัวแบบชายหนุ่มของแฟนสาวเมื่อมั่นใจว่า หญิงสาวคนนี้ตายไปแล้วเป็นผีนี่หว่า มีแน่นอน, จริงๆ ก็สงสัยนะว่า ตัวละครแฟนสาวชายหนุ่มนั้นดูไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่พอหนังย้อนเล่าถึงความรักของอดีต(ผี)สาวกับคุณชายสิบสองแล้วการฆ่าตัวตายด้วยกัน มันก็สะท้อนความหนักแน่นในความรักที่เทียบกันได้ยากระหว่างหญิงสาวในสองยุคขึ้นมา

แต่แล้วความคลิเช่ที่เกิดขึ้นก็ค่อยๆ ถูกทะลายลงไปทีละเปราะจนราบคาบ เท่านั้นไม่พอ บทสรุปที่ตามมาของผีสาวกับความรักของเธอ เรียกได้ว่า มันเอาตายมากๆ แล้วก็สามารถสะท้อนเทียบกับความหนักแน่นทรงพลังของการตัดสินใจเรื่องความรักระหว่างเธอที่ผ่านมากว่าห้าสิบปีแล้วต่อสิ่งที่เจอตรงหน้านี้กับผู้คนในปัจจุบันที่อยู่ในเหตุการณ์ตรงหน้า ควรรู้สึกยังไง ควรเป็นห่วงมั้ย หรือควรปล่อยไปเพราะนั้นไม่ใช่เรื่องของเรา.

ชอบช่วงมากองถ่ายแล้วผู้กำกับสั่งให้นักแสดงหญิงตัวหลักว่า อาจจะยากหน่อยนะแต่คุณต้องแสดงออกมาให้เห็นถึงการเป็นตัวหลักตัวสำคัญของเรื่องและผีไปพร้อมๆ กัน จนนักแสดงนั่งบ่นกับตัวเองว่า เป็น Heroic and ghostly มันทำยังไง?
พอเจอบทพูดนี้ มันก็ทำให้ต้องหันมามองที่บทของ Anita Mui ในทันที เพราะเธอแสดงเป็นตัวหลักได้มีเสน่ห์สวยและตราตรึง ในเวลาเดียวกันเธอก็สื่อตัวเองออกมาเป็นผีได้ชัดเจนเช่นเดียวกัน อย่างการวาร์ปไปมาต่อหน้าชายหนุ่มหรือการยืนยันตนเองต่อแฟนสาวชายหนุ่มว่า ชั้นตายไปแล้วนี่คือชั้นในเวอร์ชั่นผี หรือการแบ่งตัวตนของบทผีชัดๆ ในสองเวลา ตอนกลางคืน ผีสาวดูสวยมีเสน่ห์แบบแต่งหน้าจัดเต็ม แต่พอกลางวันผีสาวแพ้แสงแดดมันทำให้เธอหมดแรง ผีสาวก็มาในสภาพหน้าสดไร้เมคอัพ มันทำให้ดูโทรมดูหมดกำลังจริงๆ

**ดูถูกลิขสิทธิ์+บรรยายไทย ภาพคมชัดได้ที่นี่**VIP***

Winter Journey (2013)

Winter Journey (2013 / Liubov Lvova, Sergey Taramaev)
(Russia)

ก็ไม่รู้นะว่า ถ้าผู้ชมเป็นเกย์หรือ LGBT ความรู้สึกที่ตกกระทบของหนังเรื่องนี้ต่อตัวผู้ชมคนนั้นมันให้ผลลัพท์ออกมาเป็นยังไง สำหรับฉันน่ะเหรอ ก็ไม่รู้สิ ถึงแม้ตัวละครในเรื่องจะชัดเลยว่าเป็นเกย์(ชายรักชาย) แต่มันก็สามารถมองไปในทางเรื่องมิตรภาพที่แนบแน่นได้ด้วยเช่นกัน

กล่าวคือ ตัวละครหลักเป็นนักร้องโอเปร่าที่กำลังจะออดิชั่นที่ครูบอกว่าเขาร้องได้ห่วยแตก นี่พักบ้างนี่นอนบ้างหรือเปล่า มีพรสวรรค์อย่างเดียวแต่ห่วยแบบนี้ก็ไม่ไหวนะ พอเครียดทางออกของเขาก็สวนทางคำสั่งครูไปเลย สูบบุหรี่ ดื่มวอดก้า เมาปลิ้นแล้วไปขลุกอยู่กับชายคนรักที่เป็นสังคมเล็กๆ ของเพื่อนเกย์ที่อายุมากกว่า/วัยทำงาน ส่วนอีกตัวละครคือชายกุ๊ยอันธพาลหัวรุนแรงใช้กำลังแก้ปัญหา แล้วไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ชายนักร้องเกย์ได้เกิดความหลงไหลในความป่าเถื่อนของคนๆ นี้ขึ้นมา กลายเป็นความสนิทไปจนถึงการเอาตัวเข้าแลกเพื่อช่วยอีกฝ่ายที่กำลังจะโดนตำรวจจับ

ส่วนที่ทัชมากที่สุดในหนังก็คือภาพเทียบชีวิตของผู้ชายสองคนนี้ ที่คนมีครอบครัวมีบ้านและมีความสามารถในการร้องเพลงสูง อีกคนไร้บ้านอยู่อย่างหัวขโมยฉกชิงทำทุกอย่างเพื่อเอาตัวรอดท่ามกลางลมหนาว จุดแตกหักตอนท้ายเลยมีท่าทีว่าจะเริ่มจากชายกุ๊ยคนนี้ที่ไม่ต้องการให้หนุ่มนักร้องเอาชีวิตที่มีความสามารถพรสวรรค์ในการร้องมาทิ้งไปกับเขา ยอมแตกหักทางใครทางมันไปซะตอนนี้เลยจะดียิ่งกว่า แต่หารู้ไม่ “เมื่อไม่มีคุณ ชีวิตผมมันจะไปมีคุณค่าอะไร” นี่อาจเป็นความคิดของหนุ่มนักร้องที่เลือกจมดิ่งอย่างไร้ค่าจมอยู่กับการนอนเมาข้างถนนท่ามกลางอากาศหนาวแทน

Voice Without a Shadow (1958)

Voice Without a Shadow (1958 / Seijun Suzuki)
(Japan)

ถ้าเกิดได้รู้จักหนังของ Seijun Suzuki ผ่านเรื่องดังๆ มาก่อนเช่น Tokyo Drifer (1966), Branded to Kill (1967) และ Zigeunerweisen (1980) จะพบว่าหนังเรื่องนี้มันช่างธรรมดาเสียเหลือเกิน ไม่เห็นเฟี้ยวฟ้าวเหมือนสามเรื่องนั้นเลย แต่ก็ใช่ว่าความธรรมดาๆ นี้มันจะด้อยค่าหนังเรื่องนั้นๆ ไป เปล่าเลย Voice Without a Shadow นี่เล่าเรื่องไม่แปลกไม่แหวกแต่เป็นหนังสืบสวนที่ให้ความน่าติดตามพอสมควรมาตั้งแต่ต้นเรื่องเลย ถึงกระนั้น ความแปลกแหวกแฟี้ยวฟ้าวนิดหน่อยก็ยังพอมีปรากฏ,ใส่ไว้ในหนังบ้าง นิดหน่อยก็ยังดี ยกตัวอย่างเรื่อง The Sleeping Beast Within (1960) อันนี้จะใส่มาช่วงฉากเล่าเรื่องย้อนที่ใช้เทคนิคซ้อนภาพตัวละครไปแปะโผล่อยู่ในฉากย้อนความ ส่วน Voice Without a Shadow นี้ มันก็แบบว่า อยู่ๆ มุมกล้องแม่งก็เอียงเว้ย ภาพเอียงไปประมาณ 45 องศา เอียงซ้ายบ้างขวาบ้างผ่านการตัดต่อไปมาตลอดทั้งซีนเดียวนี้

แต่จะว่าไป การเปิดเรื่องของหนังเรื่องนี้แล้วในเวลาต่อมา ก็พบความกวนประหนึ่งการทำลายความคาดหวังคนดูกับการเฉไฉออกไปเปิดพลอตหลักใหม่ขึ้นมาแทน คือ หนังมันมีเรื่องย่อและพลอตเริ่มต้นคือ หญิงสาวทำงานเป็นโอเปอเรเตอร์แล้วต่อสายผิดไปได้ยินเสียงฆาตกรฆ่ายกครัวครอบครัวหนึ่ง เธอเป็นคนดูจดจำเสียงใครแล้วจำได้ขึ้นใจ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำก็คือการต้องมาฟังเสียงคนสามร้อยกว่าคนเพื่อหาเสียงที่ใช่ว่านั่นคือฆาตกรคนที่คุยกับเธอผ่านโทรศัพท์ แต่ก็ล้มเหลวคดีก็เงียบไป ผ่านไปสามปี หญิงสาวไม่ได้ทำงานโอเปอเรเตอร์แล้ว เธอแต่งงานมีชีวิตคู่ปกติ สามีเธอได้เริ่มตั้งต้นกับงานใหม่ผ่านชายคนหนึ่งที่เป็นฝ่ายแนะนำงานให้เขาผ่านการโจ้ไพ่นกกระจอกทั้งวันทั้งคืน จนเมื่อวันหนึ่งสามีได้บอกให้หญิงสาวช่วยโทรไปหาชายที ไพ่นกกระจอกขาขาด เมื่อหญิงสาวได้คุยกับชายคนนั้นผ่านโทรศัพท์ เธอก็ช็อคเมื่อพบว่า นี่มันเสียงเดียวกับฆาตกรคนที่คุยกับเธอเมื่อสามปีก่อน !!!!!!

ที่ว่ามาทั้งหมดนั่นคือ 20 นาทีแรกของหนังเท่านั้น ถ้าเป็นหนังเรื่องอื่นคงลากยาวพลอตนี้ไปว่า หญิงสาวจะเอาตัวรอดยังไง ชายคนนั้นรู้หรือเปล่าเธอคือโอเปอเรเตอร์หญิงคนนั้นที่ให้ข้อมูลกับตำรวจ แล้วกับสามีตนเองจะบอกเขายังไงว่า ชายคนที่ช่วยสามีเรื่องานอยู่คือฆาตกรคนนั้นในคดีเมื่อสามปีก่อน
แต่ Seijun Suzuki ไม่ยึดพลอตเดินเรื่องหลักตามนั้น สิ่งที่ Seijun Suzuki ทำก็คือ การทำตัวละครชายคนนั้นที่เป็นฆาตกรที่คุยโทรศัพท์กับหญิงสาว “ตาย” แล้วคดีการตายนี้ก็ได้มาเป็นพลอตหลักของหนังเรื่องนี้แทน โดยผู้ต้องสงสัยหลักได้กลายเป็นสามีของหญิงสาว ก่อนที่หนังจะเปิดทางให้ตัวละครนักข่าวคนที่ตามคดีเมื่อสามปี สนิทกับหญิงสาวแล้วต้องผิดหวังเมื่อพบว่าเธอแต่งงานแล้ว ได้เข้ามาขุดคุ้ยหาเบาะแสเพื่อช่วยยืนยันว่าสามีเธอไม่ใช่ฆาตกรแล้วสืบเสาะเพิ่มว่า แล้วใครล่ะคือฆาตกรตัวจริง ในคดีนี้กันแน่ …แต่รายละเอียดสำคัญบางอย่างในพลอตตั้งต้นคดีฆาตกรฆ่ายกครัวนั้น ตัวหนังก็ไม่ได้ทิ้งหายไปไหนทั้งนั้นเช่นกัน.

Ferpect Crime (2004)

Ferpect Crime (2004 / Álex de la Iglesia)
(Spain / Italy)

ส่วนตัวแล้วไมค่อยผิดหวังกับหนังของ Álex de la Iglesia ซักเท่าไหร่ เรื่องนี้ก็เช่นกัน สนุกแบบไหลๆ ปั่นๆ เหมือนเดิม

หนังว่าด้วย ชายขายเก่งคนหนึ่งที่อยู่แผนกเสื้อผ้าหญิงในห้างดังแห่งหนึ่ง เขาคือโปรในการขายที่แถมด้วยการชอบหาความสุขกับพนักงานหญิงรูปงามหลายคนหลังห้างปิดอยู่เรื่อยๆ เขามีคู่แข่งอยู่คือชายขายเก่งในแผนกเสื้อผ้าชายฝั่งตรงข้ามชั้นเดียวกัน แล้ววันหนึ่งตำแหน่งผู้จัดการชั้นนี้ของห้างได้เสียชีวิตลง สิ่งเดียวที่จะวัดการชิงตำแหน่งระหว่างเขาแผนกเสื้อผ้าหญิงกับชายแผนกเสื้อผ้าชายกับตำแหน่งผู้จัดการชั้นนี้ก็คือยอดขายเท่านั้น

เขาคิดว่าตนเองชนะแน่นอนแต่ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นจนได้จากเม็ดเงินที่มาแล้วหายไป เขาผิดหวังประกอบกับโดนชายคู่แข่งยั่วแล้วพร้อมที่จะหาโอกาสกำจัดเขาออกจากห้างนี้ เมื่อเหลืออดเลยเกิดการทะเลาะกันขึ้น ผลก็คือเขาเผลอทำอีกฝ่ายตายขึ้นมา แต่นี่ก็เป็นแค่จุดเริ่มต้นของหนังเท่านั้น เพราะมันมีพยานคนหนึ่งที่เป็นผู้หญิงที่เขาก็ไม่รู้ว่าใคร ที่สุดท้ายเมื่อเขาได้รู้ว่าอีกคนคือใครเขาก็โดนบีบบังคับทันทีจากข้อต่อรองที่เขาตกเป็นรอง จริงๆ ก็ไม่ได้หนักหนาหรอกแต่เพราะเขาคือชายเพลบอลที่สนใจแต่ผู้หญิงสวยๆ เซ็กซี่เท่านั้น มันเลยยากสำหรับเขาที่จะต้องปันใจ/เทใจสร้างความรู้สึกรักขึ้นมาเพื่อมอบให้อีกฝ่ายอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่เขามีท่าทีจะตีจากไป ตำรวจคืออาวุธเดียวที่ใช้รั้งเขาไว้ให้อยู่กับเธอต่อ.

พอเข้าช่วงท้ายนี่แหละ เนื้อหาถึงจะตรงกับชื่อหนังขึ้นมาซักที เขาไปเช่าวีดีโอ Crime มาหลายเรื่องเพื่อศึกษาและวางแผนตามหนังให้ได้ออกมาซึ่ง Ferpect Crime ที่ใช้งานได้ที่สุดสำหรับเขา

ชอบโชคชะตาที่แสดงผลออกมาในตอนจบของหนังมาก ถ้าเขาอดทนและปรับเปลี่ยนมุมมองชีวิตอยู่กับข้อต่อรองแบบนั้นไปเรื่อยๆ ชีวิตเขาอาจไปถึงจุดที่ complete กับชีวิตที่ฝันไว้ก็ได้ แต่ไม่ไง เพราะเขาไม่ทนเพราะนี่ไม่ใช่ชีวิตที่เขาต้องการ เพราะการหนีมาเลยทำให้ชีวิตเขาดูเป็นแค่การปลอบใจตัวเอง/หลอกตัวเองไปว่า แค่นี้แหละชีวิตที่ดีที่เขาต้องการ.

King Dick (1973)

King Dick (1973 / Giorgio Terzi)
(Italy / France)

ตาลุงคนหนึ่งไม่สามารถมีเซ็กส์กับภรรยาได้ เพราะเจี้ยวไม่แข็ง ภรรยาเลยเรียกเด็กรับใช้มาเติมเต็ม ตาลุงจึงให้คนแคระเด็กรับใช้ไปเชิญแม่มดคนหนึ่งมาใช้วิชาอาคมช่วยให้ตนเองเจี้ยวแข็งที ซึ่งระหว่างที่คนแคระไปคุยกับแม่มด แม่มดก็พบว่าคนแคระแม่งมีควยขนาด KING เลย แม่มดตาลุกวาว ความต้องการทางเพศสูงตื่นตัว ยิ่งด้วยตัวแม่มดมีเป้าหมายในการคลายมนต์สะกดตัวเองจากแม่มดสามารถกลายเป็นสาวงามได้ถ้าตนเองถึงจุดสุดยอด 69 ครั้ง ซึ่งตอนที่แม่มดใช้กำลังขืนใจคนแคระเสร็จสมไปบางครั้ง แม่มดกลายเป็นสาวงามอยู่ชั่วขณะได้ จึงทำให้แม่มดต่อรองกับตาลุงว่า ถ้าตนเองช่วยให้ตาลุงเจี้ยวแข็งได้ แม่มดก็จะตัวคนแคระคนนี้ไปอยู่ด้วย ซึ่งคนแคระไม่ต้องการ เลยลงเอยด้วยการหนีแม่มด แล้วแม่มดก็พยายามตามไล่ล่า จับได้มั้ง หลุดไปบ้าง แม่มดได้โขยกควยขนาด KING จนเสร็จสมบ้าง ถึงกระนั้น การเดินเรื่องราวประมาณนี้ ไปคนแคระไปเจอโน้นนี่นั่น แม่มดตามจับได้อะไรแบบนี้ มันสุดแสนจะน่าเบื่อและไม่สนุกเอามากๆ เลย.

จนกระทั่งหนังเดินทางมาถึงบทสรุป ซึ่งการคลายปมทั้งหมดมันกลายเป็นอะไรที่ทำให้ชอบมากๆ ขึ้นมาในทันที ที่เนื้อหามันคาบเกี่ยวกับชนชั้นสูง กษัตริย์ถูกลอบสังหาร เจ้าชายถูกแม่มดสาปให้กลายเป็นคนแคระ ใช่แล้ว เจ้าชายที่มีสิทธิเต็มที่ในการครอบครองตำแหน่งกษัตริย์ของที่นี่นั่นก็คือ คนแคระตัวละครหลักนั่นเอง
จากจุดหนึ่งที่คนแคระกลายเป็ฯคนหวาดกลัวแม่มดเพราะแม่มดทำให้เขามีบาดแผลในใจเพราะโดนขืนใจ คนแคระที่มองใครต่อใครเป็นหน้าแม่มดแล้วหวาดกลัวไปหมด จนเมื่อคนแคระรู้ความจริงสำคัญนี้ รู้ว่าเซ็กส์กับแม่มดแก่ๆ อุบาทย์คนหนึ่งคือการช่วยเหลืออีกฝ่าย แล้วด้วยจิตใจที่ขึ้นตรงกับสถานะกษัตริย์องค์หนึ่ง เขาจึงต้องยื่นมือลงไปช่วยเหลือประชาชน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บาดแผลในใจของคนแคระหายไป คราวนี้คนแคระไม่หนีแม่มดแล้ว ชี้ควยขนาด KING ใส่แม่มดแล้วกระหน่ำใส่จนแม่มดสามารถน้ำแตกถึงจุดสุดยอดครบจำนวน 69 ครั้งเท่าที่จะปลดล็อคมนต์สะกดแม่มด แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏพร้อมกับการปลดล็อคมนต์สะกดแม่มดให้แม่มดกลายเป็นสาวงามก็คื้อ ตัวคนแคระที่ได้รับการปลดล็อคมนต์สะกดไปด้วย เขาไม่ได้เป็นคนแคระอีกแล้ว เขาคือหนุ่มรูปงามคนหนึ่งที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงกับสาวงามอดีตแม่มดคนนี้

แต่นี่ก็ไม่ใช่ตอนจบของเรื่องที่นำด้วยความแฮปปี้เอนดิ้งสำเร็จรูปหรอกนะ ตอนจบคือพาไปไกลกว่านั้น พาไปสู่ความงามความรักที่ไม่ขึ้นตรงอยู่กับรูปลักษณ์ทั้งปวง นั่นก็คือ แม้คนแคระจะคลายมนต์สะกดแล้วกลายเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปงาม แต่นั้นกลับทำให้สาวงามปวดหัวไม่สมหวังขึ้นมาทันที เพราะ เมื่อคนแคระกลายเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปงาม เจี้ยวเจ้าชายดันหดเหลือขนาดนิดเดียวเหมือนเด็ก
แต่ทางออกเดียวที่หนังได้เสนอทางเลือกไว้ผ่านลูกแก้ววิเศษของแม่มดนั่นก็คือ เจ้าชายหนุ่มรูปงามจะกลับมาควยขนาด KING ได้ พวกเจ้าต้องยอมแลกทิ้งรูปลักษณ์หนุ่มหล่อสาวสวยตอนนี้ไปซะ ซึ่งเจ้าชายรูปงามกับสาวงามก็ยินยอมที่จะแลกเปลี่ยนตามข้อเสนอนี้ พวกเขาล้วนไม่สนใจเรื่องรูปลักษณ์ตัวเองอีกต่อไป พวกเขาสนใจแค่การทำให้เราสองคนมีความสุขด้วยเซ็กส์คือดีที่สุดแล้ว เจ้าชายร่างหดกลายมาเป็ฯคนแคระควยขนาด KING อีกครั้ง สาวงามก็ร่างกายเหี่ยวกลายเป็นแม่มดเหมือนเดิมเช่นกัน แล้วทั้งคู่ก็ครองราชย์ด้วยกันอย่างมีความสุข มีทายาทหลายคน ลูกชายทุกคนล้วนมีควยขนาด KING เหมือนพ่อกันทุกคน…

Target (2011)

Target (2011 / Aleksandr Zeldovich)
(Russia)

ในปี 2020 คนรวยมีเงินกลุ่มหนึ่งตั้งใจที่จะเดินทางไปยังศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งหนึ่งที่มีชื่อหนึ่งเรียกว่า Target เป็นดั่งข่าวลือ,ตำนานเมืองหรือเรื่องเล่าที่เบาบางในกลุ่มเล็กๆ ว่า ณ ที่นี้เมื่อคุณเข้าไปนอนในบ่อใจกลางคืนหนึ่ง เช้ามาร่างกายคุณจะไม่แก่อีกต่อไปเลย

จากชื่อหนังเรื่องย่อมันก็ชวนให้คิดว่าหนังเรื่องนี้คือหนังที่เกี่ยวกับความพิศวงลี้ลับ ณ สถานที่แห่งนี้ แต่เปล่าเลย
Target เป็นแค่เพียงการส่งต่อเท่านั้น ส่วนเนื้อหาเรื่องหลักของหนังเรื่องนี้ก็จะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคนมีเงินกลุ่มนั้นนั่นแหละ ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มันไม่ได้ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมให้เห็นได้ชัดเท่าที่ควร แต่สิ่งที่แสดงผลออกมาชัดเจนยิ่งกว่าก็คือผลพวงที่มาแบบพร้อมๆ กัน เมื่อคุณไม่แก่แล้วสิ่งที่มาพร้อมกันก็คือความเปลี่ยนแปลงภายในตัวที่จะนำพาให้คนๆ นั้นเหมือนได้กลับไปสู่การเป็นวัยรุ่นอีกครั้ง เพียงแต่ว่าการกลับคืนสู่ความเป็นวัยรุ่นที่ว่านี้มันคือการเรียบเรียงกระบวนความคิดทั้งหมดในตัวผู้ใหญ่พวกนี้ใหม่หมด เช่น ถ้าผู้ใหญ่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่าง พวกเขาจะคิดจะวางแผนจะตระหนักถึงผลดีผลเสียแล้วมองไปถึงความรับผิดชอบที่จะตามมา แต่เมื่อพวกเขาถูกปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดให้เป็นแบบวัยรุ่นแล้ว วัยรุ่นที่พอคิดจะเปลี่ยนก็จะตั้งใจเปลี่ยนในทันที มองแค่สิ่งที่จะเปลี่ยนตรงหน้า ไม่ได้วางแผนไม่ได้มองผลดีผลเสียไม่ได้มองถึงความรับผิดชอบใดๆ ทั้งนั้น นี่แหละคือกระบวนความคิดแบบวัยรุ่นที่มันเกิดมันแทรกแซงแก่พวกผู้ใหญ่คนรวยมีเงินกลุ่มนี้ขึ้นมา

ถ้าผู้ใหญ่พวกนี้คือกลุ่มคนที่มีงานมีความรับผิดชอบทั้งในชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน การถูกปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดให้กลับคืนวัยรุ่นมันยิ่งส่งผลลบต่อสิ่งที่พวกเขาสร้างมายิ่งนัก ดั่งเช่น ผัวเมียคู่หนึ่ง เมียนึกคึกแอบไปสีกับเพื่อนอีกคนที่ไป Target มาด้วยกัน คิดถึงคุณอยากพบอยากเจอแล้วนัดเย็ดกัน สิ่งที่ตามมาคือความคลั่งรักของเมียที่ต้องการเจอต้องการพบคุณ ถ้าไม่ได้พบคุณแล้วฉันใจจะขาดให้ได้ พอได้พบกันแล้วก็เย็ดกันไม่รู้วันรู้คืนพกพลังเย็ดมามากมายเหมือนวัยรุ่น ไม่สนและไม่แคร์เรื่องชีวิตคู่หรือหน้าตาในสังคมใดๆ อีกแล้ว
หรือปัญหา,อุปสรรคที่ต้องพบเจอระหว่างทำงาน มันมีทางออกที่เหมาะที่ควรกับตำแหน่งหน้าที่อยู่แล้ว นั่นก็คือการเจรจาพูดคุยกันถึงแม้จะเสียเปรียบก็ตาม แต่ไม่ เมื่อในหัวคือพลังวัยรุ่น สิ่งที่จะแก้ไขสถานการณ์ตรงหน้าได้นั้นก็คือ ใช้ความรุนแรงแม่งเลย จบ.

แม้กระบวนความคิดจะถูกย้อนศรจากผู้ใหญ่คืนสู่วัยรุ่นชั่วข้ามคืนแล้วสร้างปัญหาในชีวิตแบบฉบับผู้ใหญ่ที่สร้างขึ้นมาก็ตาม แต่วงจรชีวิตมันก็ยังคงเดินต่อไปเช่นเดิมอยู่ เมื่อตอนนี้กระบวนความคิดได้กลับคืนเป็นวัยรุ่น ถ้าวันเวลาผ่านไป 20-30 ปี ตอนนั้นกระบวนความคิดทั้งหลายก็คงจะผลัดเปลี่ยนจากวัยรุ่นสู่การความคิดที่โตขึ้นมีสติขึ้นแบบผู้ใหญ่ตามระยะเวลาการสะสมประสบการณ์ชีวิตกันไป เรื่องร่างกายก็ไม่ต้องกังวลตามเพราะมันไม่แก่ขึ้นอยู่แล้วนี่เนอะ แต่ถ้าหาทางออกไม่เจอ ทางเดียวที่พวกวัยรุ่นจะเลือกมันก็คงหนีไม่พ้น …. นั่นแหละ.

‎Terror in the Streets (1970)

‎Terror in the Streets (1970 / Michio Yamamoto)
(Japan)

ในหัวของยูริมันจะมีแต่คำว่า “อะไรกัน / ทำไมกัน / นี่มันเกิดอะไรขึ้น” เต็มไปหมด

เริ่มจากเธอโดนไล่ออก กลับมาคนดูแลห้องพักบอก “หนูต้องหาที่อยู่ใหม่ละนะ เพราะมีคนจะมาเช่าโดยให้ราคาเป็นสองเท่าแถมหนูก็ยังค้างค่าเช่าอยู่เลย” เธอไปสมัครงานแล้วมีแววว่าจะได้งานแน่นอนจากหนุ่มวงในคนหนึ่ง ดีใจไปซื้อกระเป๋าถือใบใหม่ กลับห้องมาพบว่าห้องโดนขโมยขึ้น สมุดธนาคารที่เงินอยู่สองแสนกว่าหายไป นอนเศร้า วันถัดไปจดหมายจากบริษัทที่ไปสมัครงานมา ระบุเธอไม่ได้งาน เธอเซ็งเดินไปร้านกาแฟ สั่งเมนูที่ถูก แต่ปรากฏว่ากระเป๋าเงินที่ใส่ไว้ในกระเป๋าถือไม่อยู่ สิ่งเดียวที่เธอทำได้ก็คือ มอบกระเป๋าใบใหม่นี้ให้พนักงานไปเป็นค่าเมนูที่สั่งไว้ เธอเดินเคว้งอับจนหนทางเลยไปสมัครเป็นสาวบาร์นั่งดริ้งทั้งที่ไม่เหมาะกับตัวเอง แล้วก็โดนลูกค้าจ้องจะลวนลามลากเข้าไป ก่อนจะดีดตัวออกมา แต่ลูกค้าก็พบว่ากระเป๋าเงินหายไป ลูกค้าสงสัยเธอที่ทำตัวมีพิรุธ เธอบอกไม่ได้เอาไปก่อนจะลุกขึ้นแล้วกระเป๋าเงินลูกค้าล่วงลงมา มันเกิดอะไรขึ้น เธอโดนไล่ออกในทันทีแม้ลูกค้าจะไม่เอาความเพราะเงินอยู่ครบ
ระหว่างทางเดินกลับบ้าน ก็คิดฆ่าตัวตายที่ทางรถไฟ แต่ใจไม่กล้าพอ หนุ่มคนหนึ่งผ่านมาอาสาพาไปดินเนอร์พร้อมเหล้า เธอกลับบ้านมาโดยมีชายหนุ่มตื้อจะไปส่งห้อง แล้วเธอก็พลาดที่ชายหนุ่มหลุดเข้ามาในห้องเธอไล่ยังไงก็ไม่ไป ก่อนที่ชายคนนั้นจะควักทะเบียนสมรสออกมามีชื่อเขาและเธอพร้อมตราประทับเรียบร้อยว่าเขาและเธอคือสามีภรรยากัน เธอจนมุมทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ปล่อยให้เขาตักตวงความสุขในร่างกายเธอ เช้าวันถัดมา เธอตื่นมางัวเงีย เห็นเท้าชายคนนั้นนอนอยู่ เธอเปิดผ้าขึ้นมาพบว่า เขาถูกฆ่าตาย !!! เธอไม่รอช้าแล้วไม่กล้าบอกใครได้แต่วิ่งออกจากหอพักไป เจ้าของหอเดินขึ้นไปดูแล้วกรี้ดลั่น ซักพักตำรวจลง แล้ว ยูริ ก็กลายเป็นผู้ต้องสงสัยที่โดนออกหมายจับบนข่าวในทีวีไป … ก่อนจะตามมาอีกหลายเหตุการณ์ที่ชวนให้ยูริได้แต่สงสัยว่า “นี่มันเรื่องอะไรกัน / นี่มันเกิดอะไรขึ้นกับฉันเนี่ยยยยยยย”

แม้ช่วงกลางเรื่องจะค่อยคลายปมทีละนิดๆ ที่จะพบว่า มันไม่ใช่เรื่องพิศวงเหนือจริงแต่อย่างใดกับเหตุการณ์ที่ไร้คำตอบที่ยูริได้พบมาเจอด้วยตัวเองแบบนั้น ในทางหนึ่งก็เสียดายมนต์เสน่ห์ความพิศวงเรื่องห่าเหวที่เกิดขึ้นแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยแบบนี้ แต่ในทางหนึ่งความชัดเจนมันก็ทำให้เรื่องราวเดินหน้าไปยังจุดอย่างมีคำตอบที่ทุกชัดเจนจนได้ในที่สุด รู้สึกเหวอนิดนึงเพราะมันพาคำตอบนี้ไปได้สุดจริงๆ

She Is Coming Home (2013)

kinopoisk.ru

She Is Coming Home (2013 / Maya Dreifuss)
(Israel)

หญิงสาวคนทำหนังกลับมาอยู่บ้านพ่อแม่เพราะเลิกกับแฟน ระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ กับชายวัยกลางคนแต่งงานแล้วที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมในท้องถิ่นแห่งหนึ่งอยู่ ทั้งคู่เหมือนต้องตาต้องใจกันขึ้นมา แต่สิ่งที่หญิงสาวตั้งใจไว้ระหว่างกลับมาพักอยู่บ้านพ่อแม่ก็คือ การเริ่มเขียนบทหนัง ซึ่งยากสำหรับเธอที่ไม่สามารถเริ่มต้นได้ สิ่งเดียวที่อาจทำให้เธอสบายใจขึ้นมาก็คือการไปขลุกอยู่กับชายคนนั้นแทน

ซึ่งเสี้ยวหนึ่งของหนังมันได้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจขึ้นมาในทันทีและจับต้องได้ แม้ว่าจะมาเพียงวูปเดียวก็ตาม นั่นก็คือ “คำถาม” และ “คำตอบ” ที่ว่าทำให้หญิงสาวคนนี้ถึงตัดสินใจออกจากบ้านก่อนหน้านี้
เพราะในส่วนที่เหลือของหนังมันฟุ้งมันลอยมันไร้แก่นสารแลดูไม่สื่อความหมายใดๆ ออกมาเลย เธอและเขาต้องตาต้องใจกันด้วยความรักจริงหรือไม่ หรือว่าพวกเขาล้วนแค่ถูกความเงี่ยนจูงควยจูงหีนำพาเข้าหากันก็เท่านั้นเหรอ ไม่ไร้ซึ่งการรับรู้ว่า เธอจริงใจหรือแค่ตามน้ำ หรือชอบเขาหรือแค่หยอก/ยั่วโมโห เธออยากโดนเย็ดจริงๆ หรือไม่ได้อยากเลย พอๆ กับเขาที่ เขามีความรู้สึกจริงใจกับเธอหรือแค่อยากเย็ด เขารู้สึกผิดต่อครอบครัวหรือไม่เคยแคร์ เขาลงไม้ลงมือกับเธอหรือแค่อารมณ์ชั่ววูป ทั้งหมดนี้ภายใต้ความสัมพันธ์ชายหญิงและเรื่องบนเตียงของทั้งคู่ล้วนที่ดูจะเป็นประเด็นหลักของหนังนั้น มันไม่สามารถจับต้องได้เป็นชิ้นเป็นอันเลยเมื่อเทียบเท่ากับเสี้ยวเล็กๆ ของ คำถามและคำตอบ สั้นๆ นั่น.