Archive | June 2019

Asphalt Angels (2014)

Asphalt Angels.jpg

 

Asphalt Angels (2014 / Christopher Krueger)
(USA)

เริ่มเรื่องได้แบบ เอ่อ เฟมินิสต์สุดแกร่งกดหัวผู้ชายยับด้วยภาพนางเอกกระทืบผู้ชายด้วยการผ่าหมากและสังหารผู้ชายหัวหน้าแก๊งนักบิดโช๊ะเดียวจอด ชายตัวใหญ่ๆลูกน้องหน้าซีด ลดระดับลงมาหน่อยก็ตัวน้องสาวนางเอกกับการแข่งจักรยานวิบากที่คู่แข่งผู้ชายไม่มีวันจะแข่งชนะเธอเลยซักครั้งเดียว

ก่อนจะเปลี่ยนแนวกลายเป็น Woman in Prison กับนางเอกที่โดนจับเข้าเรือนจำกลางป่า เจอผู้คุมหญิงที่หมายตาเธอ ส่วนเรื่องภายนอกก็จะกลายเป็นหนังล้างแค้น ตรงนี้รู้สึกกลับด้านกันหมด จากที่เคยคุ้นกับผู้หญิงพยายามล้างแค้นกับพวกศัตรูผู้ชาย ก็กลายเป็นชายคนสนิทของหัวหน้าแก๊งนักบิดที่โดนฆ่า พยายามตามหาเบาะแสว่านางเอกไปอยู่ไหน ต้องการฆ่าล้างแค้นให้คนสนิทเขาที่โดนนางเอกฆ่า 

นางเอกอยู่ในคุกส่วนโลกภายนอกกำลังมีคนตามล้างแค้นเธออยู่ คงเดาได้ไม่ยากว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้นางเอกต้องหลบออกมาจากคุกเพื่อปะมือกับชายคนที่พยายามล้างแค้นเธอ
สุดท้ายหนังแม่งวนกลับมายังหลักสูตรเฟมินิสต์สุดแกร่งเหมือนต้นเรื่องอยู่ดี ชายผู้ที่เต็มไปด้วยความแค้น…แล้วไง แค่ผู้ชายคนหนึ่งจะทำอะไรกัปตันมาเวลสุดแกร่งคนนี้ได้ (มั่วละกู555)

ในความห่วยหลายอย่างมันก็ดูน่าสนใจ อย่างการเรฟเฟอเร้นบางอย่างในหนังแก๊งหญิงของญี่ปุ่นยุค 70-80 มาใช่แบบพอดีเป๊ะ ถ้าเก๊ตตามวสิ่งที่เรฟเฟอเร้นมา แล้วฉันเกลียดหนังไม่ลงจริงๆ หรือการเอาแนวล้างแค้นมาสลับด้านกัน มันรู้สึกตลกร้ายชะมัด ส่วนเรื่องการทำให้นางเอกเป็นเฟมินิสต์สุดแกร่งกดหัวผู้ชาย ตอนแรกก็รู้สึกเกลียดในการยัดเยียดน่าเกลียดไป แต่พอเข้าช่วงท้ายก็รู้สึกว่า ผู้กำกับมึงกวนตีนคนดูแน่ๆ เพราะช่วงการล้างแค้น ตัวร้ายแม่งดูมีความอันตรายสูงมาก มันต้องมีดีอะไรแน่เลย แต่พอเจอนางเอกในช่วงท้าย มาอยู่ต่อหน้าตัวละครหญิงสุดโกงนี่แล้ว ตายห่าภายใน 1 นาที แม่งก็เกินไปปปปปปปป

お控えなすって

ก็หาจนเจอจนได้สินะ แบบว่าข้องใจมาก นี่ถ้าไม่ได้คำตอบเคลียร์คงนอนไม่หลับ
กับท่านี้ ถ้าเอาตามบริบทหนัง pink film แนวแก๊งหญิงนำ (ถึงว่าสิ คุ้นมาก เพราะเจอบ่อย) มันคือการทักทายผสมการขอขมาต่ออีกฝ่ายไปพร้อมๆ กันด้วยความเคารพ ซึ่งก็ตรงตัวเข้ากับเนื้อหาที่เกิดขึ้นในหนังอเมริกันเรื่องนี้
จนรู้สึกเหมือนความเห็นนึงใน Letterboxd ที่บอกว่า “คงไม่สามารถเกลียดหนังเรื่องนี้ได้ ที่รู้ว่าคนทำหนังนั้นเข้าใจความหมายของท่านี้”

Look Out, Officer! / คนเล็กทะลุโลก (1990)

Look Out, Officer! คนเล็กทะลุโลก.jpg

 

Look Out, Officer! / คนเล็กทะลุโลก (1990 / Lau Sze-yue)
(Hong Kong)

ระหว่างดูๆ ก็เริ่มรู้สึกแปลกๆ ถึงวิชาพลังมนต์ดำกำลังภายในที่ปรากฏขึ้นในหนัง แต่มานึกอีกที ก็ปกตินิ หนัง Shaw Brothers นี่นา (รีเมคจากเรื่อง Where’s Officer Tuba? (1986) ที่หง จินเป่านำแสดง)

พาร์ทที่ชอบสุดในหนังคือพาร์ทหนุ่มสาวจีบกันนี่แหละหวานดี ยิ่งช่วงไปเจอพ่อที่กัดกันจากที่ทำงานแล้วแอบมากัดกันลับหลังแฟน/ลูกสาวอีก ยิ่งตลกเข้าไปใหญ่ ความเป็นโจวซิงฉือเปร่งประกายดีกับพวกฉากแนวๆ นี้
แต่หลายๆ ฉากมันมีความเบาสมองปัญญาอ่อนเกิน สำหรับฉันก็อยู่กึ่งกลาง บ้างก็ชวนเบื่อแต่บางฉากก็ทำให้ขำได้เช่นกัน อย่างช่วงตอนหาวัตถุดิบมาทำน้ำมนต์นั่น มันปัญญาอ่อนมากแต่ก็หลุดขำอยู่ดี

สำหรับช่วงที่บัดซบที่สุดแบบไม่น่าให้อภัยเลยก็คือ ช่วงท้ายกับสิ่งที่ตัวร้ายกระทำตามสูตรแล้วพระเอกก็โชว์เท่ช่วยนางเอกไว้ แต่มึงจะมาบิดให้มาเป็นสูตรสำเร็จแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยแบบนี้ไม่ได้

โดยรวมแล้วเฉยๆ ค่อนไปทางแอบเบื่อนิดๆ

Katalin Varga (2009)

Katalin Varga (2009).jpg

 

Katalin Varga (2009 / Peter Strickland)
(Romania / UK)

เปิดเรื่องมาแต่ความไม่เข้าใจ ผู้หญิงคนนี้ไปทำอะไรมา ชาวบ้านก็ไม่มองหน้า สามีโกรธและเกลียดด่าภรรยาตัวเองว่า กะหรี่ จนสุดท้ายเเธอต้องพาลูกชายไปจากหมู่บ้านแห่งนี้ ตามคำขอของสามีที่ศักดิ์ศรีความเป็นพ่อคนโดยทำลายไปหมดแล้ว

ผ่านไปครึ่งชั่วโมงก็เริ่มจับทางได้ว่า หนังมันวางเป้าหมายอะไรไว้ในปลายทาง แล้วก็เริ่มคาดเดาได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับผู้หญิงคนนี้กันแน่ เธอถึงโดนขับไล่ออกจากหมู่บ้านมา
เป้าหมายของหนังคือการเดินทางตามหาบางคน ที่ในอดีตเคยกระทำชำเราผู้หญิงคนนี้จึงส่งผลกระทบเลวร้ายในเวลาถัดมาที่เกิดขึ้นช่วงต้นเรื่องนั่น กลางๆ เรื่องก็ความเข้มในแรงผลักดันก็ชัดเจนสุดๆ กับผู้ชายคนที่หญิงสาวตามจนเจอ แต่เมื่อถึงปลายทาง มันก็ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้อย่างชัดเจนอีกต่อไปแล้ว เนื่องด้วยตัวแปรอย่างฝั่งเหลือเกิน ชายตัวการหลักที่มีภรรยาแสนดี สายสัมพันธ์บางอย่างระหว่างลูกชายเธอกับชายตัวการคนนั้น ความจริงที่เลวร้ายจากปากของหญิงสาวที่เคยเป็นเหยื่อที่ส่งผลสองแบบกับคนสองคนที่รับรู้ความจริงตรงนี้ต่างกันไป และตำรวจที่ตามไล่ล่าผู้หญิงคนนี้ที่ก่อเรื่องทิ้งไว้ตั้งแต่กลางเรื่อง

ตอนจบเอาเรื่องจริงๆ …

Green Book (2018)

 

Green Book (2018 / Peter Farrelly) 
(USA)

ชอบการใส่ความซับซ้อนในเรื่องประเด็นผิวสีของสองตัวละครหลักมากๆ
โทนี่ที่อาจจะแค่รังเกียจคนดำเพียงเพราะเขาโตมาท่ามกลางครอบครัวที่เหยียดสีผิวเท่านั้น
ส่วน ดร.เชอร์ลี่ย์ นี่คือแกะดำในหมู่คนดำ ยิ่งตอนที่เขาระบายความในใจในชีวิตที่เขาแบกมาตลอดต่อโทนี่ คนที่มองชีวิตดร.เชอร์ลี่ย์ว่าหรูหราไฮโซ ได้รู้ความจริงตรงนี้แล้วอยากจะร้องไห้

ที่เหลือก็เป็นไปตามสูตรหนังฟีลกู๊ด อย่างความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้างที่ต่างฝ่ายต่างกระเทาะเปลือกอีกฝ่ายจนเกิดความเปลี่ยนแปลงและการยอมรับขึ้น ซึ่งโดนใจแล้วเข้าทางฉันเอามากๆ 

The world’s full of lonely people afraid to make the first move. คือประโยคปิดหนังที่ลงตัวที่สุด

Inuyashiki (2018)

Inuyashiki (2018).jpg

 

Inuyashiki (2018 / Shinsuke Sato)
(Japan)

จำมังงะไม่ค่อยได้ แต่ก็รู้สึกได้เลยว่าปรับเปลี่ยนไม่ค่อยมากแถมด้วยความกระชับที่ลงตัวกำลังดี
ถ้าจำไม่ผิด ในมังงะมันความสำคัญในเรื่องของลุงกับการรักษาอยู่พอตัวใช่ป่ะ (จำไม่ค่อยได้) พอคิดแบบนั้นแล้ว พอได้ดูเวอร์ชั่น Live-action ปรากฏหนังมันเทไปเน้นเรื่องความรุนแรงการทำลายของอีกคนมากกว่า แต่ก็กลายเป็นความสมส่วนของหนังมันไปนั่นแหละ เพราะในเมื่อไคลแม็กซ์มันคือความอุดมไปด้วยฉากแอ็กชั่นมันๆ อารมณ์หนังมันเลยดูต่อเนื่องไปกันได้ตลอดรอดฝั่งดี

ทั้งนี้ทั้งนั้น ใครไคร่ดู ดูเลย ไม่จำเป็นต้องไปอ่านมังงะหรือดูอนิเมะล่วงหน้าก่อนก็ได้ ก็อย่างที่บอก เพราะ Live-action มันสำเร็จรูปอยู่แล้ว ปรับเปลี่ยนไม่มากนัก (ยกเว้นตอนจบจริงๆ ที่หั่นออกไปจากมังงะ)

Lilli (2018)

Lilli (2018).jpg

 

Lilli (2018 / Prasobh Vijayan)
(India)

ตอนได้ดูตัวอย่างหนัง ก็ถูกใจหนังก็ตรงความสัตว์นรกที่เกิดขึ้นในหนังนี่ สาวท้องใกล้คลอด โดนพาตัวมากักขัง รีดคำตอบบางอย่าง ข่มขู่ถึงลูกในไส้ที่ยังไม่คลอด อีกคนก็จ้องจะข่มขืนสาวท้อง แถมด้วยฉากประเคนหมัดและตีนใส่สาวท้องเหยื่อคนนี้ด้วย

แต่เมื่อได้ดูจริงๆ เต็มเรื่อง ไอ้ส่วนที่สนใจมาแต่แรกนั้น มันคือแค่ครึ่งเรื่องเอง ครึ่งหลังจากนั้นแทบจะกลายหนังคนละม้วนคนละอารมณ์กันไปเลย แม้จะคลายปมหลายๆ อย่างลงได้ แต่สิ่งที่ไม่ชอบเอามากๆ เลยก็คือ ประกายออร่าพลังหญิง มันจ้าซะเหลือเกิน …

893 Taxi (1994)

893 Taxi (1994).jpg

 

893 Taxi (1994 / Kiyoshi Kurosawa)
(Japan)

893 = YaKuZa ตามการออกเสียงตัวเลขชุดนี้เเรียงกัน

สำหรับตัวหนังดูจะเป็นการส้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ยากูซ่าผ่านการฟอกสำนึกกลุ่มใหม่ผ่านการ(จำเป็น)มาขับแท็กซี่หาเงินเพื่อช่วยบริษัทแท็กซี่ขนาดเล็กที่กำลังจะล่มละลายถ้าไม่ใช่ชดใช้หนี้ ด้วยคำสั่งของหัวหน้าที่เจ้าของบริษัทแท็กซี่คือเพื่อนสนิทเพื่อนตายคนเดียวของเขาที่หัวใจวายระหว่างสถานการณ์นี้

เอาเข้าจริงภาพรวมหนังมันแบนราบมากๆ ยากูซ่าที่มักติดสันดานนักเลงเดิม ที่ต้องสลัดคราบเดิมแล้วต้องมาอยู่ในตำแหน่งบริการผู้คนทั่วไปให้ได้ ส่วนตัวร้ายของหนังก็คือพวกบริษัทเจ้าหนี้ที่พยายาทำทุกทางเพื่อที่จะยึดบริษัทที่ดินตรงนี้ให้ได้ เพราะมันสามารถกระทบชิ่งไปกวาดสินทรัพย์จากกลุ่มแก็งยากูซ่าได้ด้วยเพราะหัวหน้าแก็งคือผู้ค้ำประกันเงินกู้บริษัทให้เพื่อนสนิทเขา แถมด้วยตำรวจสกปรกที่เป็นลูกมือช่วยเล่นงานบริษัทแท็กซี่แบบน่าเกลียดอีกทาง

ถึงจะว่าอย่างนั้น แต่การมีตัวละครอย่างนางเอกอยู่ในหนังคือส่วนสำคัญเลยที่ทำให้หนังไม่แบนราบอีกต่อไป แม้เราอาจจะตัดสินเธอไปในทีแรกที่มีบทบาทในหนัง แต่เมื่อหนังปล่อยให้นางเอกปลดตัวเองออกจากภาพลักษณ์แบนราบ แม้จะรู้สึกสะดุดไปเล็กน้อย แต่นั่นมันก็ไม่ทำให้ภาพรวมหนังทั้งเรื่องมีแต่แบนราบไร้ความน่าสนใจอีกต่อไป

นับว่าเป็นหนังเบาๆ ดีสำหรับเรื่องนี้ที่ Kiyoshi Kurosawa กำกับ

Successive Slidings of Pleasure (1974)

Successive Slidings of Pleasure (1974).jpg

 

Successive Slidings of Pleasure (1974 / Alain Robbe-Grillet)
(France)

ถ้ามองแบบผิวเผินเลย หนังแม่งดูไม่รู้เรื่องว่ะ แต่เมื่อค่อยๆ ได้ซึมซับการตัดต่อที่ค่อยๆ ยกระดับความไม่รู้เรื่องให้ไปสู่ความพิศวงที่แทบจะไร้รากฐานความจริงจากหนังไปทุกขณะ เมื่อนั้นความรู้สึกด้านลบจากคำว่าดูไม่รู้เรื่อง ก็ค่อยโดนแทนที่การดิ่งไปสู่อะไรก็ตามที่หนังมันจะไม่มีคำตอบให้คนดูแบบแน่ชัดจริงๆ ว่า สุดท้ายแล้ว อะไรคือส่วนที่จริงของหนังกันแน่

ยิ่งเมื่อหนังเดินทางมาถึงฉากจบ เจอแบบนี้ กูนี่ลุกขึ้นยืนเลย…

Fangar (TV Mini-Series, 2017)

Fangar (2017).jpg

 

Fangar (TV Mini-Series, 2017 / Nína Dögg Filippusdóttir, Unnur Ösp Stefánsdóttir)
(Iceland)

Fangar คือภาษาไอซ์แลนด์ดิคที่แปลเป็นไทยได้ว่า ผู้ถูกคุมขัง (Prisoner) เปิดเรื่อง 2-3 EP แรกก็พบแต่ความคลิเช่ในเนื้อหาของนักโทษหญิงและการปรับตัวใหม่ในที่คุมขังแห่งนี้

ลินดาคือลูกสาวรัฐมนตรีที่มีอิทธิพลและหน้าตาในสังคมสูง สิ่งที่เธอทำก็คือเอาไม้กอล์ฟหวดพ่อตัวเองจนเขานอนโคม่าเป็นตายเท่ากัน ส่วนตัวลินดาโดนตำรวจรวบและถูกคุมขังไว้ในเรือนจำสภาพตึกหลังนึงไว้เพื่อรอพิจารณาคดีในภายหลัง ถ้าพ่อเธอเสียชีวิตตัวเธออาจติดคุกไปเป็นสิบๆ ปี
การปรับตัวของนักโทษหญิงคนนี้ที่มีอยู่บนกองเงิน สบายๆ ยกตัวเองอยู่เหนือคนทั่วไป นั่นทำให้ลินดาตกเป็นเป้าหมายความหมั่นไส้ในการวางตัวเป็นคุณหนูคาบช้อนเงินเกิดมาจากนักโทษหญิงบางคนในที่คุมขังแห่งนี้ ถ้าลินดาไม่ทิ้งทิฐิ/อีโก้ตัวเองในฐานะคนรวยอยู่สบายที่ไม่มีความหมายในที่แห่งนี้ เธอคงอยู่ยาก

EP 1-3 ก็ประมาณเนี่ย เนื้อหามันชวนให้รู้สึกถึงความจำเจซ้ำซากพอสมควร ซึ่งพอขึ้น EP 4 เท่านั้นแหละ ความหมายของชื่อเรื่องก็ได้ถูกขยายออกไปไกลเกินกว่าจะเป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งในสถานคุมขังเท่านั้น แต่เป็นจากโฟกัสไปที่ตัวลินดาเน้นๆ เลย ที่แท้จริงแล้ว ลินดาคือคนที่โดนคุมขังมาตลอด จากการแบกเรื่องๆ หนึ่งที่หนักหนาเอามากไว้มานาน ที่ทำเอาชีวิตเธอเสียศูนย์และเหลวแหลกมาตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ สิ่งที่ลินดาแบกรับมาตลอดมันไม่สามารถทำให้เธอหลุดพ้้นได้ นั่นก็เพราะลูกกรงที่ขังเธอไว้อยู่แบบนี้ มันคือคำว่า ครอบครัว นั่นเอง

แม้จะจั่วหัวว่าเป็น TV Mini-Series เพราะใน IMDB บอกไว้แบบนั้น แต่เมื่อดูจบ 6 EP แล้ว ก็รู้สึกไม่เชื่อนะว่ามันจะจบแบบนี้จริงๆ จนเมื่อได้ข่าวในเพจซีรี่ส์เรื่องนี้ ที่บอกปีหน้า(2020)เจอกันซีซั่น 2

เหตุผลเดียวเลยที่อยากดูเรื่องนี้ คือผู้กำกับ Ragnar Bragason กับนักแสดงนำ Thora Bjorg Helga คู่เดิมจากเรื่อง Málmhaus (aka Metalhead) (2013)

Takane no Hana (TV Mini-Series, 2018)

Takane no Hana.jpg

 

Takane no Hana (TV Mini-Series, 2018 / Shinji Nojima)
(Japan)

จุดที่สนุกที่สุดมีอยู่สองจุด คือ จุดที่นางเอกลงมาคลุกคลีกับพระเอกแบบชีวิตคนติดดิน ค่อยๆ ถูกปรับจูนให้ได้เห็นมุมมองชีวิตคนติดดินทีละนิดและค่อยๆ มีพระเอกอยู่ในใจมากขึ้นเรื่อยๆ กับจุดเรื่องภายในครอบครัวตระกูลชนชั้นสูงนักจัดดอกไม้ ที่เลือดข้นคนจางสุดๆ กับภาวะเลือกผู้นำที่ผูกปมอะไรไว้มากมายตั้งแต่เริ่มเรื่องมา

แต่นอกเหนือจากนั้นหรือหลังจากนางเอกตัดสินใจหันหน้าเข้าหาครอบครัวเรื่องภายในแบบเต็มตัว มันดันกลายเป็นเนื้อเรื่องที่เต็มไปด้วยความน่ารำคาญโคตรๆ พระเอกที่โดนลากไปมาแบบเหวี่ยงลูกตุ้มจากนางเอกกับสิ่งที่เธอแบกไว้อยู่ ยิ่งตอนจบนี่โคตรพังในเรื่องการเชื่อมต่ออารมณ์ให้ไหลไปตามๆ กัน นี่คืออะไร เหวี่ยงไปทางแย่แบบตัดบทได้ แล้วอยู่ๆ ก็ดี ดี ดี อ้าวยิ้ม อ้าวมีความสุข ให้แม่งได้รับกันทุกฝ่ายไปเลย ไม่ต้องสนใจเรื่องที่ผ่านมา ทำเป็นว่ามันไม่เคยเกิดก็พอ 

สิ่งที่ดีอีกอย่างในหนังคือคาแรกเตอร์พระเอก ที่เป็นคน “ยังไงก็ได้” แต่การเป็นยังไงก็ได้สำหรับพระเอกนั้นคือเขาจะมองไปถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดไว้ก่อนแล้วปรับตัวไว้พร้อมรับมือตลอด มันจึงเกิดเป็นภาพผู้ชายยังไงก็ได้ที่แทบจะไม่มีภาพระเบิดอารมณ์ใส่เรื่องไม่เป็นเรื่องที่ถาโถมกรีดหัวใจย่ำยีเขามาหลายต่อหลายชุด เพราะแบบนี้ฉากที่สะเทือนอารมณ์ตามที่สุดคือ น้ำตาและการร้องไห้จากความเสียใจของเขาที่เกิดขึ้นทั้งจากเรื่องในอดีตที่เล่าออกมาและจากผู้หญิงคนแรกและคนเดียวที่เขารักมากที่สุดได้จากเขาไปต่อหน้าต่อตานั่นเอง