Archive | July 2019

L’enfance du mal / Sweet Evil (2010)

SWEET_EVIL.jpg

 

L’enfance du mal / Sweet Evil (2010 / Olivier Coussemacq)
(France)

ชื่ออังกฤษมีคำว่า Evil แต่กว่าหนังจะทำให้คำว่า Evil มีความหมายชัดเจนและสุดทางที่สุด ก็โน้น ตอนจบของหนังเลย
ก็ใช่ว่าตลอดทั้งเรื่องจะไม่ปรากฏความด้านแย่ๆ ของเด็กสาวอายุสิบห้าปีคนนี้เลย ที่เด็กสาวทำแย่ทำชั่วเล่นสกปรกเท่าที่จะทำได้ก็เพื่อเอาตัวเองให้รอดในสังคมกับการเหลือตัวคนเดียว จนเมื่อได้บังเอิญเจอเจ้าของบ้านหลังใหญ่ที่ตัวเองแอบซ่อนอาศัยอยู่ในห้องเก็บของ เด็กน้อยก็สามารถหาช่องเพื่อสร้างโอกาสให้ตัวเองมีชีวิตสบายขึ้นกับคู่สามีภรรยาบ้านหลังนี้ ที่เปิดใจให้เธอด้วยมารยาเด็กดีเอาใจเก่งที่ชนะใจพวกเขาได้ไม่ยาก แต่ไม่รู้ว่ามันคือการได้คีบจะเอาศอกหรือว่าพบช่องทางโอกาสที่น่าจะใช้งานเพื่อช่วยแม่เธอที่ติดคุกอยู่ได้ เพราะตัวสามีบ้านนี้เป็นผู้พิพากษาคนหนึ่ง การใช้มารยาหญิงของเด็กสาวจึงเปรียบเสมือนการวางยาใส่ตัวชายรุ่นพ่อคนนี้เอาไว้ แล้วรอเวลาที่อีกฝ่ายจะหลงเข้ามาติดกับเธอในที่สุด

หลายๆ เหตุการณ์จากเด็กสาวกับคู่สามีภรรยาบ้านนี้ ถ้ามองว่าเด็กสาวตั้งใจวางแผนล่วงหน้าและซับซ้อนไว้แล้วแต่แรกจนประสบผลสำเร็จสูงสุดทุกอย่างเข้าทางเธอหมดในตอนจบ มันก็ดูจะเว่อร์โดยบังเอิญเกินไป ฉะนั้นฉันจึงมองแค่ว่า เด็กสาวคือคนที่มีความแหลมคมในการตามน้ำใช้โอกาสในในการไหลตามสถานการณ์ที่เจอที่นี่ได้มีคุ้มค่าและคุมทิศทางได้ดีจวบจนผลลัพท์ทุกอย่างค่อนข้างเข้าทางเด็กสาวหมด

Low Heights (2002)

Low Heights (2002).jpg

 

Low Heights (2002 / Ebrahim Hatamikia)
(Iran)

Ghasem ตั้งใจพาครอบครัวญาติพี่น้องบินไปอีกเมืองที่เจริญไปทำงานกันที่่นั่น Narges (Leila Hatami) ภรรยามีความกังวลบางอย่างในเป้าหมายของสามีครั้งนี้ อย่างแรกเลยคือ Ghasem สามีหาปืนมาได้และพยายามลักลอบเอาขึ้นเครื่องเพื่อเป้าหมายอย่างหนึ่ง

พอขึ้นเครื่องไปได้ซักพัก เป้าหมายของ Ghasem ก็ปรากฏ นั่นคือการจี้เครื่องบิน ที่ปลายทางเขาคือที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่อิหร่าน ความตั้งใจเขาคือพาครอบครัวญาติไปเริ่มชีวิตที่ดีกว่าเป็นอยู่นี้ในต่างแดน โดยไม่ถามความสมัครใดๆ แก่ครอบครัวญาติๆ เลยซักครั้ง ยกเว้นภรรยาที่รู้เป้าหมายสามีอยู่แล้ว แต่ก็ใช่ว่าญาติๆ พี่น้องจะต่อต้าน Ghasem ไปซะทุกคน พวกหัวอ่อนไม่ไวหรือวัยรุ่นเลือดร้อน ก็พร้อมสนับสนุนแนวคิดของ Ghasem คนนี้ พวกผู้ใหญ่บางก็อาจไม่เห็นดีเห็นงามเพราะยังรักแผ่นดินบ้านเกิดอยู่ แต่ก็ไม่สามารถขัดคอ Ghasem คนที่มีอำนาจอยู่ในกำมือคนนี้ได้

ถ้าอ่านไปแล้วคิดว่าหนังมันคงเครียดสุดกู่ บอกเลยว่าไม่ถึงขั้นนั้น ความย้อนแย้งบางอย่างสำหรับโลกมุสลิมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เกิดการจี้เคเรื่องบินขึ้นมันมีความน่าสนใจ แล้วความซีเรียสสุดโต่งในมุมมองตัวเองต่อการจี้เครื่องบินครั้งแรกและการตัดสินสถานการณ์ตามที่ตัวเองรู้และเข้าใจมาซึ่งผิดถูกไม่รู้แต่กูมั่นใจ มันเลยทำให้ภายในสถานการณ์จี้เครื่องบินครั้งนี้ มีอะไรให้ชวนขำ-ตลกตามในความซีเรียสสุดโต่งพวกนี้แบบที่ไม่คิดว่าจะมีในหนังเรื่องนี้ได้

ชอบการพลิกกลับสถานการณ์ในหนังมาก ชนิดที่ว่าพลิกจากความชิลที่ว่าจี้สบายให้กลับไปสู่ความเครียดแบบขำไม่ออก ก่อนจะฝืนพลิกอีกรอบนึงที่เล่นเอาขนลุกตามเลย

แต่สุดท้ายนี้ รู้สึกว่าตัวเองไม่น่าไปรับรู้เลยว่า หนังเรื่องนี้สร้างมาจากเหตุการณ์ที่เกิดจริง เลยทำให้ตอนจบมันกลายเป็นการให้ความสว่างจ้าไปยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีก

ยอมรับเลยนะว่า การเลือกดูหนังเรื่องนี้ Leila Hatami คือเหตุผลหลักข้อเดียวเลย

2.0 (2018)

2.0.jpg

 

2.0 (2018 / S. Shankar)
(India)

ชั่วโมงแรกคือดีที่สุด สนุก ลุ้นระทึกและซีเรียสจริงจัง ความต่อเนื่องของอารมณ์ก็ดึงคนไว้ได้ดีเช่นกัน
จบชั่วโมงแรกก็ครึ่งเรื่องพอดี ตรงนี้เปรียบเสมือนช่วงพักเบรก เป็นการย้อนความว่าทำไมต้องนก ทำไมต้องมือถือ จากเหตุการณ์มือถือคนทั้งเมืองลอยหายไปในอากาศแล้วย้อนกลับมาเป็นร่างนกยักษ์ทำลายบ้านเมือง

ช่วงจุดต่อเรื่องเพื่อให้เรื่องเดินต่อไปในครึ่งหลังต่อ จุดนี้คือความบัดซบของหนังเรื่องนี้เลยก็ว่าได้ โคตรย่ำแย่อ่ะ คิดไอเดียอื่นๆ ไม่ได้แล้วหรือไงถึงเลือกใส่การกระทำแบบสิ้นคิดโดยตัวละครตัวหนึ่งแบบนี้เข้ามาได้
ช่วงท้ายนี่คือจัดเต็มแอคชั่นซัดกันลูกเดียว อาบชุ่มไปด้วยความบันเทิงที่ชวนตลกขบขันตาม แต่เป็นไคลแม็กซ์ซะเปล่า อารมณ์ร่วมที่ได้กลับสู้หนึ่งชั่วโมงแรกของหนังไม่ได้เเลย
ไอ้มุกการบีบตัวร้ายนี่แม่งเหี้ยจริง หลุดขำลั่นเลยกู ตรงส่วนนี้มันคือการใช้ด้านของตัวละครได้มีประสิทธิภาพ ย้อนกลับไปหุ่น Chitti เวอร์ชั่นปกติคงไม่มีวันต้านทานตัวร้ายได้ แต่ไม่ใช่กับ Chitti อีกเวอร์ชั่น ที่ไม่สนห่าเหวใดๆ ทั้งนั้น กูไอรอนแมนคือหนึ่งเดียวเท่านั้น มึงเบิร์ดแมนคือใครสมควรต้องถูกกูกำจัด

แต่ไม่ว่ายังไง ถ้าเกิดเคยดูภาคแรก Enthiran (2010) มาก่อนแล้ว ก็ไม่ควรมองข้ามภาคต่อนี้เป็นอันขาด 

The Heartbreak Yakuza (1987)

The Heartbreak Yakuza.png

 

The Heartbreak Yakuza (1987 / Masato Harada)
(Japan)

การตัดสินใจบางอย่างนอกเหนือคำสั่งของพระเอก มันก่อให้เกิดการปะทะที่บานปลายในภายหลังระหว่างแก๊งจากภายนอก ลามมาถึงความขัดแย้งบางอย่างในภายในแก๊งตัวเอง ที่ภายหลังมันก่อให้เกิดภาพจำอย่างการเข้ามาเกี่ยวข้องกับยากูซ่ามันไม่ส่งผลดีใดๆ ทั้งนั้น ทั้งความซวยพลอยโดนหางเลขไปด้วยเพียงเพราะเกี่ยวข้องพระเอกที่เป็นยากูซ่าที่เป็นต้นตอปัญหา แต่ก็ใช่ว่าพระเอกจะถูกผลักกลายเป็นคนที่ผิดต้องรับผิดชอบไป ในแก๊งตัวใหญ่บางคน เขาก็ไม่ได้มองว่าพระเอกจะต้องรับผิดชอบปัญหาพวกนี้แล้วไม่เห็นดีเห็นงามกับการลากคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 

นั่นคือส่วนหนึ่งของหนังคือเรื่องของยากูซ่า อีกส่วนก็คือเรื่องของตัวพระเอกที่บังเอิญได้เจอกับนางเอกเพื่อนสมัยเด็กอีกครั้ง แต่ด้วยจุดยืนที่สุ่มเสี่ยงของพระเอกนี่แหละ ที่ทำให้ช่วงเวลาความสุขแบบที่ควรจะเป็นกับผู้หญิงคนนี้ที่ได้กลายมาเป็นคนที่สำคัญที่สุดของเขาไม่มั่นคง
สิ่งที่เกิดขึ้นกับนางเอก พระเอกรู้ตัวดีว่าเขามีส่วนเกี่ยว แล้วตัวนางเอกเองก็ควรออกจากโซนโลกสวยเสียที ควรรับรู้ได้แล้วว่าโลกยากูซ่าที่พระเอกนั้นมันเต็มไปด้วยความรุนแรงและการคร่าชีวิตกัน

แต่สิ่งที่ชอบมากในหนังคือแอคชั่นยิงกันช่วงท้าย ที่ไม่ได้บิ้ว ไม่ยืดยาด ไม่โชว์เท่ ปืนคือปืนยิงออกไปโดนอีกฝ่ายตายก็จบส่วนนั้นไป เดินหน้าต่อยิงกันไปอีก จนกว่าศัตรูจะหมดสิ้น

Psyche 59 (1964)

Psyche 59 (1964).jpg

 

Psyche 59 (1964 / Alexander Singer)
(UK)

อาการตาบอกของตัวภรรยา มันน่าสนใจตรงที่ ตาทั้งสองของเธอไม่มีความเสียหายใดๆ ที่ทำให้มองไม่เห็น แต่ต้นตอจริงๆ ที่ทำให้เจ้าตัวมองไม่เห็นอะไรเสมือนคนตาบอดนั้นก็คือ สมองที่สร้างภาพออกมา แม้ดวงจะปกติเห็นทุกอย่างแต่เมื่อสมองไม่เกิดการสร้างภาพขึ้น เธอก็มองเห็นภาพที่เกิดขึ้นตรงหน้าอยู่ดี

แม้หนังจะจุดที่น่าสนใจนี้เป็นตัวนำ แต่สิ่งที่ดำเนินเรื่องควบคู่ไปด้วยเรื่อง สามีเธอกับน้องสาวเธอ ซึ่งพอกลางๆ เรื่องหนังก็ไม่กั๊กอะไรเลย เกริ่นๆ ออกมาให้เราประติดประต่อเรื่องได้แบบชัดเจนไม่ต้องตีความเชื่อมโยงอะไรถึงกันเพิ่มเติมให้ยุ่งยาก ซึ่งกลายเป็นปลายทางหนังต่างหากที่น่าติดตาม ว่าเพราะภาพเหตุการณ์ไหนกันแน่ที่ทำให้ตัวภรรยาเกิดอาการตาบอดแบบนี้ขึ้นได้ 

ฉากจบหนังให้ความรู้สึกแปลกๆ มันการจบแบบคือ Bad-Feel Good Ending …

The Favourite (2018)

The Favourite (2018).jpg

 

The Favourite (2018 / Yorgos Lanthimos)
(Ireland / UK / USA)

บันเทิงเสียจนลืมไปว่าเป็นหนัง Yorgos Lanthimos เลยนะเนี่ย

ส่วนตัวชอบครึ่งแรกมาก มันคือภาพการใช้เจ้าเพื่อผลประโยชน์ตัวเองในเป้าหมายที่ต่างกันออกไป

คนนึงใช้เจ้าเพื่อประเทศชาติในมุมมองตัวเองโดนไม่แคร์ประชาชนสนแต่อำนาจที่ไล่บี้ศัตรูให้สิ้นซาก การใช้เจ้าของคนนี้ จะมาแบบรวบอำนาจเจ้าทุกอย่างมาเป็นการตัดสินใจของตัวเองหรือสามารถเชิดเจ้าให้ตัดสินใจไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการได้

อีกคนใช้เจ้าเพื่อไต่เต้าตัวเองขึ้นสู่ชนชั้นที่สูงตามเดิม ถ้ามองอีกคนคือการเชิดเจ้า คนนี้จะดูไปหนุนเจ้าเสียมากกว่า หนุนและผลักดันให้เจ้าได้รับรู้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมิได้ปิดกั้นเหมือนอีกคน ให้เจ้าได้มีการตัดสินใจได้ด้วยตัวเองไม่ใช่โดนเป่าหูโดนเชิดอยู่ ความใกล้ชิดกับเจ้าที่ไม่ได้หวังผลในการเชิดเพื่อการทหาร แต่เป็นการสร้างความสุขเจ้าได้หัวเราะได้ยิ้มแล้วก็กลายเป็นคนสนิทของเจ้าแทนที่เบียดอีกคนไปพร้อมๆ กัน

แต่สุดท้ายแล้ว ในครึ่งหลังมันก็คือการทำให้ภาพการใช้ประโยชน์จากเจ้าไม่ว่าจะด้วยการหวังผลใดๆ ก็ตาม มันมีความไม่ต่างกันเลย ที่สองคนกระทำอยู่ก็คือการโหนเจ้านั่นเอง โหนเจ้าที่มีความหมายไปในทางลบเหมือนกันๆ

ชอบตอนจบมากๆ มันคือการเติบโตตาสว่างของเจ้า จากสิ่งที่เจ้าโดนมา ทั้งการโดนเชิดและอ่อนไหวไปกับคนที่เอาใจเก่งจนไร้ซึ่งจุดยืนในสถานะตัวเองที่เป็นใหญ่ที่สุดในประเทศ
สิ่งที่สาวคนนี้โดนในตอนจบ คือการเปรียบเปรยว่า “อย่าตีตนเสมอท่าน” ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากการกระทำของเธอเองนั่นแหละ ซึ่งช่วยไม่ได้ก็อยากเป็นคนหล่อหลอมคอยสร้างความเด็ดขาดในการตัดสินใจให้เจ้ามาเองมาตลอดก่อนหน้านี้

58570789_2465002793561972_667640657434640384_n.jpg

Vita coi figli (1990)

Vita coi figli (1990).jpg

 

Vita coi figli (1990 / Dino Risi)
(Italy)

พ่อเป็น CEO บริษัทใหญ่ เดินทางทำงานทั้งวัน ชีวิตลูกๆ เขาทั้งห้าคนจึงอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของผู้เป็นแม่ แต่แล้ววันหนึ่งแม่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตไป สถานการณ์จึงบีบให้ผู้เป็นพ่อได้ใกล้ชิดลูกๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ภายใต้บรรยากาศที่ตัวพ่อแทบไม่รู้จักนิสัยใจอะไรลูกๆ เลยแม้แต่นิดเดียว การหวงการห่วงลูกๆ แบบผู้เป็นจึงกลายเป็นความมากเกินสำหรับตัวลูกๆ ที่โดนพ่อจู้จี้ใส่ แต่ไม่ว่ายังไงพ่อก็ยังเป็นพ่อ ห่วงสาวคนรองลูกที่คบหาผู้ชายมากหน้าหลายตาหลายสถานะไปหมด (นักวาดริมถนน ช่างไฟ ช่างปะปา) ลูกสาวคนโตที่ไม่กลับบ้าน ค้างที่อื่น ปิดเรื่องคนรักแล้วตั้งท้องอยู่ต่อพ่อตนเอง ลูกชายคนโตสุงสิงกับพวกเซอร์ๆ ที่เหมือนพวกพ่อค้ายา ลูกชายคนรองซุกซนหาเรื่องปวดหัวพร้อมเพื่อนๆ ที่พามาบ้าน และลูกชายคนเล็กที่เรียกพ่อตัวเองด้วยชื่อของพ่อ

ภายในความเครียดที่ตัวพ่อพยายามประคับประคองครอบครัวให้ผ่านไปต่อ เขาก็ได้พบผู้หญิงคนหนึ่ง ( Monica Bellucci) อายุรุ่นราวคราวเดียวกับลูกสาวคนโต เธอก็เปิดเผยชัดเจนว่าถูกชะตากับเขา ชายอายุรุ่นพ่อคนนี้ ในความสัมพันธ์ที่เดินหน้าอย่างรวดเร็ว ความสุขของเขาก็ถูกขวางด้วยหน้าที่การงานของหญิงสาวที่เป็นแอร์โฮสเตสเดินทางบ่อย
พอเส้นเรื่องสองทางเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน เรื่องของลูกๆ หลายสถานการณ์ที่โคตรหนักสำหรับผู้เป็นกับความสุขช่วงเวลาที่เหมือนขึ้นสวรรค์ของพ่อกับสาวรุ่นลูกคนนั้น นี่แหละคือจุดที่บีบคั้นสำหรับชายสูงวัยคนนี้ เขาต้องการหญิงคนรักคนนั้นมาก แต่ในเวลาเดียวกันลูกเขาที่ลำบากต้องการความช่วยเหลือจากพ่อมากที่สุด มันจึงเกิดการต้องให้ค่ากับทางใดทางนึงมากกว่าเป็นธรรมดา (**สปอยเลยละกัน พ่อก็ต้องเลือกลูกๆ ก่อนอยู่แล้ว)

แต่ช่วงท้ายที่เรื่องผู้หญิงคนรักของพ่อมันเข้ามาพัวพันกับครอบครัวเขาแบบแนบสนิทที่สุด ตรงนี้แหละ แม่งโคตรปวดตับเลย 

Cute Devil (2018)

Cute Devil.jpg

 

Cute Devil (2018 / Hisayasu Satô)
(Japan)

เรื่องล่าสุดของ Hisayasu ที่ฉันรู้สึกว่ามันเบามือลงไปมากเมื่อเทียบกับงานเรื่องอื่นๆ ก่อนหน้านี้ แม้จะยังคงเน้นอยู่ในเรื่องเซ็กส์เหมือนเดิม แต่ก็ไม่ได้เน้นไปทาง Horror ชวนให้เสียววูปๆ ซักท่าไหร่ ประคองอารมณ์ไว้กลางๆ เล่นในเรื่องความไม่แน่ไม่นอนในความจริงกับการโกหกในเรื่องของการนอกใจแทน (แต่ชอบซีนจบที่เป็นเอนเครดิตควยที่ถูกตัดลอยเหนือน้ำในแม่น้ำ)

ความจริง/การโกหกในหนัง จะมีตัวภรรยาเป็นตัวหลัก (Nana Nanaumi) เริ่มต้นด้วยตัวหัวหน้าเธอถูกสามีเธอทำร้ายและตัดควย อาจจะสะใจและเห็นควรเพราะภรรยาเขาถูกหัวหน้าคุกคามทางเพศ แต่หลังจากนั้นจะมีคนนอกเข้ามาแทรกกลาง เป็นตำรวจคนที่หลงในตัวผู้หญิงคนนี้ มองเห็นแต่ภาพเธอคือนางฟ้าเป็นผู้หญิงที่ดีคนหนึ่ง ตำรวจคนนี้ปลอมเป็นนักข่างเพื่อหาข้อมูลและเบาะแสที่จะเอาหักล้างการที่ผู้หญิงคนนั้นถูกมองว่าเป็นตัวการหลักเป็นสาวร่านมากรักที่ส่งผลให้เกิดเรื่องเลวร้ายขึ้นกับหัวหน้าเธอ ส่วนตัวสามีก็ติดคุก
แต่ยิ่งเมื่อตำรวจคนนี้สอบถามหาข้อมูลจากคนหลายๆคนที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงคนที่เขาบูชาว่าเป็นนางฟ้าเป็นผู้หญิง ก็มีแต่จะได้รับสารอีกด้านที่ตรงข้ามกับข้อมูลที่เขาตั้งธงไว้ เช่น ผู้หญิงคนนี้ไม่ได้ถูกหัวหน้าคุกคามทางเพศแล้วข่มขืนสองครั้ง แต่มันความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวที่โรแมนติกผ่านการมีเซ็กส์แบบยินยอมพร้อมใจกันมาแล้ว 5-6 ครั้ง หนักเข้าหน่อยก็จะเป็นแรงจูงที่ทำให้ผู้หญิงคนนี้มอบกายและใจหัวหน้า แรงจูงใจที่ว่า สามีเธอควยเล็ก แต่ของหัวหน้านั้นขนาดถูกใจเธอ เธอจึงต้องการความสุขทางกายผ่านเซ็กส์แบบนอกใจผัวตัวเองต่อ แต่ที่สุดทางจริงๆ คือการที่ผู้หญิงคนนี้ยอมมอบซิงที่ประตูหลังให้กับหัวหน้าคนนี้เป็นคนเปิดซิงประตูหลังคนแรก …

ยิ่งตำรวจคนนี้พยายามหาข้อมูลช่วยผู้หญิงคนนี้มากเท่าไหร่ ตัวตนอีกด้านของผู้หญิงคนนี้ก็จะค่อยๆ เผยแล้วกลืนด้านนางฟ้าผู้แสนดีของตำรวจคนนี้ไปมากขึ้นๆ จนรู้สึกได้เลยว่า ตัวตำรวจเองก็พยายามหลอกตัวเองอยู่ด้วยเช่นกันว่า ไม่จริง ผู้หญิงคนนี้ไม่ใช่สาวร่านไม่ใช่คนแย่ไม่ใช่คนเลว

ดังนั้นบทสรุุปตอนท้ายของหนังสำหรับเหตุการณ์นี้ก็จะกลายเป็นการสรุปตัวตนบุคคลสองคนไปแทน คนหนึ่งคือตัวภรรยาคนที่นอกใจสามีคนนั้น เธอคือนางฟ้าแสนดีหรือผู้หญิงร่านที่ต่ำช้า กับตำรวจชายคนที่กลบฝังข้อเท็จจริงของผู้หญิงคนนี้ไว้ด้วยภาพลักษณ์นางฟ้าที่แสนดี นั่นคือตัวตนเขาหรือเป็นตัวตนที่เขาพยายามรักษาไว้เพื่อปกปิดความเป็นผู้ชายคนหนึ่งของเขา คนที่มีความต้องการอยากเย็ดผู้หญิงคนที่เขาบูชาอยู่เช่นกัน

A Land Imagined (2018)

A Land Imagined (2018).jpg

 

A Land Imagined (2018 / Yeo Siew Hua)
(Singapore / France / Netherlands)

โคตรอิน กับหนังแนวฝัน จริง ลวง ที่เชื่อมต่อ/ทับซ้อนกัน ทั้งแบบตรงๆหรือแบบคลาดเคลื่อน ทุกอย่างที่อาจจะต่อติดเป็นเนื้อเดียวกันหรือแยกจากกันก็เป็นได้
สำหรับเรื่องความหลากหลายจากองค์ประกอบการถมทะเลของประเทศสิงค์โปร์กับความหลากหลายของแรงงานต่างด้าวหลายเชื้อชาติ ตรงนี้น่าสนใจดี แต่คงยากไปสำหรับฉัน ฉะนั้นจะรออ่านของคนอื่นๆ แทนดีกว่า

แต่ที่ชอบมากๆ เลย คือการเอา Counter-Strike มาประกอบแบบเข้ากันกับเนื้อหาหนังมากๆ โดยจะใช้เรื่องความตายในการผูกเข้าหากัน ตัวหนังคือตำรวจสืบเรื่องการหายตัวไปของคนงานจีนคนหนึ่ง ภายหลังคนงานจีนคนนี้เองแหละที่คิดถึงเรื่องความตาย ทั้งกับเพื่อนชาวบังคลาเทศรวมไปถึงความตายของตัวเขาเอง ความตายที่ว่าจะหน้าตายังไง ก็จะใช้การตายในเกม Counter-Strike เป็นการสื่อ คนตายที่สามารถลอย-มุดทะลุกำแพงไปไหนก็ได้ในแมพนั้น เป็นเสมือนผีไร้ตัวตน ได้รู้ได้เห็นเกิดอะไรขึ้นกันบ้างในสถานที่(แมพ)นั้นๆ ผีที่ไม่มีวันผุดวันเกิดถ้าหากเกมแมตช์นั้นยังยิงฆ่ากันไม่สิ้นสุดอีกฝ่ายไม่ตายหมดหาผู้ชนะไม่ได้

ฉากนวดคอให้นี่ ชวนจิ้นมากๆ

Arakajime ushinawareta koibitotchiyo / Lost lovers (1971)

Lost lovers (1971).jpg

aucview.aucfan

 

Arakajime ushinawareta koibitotchiyo / Lost lovers (1971 / Kunio Shimizu, Sôichirô Tahara)
(Japan)

ผ่านไปเกือบสองชั่วโมง รู้สึกตัวเองแทบจะยอมแพ้ให้หนังแบบสมยอม ในเรื่องความอินไม่เก๊ตไม่เข้าใจ จับจุดมอง
หนังไม่ออกว่าตั้งแต่เรื่องมาต้องการจะพาตัวหนังสื่อไปในทิศทางไหนกันแน่ จนมาประมาณสิบนาทีสุดท้าย ก็กลายเป็นชอบหนังขึ้นทันทีแบบเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันเป็นการสรุปหนังได้สั้นๆ แต่เข้าใจและเก๊ตตามในสิ่งที่หนังต้องการสื่อถึงได้ทันที

เอาหลักเลยก็ เป็นเรื่องของคนสองพวก พวกแรกก็คือผู้ชายที่ออกทางเร่ร่อนจากตัวเมืองมาชนบท เป็นนักกิจกรรม อ่านปรัชญา ขโมยของหาเลี่ยงตัวเองไปเรื่อยๆ คนนี้ที่เหมารวมไปเลยกับพวกคนปกติสามัญชนทั่วไป อีกพวกก็คือ คู่รักสองคนที่หูหนวกเป็นใบ้คลั่งเซ็กส์แบบซาดิสต์ รวมไปถึงความประหลาดที่คนธรรมดายากจะหยั่งถึง เปรียบเสมือนงานอาร์ตที่มีชีวิตคู่หนึ่ง
การที่ชายเร่ร่อนมาติดพันกับคู่รักคู่นี้ ส่วนหนึ่งเพราะเขาก็ไม่สามารถเข้าพวกกับคนปกติเนื่องด้วยมุมมองความคิดประหลาดๆ ของเขา อีกส่วนก็คือความเหงาที่เดินทางตัวคนเดียวมาตลอด แล้วก็เป็นการยากที่จะทำให้คนหูหนวกพูดไม่ได้สองคนเปิดรับมิตรภาพจากคนปกติที่พูดมาก เฮฮา ทำตัวต็องๆ คนนี้ได้ง่ายๆ ความต่างกันคืออุปสรรค แต่สุดท้ายชายคนนี้ก็หายเหงาและคู่รักคู่นั้นก็ดูมีชีวิตชีวาขึ้นประมาณหนึ่งจากการเข้ามาสนิทของหนุ่มเฮฮาคนนี้


เปิดเผยเนื้อหา ***

ซึ่งช่วงท้ายของหนังที่เป็นการสรุป มันก็จะประมาณว่า คุณยอมแลกหรือทิ้งตัวตนตัวเองไปได้แค่ไหนกันเพียงเพื่อที่จะเข้าไปอยู่อีกพวกแบบเต็มตัว ซึ่งตลอดสองชั่วโมงนั้น ถ้ามองในมุมชายหนุ่มก็อาจคิดว่าตนเองนั้นได้มิตรภาพและเข้าพวกคู่รักหูหนวกเป็นใบ้นั่นแล้ว แต่ความจริงมันยังคงการแบ่งแยกไว้อยู่ดี ชีวิตแบบคนปกติพวกนึง มันไม่อาจเข้ากับคนอีกพวกได้อย่างแนบสนิท ตรรกะความคิดที่อยู่บนรากฐานแบบคนปกติมันก็เหมือนอยู่คนละโลกกับคู่รักที่ใช้ชีวิตแบบงานอาร์ตอยู่ดี ถึงแม้เข้าได้มันก็เป็นได้แค่การฝืนเบียดตัวเองเข้ามานั่นแหละ
แล้วการสรุปตอนท้ายก็แบ่งไปได้อีกสองจังหวะ จังหวะแรกคือภาพความเพอเฟ็คในการเข้าพวกได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่จังหวะที่สองมันทำให้จังหวะแรกกลายเป็นเฟคไป แต่ไม่ว่ายังไง การยอมแลกแล้วทิ้งสถานะตัวเองในกลุ่มพวกคนปกติไป แค่นี้มันก็เพียงพอสำหรับความบริสุทธิ์ใจในการเข้าพวกมาโอบอุ้มคู่นี้ไว้ไม่ว่าจะแฝงการเฟคไว้นิดหน่อยระหว่างการใช้ชีวิตแบบคู่รักคู่นี้ก็ตาม