Tag Archive | Germany

Anhell69 (2022)

Anhell69 (2022 / Theo Montoya)
(Colombia / Romania / France / Germany)

Anhell69 was not just a feature film.
Anhell69 had to be a film without borders, without gender,
a tran film.

ตอนดูก็คิดว่ามันจะเป็นกึ่งภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่ใช้ความเลื่อนลอยความฝันฟุ้งๆและความหนังซ้อนหนังเข้าไป
คิดว่าเนื้อหาที่เป็นvoiceoverของผู้กำกับคือบทคือเรื่องราวที่ผู้กำกับเขียนไว้ แล้วส่วนที่เป็นสารคดีคือเป็นแค่ช่วงการแคสตัววัยรุ่นทั้งหลายมาเป็นนักแสดงในหนังของผู้กำกับ จนกระทั่งเห็น text แรกที่ขึ้นใน end credit ช็อกเลยครับ สรุปในvoiceoverมันคือสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการแคสหรือเริ่มถ่ายทำหนังของผู้กำกับหรือนี่

Music (2023)

Music (2023 / Angela Schanelec)
(Germany / France / Greece / Serbia)

ตอนแรกคิดว่า First time with Angela Schanelec แต่พอค้นดูแล้วปรากฏว่า อ้าว เคยดูหนังของคนนี้ไปแล้วหนึ่งเรื่องนี่หว่า.

นิยามของหนังเรื่องนี้สำหรับฉันเลยก็คือ “น้อย แต่ได้น้อย” … จริงๆ มันอาจจะมีมากก็ได้ที่แทรกไว้ในบนเพลงที่ถูกใช้ในหนัง แต่มันไม่เข้าหัวฉันเลยพวกเพลง เลยดูเหมือนฉันไม่ได้รับสารอะไรกลับคืนมาแม้แต่น้อยเลย

ถึงกระนั้น สิ่งที่คงเดิมเลยเหมือนตอนได้ดู Passing Summer (2001) ก็คือไม่ได้อะไรจากหนังติดหัวกลับมาเลย นอกเหนือจากพวกรูปแบบ/เทคนิคในรายละเอียดที่ถูกใช้ในหนังที่มันน่าสนใจดีพวกนั้น

กับเรื่อง Music นี้ บอกเลยว่าครึ่งแรกนั้นไม่รู้เรื่องเลยจ้า จนกระทั่งกลางเรื่อง กับซีนที่มีบทสนนามากที่สุด การสนทนาพูดคุยกันในกลางเรื่องนี้มันได้ทำให้ครึ่งแรกของหนังที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ใครเป็นใคร รู้จักกันมีความสัมพันธ์กันยังไงพวกนี้ได้เกิดความเคลียร์ขึ้นมา ได้เข้าใจอะไรต่อมิอะไรขึ้นมา ส่วนหลังจากกลางเรื่องเป็นต้นไปน่ะเหรอ ก็เพราะผลพลอยได้จากกลางเรื่องนี่แหละที่ยังพอทำให้ฉันต่อติดกับเรื่องราวหลังจากนั้นไปจนจบได้อยู่บ้าง แม้ว่าช่วงท้ายจะเน้นไปยังเพลงอาจใช้สื่อความหมาย/ตีความของหนังก็ตาม.

อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือ การกด skip ข้ามไปข้างหน้า ระยะเวลามากแค่ไหน/เปลี่ยนแปลงไปเยอะขนาดไหน ไม่รู้ไม่บอก ให้คนดูสังเกตกันเอง ซึ่งก็ได้ผลดีนะ เพราะการ skip ไปแต่ละครั้งมันก็ข้ามพวกนี้สิ่งที่คนดูต้องการรู้ไปด้วย จนพบว่าตนเองกดปุ่ม “หืม?” ขึ้นในหัวอยู่หลายครั้งในจังหวะ skip ของหนัง.

Passages (2023)

Passages (2023 / Ira Sachs)
(France / Germany)

พระเอกคือผู้กำกับหนังที่เหยียบเรือสองแคมอย่างสับสน

แคมหนึ่งคือชายคนรักอยู่ด้วยกันและเขาเป็นรับ
อีกแคมหนึ่งคือแคมผู้หญิงที่เขากลายรุกแล้วจิ้มใส่แคมเธอจนอีกฝ่ายตั้งท้อง

การพยายามหาทางออกของเขาตอนแรกเหมือนจะดีแลดูเขาเลือกได้ตัดสินใจได้ แต่จากนั้นไม่นาน ก็มีความสับสนพร้อมกับสิ่งที่จะทำให้สองแคมมันล้มสลายได้ในทันที นั่นก็คือ “ความเห็นแก่ตัว”
เป็นความเห็นแก่ตัวที่ค่อนข้างทุเรศ ทั้งในความเป็นรักร่วมเพศกับความรักที่มีต่อชายคนรักคนนั้น และในความ straight ต่อผู้หญิงคนนั้น ความเห็นแก่ตัวที่เป็นตัวเริ่มให้เกิดปัญหา และความเห็นแก่ตัวที่พยายามหนีปัญหาและต้องการแก้ปัญหา.

Heartbeast (2022 / Aino Suni)
(France / Finland / Germany)

“ว่ากันว่า หลักในการแต่งเพลงบางทีนักดนตรีก็จะเอาชีวิตตัวเองนี่แหละมาเป็นเนื้อเพลง”

สำหรับเรื่องนี้ เนื้อเพลงครึ่งแรกมันก็คือการเอาความรู้สึกรักแรกพบมาเขียนเนื้อเพลงเพลงนึงขึ้นมา บรรยายถาโถมความรู้สึกตนเองมอบไปสู่อีกฝ่ายที่ตนเองตกหลุมรักเข้าอย่างจัง. นักดนตรีแร็ปเปอร์ในที่นี้ก็คือสาวอายุสิบเจ็ด ตัดสกินเฮดย้อมสีเขียวดูเท่และมาดแมน ส่วนอีกฝ่ายที่เธอตกหลุมรักก็คือ นักเต้นเด็กสาววัยเดียวกัน สำหรับนักดนตรีแร็ปเปอร์ที่ยังไม่ได้มีความกล้าในการขึ้นเวที ก็กลายเป็นเพลงที่แต่งถึงอีกฝ่ายแค่ครึ่งเดียวนี้ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้ตนเองมีความกล้าขึ้นเวทีไปร้องเป็นครั้งแรกได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เธอกังวลและกลัวยิ่งกว่าก็คือ ถ้าอีกฝ่ายได้ฟังเต็มๆ ครึ่งเพลงนี้แล้วพบว่า นี่คือความรักแบบเลสเบี้ยน อีกฝ่ายจะยังมีมิตรไมตรีคงความสัมพันธ์แบบคนสนิทเหมือนเดิมอยู่ได้หรือไม่.

จะว่าไป หลังจากนั้นก็รู้สึกเหมือนหนังหลุดโทนไปบ้าง เพราะจากเรื่องของดนตรีและความรักแบบเพศเดียวกัน มันก็กลายเป็นความดำมืดความดาร์กความคิดเหี้ยๆ ที่เผยการกระทำออกมาแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์จนเหมือนทำลายชีวิตคนๆ หนึ่งขึ้นมา แม้ตนเองจะแสดงตนว่าเราอยู่ตรงนี้เราไม่ไปไหนเราจะเป็นกำลังใจให้เธอตลอดไป แต่สิ่ที่แอบแฝงไว้ในความห่วงใยมันคือสิ่งที่ผิดปกติที่พร้อมจะฉุดอีกฝ่ายลงเหวได้ทุกเมื่อหรือทำร้ายคนอื่นที่เข้ามาสอด.

ความหลุดโทนตรงนี้ออกไปฉันก็รู้สึกได้เลยว่า ไม่ค่อยชอบซักเท่าไหร่ มันดูตั้งใจให้คนๆหนึ่งกลายเป็นคนที่เหี้ยคนห่าระยำเกินไป จนกระทั่งมาถึงตอนจบของหนังนี่แหละ
“ว่ากันว่า หลักในการแต่งเพลงบางทีนักดนตรีก็จะเอาชีวิตตัวเองนี่แหละมาเป็นเนื้อเพลง” ใช่แล้วครับ เนื้อเพลงอีกครึ่งหลังอีกครึ่งหนึ่งที่ถูกเขียนออกจนครบเพลงแล้ว ถ้าเนื้อเพลงครึ่งแรกคือความหวานแบบเพลงรัก เนื้อเพลงครึ่งหลังแม่งก็สุดจะขมเสียเหลือเกิน แต่ไม่ว่ายังไง จะเนื้อเพลงครึ่งแรกหรือครึ่งหลังก็ตาม มันก็สะท้อนเรื่องราวชีวิตในมุมมองของแร็ปเปอร์หัวเขียวคนนี้ออกมาได้อย่างหมดจดจริงๆ เพลงดีเพลงเพราะด้วยนะเว้ยเฮ้ย แม่งมาโดนเส้นกับหนังเรื่องนี้ก็ตอนที่ได้ฟังเพลงแบบเต็มเพลงพร้อมเข้าใจเนื้อเพลงนี่แหละ

อีกอย่างที่โคตรรักในบทสรุปของหนังอย่างหนึ่งเลยก็คือ การสะท้อนเรื่องของดนตรีออกมาผ่านผู้ฟังผ่านนักดนตรีคนแต่งเพลงและผ่านตัวบุคคล
สำหรับแฟนเพลงอาจไม่คิดอะไรแล้วมองแค่ว่า “ศิลปินคนนี้แม่งโคตรเท่ เพลงโคตรเจ๋งเลย-โคตรเพราะเลย เขียนเนื้อออกมาได้ทิ่มแทงใจสัสๆ ทำได้ไงวะ” แต่สำหรับในมุมนักดนตรีหรือตัวบุคคล ที่เมื่อยกประโยคนี้มา “ว่ากันว่า หลักในการแต่งเพลงบางทีนักดนตรีก็จะเอาชีวิตตัวเองนี่แหละมาเป็นเนื้อเพลง” มันก็จะสะท้อนความจริงที่ว่า ชีวิตจริงของนักดนตรีคนแต่งเพลงคนนั้นแม่งคือคนที่เหี้ยคือคนระยำตำบอนคนToxic ตัวอันตรายคนหนึ่ง.

A Higher Law (2021)

A Higher Law (2021 / Octav Chelaru)
(Romania / Germany / Serbia)

เปิดเรื่องมานึกว่าหนังศาสนาที่ว่าด้วยครอบครัวหนึ่ง พ่อเป็นบาทหลวงแม่เป็นครูสอนศาสนามีลูกชายหนึ่งคน แล้วสิ่งที่คั่นกลางขึ้นมาคือการมองกฏเกณฑ์ของการเป็นคริสเตียนที่ดีนั้น มันคือการจำกัดอิสรภาพทางความคิดตนเองอยู่หรือไม่

แต่เมื่อตัวละครสำคัญหนึ่งตัวปรากฏขึ้น คำถามต่อเหตุการณ์ในหนังก็เปลี่ยนไป กลายเป็นว่า ถ้าเรายังคงอยู่ในกฏเกณฑ์กรอบของคริสเตียนที่ดีนั้น เรื่องราวมันคงจะไม่บานปลายไปถึงขนาดนี้แน่นอนใช่มั้ย, กล่าวคือ ตัวละครสำคัญตัวนั้นก็คือเด็กหนุ่มอายุ 16 ที่เพิ่งย้ายมา แล้วเขาได้เข้ามาทำให้ครูสาวหัวใจสั่นคลอน จะมิอาจกักขังความหื่นความต้องการทางเพศที่หวังจะได้รับจากเด็กหนุ่มคนนั้นได้ ความบานปลายก็คือ ครูสาวต้องการให้เรื่องมันจบแค่การเย็ดกันแค่ครั้งเดียว แต่สำหรับเด็กหนุ่มเขามองว่า นี่คือความรัก ความรักที่ผลักดันให้เด็กหนุ่มบับคั้นและกดดันต่อครูสาวจนเธอไม่อาจสงบใจได้อีกต่อ เพราะเธอเป็นถึงครูสอนศาสนา เป็นเมียบาทหลวง เป็นแม่ที่ดีในสายตาลูกชายตัวเอง.

ในช่วงบทสรุปของหนังนี่ มันรู้สึกเหวอแบบเงียบงันมาก แล้วอีกอย่างที่ได้ถูกกระตุ้นกลับมาอีกครั้ง ก็คือ เสมือนการตั้งคำถามต่อกฏเกณฑ์ทางศาสนาเกี่ยวกับการสารภาพและการให้อภัย…

Machines (2016)

Machines (2016 / Rahul Jain)
(India / Germany / Finland)

ดูไปแรก ๆ คิดว่าเป็นสารคดีเชิงเปรียบเทียบว่าในโรงงานทอผ้าขนาดใหญ่ของรัฐคุชราต อินเดีย ถึงกระบวนการทำงานที่มีทั้งเครื่องจักรอัตโนมัติและคนงานแบบอัตโนมือ แต่ซักพักก็กระจ่างถึงสิ่งที่สารคดีต้องการสื่อแบบตรง ๆ จุก ๆ นั่นก็คือ ภาพของชนชั้นแรงงานลูกจ้างโรงงานทอผ้ากับชีวิตการทำงานในแต่ละวันที่ใช้แรงงานกันอย่างกับเครื่องจักร งานหนึ่งกะคือ 12 ชั่วโมง..

ภาพลูกค้าคนอาหรับดูสินค้าผ้าทอคุยธุรกิจกันแบบ High ๆ ตัดภาพมาดูบรรยากาศ Low ๆ ในโรงงานของแรงงานสิ ต่างกันราวฟ้ากับก้นเหว, โดยหลัก ๆแล้วสารคดีจะเน้นถ่ายไหลไปเรื่อยๆ ในโรงงานในแต่ละมุมแต่ละแผนกการทำงาน ดูไปเพลินๆดีแต่บางทีก็ชวนหลับบ้าง เช่นฉากที่่ถ่ายเด็กยืนทำงานไปสัปหงกไปแบบฝืนร่างกายตัวเองไม่ไหว
มีพักคุยกับคนงานบ้างให้ได้พูดถึงมุมมองตัวเองต่อการมาเป็นแรงงานเครื่องจักร 12 ชั่วโมงที่นี่, บางคนก็รู้แหละว่าเห็นประตูโรงงานก็อยากจะหันหลังกลับละ แต่ทำไงได้ถ้าไม่ทำงานก็ไม่มีจะกิน, สหภาพแรงงานที่นี่มีอยู่จริงแต่แทบไม่มีตัวตนเลย เมื่อแรงงานรู้สึกไม่ยุติธรรมถูกเอารัดเอาเปรียบก็อยากจะหยุดประท้วง แต่มันก็ไม่เกิดผล เพราะบางคนเขาไม่สามารถหยุดทำงานได้แม้จะถูกเอาเปรียบบั่นทอนสุขภาพร่างกายอยู่ก็ตาม หยุดไปก็ไม่มีจะกิน – หยุดไปก็จะโดนเอาคนอื่นมาเสียบทำงานแทนอยู่ดี หรือถ้าสร้างปัญหาปุ๊บก็จะโดนตบแล้วโดนโยนออกมาจากโรงงาน เป็นต้น.

แต่สารคดีก็ไม่ได้เทไปด้านเดียวซะทีเดียว ก็ยังมีช่วงคุยสั้น ๆ กับเจ้าของโรงงานบ้าง เผยให้เห็นมุมมองของเขาต่อพวกคนงาน ที่ฟังทีแรกก็เหมือนได้เห็นอีกมุม แต่พอใช้สติตรึกตรองคำพูดเจ้าของโรงงานดีๆ แม่งก็คือการป้ายด้านลบให้พวกคนงานเกินจริงไปมาก เช่น เขาบอก พวกคนงานที่นี่กว่า 50% น่ะ พอได้เงินมาก็เอาลงกับบุหรี่กับเหล้ายากันหมด ที่ว่าทำงานเพื่อส่งเงินให้ครอบครัวน่ะไม่มีหรอก เห็นแก่ตัวอยู่เพื่อตัวเองกันทั้งนั้น.

ฉากท้ายเรื่องนี่ จุกมาก มันคือภาพการรวมของพวกคนงานที่รู้เห็นถึงการมีอยู่ของทีมงานสารคดีเรื่องนี้ที่เขาหวังว่า ทุกสิ่งที่เขาถ่ายไปมันจะเป็นปากเป็นเสียงให้ข้อเรียกร้องของพวกเขาเสียงดังขึ้นมาบ้าง บางอย่างก็ไม่ได้มากมายเลย แค่ขอระยะเวลาการทำงานต่อกะแค่ 8 ชั่วโมงพอ ไม่ใช่ถึง 12 ชั่วโมงแบบนี้, ที่เหล่าแรงงานคาดหวังต่อทีมงานสารคดีนี้มากกว่าเรียกร้องต่อผู้เกี่ยวข้องโดยตรงนั้น มันก็แค่ คนที่ลงดูมารับเรื่อง มันไม่ได้เห็นหัวพวกเขาเลยนั่นแหละ รัฐมนตรีที่ลงมาพบ เขาก็แค่มาพูดเรื่องตัวเองแล้วก็ไป ไหนล่ะการรับฟังการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องที่เหล่าแรงงานต่อการ.

Rimini (2022)

Rimini (2022 / Ulrich Seidl)
(Germany / France / Austria)

ชีวิตของนักร้องป๊อบสตาร์ชื่อดังในวัยกลางคนที่โรยราไม่ได้โด่งดังเหมือนวัยรุ่นอีกแล้ว แต่เขาก็ยังมีงานร้องเพลงให้แก่บรรดาแฟนเพลงที่รวมกลุ่มกันดูเขาร้อง(แฟนเพลงก็อายุรุ่นราวคราวเดียวกันเลย) มีบ้านใหญ่หรูเหมือนพิพิธภัณฑ์ของตัวเองแต่ในความเป็นจริงเขาไม่ได้มีเงินไม่ได้รวยอะไรเลย ที่ประคับประคองชีวิตไปได้วันๆ มันก็มีงานเสริมกับงานกะหรี่ชาย หรือดีหน่อยก็เปิดบ้านให้แฟนเพลงมาเช่าอยู่แล้วตนเองไปนอนในโรงแรมที่ปิดกิจการแทน, วันไม่มีงานก็เดินร่อนไปมา เช้าดื่มกาแฟ ถัดมาจิบเหล้า ตกดึกเล่นสล็อต อะไรแบบนี้.

จนกระทั่งสายสัมพันธ์หนึ่งได้เดินเข้ามาหาเขา สายสัมพันธ์ที่ว่าก็คือลูกสาววัย 18 ปีที่มาหาเขา ไม่ใช่แบบคิดถึงพ่ออยากเจอพ่อนะ แต่เป็นการพยายามตามหาพ่อ พ่อที่ทิ้งลูกสาวกับแม่ไปตลอดสิบกว่าปีโดยไม่จ่ายค่าเลี้ยงดูใดๆ ให้ หนีไปแบบหนีหายไร้การติดต่อ ซึ่งสิ่งที่ลูกสาวต้องการจากพ่อก็ไม่มีอะไรมาก นั่นคือค่าเลี้ยงดูตลอดเวลาที่เขาทิ้งเธอไป แต่ก็ตามสภาพนักร้องตกอับ ไม่ได้รวยไม่มีเงินถังเลยพยายามหว่านล้อมยกข้ออ้างหลายอย่างเพื่อซื้อใจลูกสาวด้วยความรักมากกว่าการชดเชยด้วยเงินทอง ซึ่งการพบกันแต่ละคน ท่าที่ของพ่อมันมักจะดูเหมือนเห็นแก่ตัวตลอด ไม่พยายามอธิบายตรงหน้าลูกสาวทุกที แต่ก็ไม่อาจบอกว่าลูกสาวเห็นแก่เงินมากกว่าสายสัมพันธ์ของพ่อก็ไม่ได้ เพราะว่าถ้านั้นคือสิ่งที่ลูกสาวคนนึงต้องการมันก็คือสิทธิที่ลูกต้องได้อยู่ดี แม้ในสายตาพ่อมันจะดูไม่ปกติที่ลูกสาวอยู่กับพวกหนุ่มอาหรับในรถบ้านแบบนั้น แต่นั่นมันก็คือชีวิตของลูกสาวที่พ่อห้ามแส่.

พอหนังมีตัวละครลูกสาวเข้ามาเป็นตัวสำคัญ จึงไม่แปลกใจเลยที่หลายจะคิดถึงเรื่อง The Wrestler (2008) ขึ้นมา(ฉันก้คิด) ยิ่งนักแสดงนักร้องป๊อบสตาร์ตกอับในเรื่องภาพลักษณ์มันยิ่งดูคล้ายตัวละครของ Mickey Rourke ใน The Wrestler เลย ทั้งทรงผมรูปหน้าและความโรยราในชีวิตปกติและโดดเด้งดูดีในตอนทำงาน
กับบทสรุปต่อตัวลูกสาวอาจจะสลับด้านกันไปเลยระหว่างสองเรื่องนี้ ถ้าจำไม่ผิด The Wrestler คือแตกพังกันไปคนละทางพ่อที่เลือกตัวเองมากกว่าลูก ส่วนเรื่องนี้คือชีวิตไลฟ์สไตล์ของพ่อคือพังไปเลย แตทำไงได้ถ้านั่นจะทำให้ลูกสาวมีความสุข ได้ซ่อมรอยร้าวได้ใกล้ชิดกันอีกครั้ง และที่สำคัญเลย จะได้เป็นคุณตา นั่นคือสิ่งที่พ่อยอมแลกไลฟ์สไตล์ตนเองไปแบบยากจะกู้คืนได้ดั่งเดิมจริงๆ คือถ้าจะกู้คืนดังเดิม พ่อต้องแตกหักไล่ลูกสาวไปจากบ้านตนเองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่กับผู้เป็นพ่อคนนี้แน่นอนที่จุดหนึ่งเขายอมทำเลวเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ลูกสาวต้องการ.

ในหนังมันจะมีความประหลาดตามแต่ละฉากอยู่บ้าง เช่นพวกคนอาหรับที่นั่งที่นอนอยู่ริมทางแบบคนไร้บ้าน ที่พบเห็นเรื่อยมาตลอดทางที่ชายคนนีเดินผ่าน พอตอนจบมันเลยดูเหวอมากๆ ทันที เพราะเหล่าตัวละครคนอาหรับในหนังจะไม่มีการพูดไม่มีเสียงใดๆ ทั้งนั้น แม้แต่หนุ่มอาหรับที่อยู่กับลูกสาว แต่ถึงแม้ไม่มีเสียงใดๆ ออกมา ตอนจบมันก็ให้อารมณ์เหมือนบ้านตนเองที่ถูกคุกคามด้วยคนเหล่านี้ที่ไม่ใช่เชื้อชาติเดียวกับตนเอง จับจองอยู่อาศัยกันเต็มพื้นที่ในบ้านไปหมด โดยที่เขาเจ้าของบ้านไม่สามารถทำอะไรคนพวกนี้ที่มีแต่ความเงียบได้เลย.

อีกหนึ่งตัวละครที่ Ulrich Seidl ให้ความสำคัญไว้ต่อหนังเรื่องนี้ นั่นคือ Hans-Michael Rehberg ที่หนังจบข้อความแรกที่ขึ้นก็คือ “In memory of Hans-Michael Rehberg who last performed on camera in this film”
สำหรับบทในเรื่องก็จะเป็นบทพ่อของนักร้องตกอับคนนั้น ที่ดูอดีตนาซีที่ตอนนี้เลอะเลือนอยู่ในบ้านพักคนชราที่เมียเพิ่งตายแต่จำอะไรใครไม่ได้เลย เพราะการเป็นอดีตนาซี ความเศร้าที่ปรากฏผ่านน้ำเสียงที่เรียกหาแม่ แม่อยู่ไหน ประกอบกับฉากต้นเรื่องที่เหมือนเขาโดนขังอยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้ที่ไม่สามารถเปิดประตูออกไปไหนได้เลย ลูกๆ ก็ไม่ค่อยได้มาเยี่ยม มันจึงเหมือนชะตากรรมที่เหลือของเขาเปรียบได้ดั่งการโดนขังไว้ในห้องเพื่อรอโดนรมแก๊ซแบบที่คนยิวเคยโดน = โดนขังในบ้านพักคนชรารอเวลาชีวิตดับลงในสถานที่แห่งนี้.

One Fine Morning (2022)

One Fine Morning (2022 / Mia Hansen-Løve)
(France / USA / Germany)

ทัชใจตั้งแต่ฉากที่ลูกศิษย์พ่อมาทักนางเอกที่ริมถนน บอกว่าอยากเขียนอีเมล์ถึงท่าน แต่นางเอกบอกส่งมาที่เมล์ตนแทนเพราะพ่ออ่านเองไม่ได้แล้วเดี๋ยวตนเองจะอ่านให้ พอมันแตะเรื่องอาการพ่อเท่านั้นแหละ นางเอกหน้าเบ้ทันทีแล้วส่งอีเมล์บนกระดาษให้ก่อนจะหันเดินออกมา, ก็ทำให้คิดล่วงหน้าไปเลยว่า หลังจากนี้มันต้องหนักแน่นอนกับการคอยดูแลพ่อกับอาการป่วยของเขา แต่สิ่งที่แทรกเข้ามาประหนึ่งการฮีลใจที่ได้ประสิทธิผลมากที่สุดก็คือ “ผู้ชายคนนั้นที่ฉันรักเขาแม้เขาจะมีเมียและลูกแล้วก็ตาม”.

การคงอยู่ของชายคนนี้เคียงข้างเธอประหนึ่งคนรัก/ชู้ มันก็ทำให้สภาพจิตใจของนางเอกไม่ได้ทรุดหนักจนเห็นได้ชัด แม้จะมองว่านี่คือการเล่นชู้และเธอเศร้าใจเมื่อเขาบอกจะกลับไปหาครอบครัว เธอเข้าใจสถานการณ์ของเขาเธอจึงไม่สามารถยื้อเขาไว้เป็นของตนเองได้ แต่ทุกครั้งที่เขามาหา มันคือการฮีลใจสุดๆ โดยเฉพาะเรื่องบนเตียง เธออยากจะเย็ดทั้งวันทั้งคืนตอนที่ลูกไปเข้าแค้มป์หลายวัน แต่เขาก็บอกอยู่บนเตียงทั้งวันน่าเบื่อจะตาย จากนั้นนี่แหละที่ทำให้เห็นว่านางเอกคลั่งรักจนเปลี่ยนการแต่งตัวให้ดูดีสวยขึ้นทันตา ทั้งที่ก่อนหน้านางเอกใส่ชุดลำลองลุยๆ เสื้อยืดกางเกงยีนต์ทั่วไปแค่นั้น.

แม้ในตอนแรกนางเอกจะไม่แคร์ว่าเขาจะกลับไปอยู่เมียบ้าง แต่ขอให้เขามาหาเธอมาฮีลใจให้เธอบ้างก็ยังดี แต่ภายหลังความคิดเธอมันไม่ได้เป็นแบบแรกแล้ว มันเกิดการเปรียบเทียบขึ้น ประหนึ่งไม่ต้องเป็นตัวแทนอีก ทำทุกอย่างให้มันถูกต้อง เขาก็เข้าใจนางเอกและบอกว่า “ผมจะกลับมาเมื่อผมไปจากเมียผมแล้ว”

เปิดเผยเนื้อหา **************

มันจะมีอยู่ฉากนึงที่ตอนแรกก็ไม่ได้เอะใจอะไร มันเหมือนเป็นแค่ภาพความสุขของพวกเด็กๆ ที่รอขอขวัญจากซานต้าผ่านการเล่นละครของเหล่าผู้ปกครองทั้งหลาย จนถึงฉากท้ายเรื่องหลังจากนั้น ก็พบการเชื่อมโยงสื่อเทียบกันกลายๆ ที่ก่อนหน้านี้ ลูกนางเอกบอกปวดขาเดินขาลากตลอด แต่หมอบอกไม่เป็นไรหรอกนางเอกก็เล่นตามน้ำไป ลูกนางเอกก็เดินขาลากมาตลอด จนกระทั่งฉากของขวัญซานต้านี่แหละ ลูกสาววิ่งฉิวไม่เดินขาลากแล้ว หายทันทีเมื่อได้สิ่งที่ต้องการและเฝ้ารอมาตลอด เมื่อเทียบกับนางเอก ฉากก่อนหน้าฉากท้ายที่ว่า เธอต้องกลั้นใจฝืนทนหนักขนาดไหนกับภาพพ่อเดินมาที่ระเบียงและเรียกหาคนรัก นางเอกกลั้นใจไปจากพ่อเหมือนปลงแล้วกับอาการพ่อทิ้งไว้กับพยาบาลแทน เปรียบเป็นการเดินขาลากของลูกสาว เมื่อฉากท้ายที่ว่า ชายคนรักกลับมาหาเธออีกครั้ง กลายเป็นการฮีลใจที่มีความหมายต่อนางเอกอย่างถึงที่สุด ที่ไม่ได้ทำให้การปลงตกต่อพ่อมันดำเนินต่อแต่กลายเป็นนางเอกลูกสาวและชายคนรักจับมือกันมาเยี่ยมพ่อแบบปกติกัน แม้จะไม่มีการบอกชัดเจนว่าชายคนรักเคลียร์ความสัมพันธ์กับเมียหรือยัง แต่จากการเล่าให้พ่อฟัง นางเอกลูกสาวไปเทียวกับชายคนรักและลูกชายเขาด้วยกันมา นั่นก็สื่อได้ว่า ทุกอย่างเคลียร์กันลงตัวแล้ว .. ก่อนจะตามมาซึ่งภาพที่ยืนยันว่า นางเอกต้องมีชายคนนี้อยู่เคียงข้างเท่านั้น ที่การร้องเพลงรวมกันของคนชราในบ้านพักนี้มันจะทำให้นางเอกกลั้นน้ำตาความเศร้าไว้ไม่ไหว แต่การคงอยู่เคียงข้างของชายคนรักคือการทำให้นางเอกผ่านพ้นความรู้สึกเศร้าต่ออาการของพ่อเธอไปได้.

เลอา แซดู คือปรากฏการณ์มากๆ มีความช่ำฉ่ำมีแรงดึงดูดสูงมาก แม้กระทั่งตอนเธอแต่งชุดลำลองลุยๆ แมนๆ ฉันก็ยังสบายตาดูเลอาได้เพลินๆ เหมือนเดิมอยู่ดี ส่วนฉากเลิฟซีนน่ะเหรอ ไม่ต้องสืบเลยครับ ♥

Asteroid City (2023)

Asteroid City (2023 / Wes Anderson)
(USA / Germany)

เปิดเรื่องมา ก็อาจจะโดนความเป็นเวส(ฉากสวย/สีสด/ความสมมาตร)ดึงดูดความสนใจไปหมด แต่พอหนังมันเล่าเรื่องเดินหน้าไปเรื่อยๆ ไอ้ความเป็นเวสที่ว่าก็ค่อยๆ หมดความน่าสนใจในสายตาฉันไปหมด เพราะเนื้อหามันสนุกขึ้นเรื่อยๆ .

เอาเข้าจริง สนใจเรื่องหลังฉากมากกว่า มันสนุกตั้งแต่การเริ่มเล่าสอดแทรกตั้งแต่แรกไปเลย ส่วนเรื่องหน้าฉากมันสนุกขึ้นอย่างเห็นได้ชัดก็ช่วงจบองค์หนึ่งเป็นต้นไปนั่นแหละ.

พอตัวฉันรู้สึกแบบย่อหน้าแรกกับหนังเวสเรื่องล่าสุดไปแบบนั้น ก็เลยย้อนไปดูดิจิตอลฟุตปิ้นของตัวเอง ก็พบว่าแม่งย้อนแย้งกันเองซะละ กล่าวคือ The French Dispatch (2021) ฉันให้สนใจสไตล์เวสเป็นหลักมากกว่าเนื้อหาหนังที่น่าเบื่อ พอมา Asteroid City (2023) กลับสนุกกับเนื้อหาหนังจนหมดความสนใจเรื่องสไตล์เวสไปละ..

Mr. Nobody (2009)

Mr. Nobody (2009 / Jaco Van Dormael)
(Belgium / Germany / Canada / France / UK / Luxembourg / USA)

เส้นเรื่องของชีวิตหนึ่งกับโลกคู่ขนานที่นับไม่ถ้วน, โลกคู่ขนานที่เกิดจากการตัดสินใจ ซ้ายหรือขวา / yesหรือno แตกแขนงกลายเป็นสองเส้นทาง แล้วในสองเส้นทางก็สามารถแตกแขนงออกไปได้อีกสองเส้นทาง สามารถเป็นแบบนี้ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าชีวิตจะจบสิ้น.
ส่วนตัวหนังเมื่อใช้คอนเซปการเล่าเรื่องแบบนี้ร่วมด้วยการไม่ลำดับเวลาในโลกคู่ขนานของชีวิตหนึ่งที่แตกแขนงไม่นับถ้วน ผลลัพท์มันเลยครอบคลุมไว้ด้วยความไม่บันเทิงเลย แต่จะชวนให้ขบคิด/จับคู่เหมิอนกำลังได้ต่อจิ๊กซอร์ในเส้นทางชีวิตที่แตกแขนงของชายคนนี้ไปเรื่อยๆ ดี, ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าถ้าจะรู้สึก งงกับหนัง ตามไม่ทันหรือไม่เข้าใจคอนเซปทั้งหมดที่หนังวางไว้ เพราะท้ายที่สุด การเฉลยอย่างหนึ่งในตอนจบของหนังมันทำให้ทุกอย่างเข้าใจง่ายในพริบตาขึ้นมาทันที.

สำหรับสิ่งที่ฉันชอบมากที่สุดก็คือ สิ่งที่ถูกอธิบายไว้เส้นเรื่องหลักผ่านผู้หญิงทั้งสามคน

***สปอยไว้หน่อย***

ในตอนที่พ่อแม่แยกทางกัน
ถ้านีโมไปกับแม่ ผู้หญิงในเส้นเรื่องนี้ของนีโมก็คือแอนนา
ถ้านีโมอยู่กับพ่อ ผู้หญิงในเส้นเรื่องนี้ของนีโมก็คือเอลิส
ถ้านีโมอยู่กับพ่อ และช่างหัวเอลิสที่ไม่รับรักเขา ผู้หญิงในเส้นเรื่องนี้ของนีโมก็คือจีน

ภายใต้สามเส้นเรื่องคู่ขนานนี้มันก็แตกแขนงไปได้ต่อเช่นกัน ในเส้นเรื่องของผู้หญิงสามคนนี้ สิ่งที่วิ่งเข้าหานีโมล้วนเหมือนกันหมดคือ ความตาย แต่มันก็แตกแขนงไปได้ต่อเช่นกันผ่านทางเลือก นีโมตายหรือนีโมไม่ตาย.
สำหรับสิ่งที่ถูกอธิบายไว้ในสามเส้นเรื่องนี้ที่ฉันกล่าวถึงไว้ มันก็คือความรู้สึกของตัวละครที่แตกต่างกันไป
ในเส้นเรื่องของจีน คนที่น่าสงสารที่สุดก็คือจีน
ในเส้นเรื่องของเอลิส คนที่น่าสงสารที่สุดก็คือนีโม
และในเส้นเรื่องของแอนนา คนที่น่าสงสารที่สุดก็คือทั้งคู่ ทั้งแอนนาและนีโม

โดยองค์ประกอบหลักที่ส่งต่อให้เกิดความรู้สึกที่ว่าทั้งสามเส้นเรื่องก็คือ เรื่องของความรัก
กับเอลิส นีโมรักผู้หญิงคนนี้มากถึงมากที่สุด ยอมแลกทุกอย่างเพื่อผู้หญิงคนนี้ แต่เอลิสไม่ได้รักนีโม การอยู่กับนีโมเหมือนการทรมานตนเอง
กับจีน คนที่น่าสงสารสุดก็คือจีน เพราะนีโมเลือกจีนเป็นคนรักเพราะต้องการประชดรักต่อเอลิสที่ไม่ได้รักเขา แต่ไม่ว่ายังไงชีวิตคู่ตลอดมาของจีนและนีโมกับลูกๆ ทั้งสอง ก็ลงเอยด้วยการสื่อออกมาผ่านตัวจีนเองว่า เธอน่ะรักนีโมแต่เหมือนนีโมไม่เคยมองมาทางเธอเลยแม้แต่นิด
และกับแอนนา เพราะทั้งคู่นั้นรักกัน แต่ชะตาเล่นตลกผ่านน้ำมือพ่อแอนนาแม่นีโมหรือไม่ก็ตัวนีโมหรือไม่ก็ความตายทำให้ความรักของต้องพลัดพรากจากกันในหลายเส้นเรื่องที่แตกแขนงเหล่านั้น.

ตอนแรกก็คิดนะว่า โดยรวมของตัวหนังมันดูแห้งแล้งไร้อารมณ์ไปหมด แต่พอรับชมจนจบแล้วมานั่งพินิจซ้ำซักหน่อย ก็จะพบการบอกใบ้ไว้ในเส้นเรื่องหนึ่งอยู่แล้ว ภายใต้ความแห้งแล้งไร้อารมณ์และชีวิตในโลกคู่ขนานนับไม่ถ้วนนั้น มันจะมีอยู่เส้นเรื่องหนึ่งที่เต็มไปด้วยอารมณ์และความมีชีวิตชีวาเท่าที่จะหาจังหวะเกิดขึ้นได้ นั่นก็คือเส้นเรื่องของแอนนา ที่ท้ายที่สุดบทสรุปของหนังในตอนจบก็คือการเฉลยว่าเส้นเรื่องที่น่าจะลงเอยเป็นหลักและเป็นไปได้มากที่สุดนั้นก็คือ นีโมกับแอนนา นี่แหละ.