Tag Archive | Germany

Asteroid City (2023)

Asteroid City (2023 / Wes Anderson)
(USA / Germany)

เปิดเรื่องมา ก็อาจจะโดนความเป็นเวส(ฉากสวย/สีสด/ความสมมาตร)ดึงดูดความสนใจไปหมด แต่พอหนังมันเล่าเรื่องเดินหน้าไปเรื่อยๆ ไอ้ความเป็นเวสที่ว่าก็ค่อยๆ หมดความน่าสนใจในสายตาฉันไปหมด เพราะเนื้อหามันสนุกขึ้นเรื่อยๆ .

เอาเข้าจริง สนใจเรื่องหลังฉากมากกว่า มันสนุกตั้งแต่การเริ่มเล่าสอดแทรกตั้งแต่แรกไปเลย ส่วนเรื่องหน้าฉากมันสนุกขึ้นอย่างเห็นได้ชัดก็ช่วงจบองค์หนึ่งเป็นต้นไปนั่นแหละ.

พอตัวฉันรู้สึกแบบย่อหน้าแรกกับหนังเวสเรื่องล่าสุดไปแบบนั้น ก็เลยย้อนไปดูดิจิตอลฟุตปิ้นของตัวเอง ก็พบว่าแม่งย้อนแย้งกันเองซะละ กล่าวคือ The French Dispatch (2021) ฉันให้สนใจสไตล์เวสเป็นหลักมากกว่าเนื้อหาหนังที่น่าเบื่อ พอมา Asteroid City (2023) กลับสนุกกับเนื้อหาหนังจนหมดความสนใจเรื่องสไตล์เวสไปละ..

Mr. Nobody (2009)

Mr. Nobody (2009 / Jaco Van Dormael)
(Belgium / Germany / Canada / France / UK / Luxembourg / USA)

เส้นเรื่องของชีวิตหนึ่งกับโลกคู่ขนานที่นับไม่ถ้วน, โลกคู่ขนานที่เกิดจากการตัดสินใจ ซ้ายหรือขวา / yesหรือno แตกแขนงกลายเป็นสองเส้นทาง แล้วในสองเส้นทางก็สามารถแตกแขนงออกไปได้อีกสองเส้นทาง สามารถเป็นแบบนี้ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าชีวิตจะจบสิ้น.
ส่วนตัวหนังเมื่อใช้คอนเซปการเล่าเรื่องแบบนี้ร่วมด้วยการไม่ลำดับเวลาในโลกคู่ขนานของชีวิตหนึ่งที่แตกแขนงไม่นับถ้วน ผลลัพท์มันเลยครอบคลุมไว้ด้วยความไม่บันเทิงเลย แต่จะชวนให้ขบคิด/จับคู่เหมิอนกำลังได้ต่อจิ๊กซอร์ในเส้นทางชีวิตที่แตกแขนงของชายคนนี้ไปเรื่อยๆ ดี, ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าถ้าจะรู้สึก งงกับหนัง ตามไม่ทันหรือไม่เข้าใจคอนเซปทั้งหมดที่หนังวางไว้ เพราะท้ายที่สุด การเฉลยอย่างหนึ่งในตอนจบของหนังมันทำให้ทุกอย่างเข้าใจง่ายในพริบตาขึ้นมาทันที.

สำหรับสิ่งที่ฉันชอบมากที่สุดก็คือ สิ่งที่ถูกอธิบายไว้เส้นเรื่องหลักผ่านผู้หญิงทั้งสามคน

***สปอยไว้หน่อย***

ในตอนที่พ่อแม่แยกทางกัน
ถ้านีโมไปกับแม่ ผู้หญิงในเส้นเรื่องนี้ของนีโมก็คือแอนนา
ถ้านีโมอยู่กับพ่อ ผู้หญิงในเส้นเรื่องนี้ของนีโมก็คือเอลิส
ถ้านีโมอยู่กับพ่อ และช่างหัวเอลิสที่ไม่รับรักเขา ผู้หญิงในเส้นเรื่องนี้ของนีโมก็คือจีน

ภายใต้สามเส้นเรื่องคู่ขนานนี้มันก็แตกแขนงไปได้ต่อเช่นกัน ในเส้นเรื่องของผู้หญิงสามคนนี้ สิ่งที่วิ่งเข้าหานีโมล้วนเหมือนกันหมดคือ ความตาย แต่มันก็แตกแขนงไปได้ต่อเช่นกันผ่านทางเลือก นีโมตายหรือนีโมไม่ตาย.
สำหรับสิ่งที่ถูกอธิบายไว้ในสามเส้นเรื่องนี้ที่ฉันกล่าวถึงไว้ มันก็คือความรู้สึกของตัวละครที่แตกต่างกันไป
ในเส้นเรื่องของจีน คนที่น่าสงสารที่สุดก็คือจีน
ในเส้นเรื่องของเอลิส คนที่น่าสงสารที่สุดก็คือนีโม
และในเส้นเรื่องของแอนนา คนที่น่าสงสารที่สุดก็คือทั้งคู่ ทั้งแอนนาและนีโม

โดยองค์ประกอบหลักที่ส่งต่อให้เกิดความรู้สึกที่ว่าทั้งสามเส้นเรื่องก็คือ เรื่องของความรัก
กับเอลิส นีโมรักผู้หญิงคนนี้มากถึงมากที่สุด ยอมแลกทุกอย่างเพื่อผู้หญิงคนนี้ แต่เอลิสไม่ได้รักนีโม การอยู่กับนีโมเหมือนการทรมานตนเอง
กับจีน คนที่น่าสงสารสุดก็คือจีน เพราะนีโมเลือกจีนเป็นคนรักเพราะต้องการประชดรักต่อเอลิสที่ไม่ได้รักเขา แต่ไม่ว่ายังไงชีวิตคู่ตลอดมาของจีนและนีโมกับลูกๆ ทั้งสอง ก็ลงเอยด้วยการสื่อออกมาผ่านตัวจีนเองว่า เธอน่ะรักนีโมแต่เหมือนนีโมไม่เคยมองมาทางเธอเลยแม้แต่นิด
และกับแอนนา เพราะทั้งคู่นั้นรักกัน แต่ชะตาเล่นตลกผ่านน้ำมือพ่อแอนนาแม่นีโมหรือไม่ก็ตัวนีโมหรือไม่ก็ความตายทำให้ความรักของต้องพลัดพรากจากกันในหลายเส้นเรื่องที่แตกแขนงเหล่านั้น.

ตอนแรกก็คิดนะว่า โดยรวมของตัวหนังมันดูแห้งแล้งไร้อารมณ์ไปหมด แต่พอรับชมจนจบแล้วมานั่งพินิจซ้ำซักหน่อย ก็จะพบการบอกใบ้ไว้ในเส้นเรื่องหนึ่งอยู่แล้ว ภายใต้ความแห้งแล้งไร้อารมณ์และชีวิตในโลกคู่ขนานนับไม่ถ้วนนั้น มันจะมีอยู่เส้นเรื่องหนึ่งที่เต็มไปด้วยอารมณ์และความมีชีวิตชีวาเท่าที่จะหาจังหวะเกิดขึ้นได้ นั่นก็คือเส้นเรื่องของแอนนา ที่ท้ายที่สุดบทสรุปของหนังในตอนจบก็คือการเฉลยว่าเส้นเรื่องที่น่าจะลงเอยเป็นหลักและเป็นไปได้มากที่สุดนั้นก็คือ นีโมกับแอนนา นี่แหละ.

Freakstars 3000 (2004)

Freakstars 3000 (2004)

Freakstars 3000 (2004 / Christoph Schlingensief)
(Germany)

เพื่อดาวดวงนั้นแม้ฉันต้องฝ่าฟัน
เพื่อดาวดวงนั้นฉันจะทำให้เหนือกว่า
เพื่อดาวดวงนั้นฉันพร้อมจะไขว่คว้า
และจะทำให้โลกได้รับรู้ฉันจะเป็นดาว

นี่คือภาพยนตร์กึ่งสารคดี(มั้ง)ในรูปแบบรายการซ้อนรายการกับการคัดเลือกเหล่าผู้พิการ(เช่น พิการทางสมอง/ปัญญาอ่อน/เป็นง่อย/ดาวน์ซินโดรมในหลายๆระดับแล้วแต่คน ที่บางคนก็ดูปกติเลยก็มี)จากบ้านพักพิงแห่งใหญ่ที่นึง ตัวเรื่องจะตัดสลับพวกการประกวดของผู้เข้าร่วมด้วยการร้องเพลงหรืออ่านกวีอะไรก็ได้กับพวกรายการนั่งคุยข่าว/วิจารณ์การเมืองที่เหล่าผู้พิการนี้แหละรับบทบาทเล่นกันเอง, ในช่วงการประกวดให้ผู้เข้าร่วมแสดงความสามารถมันดูจริงมาก ซึ่งตัว Christoph Schlingensief ที่เป็นกรรมการก็มีทางออกให้ในระดับที่เป็นมิตรและใจดีกับพวกเขาทุกคนเช่นกัน ทั้งหมดคัดกันสามรอบก่อนจะรวมกลุ่มกันได้เป็นวงๆ หนึ่ง ที่สุดท้ายจะถูกผลักดันไปสู่การเล่นใหญ่ที่สุดแสนประทับใจในพลังบวกที่สร้างความซาบซึ้งให้ฉันอย่างเลี่ยงไม่ได้ กับการขึ้นโชว์แสดงสดต่อคนดูมากมายในฮอลใหญ่กันไปเลย.

นั่นคือสายตาของฉันต่อหนังแบบใสซื่อหลังรับชมจบ แต่พอไปหาอ่านที่คนอื่น ๆ เขียนถึงก็พบว่า มันสามารถมองภาพยนตร์เรื่องนี้ในอีกมุมมองแบบตั้งแง่ต่อตัวภาพยนตร์ได้เช่นกัน ว่า Freakstars 3000 นี่คือบทบาทการล้อเลียนสื่อทีวี/รายการดังๆ ของเยอรมันที่ใช้ประโยชน์จากเหล่าเหล่าผู้พิการกลุ่มนี้โดยที่พวกเขาไม่ได้รับรู้ถึงเป้าหมายแอบแฝงเลยเพราะโดนความปราถนาดีในพลังบวกที่ถูกใช้เป็นกำลังใจต่อพวกเขาบดบังอยู่.

แต่ไม่ยังไง ผลลัพท์ที่สื่อถึงเหล่าผู้พิการทั้งหมดในภาพยนตร์เรื่องนี้ มันเปรียบได้ดั่งคุณค่าทางจิตใจที่มอบความสุขต่อพวกเขาเฉกเช่นผู้คนทั่วไปเลย ไม่มีหรอกการทำร้ายจิตใจ บั่นทอนพลังใจ หรือเหยียดทำตลกขบขันใส่พวกเขา บรรยากาศทั้งหมด Christoph Schlingensief คุมไว้แล้วส่งต่อให้พวกเขาโดยตรงมันคือความจริงใจและพลังบวกที่จริงที่สุดเลยก็ว่าได้.

แอบตลกร้ายตอนที่พวกเขาวง Freakstars 3000 ต้องขึ้นแสดงสดต่อหน้าคนดูทั่วไป อย่างเราคนดูภาพยนตร์จะก็พอสัมผัสได้แล้วแหละว่า วงของพวกเขาไมได้ดีเยี่ยมแล้วพร้อมจะล่มได้ทุกเมื่อถ้าอิงพื้นฐานความเป็นวงดนตรีเล่นดนตรีอ่ะนะ แต่พอ Christoph Schlingensief ประกาศคำนึงมาเท่านั้นแหละ ทุกอย่างล้วนคลี่คลายหมดแบบไม่ต้องพิงกังวลพื้นฐานทางดนตรีใดๆ ทั้งนั้น คำๆ นั้นก็คือ ” Long live free jazz! “

Men Who Save the World (2014)

Men Who Save the World (2014 / Liew Seng Tat)
(Malaysia / Germany / Netherlands / France)

หนังตลก…ตลกไม่ออก

ชายแก่คนหนึ่งต้องการบ้านฝรั่งในป่า ที่เรียกกันว่าบ้านฝรั่งเพราะบ้านทาสีขาว(white house) เพราะลูกสาวจะแต่งงานเลยคุยกับในหมู่บ้านกันว่าจะทำการยกบ้านหลังนี้ออกจากป่ากัน แต่แล้วคืนหนึ่งไอ้หนุ่มติดหลอนบอกว่าเห็นเงาคนตัวดำสูงในบ้านฝรั่งนั่น ตอนแรกผู้คนเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างแต่ส่วนใหญ่ก็ไม่เชื่อหรอกกันหรอกเพราะไอ้หนุ่มมันชอบหลอน จนกระทั่งเด็กสาวบางคนเกิดรอยช้ำที่แขน วัวของบางคนหาย ชายแก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพวกนี้ก็บอกว่าเหลวไหลทั้งเพ ให้อูฐของผู้ใหญ่บ้านที่ศซื้อมาเพื่อรอเชือดวันอีดก่อนเถอะมันถึงจะจริง ผ่านไปคืนนึง เช้ามา เฮ้ อูฐหาย หายได้ไง กุญแจก็เก็บไว้ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน แล้วผู้คนในหมู่บ้านก็ไม่กล้าที่จะไปยกบ้านนั่นต่อกันอีกเลย เพราะกลัวอาถรรพ์บ้านฝรั่งนั่น…..

…ในมุมชายแก่เขาก็ไม่เชื่อเรื่องอาถรรพ์เรื่องผีสางอะไรอยู่ดี พอๆ กับคนดูที่ล้วนเข้าใจเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้อยู่ดีว่า มันคือเรื่องบังเอิญทั้งสิ้น แต่หนึ่งคนไม่เชื่อหรือจะสู้กับคนทั้งหมู่บ้านที่เชื่อไปแล้วได้ล่ะ จากความแค่ไม่แน่ใจในสิ่งที่เห็นของหนุ่มหลอนพอผู้ใหญ่บ้านเรียกหมอผีมาพิสูจน์ในเรื่องนี้ มันก็กลายเป็นเพิ่มน้ำหนักให้เรื่องสิ่งที่ไอ้หนุ่มหลอนเห็นนั้นได้กลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นพร้อมชื่อเรียกของผีตนนั้นตามสารบบผีของมาเลขึ้นมาในทันที ผีตนนั้นที่อ้างอิงขึ้นมันจะทำร้ายผู้คนด้วยการข่มขืนผู้หญิงเป็นหลัก ฉะนั้นชาวบ้านผู้ชายต้องปกป้องลูกเมียตัวเองด้วยการแต่งตัวสลับเพศ ผู้หญิงก็แต่งตัวเป็นบังไป ส่วนพวกผู้ชายก็สวมฮิญาบชุดเมียแล้วรวมกลุ่มกันออกไล่ล่าผีร้ายตนนั้นยามค่ำคืนกัน.
แล้วที่ไอ้หนุ่มหลอนนั่นเห็นน่ะ มันคือการหลอนไปหรือเปล่าล่ะจริงๆ แล้ว … ก็ไม่นะ ไอ้หนุ่มหลอนเห็นจริงที่บ้านฝรั่งนั่น แต่ไม่ใช่ผีห่าใดๆ ทั้งนั้น มันคือชายผู้อพยพผิดกฏหมายชาวแอฟริกาตัวดำผอมสูงเท่านั้นเอง…..

จากบรรยากาศหนังก็อย่างที่ว่าไป มันมีความเป็นหนังตลกปกคลุมไว้อย่างโจ่งแจ้ง แต่เหตุการณ์/สิ่งที่เกิดขึ้นบางอย่างมันหนักหนาเกินกว่าจะตลกออก โดยเฉพาะตอนจบ ดนตรีนี่โคตรบิ้วส์ไปทางนึงมาก แต่ผลลัพท์ในภายภาคหน้าที่กำลังจะเกิดขึ้นรู้ๆ กันแหละว่าแม่งต้องเลวร้ายฉิบหายแน่นอน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น จากที่ชายแก่คิดจากคนดูรู้มันก็กลายเป็นน้ำหนักทางความคิด/ความเชื่อของคนในหมู่บ้านต่อสิ่งหนึ่งมันก็น่าจะกลายเป็นจริงขึ้นมาแล้วสำหรับพวกเขา.

Eine Flexible Frau / ‎The Drifters (2010)

Eine Flexible Frau / ‎The Drifters (2010 / Tatjana Turanskyj)
(Germany)

กว่าจะจูนกับหนังติด ก็พาเอาลืมเนื้อหาของหนังช่วงครึ่งแรกไปหมดสิ้นละ
ไอ้การร่วงหล่นของนางนั้น ตอนแรกก็สงสารและเห็นใจ แต่ไปๆ มาๆ นิสัยบวกเหล้ามันยิ่งดูเป็นการทำตัวเองล้วนๆ เมื่อร่วงหล่นก็ยากจะขึ้นมาได้ด้วยตัวเองละ สุดท้ายเลยดูเป็นการปล่อยไหลแบบไม่แคร์เหี้ยไรทั้งสิ้นไป

ในเมื่อขี้เกียจเขียนถึงหนังเอง ก็ขอแปะของคนอื่นที่เขียนถึงหนังโดยละเอียดไว้แทนเอาละกัน

John Wick: Chapter 4 (2023)

John Wick: Chapter 4 (2023 / Chad Stahelski)
(USA / Germany)

ภาค 1 ค่อนข้างชอบ
ภาค 2 รักมากกกกก
ภาค 3 ผิดหวังและไม่ชอบเอาซะเลย
ภาค 4 ยอดเยี่ยมครับ

เหตุผลที่ทำให้ไม่ชอบภาค 3 ก็คือเหมือนถูกหักหลังจากความคาดหวังภายหลังดูภาค 2 จบ แล้วเนื้อหาสิ่งที่คาดหวังไว้ทั้งหมด มันก็ได้มาปรากฏในภาค 4 นี้แทน ส่วนภาค 3 ก็ได้เป็นการยืดและเพิ่มเนื้อหาในส่วนของสภาสูงเข้ามาแทน เลยทำให้จากภาค 1 ที่เป็นเรื่องของนักฆ่า ไปสู่ภาค 2 ที่เป็นโลกของนักฆ่า ปลายทางของจอห์น วิคหลังภาค 2 ที่เคยคาดหวังให้เอาตัวรอดและฟาดฟันพวกองค์กรนักฆ่าที่ไล่ฆ่าเขาอาจรวมไปถึงกำจัดนายหัวขององค์กรนักฆ่าอะไรแบบนั้น แต่พอหนังภาค 3 เพิ่มสภาสูงที่ควบคุมองค์กร/โลกนักฆ่าไว้ เลยทำให้ภาค 4 เพิ่มความแค้นของจอห์น วิคอัดเข้าไปสู้สู่ฝั่งพวกสภาสูงมีอำนาจพาวเวอร์สูงล้ำแทนที่จะหยุดไว้แค่ประมาณองค์กรนักฆ่าแบบภาค 2, รวมไปถึงมิติที่เพิ่มเข้ามาเพราะการมีอยู่ของพวกสภาสูง ถ้าไม่มีสภาสูงหนังคงลงเอยบทสรุปแบบที่จอห์น วิคคิดเอาไว้เองว่า ฆ่าแม่งจบ แต่พอวินสตันเตือนสติถึงการมีอยู่ของสภาสูง ฆ่าแม่งจบก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทางลงของจอห์น วิคจึงจำเป็นต้องเล่นในเกมของสภาสูงแล้วเอาชนะมาให้ได้แทน.

สำหรับความเมามันส์ประเคนฉากแอคชั่นกระหน่ำมาตลอดสองชั่วโมงเกือบสามชั่วโมงนี้ บางคนอาจเบื่อบางคนอาจเต็มอิ่ม แต่สำหรับมุมมองฉันคือ ถ้ามือไม่ถึงครีเอทออกแบบฉากบู๊มาไม่ดี แม่งคงเป็นอะไรที่น่าเบื่อมากพอดู แต่ John Wick 4 สามารถรอดตัวไปได้สำหรับฉันที่แม้จะอัดกระหน่ำฉากแอคชั่บู๊มาเยอะแยะแต่ก็ยังคงเพลิดเพลินและมีอะไรให้น่าทึ่งได้เรื่อยๆ
ถ้าจะยกตัวอย่างเรื่องที่อัดจุดขายเป็นแอคชั่นลองเทคหนึ่งชั่วโมงครึ่งแบบเรื่อง Crazy Samurai: 400 vs 1 (2020) ผลลัพท์ควรตื่นตาตื่นใจตามจุดขายกลับกลายเป็นความน่าเบื่อสัสๆ ไป คิวบู๊วนไปวนมาเป็นสิบยี่สิบรอบผ่านสตั้นต์คนนั้นๆ ที่มีคิวบู๊เฉพาะเจาะจงกันไป ส่วนถ้าเป็นแบบมีแอคชั่นน้อยได้มากโคตรๆ ชนิดที่เหนือชั้นมันส์และอิ่มได้ในทันทีก็คือ Baby Assassins (2021) แอคชั่นน้อยแต่การออกแบบคิวบู๊คือเหนือชั้นสัสๆ อึ้งทึ่งจุดใจและมันส์สุดๆ ในเวลาอันสั้น.

ปล. ในที่สุดก็ได้เก็ทมุกบันไดกับเขาซักที 😃

Quiet Days in Clichy (1990)

Quiet Days in Clichy (1990 / Claude Chabrol)
(France / Italy / Germany)

ถ้าตั้งเกณฑ์การให้คะแนนยึดโยงกับความโป๊ของหนังล่ะก็ หนังเรื่องนี้จะอยู่ในเรทคะแนนที่ 8.5-9.5/10 ได้เลย เพราะความโป๊มันมันเปิดเผยกันได้อร่างฉ่าง ทรวดทรงเต้านมของนักแสดงหญิงแต่ละคนที่ดูคัดมาแล้ว เด็ดดวงทรงสวยกันทุกคน รวมไปถึงการโป๊ทั้งตัวเห็นช่วงล่างกันแบบสมกับเป็นหนังฝรั่งเศส มาทั้งป่าดงดิบและเกาเหลาครบ,

ก็นั่นแหละ ถ้าตั้งเกณฑ์ไว้ขึ้นตรงอยู่กับความโป๊ของหนังแบบนั้นอ่ะนะ แต่สำหรับฉันที่เลิกเอาเกณฑ์ความโป๊นำทางและมีผลต่อคะแนนไปนานละ (แต่ก็ยังชอบเสพความโป๊ในหนังอยู่ดี) เมื่อความโป๊ไม่ได้ขึ้นตรงว่าต้องชอบหนังตามความโป๊ไปด้วย หนังเรื่องนี้ที่กำกับโดย Claude Chabrol (ฉันเลือกดูเรื่องนี้เพราะผู้กำกับเลยนะ) ฉันว่าฉันไม่ชอบหนังเอาซะเลย อาจเพราะสัมผัสได้ถึงการดำเนินเรื่องที่ลอยไปลอยมา วุ่นวายและยุ่งเหยิงไปหมดแลดูเรื่องราวมันไม่มีความจริงจังอะไรซักอย่างเลย จนฉันที่จับต้องอะไรในหนังแทบไม่ได้เลย พอจับต้องไม่ได้ก็รู้สึกว่าหนังมีเส้นเรื่องด้วยเหรอ.

เอาสรุปง่ายๆ เลยคือผิดหวังแหละ แม้จะได้ควาวมโป๊มาพอเยียวบ้างก็ตาม, แต่ช่วงเวลาในหนังที่รู้สึกชอบมากที่สุดคือช่วงเวลาที่ตัวละครสามคนออกจากปารีสไปฮันนีมูนกันที่ชนบทอ่ะ.

Sikkfukks: The Black Sun Snuff Dolls (2019)

Sikkfukks: The Black Sun Snuff Dolls (2019 / Ocelot)
(Germany)

เหี้ย โคตรชอบพลอตหนังตอนที่ตัวละครเล่าขยายเลย เจ้าของอพาร์ทเม้นต์ที่พวกคลั่งนาซี เขาบอกเมื่อปี 1945 ตอนที่ชัยชนะดูเหมือนจะไม่ประสบผลสำเร็จ พวกเขาได้หนีไปตั้งรกรากกันที่ดาว Black Sun ด้วยจานบินที่สร้างกันไว้ เมื่อพวกเขาทราบข้อมูลของบรรพบุรุษตรงนี้แล้ว กลุ่มคลั่งนาซีก็ได้เริ่มวิจัยและเขียนแบบแปลนเพื่อสร้างจานบินแบบเดียวกับที่บรรพบุรุษเคยสร้างไว้เพื่อเดินทางไปที่ดาว Black Sun ที่ๆ เหล่าบรรพชนจักรวรรดิไรซ์ที่ 3 ตั้งรกรากกันอยู่ ติดปัญหาอยู่อย่างเดียวคือค่าใช้จ่ายในการสร้างมันสูงเอามากๆ แต่พวกเขาก็ได้ค้นพบวิธีหางานจำนวนมากในเวลาอันสั้นได้ นั่นก็คือ การถ่ายทำ Snuff films ขาย

ช่วงกลางเรื่องที่ดูจะเป็นการพรีเซนต์ความโหดแหวะกับพิธีกรรมการถลกหนังหัวจนเห็นกะโหลกแล้วควักคว้านลูกตา,เปิดกะโหลกจ้วงสมองคน ก็ไม่รู้สินะ สำหรับฉันแม่งโคตรน่าเบื่อเลยช่วงนี้
ส่วนช่วงท้ายๆ ทีแรกก็แอบมาแบบหลอนประสาทตัวเอกที่เป็นตัวหลักในฐานะเหยื่อของการโดนคุกคามจากกลุ่มคลั่งนาซีนั่น แต่พอถึงตอนจบ อ้อ มันคือแผนการของกลุ่มคลั่งนาซีที่เลือกหมากเอาไว้เพื่อใช้งานในนาทีสุดท้ายของภารกิจสำคัญระดับชาติของพวกเขานี่เอง (แอบหลุดขำนิดนึง5555)

Spies (1928)

Spies (1928 / Fritz Lang)
(Germany)

ไม่หวือหวาไม่ท่ายากไม่ซับซ้อนไม่ปั่นหัวคนดู เรียบๆ ตรงๆ แต่คงไว้ซึ่งความน่าติดตามได้ตลอดสองชั่วโมงครึ่ง นี่สิ ฟริตซ์ แลง.

หนังว่าด้วยองค์กรตัวร้ายที่มีเครือข่ายทุกซอกทุกมุม มีสปายแฝงตัวอยู่ทุกที่โดยเฉพาะสปายหญิงที่คงประสิทธิภาพทุกภารกิจ ไม่มีใครรู้ว่าหัวหน้าองค์กรคือใคร ถ้าจะมีคนรู้คนๆ นั้นก็จะถูกเก็บในทันที ชนิดที่ว่าโดนซุ่มยิงตายต่อหน้าองค์กรตำรวจเลย
จากชื่อหนังตอนแรกก็คิดว่า สปายคือตำแหน่งในฝั่งพระเอก แต่ไม่ใช่เลย ฝั่งพระเอกคือ Agent พร้อมหมายเลข 326 แทน แล้วก็เหมือนจะชูการปลอมตัวแอบแฝงของพระเอกในครอบคนจรจัดซกมก แต่พริบตาเดียวหัวหน้าองค์กรตัวร้ายก็แหก Agent 326 ในทันทีแล้วมอบหมายให้สปายหญิงมือดีเข้าแทรกแซงขัดขวางการทำงานด้วยเสน่ห์แบบผู้หญิงนี่แหละ ซึ่งก็ได้ผลพระเอกหลงกลแบบคนคลั่งรักแต่ในเวลาเดียวกัน นางเอกสปายหญิงก็ตกหลุมรักพระเอกเช่นเดียวกัน เป็นความรักที่แรงกล้าที่พร้อมจะผลักดันให้ตนเองหาทางแยกตัวออกจากองค์กรนี้ที่เป็นไปได้ยาก เพราะหัวหน้าไม่คิดจะปล่อยเธอไปจากองค์กรอยู่แล้ว

ภายใต้พลอตรัก Agent ♥ Spy ที่โดนขวางทางกันไว้ หน้าที่ของพระเอกก็จะดำเนินต่อคือการพยายามตามหานางเอกผ่านสปายชายหนวดงามคนหนึ่งต่อ ส่วนฝั่งองค์กรตัวร้ายก็วางแผนฉกสนธิสัญญาสันติภาพของญี่ปุ่นจากบุคคลสำคัญของญี่ปุ่นมาให้ได้ และแน่นอน สิ่งที่ทรงประสิทธิภาพและได้ผลที่สุดในมุมมองเมื่อเกิอบ 100 ปีก่อน นั่นก็คือ ตัณหาราคะ เมื่อเป้าหมายผู้ชายก็ที่้มักตกหลุมพรางเมื่อเจอผู้หญิงสวยน่ารักขี้อ้อนเข้าประชิดตัวแบบอินโนเซนต์นั่นเอง แม้จะรู้ตัวว่าโดนเฝ้ามองและตกเป็นเป้าแต่ก็ไม่เคยตระหนักเลยว่าผู้หญิงตัวน้อยคนนี้คือสปายที่แอบแฝงมาซะงั้น

ช่วงท้ายเรื่องนี่อารมณ์โคตรลุ้นระทึก ลุ้นตามจนตัวเกร็งเลย ส่วนจังหวะตอนจบหนังก็ตัดได้เข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดีจัง

แม้บรรทัดแรกสุดจะกล่าวถึงภาพรวมของหนังไว้ แต่กับฉากๆ หนึ่งก็รู้สึกเหวอบ้างนิดๆ เพราะมันคือการโฟกัสสิ่งหนึ่งแบบหลุดโทนหนังสปายสายลับไปพอสมควร นั่นคือการโฟกัสความเป็นญี่ปุ่นผ่านพิธี seppuku หรือ harakiri นั่นเอง ในช่วงที่ภารกิจของคนญี่ปุ่นล้มเหลว ฟริตซ์ แลงเลยลากยาวถึงพิธีคว้านท้องนี้ใส่ไปเต็มๆ เลย แม้จะหลบมุมกล้องไปบ้างแต่ก็เหวอกับการโฟกัสฉากนี้เต็มๆ ในหนังอยู่ดี

Spies คือผลงานเรื่องถัดจากหนังอมตะนิยมเรื่อง Metropolis (1927) ที่ผลกระทบที่ฟริตซ์ แลงต้องเจอระหว่างการถ่ายทำผลงานเรื่องมาก็คือ สภาวะค่ายหนัง UFA ที่เกือบล้มละลายจากการสร้าง Metropolis จึงทำให้ Spies ถูกจำกัดในทุนสร้างที่จำนวนน้อยเอามากๆ แต่ฟริตซ์ แลงก็แก้ไขสถานการณ์ตรงหน้าได้ดีด้วยการเลือกถ่ายภาพส่วนใหญ่ในฉากแคบๆและโคลสอัพจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องสร้างฉากใหญ่อลังการเพื่อถ่ายทำก็ได้

เกร็ดหนังอีกเรื่องที่มองให้เป็นมุกโนแลนควรมากรอบท่านทวดฟริตซ์ แลงนะ เพราะฉากนึงในเรื่องนี้มันเกิดขึ้นจากความหมกหมุ่นของฟริตซ์ แลงในเรื่องความสมจริงที่นักแสดงจะรู้สึกแสดงกลัวออกมาจริงๆ ซึ่งความสมจริงที่ฟริตซ์ แลงนั่นก็คือ การเลือกใช้กระสุนจริงในฉากหนึ่ง เป็นการยิงปืนใส่กระจกที่อยู่ด้านหลังนักแสดงในฉากที่พระเอกกับนางเอกหลบกระสุนปืน ..โชคดีที่ผ่านพ้นไปไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ

The Sad Girls of the Mountains (2019)

The Sad Girls of the Mountains (2019 / Candy Flip, Theo Meow)
(Germany)

วัยรุ่น depressive สี่คนถอนตัวออกจากสังคมปิตาธิปไตย แล้วไปเริ่มใช้ชีวิตใหม่สร้างยูโทเปีย feminism ของตัวเองในบ้านพักบนภูเขา พวกเธอเปลี่ยนความทุกข์ยากเศร้าสร้อยให้กลายเป็นการผลิตผลงานเชิง หนังโป๊ แล้ววางขายออนไลน์ผ่านเว๊บไซต์ที่ชื่อว่า “Sad Girls” เปลี่ยนเป็นเงินใช้เป็นทุนเพื่อการอยู่รอดในสังคมเล็กๆ ของพวกเธอบนเขานี้

ตัวละครกลุ่มต่อมาคือนักข่าวชายพร้อมตากล้องหญิงช่อง “gonzo” ที่ตามรอยจากหน้าข่าวตามเนตที่เขียนถึงกลุ่ม Sad Girls กลุ่มนี้ แล้วพยายามแทรกซึมเพื่อเข้าถึงกลุ่มสี่สาวนี้แบบถึงถิ่นบนเขาด้วยเป้าหมายแอบแฝงอย่างหนึ่ง โดยหน้าฉากเหมือนพวกเขาเข้าไปแบบทีมงานถ่ายทำสารคดี ก่อนจะตามมาด้วยข้อสงสัย การเข้ามาของ”ผู้ชาย”ในสังคมยูโทเปีย feminism/lesbian มันจะก่อเกิดความแตกแยกทางความคิดต่อกันหรือไม่

ตอนแรกคิดว่าเป็นสารคดีของจริงเลยนะนั่น แต่พอดูๆ ไป ก็เริ่มชัดว่า มันคือ mockumentary จริงๆ ก็เอะใจตั้งแต่โลโก้ช่อง gonzo แล้ว เพราะมันแทบจะลอกมาจาก Vice เลย
แล้วเอาจริงๆ นี่จับจุดหนังเข้าใจตามได้เฉพาะตอนเริ่มกับตอนจบเท่านั้น ที่เริ่มอธิบายสี่สาวกลุ่ม Sad Girls นั่น แล้วมาเก็ทในตอนจบว่า นักข่าวชายมันมาเพราะมีภารกิจแอบแฝงอยู่เบื้องหลังต่อกลุ่ม Sad Girls นี้จริงๆ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ หนังมันไม่มีซับเลยอ่ะเดะ กว่า 99% คือพูดเยอรมันกันทั้งเรื่อง – –
เลยทำให้เกิดความน่าเสียดายที่ไม่อาจเข้าใจสิ่งที่ตัวหนังต้องการสื่อ มุมมองความคิดอุดมการณ์ของ วัยรุ่น depressive/feminism/lesbian ที่เผยออกมาต่อการพูดคุยกับ”ผู้ชาย”คนนี้ พวกเธอรับได้/ปรับตัวได้ที่จะให้ผู้ชายมาอยู่ใต้ชายคาเดียวกันนี้ พวกเธอไม่ได้แสดงความรังเกียจแบบที่ส่วนใหญ่เข้าใจว่า feminismนั้นเกลียดผู้ชาย ยิ่งมีเรื่องเงินทองเข้ามาเกี่ยวด้วยก็ยิ่งคุยกันได้ไม่ยาก แต่ก็นั่นแหละ การถกการคุยการทำความเข้าใจนักข่าวต่อมุมมองความคิดของสี่สาวกลุ่มนี้ มันคงน่าสนใจไม่น้อย อาจเต็มไปด้วยการกัดการแซะแนวคิดกันก็ได้ใครจะไปรู้ เพราะเห็นใน Letterboxd รีวิวภาษาเยอรมันให้กันหลายดาว แปลๆ ดูพวกเขาสนุกและขบขันกับความตลกร้ายใน mockumentary เยอรมันเรื่องนี้กัน.