Archive | June 2023

Crows Are White (2022)

Crows Are White (2022 / Ahsen Nadeem)
(USA / Ireland / Japan)

แรกเริ่มเดิมที ซับเจกต์ ของสารคดีเรื่องนี้ก็คือ คามาโฮริ โคเงน พระรูปหนึ่งที่อยู่ระหว่างการทําวัตรอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ไคโฮเกียว (回峰行-Kaihogyo) หรือการธุดงค์รอบภูเขา (อ่านเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ที่นี่) อาจรวมไปถึงบรรยากาศมุมมองความตรึงของบรรดาพระที่นี่ด้วยก็ได้ ที่บางคราวก็เหมือนทางอารามต้องการเผยแพร่ภาพรวมขอวัด,การศึกษาและการเรียนรู้ศาสนาพุทธนิกายเทนไดนี้ แต่บางคราวก็เหมือนทางอารามต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องการคนนอกมาเข้าใกล้ใดๆ ทั้งนั้น.

ระหว่างนั้นซับเจกต์ก็เหมือนกว้างขึ้น อันเนื่องมาจากการถ่ายทำที่ อารามในเทือกเขาฮิเอย์ที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเทนได นั้นค่อยข้างละเอียดอ่อน บางสิ่งบางอย่างที่ทีมงานไม่ต้องการให้เกิดได้ไปรบกวนการทําวัตรของพระที่นี่ พวกเขาจึงถูกเชิญออกมาจากอาราม, ซับเจกต์ที่กว้างขึ้นนั้นฉันมองว่ามันได้กลายเป็นการพูดถึงเรื่องศาสนากันแทนแล้ว ซึ่งมันก็น่าสนใจตั้งแต่ตัวผู้กำกับ Ahsen Nadeem ที่เป็นมุสลิมนับถือศาสนาอิสลามมาทำสารคดีเกี่ยวกับพระและศาสนาพุทธในญี่ปุ่นนี่แหละ โดยการลงลึกเรื่องของศาสนาในสารคดีเรื่องก็จะจัดแบ่งเป็นสองศาสนาตรงๆ นั่นคือฝั่งมุสลิมของผู้กำกับ และฝั่งพุทธจาก Ryushin พระวัยรุ่นคนหนึ่งที่ผู้กำกับได้บังเอิญรู้จักระหว่างการไปกลับอารามนั่น
ทั้งคู่มีอะไรเหมือนๆ กัน นั่นคือนับถือศาสนาที่ได้รับตั้งแต่เกิดมาแต่ค่อยเคร่งหรือหาสิ่งที่ตัวเองทำแล้วมีความสุขแม้มันจะผิดหวังศาสนาก็ตาม อย่างตัวผู้กำกับหลังจากบินมาอยู่อเมริกาเขาก็ไม่เคยละหมาดอีกเลย ส่วน Ryushin ที่ต้องมาเป็นพระคือสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ครอบครัวต้องการให้เขาเป็นผู้สืบทอดวัดต่อ โดยสิ่งที่ Ryushin ทำแล้วมีความสุขลับหลังความเคร่งตามหลักของศาสนาพุทธก็คือ ดนตรีเฮฟวี่เมทัล มีวงโปรดคือ Slipknot, Megadeath, Slayer อยู่กับครอบครัวเนื้อก็กินเหล้าก็กิน แล้วช่วงชีวิตหนึ่งเขาก็ไม่อยากพลาดคอนเสิร์ต Slayer ที่มาเล่นในญี่ปุ่น ถึงกระนั้น Ryushin ก็ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทางจนเกินไป อย่างมากเลยในสายตาคนพุทธที่ดูดูสารคดีนี้อาจมองว่า Ryushin นั้นไม่สำรวม ตัว Ryushin ก็มีฝันเล็กๆ ที่เป็นอิสระแต่เพราะครอบครัวเขาจึงเป็นพระ แม้จะไปตามฝันได้ยากเขาก็ไม่ต่อต้านการเป็นพระหรอก ตัว Ryushin เองก็ต้องการเลื่อนขั้นไปอีกระดับเหมือนกัน เพราะตอนนี้ระดับการเป็นพระของเขา มันช่างเบื่อเสียเหลือเกิน


ความสนิทสนมของ Ahsen กับ Ryushin นี่มันถึงขั้นพูดจาหยอกกันผ่านศาสนาเลยก็ว่าได้ Ahsen ที่กลัวตกนรกเพราะทำผิดหลักศาสนาอิสลาม Ryushin “บอกอย่าไปกลัว ถ้านายจะตกนรกละก็ ฉันจะไปนรกเพื่อช่วยนาย ฉันจะขอความช่วยเหลือจากบุดดาให้เขาช่วย Ahsen เพื่อนของเขาคนนี้….” บทสนทนานี้เกิดขึ้นตอน Ryushin ดื่มเหล้า, ตัวสารคดีช่วงที่อยู่กับ Ryushin นี่บรรยากาศมันสนุกมันเอนจอยมากๆ.

แต่ท้ายที่สุดแล้วตัวซับเจกต์จริงๆ ที่ถูกนำเสนอออกมาได้แบบจริงจังเหลือเกินเลยนั่นก็คือชีวิตของตัว Ahsen Nadeem ผู้กำกับนั่นแหละ เพราะเมื่อสารคดีเน้นไปทางศาสนาระหว่างพุทธของ Ryushin การเป็นมุสลิมของ Ahsen ก็มาพร้อมปัญหาที่เขาสร้างขึ้นแบบฝืนหลักคำสอนของอิสลาม นั่นก็คือ เขารักสาวอเมริกันแล้วเขาได้แต่งงานเธอ โดยไม่ได้บอกพ่อแม่เขา เขามีทั้งความกลัว กลัวพ่อแม่จะผิดหวังกลัวพ่อแม่จะไม่รักเขาอีก ในเวลาเดียวกันภรรยาเขาก็ไม่อยากที่จะอยู่แบบสถานะหลบๆ ซ่อนๆ แบบนี้ ตัวสารคดีเลยค่อยๆ กลายเป็นการเฝ้ามองดู Ahsen Nadeem แก้ปัญหาชีวิตจุดที่ใหญ่หลวงที่สุดที่เขาพบเจอและแบกมันมาปัญหานี้

แม้จะบอกว่าซับเจกต์มันกลายพันธุ์ไปเรื่อย จากพระแล้วมาจบที่ตัวผู้กำกับมุสลิม แต่ผู้กำกับก็ยังคงไม่ทิ้งเป้าหมายหลักคือการอยากสัมภาษณ์คามาโฮริ โคเงนอยู่ แม้ภายในระยะเวลา 5-7 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เขาเริ่มโปรเจ็คต์นี้แล้วไปพบคามาโฮริถึงญี่ปุ่น จนคามาโฮริ โคเงนได้สำเร็จการเข้าวัตรไคโฮเกียวไปแล้วก็ตาม โดยความหวังลึกๆ ของ Ahsen ก็คือ เขาหวังว่าการสัมภาษณ์คามาโฮริมันจะมีคำพูดคำสอนใดๆ ก็ตามที่จะชี้ให้เขาสามารถหาทางออกให้กับปัญหาที่เขาเผชิญอยู่นี้ได้ขึ้นมา
ในเวลาเดียวกัน ระหว่าง Ahsen กับ Ryushin ทั้งคู่ก็กลายเป็นเพื่อนสนิทกันที่ติดต่อผ่านวีดีโอคอลปรึกษาพูดคุยกัน เช่นเดียวกันปัญหาที่ Ahsen แบกอยู่เขาก็นำมาปรึกษา Ryushin ด้วยเช่นกัน ซึ่ง Ryushin ในเวลานั้นได้ตาสว่างเพราะได้เห็นการสำเร็จไคโฮเกียวของคามาโฮริด้วยตาตัวเอง Ryushin ที่จริงจังในศาสนามากขึ้น โดยสิ่งหนึ่งที่ Ryushin ได้บอกไว้ในมุมมองพระญี่ปุ่นคนหนึ่งก็คือ “You know, life is not long. Life is really short. If you don’t deal with a problem in this life that problem will be delayed
into the next life.”

สำหรับชื่อสารคดี ‘Crows Are White’ นี้ มันก็มีที่มาที่ไปจากบทสนาของ Ahsen กับพวกพระผู้ใหญ่ที่อารามแห่งนั้น ก็ดูไม่มีมีความหมายลึกซึ้งเลยนะ(หรือว่ามี?) คือ Crows Are White คือคำที่พระผู้ใหญ่พระครูพูดออกมา มันอาจจะเป็นคำสอนเป็นคำเปรียบเปรยเป็นบทกวีใดๆ ก็ตามหรือมันการพูดสิ่งที่ผิดออกและไม่ถูกต้องออกมา ถึงอย่างนั้นพวกพระชั้นผู้น้อยก็จะไม่สามารถทักท้วง,โต้แย้งหรือตั้งคำถามไปยังสิ่งที่ตนเองมองว่าพระผู้ใหญ่พระครูพูดออกมานั้นมัน”ผิด”ได้เลย.

Dungeons & Dragons: Honor Among Thieves (2023)

Dungeons & Dragons: Honor Among Thieves (2023 / John Francis Daley, Jonathan Goldstein)
(USA / Canada / UK / Iceland / Ireland / Australia)

สนุกมาาาาาาาาก

ก็ไม่เคยเล่นหรือรู้จักบอร์ดเกมชื่อนี้แต่อย่างใดเลย แต่สูตรตรงการเริ่มต้นของหนังนั้นมันทำให้ฉันนึกถึงพวกเกมบางเกมที่ใช้สูตรเดียวกัน จริงๆ อาจมีหลายต่อหลายเกม แต่ตัวอย่างเกมนึงที่นึกขึ้นมาได้ในทันทีเลยก็คือ Castlevania: Symphony of the Night คือรู้ทั้งรู้เลยนะว่า อีกจุดนึงปราสาทนั้นคือเป้าหมายคือที่บอสอยู่คือเราต้องไปปราบ แต่เราไม่สามารถไปได้ให้ตายยังไงก็ไปไม่ได้โกงก็ไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำก็คือการไปตามระบบที่เกมวางเอาไว้ ก็คือ ออกไปผจญภัยไปเกมเลเวลเก็บประสบการณ์ หาอาวุธสะสมสกิลเรียนรู้เวทมนต์ทั้งหลาย และเมื่อถึงจุดๆ คลายเงื่อนไขที่ขวางกั้นเราไว้ได้แล้ว เราก็จะสามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายสุดท้ายที่เห็นมาแต่ต้นนั้นได้ในที่สุด

ซึ่งมันก็ทำให้นึกคิดตามอีกนะระหว่างการรับชมหนังเรื่องนี้ คือถ้าอิงตามสูตรตัวหนังมันได้เดินไปจนถึงจุดๆ นั้นแล้วแต่มันจบลงที่จุดนี้ง่ายๆ แบบนี้เหรอ ไม่เลย สิ่งที่หนังทำต่อก็คือการหาเรื่องยกระดับทลายกรอบในสูตรนั้นที่วางไว้แต่ต้นไปอีกระดับ ให้เนื้อเรื่องและตัวละครสามารถเดินต่อไปได้อีกชุดใหญ่ที่จะเป็นจุดไคลแม็กซ์ของหนัง ซึ่งผลลัพท์ที่ได้นะเหรอ โคตรดีโคตรสนุกโคตรมันส์โคตรลุ้น ที่ภาพรวมตัวหนังก็ยังวางเหล่าตัวละครไว้ในจุดที่ต่ำกว่าคำว่าเก่งกาจ ทั้งช่วงแรกและช่วงท้าย มันจึง โคตรดีโคตรสนุกโคตรมันส์โคตรลุ้น กับการวางแผนกันใช้สมองและหลายเท้าหลายมือจุดเด่นและสกิลของพรรคพวกตนเพื่อไปยังเป้าหมายและสู้กับตัวร้ายที่ร้ายกาจกว่าหลายเท่ากันให้ได้.

จริงๆ ระหว่างการรับชมมาตลอดสองชั่วโมงกว่ามันก็ไม่คิดเลยนะว่า จู่ๆ ฉันจะน้ำตาแตกทะลักขึ้นมาได้ด้วยฉากๆ เดียวนี้เท่านั้น !!!

ชอบการมีอยู่ของตัวละครขั้นเทพ ที่ถึงแม้จะทำให้การเดินทางภารกิจสะดวกขึ้นมาบ้างแต่หนังก็ใช่ว่าจะให้พวกเขาพึ่งพาตัวละครขั้นเทพตัวนี้ไปตลอดทุกอุปสรรคซะที่ไหน บางช่วงบางตอนพวกเขาก็ต้องใช้หัวช่วยกันคิดกันแก้ปัญหากันเองแหละว่าจะสามารถผ่านพ้นอุปสรรคพวกนี้ไปได้อย่างไรกัน.

Quiet Days in Clichy (1990)

Quiet Days in Clichy (1990 / Claude Chabrol)
(France / Italy / Germany)

ถ้าตั้งเกณฑ์การให้คะแนนยึดโยงกับความโป๊ของหนังล่ะก็ หนังเรื่องนี้จะอยู่ในเรทคะแนนที่ 8.5-9.5/10 ได้เลย เพราะความโป๊มันมันเปิดเผยกันได้อร่างฉ่าง ทรวดทรงเต้านมของนักแสดงหญิงแต่ละคนที่ดูคัดมาแล้ว เด็ดดวงทรงสวยกันทุกคน รวมไปถึงการโป๊ทั้งตัวเห็นช่วงล่างกันแบบสมกับเป็นหนังฝรั่งเศส มาทั้งป่าดงดิบและเกาเหลาครบ,

ก็นั่นแหละ ถ้าตั้งเกณฑ์ไว้ขึ้นตรงอยู่กับความโป๊ของหนังแบบนั้นอ่ะนะ แต่สำหรับฉันที่เลิกเอาเกณฑ์ความโป๊นำทางและมีผลต่อคะแนนไปนานละ (แต่ก็ยังชอบเสพความโป๊ในหนังอยู่ดี) เมื่อความโป๊ไม่ได้ขึ้นตรงว่าต้องชอบหนังตามความโป๊ไปด้วย หนังเรื่องนี้ที่กำกับโดย Claude Chabrol (ฉันเลือกดูเรื่องนี้เพราะผู้กำกับเลยนะ) ฉันว่าฉันไม่ชอบหนังเอาซะเลย อาจเพราะสัมผัสได้ถึงการดำเนินเรื่องที่ลอยไปลอยมา วุ่นวายและยุ่งเหยิงไปหมดแลดูเรื่องราวมันไม่มีความจริงจังอะไรซักอย่างเลย จนฉันที่จับต้องอะไรในหนังแทบไม่ได้เลย พอจับต้องไม่ได้ก็รู้สึกว่าหนังมีเส้นเรื่องด้วยเหรอ.

เอาสรุปง่ายๆ เลยคือผิดหวังแหละ แม้จะได้ควาวมโป๊มาพอเยียวบ้างก็ตาม, แต่ช่วงเวลาในหนังที่รู้สึกชอบมากที่สุดคือช่วงเวลาที่ตัวละครสามคนออกจากปารีสไปฮันนีมูนกันที่ชนบทอ่ะ.

Oyaji (TV Series, 2000)

Oyaji (TV Series, 2000 / Osamu Katayama, Akio Yoshida)
(Japan)

Oyaji ความหมายคือ คนแก่/ชรา/สูงวัย ในที่นี้ในซีรี่ส์ก็คือ พ่อ (Masakazu Tamura) นายใหญ่ประจำบ้าน เป็นไดโนเสาร์หัวโบราณ ชอบบงการและออกคำสั่ง ตะโกนยัดหน้าและสั่งสอนทุกคนที่เขาไม่พอใจ เช่น ผู้ชายเจาะหู โดนเทศน์ทันที เด็กดื้อโดนดุทันที พวกที่เอาแต่ใจไม่เชื่อฟังอย่างลูกๆ ก็ไม่เว้นเช่นกัน
ภาพรวมตัวซีรี่ส์นี้ก็จะเกี่ยวกับครอบครัวนี่แหละ ตัวพ่ออธิบายไปแล้ว ที่เหลือก็จะเป็นแม่(Hitomi Kuroki) ผู้ที่สงบปากสงบคำใจดีกับลูกๆ ทุกคนและสนับสนุนสามีทุกเมื่อแม้ว่าสถานการณ์ตรงนั้นสามี(พ่อ)จะทำตัวแย่ก็ตาม, พี่สาวคนโตเป็นครู(Miki Mizuno) ดูยังไงก็เหมือนพี่ใหญ่ที่ทำหน้าที่แม่คนที่สองที่คอยดูแลช่วยเหลืองานบ้านทุกอย่างและช่วยเหลือน้องๆ เท่าที่จะทำได้, น้องสาวคนกลาง เป็นวัยรุ่นคิดเร็วทำเร็วตั้งใจทำอะไรไว้ไม่ทันไรก็ล้มเลิกละ ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันมาตลอด และน้องชายคนเล็ก(Junichi Okada) เป็นดั่งความฝันที่พ่อฝากไว้ให้รับช่วงคลีนิกของพ่อต่อ แต่ไม่ฉลาดจมอยู่กับโรงเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาลัยหมอก็ไม่มีอะไรกระเตื้องให้มีความหวังเลย.

ถัดมาก็คือปัญหาแต่ละอย่างของแต่ละคนที่ค่อยซัดเข้าครอบครัวนี้แบบทั้งมาทีละคนและมาแบบหลายคนพร้อมกัน โดยจะเริ่มจากน้องสาวคนกลาง(Ryoko Hirosue) มาตอนหนึ่งเลยก็ตูม บอกกับครอบครัวว่า “หนูจะแต่งงานแล้วนะ เจอกันเมื่อสองอาทิตย์ อีกสองสัปดาห์จะจัดงานแต่ง แล้วไปอยู่อเมริกาด้วยเพราะงานสามีอีกสองปี” แต่นั่นก็เป็นแค่จุดเริ่มที่ปัญหาของลูกๆ แต่ละคนค่อยปะทุออกตามมา ไม่ใช่เรื่องปัญหาของน้องสาวคนกลางนี้จะเป็นแก่นกลางของซีรี่ส์ตลอดไปหรอกนะ แต่น้องสาวคนกลางนี่แหละที่นิสัยเหมือนพ่อมากที่สุด.
ในระดับความหนักเบาของปัญหาก็ดูจะแตกต่างกันไปเช่นกัน อาจมองเทียบเป็นช่วงอายุของแต่ละคนก็ได้ อย่างน้องสาวคนกลางคือคนที่อยู่ตรงกลางมีพี่สาวและน้องชาย ฉะปัญหาของเธอนอกเหนือจากเรื่องแต่งงานนี้ก็จะแกว่งไปมาเอาแน่เอานอนไม่ได้และเต็มไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์แบบคนเอาแต่ใจตัวเอง ส่วนที่ดูจะเบาแต่ก็เป็นปัญหาอยู่ดีก็คือน้องชาย ที่ตอนแรกดูจะเป็นเรื่องความรักแต่ point หลักจริงๆ ที่ซีรี่ส์จะพูดถึงปัญหาของน้องชายคนเล็กนี้ก็คือ เขามีโอกาสเลือกทางเดินด้วยตัวเองหรือไม่ ที่ถูกฝากฝังให้ต้องเป็นคนรับช่วงคลีนิกนั่นเขาต้องการหรือไม่ และเขาเคยรู้ตัวเองหรือเปล่าว่าชอบอะไร,ต้องการอะไรและทำอะไรในชีวิตนี้กันแน่
สำหรับที่หนัก หนักจนน่าตกใจและใจหายมากๆ ก็คือ พี่สาวคนโตนี่แหละ ที่ในมุมมองของครอบครัวต่อพี่สาวนั้น เธอคิอพี่สาวที่ดีที่หนึ่งที่พึงพาได้ทุกอย่างของบ้าน หารู้ไม่ ในมุมของพี่สาวเธอต้องแบกอะไรไว้หลายอย่างภายใต้คำว่า “การพี่สาวคนโต” นี้, จริงๆ ก็จะมีปัญหาของพวกผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน เช่นพ่อกับแม่ ซึ่งจะถูกนำมาเผยใส่ครอบครัวตนเองนี้เช่นกันในภายหลัง.

ส่วนที่ชอบของซีรี่ส์อย่างหนึ่งก็คือเรื่องเนื้อในของตัวละคร แน่นอนล่ะว่าพวกลูกๆ ทั้งสามคนค่อนข้างดูออกได้ง่ายพวกเขาเป็นคนยังไง แต่ไม่ใช่กับตัวพ่อและแม่ ที่เหมือนเนื้อในพวกเขาถูกปิดทับไว้หลายชั้นด้วยประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านกันมา ตัวพ่อที่ดูยังไงก็เป็นมารยาทแย่หัวแข็งดื้อรั้นและเอาแต่ใจทำตัวเป็นศูนย์กลางที่ทุกคนต้องรับให้ได้กับความไดโนเสาร์หัวโบราณของเขา แต่เนื้อในจริงของพ่อก็เป็นเหมือนกับพ่อทุกๆ คนที่ล้วนเป็นห่วงลูก คิดถึงลูก อยากให้ลูกได้รับสิ่งดี ต้องปกป้องลูก แต่เขาไม่ได้แสดงความรู้สึกนี้ออกมาเพื่อลูกๆ ไง จึงไม่แปลกใจเลยที่เมื่อดราม่ารุนแรงกันระหว่างพ่อกับลูกๆ มันจะหนักหน่วงแบบแข็งเจอแข็งกันทุกครั้งไป, สำหรับตัวแม่ ตลอดทั้งซีรี่ส์อาจดูเหมือนแม่คือคนที่คอยซัพพอร์ตสนับสนุนทุกอย่างในครอบครัวเป็นเหมือนน้ำที่คอยดับไฟอารมณ์ของพ่อและลูกเท่าที่จะทำได้ แสดงออกอย่างชัดเจนว่าเป็นห่วงกับปัญหาที่ลูกๆ ต้องเจอ เลยดูเหมือนบทของแม่จะถูกวางเป้นพื้นหลังของเรื่องมาตลอด จนรู้สึกเอะใจตลอดมาว่า ‘ไม่น่า บทของแม่ไม่น่าจะมีแค่นี้หรอกนะ’ พอเข้าช่วงท้ายเท่านั้น ตบเข่าฉาดเลย มาละ บทของแม่ ทุกอย่างที่เห็นมาตลอดตั้งแต่ต้นคือตัวแม่ที่ถูกปิดทับปัญหาภายในใจของตัวเองไว้ตลอด พอถึงจังหวะแม่ต้องเจออย่างหนึ่งเข้า มันจึงเหมือนสิ่งที่ถูกปิดทับเก็บไว้ได้เผยอออก เมื่อนั้นแหละ ลูกๆ ล้วนไม่เข้าใจเลยว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับแม่กันแน่ ยกเว้นที่รู้มาตลอดแล้วก็ปิดทับเรื่องราวความรู้สึกพวกนั้นเอาไว้เช่นกัน

นอกเหนือจากตัวละครหลักๆ แล้ว พวกตัวละครสมทบก็ล้วนเข้ามาฟันเฟืองให้กับเรื่องราวปัญหาของตัวละครเดินหน้ากันต่อไปยังจุดที่ไม่ง่ายขึ้น ทั้งสาวโฮสที่พ่อไปติดพัน ว่าที่สามีของน้องสาวคนกลาง เซลขายยาล่กๆ พูดเสียงดังที่มักเข้าหาคนพ่อที่คลินิกที่แอบรักพี่สาวคนโตอยู่ และซายูริ สาวแกลที่แต่งหน้าแบบเกินเบอร์ ผู้ที่หลงรักตัวน้องชายคนเล็กของครอบครัวแบบหัวปักหัวปำ ชอบตัวละครซายูริก็ตรงที่เธอคือ type ที่คนพ่อเกลียดนั่นแหละ เด็กสาวที่ไร้มารยาทไม่มีสัมมาคารวะและกล้าเถียงกล้าโต้ตอบผู้ใหญ่แม้จะแฝงความบ้าๆ บอๆ ก็ตาม (ขำมากก็ตรงที่ตบหัวคนพ่อนี่แหละ ทำเป็นไม่ยอมฟัง5555)

เกิดข้อสงสัยขึ้นมาทันที เมื่อปัญหาที่น้องสาวคนกลางสร้างขึ้นไว้แบบเกินตัวและไม่รู้จะหาทางยังไงนี้ ที่จู่ๆ มันก็หายไปเหมือนปัญหานี้ไม่เคยมีหรือถูกแก้ไขแล้ว
ถ้ามองกันตรงๆ ตามฉากนี้ มันคงเกิดกระบวนการแก้ปัญหาจากอีกฝ่ายขึ้นมานั่นแหละ ปัญหาของน้องสาวคนกลางจึงเหมือนถูกขจัดหายไปจากเรื่องในเวลาถัดมา แถมมาด้วยจิตใจที่ชอกช้ำดูซึมเศร้าของน้องสาวคนกลางนี้
การไม่มีการพูดหรือก้าวข้ามถึงปลายทางของปัญหานี้ว่าถูกทำให้หายไปหรือเกิดการแก้ไขขจัดปัญหาขึ้น อาจเพราะมันจะทำให้มู้ดซีรี่ส์หนักข้อเกินหรือดาร์กเกิน เลยข้ามๆ ารมีอยู่ของปัญหาไปซะ
คือถ้าไม่คิดมากเหมือนฉัน ก็คงไม่รู้สึกเอะใจหรือสงสัยอะไรขึ้นมาแบบนี้หรอก เนอะ

The Fabelmans (2022)

The Fabelmans (2022 / Steven Spielberg)
(USA / India)

ความฝันของเด็กที่อยากทำหนังนี่ต้นทุนค่อนข้างสูงน่าดูเลยนะ แม้ปากพ่อจะเหมือนไม่สนับสนุนให้ลูกไปทางศิลป์อยากให้มาทางวิทย์แบบพ่อมากกว่า แต่สุดท้ายก็เช่าโน้นซื้อนี่ให้ลูกชายยังอยู่กับการทำหนังต่ออยู่ดี
ความรู้สึกแรกที่เกิดหลังจากรับชมไปกว่าครึ่งเรื่องก็คือ ช่วงที่แซมได้มีโอกาสลงมือออกกองจับกล้องและตัดต่ออะไรเองพวกนี้มันคือช่วงที่สนุกที่โดนเส้นสำหรับฉันมาก แม้จะอยู่แค่ผิวเผินไม่ได้ลงลึกเรื่องรายละเอียด/เทคนิคอะไรมากนัก แต่ในเวลาเดียวกันก็รู้สึกเรื่องดราม่าในครอบครัวมันก็ช่างขโมยซีนอยู่ร่ำไปตลอดเวลาเลย ก็โอเคนะดราม่ามันให้อีกรสชาติที่พอน่าติดตามแต่ฉันสนใจเรื่องทำหนังมากกว่า พอมาถึงฉากๆ นึงถึงได้เข้าใจว่าทำไมดราม่าครอบครัวมันถึงตีคู่มากับเรื่องทำหนังแบบนี้ นั่นก็เพราะ คนทำหนังล้วนมองเหตุการณ์/ช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตตนเองเป็นฉากหนังในหัวไปโดยธรรมชาติอยู่แล้วนั่นเอง

แต่ช็อตแซมฉายหนังสงครามตัวเองจบนี่ มันเจ็บปวดจริง ไม่แปลกใจเลยที่แซมจะหันหมดศรัทธาในตัวแม่ทันทีจากจังหวะฉายหนังจบในฉากนี้ ผ่านปฏิกิริยาแรกของแม่หลังดูหนังของลูกชายในการหันไปหาใครเป็นคนแรกนี่แหละ.

ชอบจังหวะฉากจบของหนัง ที่ตอนแรก โหย ถ่ายออกมาแบบนี้ น่าเบื่อตายชัก … แต่พอขยับนิดนึงปุ๊บ ว้าว ไม่น่าเบื่อแล้ว !!!

Sandwich (2023)

Sandwich (2023 / Jao Daniel Elamparo)
(Philippines)

แค่เห็นชื่อหนังกับชื่อค่าย VIVA ก็รู้แล้วว่า แซนวิช ในที่นี้หมายถึงสิ่งใด

เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ********

เปิดเรื่องก็เจอแซนวิชเลย แต่เป็นแซนวิชอาหารนะ จะเอาแซนวิชปลุกความเงี่ยนเลยก็โน้นกลางเรื่อง แล้วก็ลากยาวไปยังบทสรุปของหนังเลย,
จะว่าไปตัวหนังก็ใส่รายละเอียดปลีกย่อยมาหลายอย่างนะแม้ตอนแรกอาจดูไม่เกี่ยวกับพวกเรื่องเงี่ยนๆ ก็เหอะ แต่สุดท้ายมันก็จะมีส่วน/กระทบอะไรซักอย่างต่อตัวละครนั้นๆ ผ่านประสบกามที่พบเจอกันมาชั่วข้ามคืนอยู่ดี.
Read More…

The Painted House (2015 / Santosh Babusenan, Satish Babusenan)(India)

The Painted House (2015 / Santosh Babusenan, Satish Babusenan)
(India)

ถ้าจะให้เขียนแบบรวบรัดสั้นๆ จบภายใน 7 นาทีของหนังเลยก็จะได้ นักเขียนอายุเยอะอยู่บ้านคนดียว วันหนึ่งระหว่างนั่งเขียนงานก็รู้สึกเจ็บหน้าอกตรงหัวใจท่าทีเขาทรมาณก่อนจะล้มลงไปนอนแน่นิ่งกับพื้น.

ถ้าจะให้เขียนแบบเพิ่มเติมไปอีก 1 ชั่วโมง 34 นาทีเลยก็จะเป็น มีเสียงกดกริ่งหน้าบ้าน นักเขียนแก่ไปเปิดประตูต้อนรับพบผู้หญิงคนหนึ่งเหมือนทั้งคู่รู้จักกัน ผู้หญิงขอมาพักบ้านเขาไม่กี่วัน ในเวลาเดียวกันก็เหมือนผู้หญิงคนนี้มาทำงานเขียนของเขาทั้งการลบงานเขียนในคอม เผาต้นฉบับที่ปริ้นออกมา ผู้หญิงมีเป้าหมายของเธอนักเขียนแก่ก็ได้แต่ทำใจและยอมรับทำความเข้าใจในชิ้นงานของตัวเองตามผู้หญิงคนนี้ที่ให้ความเห็นตรงกับเขาว่า งานคุณมันกลวง แต่ก็น้าาาา ที่นักเขียนแก่ปรับอารมณ์และเข้าใจตามได้ง่ายๆ ก็แม่สาวคนนี้มันน่ารักน่าขย้ำน่าหลงไหลนี่นา… โดยเฉพาะช่วงเข้าห้องผู้หญิงไปเพื่อเรียกหาแต่ได้เห็นอีกฝ่ายแก้ผ้าเช็ดตัวอยู่ เขาขอโทษแต่ผู้หญิงบอกไม่เป็นไร.
จากนั้นไม่นานนัก ก็มีผู้ชายคนหนึ่งผ่านมาขอล้างมือที่บ้านนักเขียนเพราะเขาเพิ่งซ่อมรถตัวเองเสร็จ เขาชวนนักเขียนไปเที่ยวบ้านเขาที่อยู่ไม่ห่างไกลออกไปนัก แล้วจากนั้นไม่นานผู้ชายคนเดิมที่กลับมาแล้วใช้วาจาบีบบังคับไปจนใช้กำลังกับนักเขียนแก่ก่อนจะแบกนักเขียนแก่ขึ้นรถเขาพาไปยังบ้านตัวเองและกักขังไว้ในบ้านแบบนั้น .
สิ่งที่ทำให้นักเขียนแก่เหวอและผิดหวังมากก็คือ ผู้หญิงคนนั้นที่เขาหลงไหลคือคนรักของผู้ชายที่กักขังเขาเอาไว้ ถึงกระนั้น ในบางช่วงเวลาก็เหมือนนักเขียนแก่ยังคงมีความต้องการในใจที่อยากจะใกล้ชิดกับผู้หญิงคนนี้อีกครั้งเหมือนเดิมตอนที่อยู่บ้านเขา ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่า ความเงี่ยนนีมันอยู่เหนือสถานการณ์ที่แย่จริงๆ เหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเขียนแก่เปลี่ยนอารมณ์ฉับพลันก็คือ เขาฝันถึงผู้หญิงคนนี้เดินแก้ผ้าเปลือยในบ้านนั่นแหละ ทำให้เขาตื่นมาก็ไม่สนสถานการณ์

จริงๆ ตัวหนังก็ไม่มีอะไรมากหรอก นับตั้งแต่นาทีที่ 7 ไปเชื่อว่าคนดูน่าจะเดาอะไรๆ ได้หมดแหละว่าอีกหนึ่งชั่วโมงกว่าที่เหลือนี้มันคืออะไร/หมายความว่าอย่างไร.

ตัวหนังน่าจะมีสองเวอร์ชั่นนะ คือเวอร์ชั่นปกติกับเวอร์ชั่น Uncut, จุดต่างก็คือฉากนู้ดของ Neha Mahajan นักแสดงหญิงนี่แหละ ในเวอร์ชั่น Uncut คือเห็นทั้งเต้าทั้งหัวนมของนักแสดงหญิงเลย แถมอีกฉากคือเปลือยทั้งตัวแต่เห็นเฉพาะด้านหลังรวมก้นเท่านั้น ซึ่งฉากนู้ดโป๊นี้ ก็มีแค่ 2-3 ฉากเอง.

Blood Flower (2022)

Blood Flower (2022 / Dain Said)
(Malaysia)

Munafik meet Evil Dead !!!

ถ้าเอาสากลหน่อยก็จะเป็น Exorcist ก็ได้ แต่ในเมื่อมาเลเซียมาหนังอิหม่ามไล่ญิน/ชัยฏอนอย่าง Munafik อยู่แล้วก็ใช้ Munafik ไปตรงๆ เลยจะดีกว่า

จะว่าไปก็ไม่ค่อยได้เจอหนังสยองขวัญ/หนังผีที่โหดดุอาบเลือดมาซักเท่าไหร่ อย่าง Roh นี่ก็ไม่สายหลอนผ่านการสร้างบรรยากาศมากกว่า ฉะนั้นเมื่อฉันได้ดูเรื่อง Blood Flower นี้ ก็เหมือนหนังสยองขวัญอาบเลือดของมาเลเซียได้ถูกยกระดับขึ้นไปละ(อาจมีเรื่องอื่นๆ ที่ฉันยังไม่เคยดูอีกก็ได้นะ) ในความเป็นหนังสยองขวัญอาบเลือดเรื่องนี้ถ้าเทียบให้ใกล้เคียงหน่อยก็ประมาณหนังสยองขวัญของอินโดนิเซียได้อยู่, แม้ตัวหนังจะยังมีความสะดุดมีอะไรที่ดูไม่สมเหตุสมผลหรือขาดๆ เกินๆ อยู่บ้าง แต่ภาพรวมในแง่ความเป็นหนังสยองขวัญฉันก็พอใจและหนังค่อนข้างมากเลย.

สำหรับเนื้อเรื่องของ Blood Flower จะเริ่มที่ครอบครัวหนึ่งที่มะเป็นผู้มีพลังไล่ญิน ส่วนลูกชายก็ได้รับมาส่วนนึงคือแค่มองเห็นคนตายเหมือนมะ ในภารกิจไล่ญินที่ไปกันทั้งครอบครัวป๋ามะลูกชายและลูกสาว มะได้เสียชีวิตจากการปกป้องลูกชายที่ถูกญินสายชั่วร้ายเล่นงาน เนื้อหาส่วนนี้มีไว้เพื่อเกริ่นเกี่ยวกับตัวลูกชายโดยเฉพาะ มะตายเพราะการไล่ญินตัวเองก็แทบจะเป็นบ้าเพราะแยกไม่ออกว่าสิ่งที่เห็นพวกคนตายอะไรพวกนี้ มันคือภาพจริงหรือคิดไปเอง ดังนั้นลูกชายจึงเกลียดความสามารถพลังนี้ อยากเป็นคนปกติแบบพ่อ
ส่วนปัญหาคอขาดบาดใหญ่ที่ใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นในตึกแห่งหนึ่งนั้น แม้จะมีจุดเริ่มมาจากสิ่้งที่ฉันเกลียดละรำคาญมากๆ อย่างพวกเด็กเวรที่ไร้มารยาทและวุฒิภาวะจนไปปลดปล่อยสิ่งที่เจ้าของห้องเตือนไว้อย่าไปยุ่งขึ้นมา สิ่งนั้นคือสิ่งอันตรายที่ออกไล่ล่าสังหารคนในตึกนี้ ปรากฏกายทั้งแบบรูปธรรมจากอีกมิติรูปลักษณ์ประหลาดและแบบนามธรรมด้วยการสิงสู่มนุษย์แบบญิน/ชัยฏอน สุดท้ายท้ายสุดมันจึงเลี่ยงไม่ได้ที่ตัวลูกชายจะต้องปลุกพลังขึ้นมาอีกครั้งเพื่อนช่วยเพื่อนสาวและครอบครัวจากสิ่งเลวร้ายที่ทำร้ายพวกเขา.

ก็อย่างที่บอกว่าบรรยากาศฉากหลอนๆ น่ากลัวเหวอๆ มันคือเทียบเท่ายกระดับหนังสยองขวัญของมาเลเซียที่ฉันเคยรับชมมา โดยเฉพาะการแสดงของหมวย Arnie Shasha ที่แสดงเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ในบทสาวห้าวเพื่อนพระเอก(ตัวลูกชาย)ที่เหมือนบทตัวประกอบงั้นๆ แต่พอเข้าช่วงนางโดนสิงเท่านั้นแหละ นี่มันคือการยกระดับการแสดงของพวกหญิงสาวที่โดนสิงจากพวกหนัง Evil Dead (โทนจริงจัง)มาใส่ไว้การแสดงของ Arnie Shasha ทั้งหมดนี้ในหนังเรื่องนี้, น่าหลงไหลมากจนอยากให้เธอโลดแล่นในวงการนี้ต่อไปเรื่อยๆ อยากติดตามผลงานการแสดงชิ้นต่อไปอีกเรื่อยๆ.

The Last 10 Years (2022)

The Last 10 Years (2022 / Michihito Fujii)
(Japan)

ก็รับรู้แหละว่าหนังสูตรรักสูตรสำเร็จที่มีความตายอยู่ปลายทางนั้น มันได้ถูกสร้างกันมามากมายเยอะแยะไปหมด แต่ก็นับว่าเป็นโชคดีของฉันเลยแหละ ที่ไม่ค่อยได้ดูหนังแนวๆ ที่ว่ามาพวกนี้ซักเท่าไหร่ จึงทำให้เนื้อหาเรื่องราวใน The Last 10 Years มันได้ผลกับฉันเป็นอย่างมาก สะอื้นตามอยู่หลายฉากแบบควบคุมตัวเองไม่ได้.

จากจุดเริ่มพระเอกคือคนที่ไม่เอาแล้วชีวิตนี้ต้องการหนีด้วยความตาย ส่วนนางเอกคือที่อยากมีชีวิตต่อแต่ความตายไม่ให้โอกาสเธอ คำพูดนางเอกได้เปลี่ยนมุมมองชีวิตพระเอกให้หันมาสู้กับชีวิตต่อได้ จากนั้นทั้งคู่ก็เริ่มสนิทสนมกัน
นี่ก็คิดนะว่า ถ้าระยะเวลาความสัมพันธ์ของพระเอกนางเอกมันสั้นแค่ปีสองปี ผลลัพท์ตอนจบอาจลงเอยเป็นอีกฟีลก็ได้ ของตัวหนังนี่ความสัมพันธ์ทั้งคู่ลากยาวไป 5-6 ปี ดังนั้นเมื่อนางเอกถึงแก่เวลาต้องลาจากตัดความสัมพันธ์เพราะความตายได้เรียกหาเธอแล้ว ภายใต้ระยะเวลาที่ผ่านของพระเอกกับนางเอกมันเลยทำให้พระเอกสามารถรับมือกับสถานการณ์ความสูญเสียและยืนได้ด้วยตัวเองต่อไหว ถ้าเป็นอีกผลลัพท์ที่ระยะความสัมพันธ์สั้น พระเอกอาจรับมือความสุญเสียนี้ไม่ไหวและกลับไปเลือกการตัดสินใจแบบเดิมภายหลังความตายมาพรากนางเอกไปจากเขาก็เป็นได้.

Kamikaze Hearts (1986)

Kamikaze Hearts (1986)

Kamikaze Hearts (1986 / Juliet Bashore)
(USA)

ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่เผยให้เห็นถึงเบื้องลึกเบื้องหลังวงการอุตสาหกรรมหนังผู้ใหญ่ของอเมริกาในยุคนั้น เอาจริงๆ มันก็ไม่ลงลึกหรอก เพราะหนังวางตัวละครหลักไว้อยู่สองคน นั่นคือ Tigr กับ Sharon Mitchell ที่สนิทกันเป็นความสัมพันธ์แบบคู่รักเลสเบี้ยน เผยให้เห็นถึงแรงกดดันจากการทำงานในอุตสาหกรรมนี้รวมไปถึงการเป็นใหญ่ของนายจ้าง/โปรดิวเซอร์ที่เป็นคนเซ็นต์เช็คให้ลูกจ้างทั้งหลาย จุดนี้ที่เผยชัดเจนที่สุดก็คือ ไอ้โปรดิวเซอร์คนหนึ่งเดินเข้ามาในกองมาพูดๆ มาดูการทำงาน และนักแสดงหญิงคือคนที่ไม่ชอบขี้หน้าโปรดิวเซอร์คนนี้ เธอยืนกรานว่าจะไม่แสดงต่อถ้าไอ้โปรดิวเซอร์คนนี้ยังอยู่ในสตูดิโอ แม้นักแสดงหญิงจะยืนยันเสียงแข็งแต่เธอจะทำอะไรได้ ไม่แสดงเหรอ ช่างมึงสิ โปรดิวเซอร์เรียกหานักแสดงหญิงคนอื่นที่พร้อมมาเข้าฉากแทน, ก่อนภายหลังจะมีบรรยากาศการพาหน้าใหม่มาเทสหน้ากล้องมาเป็นนางแบบให้โปรดิวเซอร์คนนี้ถ่ายรูป หญิงสาวคนนี้ก็อินโนเซนต์ได้ยินข่าวลืมกับโปรดิวเซอร์คนนี้มาบ้าง แต่ก็โดนโปรดิวเซอร์กล่อมให้เชื่อฉันอย่าหลงไปเชื่อใครเลย.

ในตอนท้ายของเรื่องได้เผยถึงตัวช่วยสำคัญที่ส่งผลเสียแต่สามารถพึ่งพาของทั้ง Tigr กับ Sharon ที่แทบจะแบกแรงกดดันในงานประเภทนี้ไม่ได้ละ สิ่งๆ นั้นก็คือยาเสพติด ซึ่งในเวลาเดียวกันช่วงท้ายนี้บรรยากาศของทั้งสองก็กลับมาเน้นชัดๆ ไปเลยว่า ภาพยนตร์กึ่งสารคดีเรื่องนี้นั้น แท้จริงแล้วคือการโฟกัสจดจออยู่กัยเรื่องราวความสัมพันธ์ความรักของสองสาวคนนี้เท่านั้นเอง (ฉากเล่นยานี้ Sharon Mitchell คือฉีดยาเข้าเส้นจริงๆ)