Archive | June 2022

Slow Dance (2005)

Slow Dance (2005 / Hirano Shin, Nagayama Kozo, Narita Gaku)
(Japan)

ตอนเห็น opening credits ก็รู้ได้เลยว่า ซีรี่ส์เรื่องนี้จะมีทั้งหมด 2 คู่ ซึ่งในเวลาถัดมาก็จะรับรู้ได้อีกเช่นกันว่า มันจะมีคู่หลักและคู่รอง
แล้วพอเข้าใจทุกอย่างแบบนี้ที่ตัวเรื่องมันก็เป็นไปตามนั้นแล้ว ก็จะพบว่า มันจะมีตัวละครที่น่าสงสารที่สุด 1 ตัว แบบว่าพอเห็นบทที่ปรากฏออกมาแล้ว ก็รู้ได้ล่วงหน้าเลยว่า ตัวละครนี้จะไม่มีวันสมหวังในเรื่องนี้แน่นอน ยิ่งพอลงลึกไปยังตัวละครนี้แล้วด้วย ยิ่งน่าสงสารหนักเข้าไปอีก ที่การเลิกกันครั้งแรกมันคือความเข้าใจผิดของฝ่ายชาย พอแก้ไขบางอย่างได้ลงตัวในอีกหลายปีถัดมา จังหวะเรื่องชีวิตและการงานก็ดันกลายเป็นตัวแยกทั้งคู่ให้ห่างกันไปบ้าง แล้วในเวลาเดียวกัน นางเอกก็อยู่ถูกที่ถูกเวลาเกิดความสนิทสนมขึ้น จนสาวคนนั้นถูกเขี่ยออกจากความหวังเรื่องความรักไปอย่างน่าสงสารที่สุด

สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ ในตัวหลักอย่างอิซากิและริอิจิ มันค่อนชัดเจนเปิดเผยและเข้าใจความรู้สึกตัวละครนั้นๆ ได้ไม่ยาก แม้ว่าทีแรกจะไม่ชอบขี้หน้ากัน กลายมารู้จักกัน ไปสู่ความซึนที่ใจตัวเองอย่างแต่ปากบอกไปอย่าง แล้วสุดท้ายทั้งคู่ก็พูดคุยกันตรงๆ บ้าง ไม่กล้าบ้างๆ จนทำให้ผิดใจกันบ้างแต่ก็แก้ไขทำความเข้าใจกันจนกลับสู่ภวังค์รักได้ตามสูตร
จากการคาแรกเตอร์ของคู่หลักไว้แบบนั้น พอหันมามองคู่รอง มันช่างเต็มไปด้วยความสับสน หลงทาง คลุมเครือ ชนิดที่ว่าฉันก็ยังไม่อาจตัดสินใจได้เลยว่า ทั้งคู่นั้นมีความรู้สึกต่อกันหรือไม่ ซึ่งมันก็ทำให้มองว่าคาแรกเจอร์คู่รองถูกวางไว้ให้ดูเป็นขั้วตรงข้ามของคู่หลักอยู่บ้างแหละ จากจุดหนึ่งในตอนหนึ่งที่น่าจะเป็นจุดเริ่ม ผ่านไปหลายต่อหลายตอน ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ยังคงงึมงำกันอยู่ เอาจริงๆ ตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าปากหนักอะไรกันนักหนา แต่พอตอนท้ายถึงได้เข้าใจว่า มันเพราะเป็นนิสัยของตัวละครคู่รองนี้แหละที่เป็นสาเหตุหลักจนแทบจะกลายเป็นปัญหาต่อกันโดยไม่รู้ตัว การพูดไม่เก่งในเรื่องความรู้สึก การไม่รู้ความรู้สึกตัวเองอย่างแน่ชัด จัดแจงความสำคัญไม่เป็น ไม่มั่นใจ กล้ว ไม่กล้า …. แต่พอตอนสุดท้าย ตอนทั้งคู่พยายามและสามารถก้าวข้ามตนเองไปสู่อีกฝ่ายได้ ส่งต่อความรู้สึกในใจตัวเองถึงอีกฝ่ายแบบชัดเจนโดยไม่ต้องมีคำบรรยายอะไรให้ลึกซึ้ง กลายเป็นโมเม้นต์ตรงนี้ของคู่รองคือส่วนที่ฉันประทับใจมากๆ ที่สุดในเรื่องนี้ไปเลย

จะว่า การโฟกัสเรื่องของงานในเรื่องนี้ดูไม่ค่อยจริงจังถึงพริกถึงขิงซักเท่าไหร่ นับตั้งแต่ต้นมา เหมือนกับว่าเรื่องของานคือสิ่งเดินทางไปพร้อมๆ กับเรื่องความสัมพันธ์ที่พัฒนาของคู่รัก จนมาท้ายเรื่อง เรื่องของงานที่ปูไว้มาตลอดก็ได้ทำงานอย่างจริงจังซักที เรียกได้ว่าโคตรตรึงเครียดเอามากๆ ตรงนี้รู้สึกสงสารนางเอกมาก ยิ่งเพราะนิสัยคาแรกเตอร์ของนางเอกเป็นแบบนี้แล้วด้วย ยิ่งทำให้เธอโดนกดทับจนเบื้องบนแบบไม่เห็นคุณค่าความทุ่มเทและไม่เห็นหัวหนักเธอคนนี้หนักขึ้นไปอีก ชนิดที่ว่าจะจับโยนพนักงานคนนี้ไปไหนต่อไหนก็ได้ตามอำเภอใจ ตราบใดที่เธอยังทำงานกับเราอยู่และไม่ลาออกไป
นางเอกที่รักงานตัวเองและต้องการเลื่อนขั้นสู่ตำแหน่งที่ฝันไว้ พระเอกที่ทำงานของตัวเองได้ดีแต่มันไม่ใช่สิ่งที่ตัวรักและฝันไว้ตลอด ซึ่งพอถึงช่วงที่้ตรึงเครียดช่วงท้าย มันจึงเหมือนกราฟชีวิตในเรื่องความฝันของทั้งคู่มันสวนทางกันซะงั้น จนบางสถานการณ์ก็อดเสียวแวปไม่ได้เลยว่า มันสามารถก่อให้เกิดความไม่แฮปปี้เอนดิ้งและทำลายความฟีลกู้ดที่ปูไว้ขึ้นได้ทุกขณะจริงๆ แต่โชคดีที่ซีรี่ส์มันไม่ได้ใจร้ายแบบนั้น (ถ้าเป็นหนังในยุคนี้ก็อาจสานต่อให้เกิดความตับพังกันได้ 555)

The Noonday Witch (2016)

The Noonday Witch (2016 / Jiri Sádek)
(Czech Republic)

เปิดเผยเนื้อหา *****

แม่กับลูกสาวย้ายมาอยู่เมืองที่เป็นบ้านเกิดของสามีที่เพิ่งเสียชีวิตแต่แม่ปิดเรื่องพ่อเสียชีวิตเอาไว้ เวลาลูกสาวถามก็บอกพ่อยุ่งอยู่ พ่อยังไม่กลับ อีกไม่นานหรอกนะ ลูกสาวที่ทำเหมือนเข้มแข็งนอนคนเดียวได้ในคืนแรกที่บ้านหลังใหม่แต่จริงๆ ลูกสาวก็มีความกลัวอยู่ดีแหละและมักหยิบหมอนมานอนกับแม่
วันหนึ่งภรรยาหัวหน้าหมู่บ้านที่ดูไม่ค่อยเต็ม โผล่มาในบ้านหลังจากคนอื่นๆ กลับไปหมดแล้วหลังจบงานเลี้ยงที่แม่คนนี้จัดขึ้น สิ่งที่หญิงสาวประหลาดคนนี้พูดคือ จะมีคนมีแม่มดมาเอาตัวลูกสาวเธอไปแล้วมันจะไม่คืนให้ เหมือนที่ลูกสาวของฉันโดน…แม้ตัวแม่จะไม่คิดอะไรแต่ลูกสาวที่บังเอิญตื่นมาได้ยินเข้าเธอก็กลัวและมองว่าหญิงสาวคนนี้คือตัวสร้างปัญหาให้ครอบครัวเธอนับแต่นั้น
ความจริงอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับหญิงสาวคนนั้นผ่านตัวหัวหน้าหมู่บ้านก็คือ อยู่ๆ ภรรยาเขาก็หายตัวไปพร้อมกับลูกสาวเป็นระยะเวลา 7 ปี พอภรรยากลับมาลูกสาวก็ไม่อยู่แล้ว สิ่งที่เหลือทิ่้งไว้ในสมุดของภรรยาเขาคือภาพวาดสิ่งประหลาดลี้ลับแม่มดตนหนึ่งที่มาพรากลูกสาวไปที่เป็นไปตามคำพูดของหญิงสาวประหลาดที่พูดกับแม่ของเด็กสาวก่อนหน้านี้

เอาแล้วๆ หนังเริ่มเกริ่นมาแบบนี้แล้ว มันคือหนัง Horror เมนสตรีมแน่ๆ เลย แต่เอาเข้าจริง อ่าาาา นี่คุณผู้กำกับตั้งใจใช่มั้ย จากที่ปูมา บรรยากาศในหนัง ทุกอย่างมันล้วนมุ่งไปทาง Horror เมนสตรีมจริงๆ ไอ้ฉันก็ลุ้นก็ระทึกขวัญตามไปแบบเตรียมใจต่างๆ นานา สุดท้าย Horror เมนสตรีมอะไรเหรอ ใครทำหนังแนวนั้นกัน …เหมือนได้ยินเสียงผู้กำกับเยาะเย้ยหลังรับชมหนังจบ

จริงๆ แล้วตัวหนังมันคือเรื่องราวปัญหาของแม่ลูกในช่วงที่พ่อเสียไปแค่นั้นแหละ แม่ที่ไม่กล้าพูดความจริงกับลูกสาว ลูกสาวที่พอรู้ความจริงเรื่องพ่อก็โกรธแม่และดื้อทำตัวเป็นเด็กเปรต เพื่อนบ้านผู้ที่ยื่นมือมาช่วยเหลือแม่ลูกคู่นี้ทุกอย่าง ก็แลเห็นการหวังอะไรซักอย่างในตัวแม่เด็กคนนี้ หญิงประหลาดจริงๆ เธอก็แค่ป่วยทางจิตแล้วกลายเป็นบ้าหลังจากมีส่วนทำให้ลูกสาตัวเองเสียชีวิต ปั้นเรื่องแม่มดขึ้นมาเพื่อเบี่ยงเบนความจริงว่าตนเองทำให้ลูกตาย ความตายที่เกิดขึ้นของหญิงประหลาด มันคืออาการ Heatstroke ตายกลางทุ่ง แต่การตายนั่นทำให้แม่เด็กเริ่มคิดมากคิดหนักจนประสาทหลอน จนคิดไปว่าจะมีแม่มดมาเอาตัวลูกสาวเธอไปจริงๆ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป การพยายามปกป้องลูกสาวอย่างสุดตัวที่ทำให้ลูกสาวกลัวแม่ตัวเองจริงๆ ขึ้นมา ทางออกเดียวคือตัวแม่ต้องเลิกประสาทแดกคิดไปเองจนหลอนแม่มดขึ้นมาให้ได้นะ มิเช่นนั้นเธอเหลือตัวคนเดียวที่แม้ลูกสาวก็จะไม่อยู่กับเธออีก

ช่วงท้ายนี่ ตัวหนังก็ปั่นหนักจนได้ผลเลยนะ มันเริ่มทำให้ฉันเชื่อตามจริงๆ ว่า นี่คือ Horror เมนสตรีมสินะ เพราะมันมีแม้กระทั่งแม่มดตนปรากฏตัวออกมาจริงๆ !!! ….แต่สุดท้าย ก็อย่างที่ว่าไว้ในย่อหน้าที่แล้ว สิ่งที่ปรากฏแม่มดตนนั้น มันคือภาพหลอนที่ตัวแม่เด็กสร้างขึ้นมาเท่านั้น

ก็เชื่อนะว่า หลายคนที่อาจเผลอคิดว่ามันคือ Horror เมนสตรีมตามที่หนังเกริ่นเรื่องปูไว้ จึงคาดหวังไว้แบบนั้น แล้วพอหนังจบมันไม่เป็นไปตามนั้น หนังที่ทำให้เราคิดไปเองว่ามันคือ Horror เมนสตรีม เชื่อว่าหลายคนนั้นคงจะสาปส่งหนังเรื่องนี้แน่ๆ ด้วยความผิดหวังที่มึงลวงหลอกกันได้ลงคอ

The Noon Witch นี่ เป็นดั่ง folklore คลาสสิกของ Czech เลยก็ว่าได้

Aurora (2018)

Aurora (2018 / Yam Laranas)
(Philippines)

โรงแรม • คน • ผี • ทะเล

เรือสำราญล่มที่โขดหินใกล้ชายฝั่ง ผู้คนเสียชีวิตและสูญหายมากมาย ครอบครัวผู้เสียสูญหายบางคนก็ทำใจแต่บางคนก็ยังหวังว่าจะได้พบผู้สูญหายที่เหลือ พวกเขาขอให้นางเอกเปิดโรงแรมต่อไป เพื่อที่คลื่นลมพายุจะพัดพาผู้เสียชีวิตหลุดออกมาจากซากเรือเพื่อเกยตื้นที่หาดนี้

ตัวหนังวางนางเอกและน้องสาวไว้ให้เป็นพวกจิตแข็งพอสมควร ไม่ว่าจะเกิดภาพหลอนเจอผีหรืออะไรก็ตามก็ไม่ได้เกิดการสติแตกใส่พวกนั้นซักเท่าไหร่ อย่างมากที่สุดก็แค่สลบไป แล้วพอวางพี่น้องเป็นพวกจิตแข็งไว้แล้ว ช่วงท้ายของหนังเลยสามารถจัดเต็มได้อย่างเต็มที่กับการพาไปสู่ความแฟนตาซีทะลุเวลาไปโผล่กลางเรือทั้งก่อนและระหว่างเกิดเรื่องเรือล่ม ได้เห็นคนเป็นหนีตายและตายโดนเผา/จมน้ำซึ่งๆ หน้า ได้เห็นผีคนตายมากมายผ่านไปทั้งในเรือและในโรงแรมที่ทะลุมิติไปมาของสองพี่น้อง รวมไปถึงการเกือบพลาดพลั้งตายในมิติเวลาที่ทะลุไปที่เหตุการณ์เรือล่มเหตุการณ์นั้น

แต่สิ่งที่ชอบในหนังมากที่สุดคือเรื่องคนเป็นนี่แหละ กับการดิ้นรนใช้ชีวิตของพวกเขา เมื่อเรือสำราญล่มผู้คนตายและสูญหายมากที่เกาะแห่งนี้ มันเลยทำให้ชีวิตและกิจการของผู้คนที่เกาะแห่งนี้ต้องล้มหายตายจากไปพร้อมๆ กัน ใครเล่ามันอยากจะมาเที่ยวทะเลมาตกมาที่เกาะที่มีคนตายและสูญหายมากมายแบบนี้ โรงแรมนางเอกใครจะมาพัก กิจการตกปลาดำน้ำของผู้คนในเกาะใครมันจะมาเที่ยว หลายสิบชีวิตล้วนประกาศขายบ้านบนเกาะกันหมด
จริงๆ นางเอกก็เกือบจะปิดโรงแรมแล้ว แต่เพราะได้รับจ้างวานให้ช่วยเปิดโรงแรมต่อซักเดือนแลกกับถ้าเจอศพผู้สูญหายมาเกยหาดนางเอกจะได้เงินจากผู้ว่าจ้างศพละห้าหมื่น ในเวลาเดียวกันยามชายฝั่งก็สั่งห้ามนางเอกหรือใครก็ตามเข้าใกล้เรือเพราะมันอันตราย นางเอกเลยต้องแอบทำ หาคนร่วมงานนี้เพิ่มกับการขับเรือไปสอดส่องศพแถวๆ ที่เกิดเหตุด้วยอีกแรง
ยิ่งตอนเท้ายเรื่องบางเรื่องมันก็เปิดเผยเป็นเรื่องโสมมในฝั่งเจ้าหน้าที่ทั้งหลายที่หาผลประโยชน์เข้าตัว ผ่านการเมีนเฉยต่อกฏและความปลอดภัยบนเรือ เมื่อเกิดเหตุขึ้นอีกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็พยายามปกปิดไม่ให้เรื่องที่ซุกแดงขึ้นมา

ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวหนังอาจชักชวนพาให้คนร่วมกันหลับไปกับหนังได้เช่นกัน เป็นหนังผีที่ไม่ได้เน้นไปสู่ความน่ากลัวซักเท่าไหร่ อาจมีบรรยากาศความหลอนบ้างพอประมาณ

>>Netflix<<

Spider-Man (1978)

Spider-Man (1978 / Koichi Takemoto)
(Japan)

อยู่ๆ ก็มีโอกาสได้ดู Spider-Man ของญี่ปุ่นตัวนี้ ที่เป็นตัวฉายโรงในงาน Toei Cartoon Festival ที่มีความยาวแค่ 24 นาที เนื้อหาในเรื่องคือภาคแยกเสริมที่อยู่ระหว่างกึ่งกลางของ EP 11 กับ 12 ของเวอร์ชั่นทีวีซีรี่ส์ 41 ตอนระหว่างปี 1978-1979

แต่สิ่งที่เหนือความคาดหมายที่สุดคือมันเป็นสไปเดอร์แมนที่โคตรเวรี่เจแปนสุดๆ เป็นเสมือนแนวเซ็นไตที่มีสไปเดอร์แมนที่ตัวละครหลัก มีรถประจำตำแหน่งที่ไม่ธรรมดา อุปกรณ์ที่ข้อมือสามารถสอดส่องดูตำแหน่งอื่นได้ ยิงเชือกได้ ยิงแหได้ ยิงเชือกมาห้อยโหนได้ ติดต่อไปยังรถประจำตำแหน่งสุดไฮเทคที่บินบนฟ้าได้ ถ้าสไปเดอร์แมนจะขึ้นเรือที่อยู่กลางทะเลล่ะ ก็ว่ายน้ำมาเลยสิครับ
แล้วที่ขาดไม่ได้เลยกับความเป็นเวรี่เจแปนเซ็นไตก็คือ ตัวร้ายขยายร่าง สไปเดอร์แมนก็เรียกยานใหญ่มาเพื่อเข้าไปขี่แล้วแปลงร่างยานกลายเป็นหุ่นยนตร์ขนาดใหญ่สู้กัยตัวร้ายขยายร่างตัวนั้น ณ จุดนี้หุ่นยนต์ก็คือหุ่นยนต์ไปเลยนะ ไม่มีอะไรเป็นสไปเดอร์แมนเลย มีต่อย มียังจรวด มีปลิดชีพตัวร้ายด้วยการเขวี้ยงดาบใส่

เอาจริงๆ คือโคตรเพลินอ่ะ มันดูเป็นสไปเดอร์แมนที่ติดดินดีในช่วงแอคชั่นสู้กับพวกกีกี้ ชอบสุดคือการยิงเชือกแล้วโหนแบบปกติไปเตะใส่พวกกีกี้นั่น ไม่มีหรอก ยิงใยห้อยโหนตามตึกไปมาอ่ะ เพราะในเมื่อสไปเดอร์แมนมีรถ เขาก็ขับรถปกติเอานี่แหละ 5555

The Beast of Tutor (2003)

The Beast of Tutor (2003)

The Beast of Tutor (2003 / Peony Ma Sau-Hing)
(Hong Kong)

ติวเตอร์สายเยสแบบดาร์กๆ

ติวเตอร์คนนี้ก็เป็นชายหนุ่มปกติแหละ จนได้เจอพี่สาวของนักเรียนที่ตัวเองติวทั้งคู่รักกันและแต่งงานกัน ก่อนจะเจอธาตุแท้ของเมียตัวเอง เมียที่ทำให้บรรยากาศในบ้านส่งผลให้สามีกลายเป็นคนไร้น้ำยาขี้แพ้คนหนึ่ง เมียวันๆ นั่งแต่โขกไพ่นกกระจอกส่วนผัวก็ทำงานบ้านกวาดซักผ้าซักกางเกงในเมียไป จนมาถึงจุดที่ทำให้ผัวแตกพังกลายเป็นวายร้ายก็คือ เมียที่นินทาลับหลังผัวว่าเยสไม่มันเลยก่อนจะพาหนุ่มมาเยสในห้อนนอนตัวเองแล้วผัวแอบมาเห็นเข้า พอผัวกลายเป็นวายร้าย เมื่อเขาหื่นแบบที่แต่ก่อนหื่นกับนักเรียนตัวเองก็จะหลบมาชักว่าวปลดปล่อยอารมณ์พวกนั้นออก แต่ตอนนี้เขากลายเป็นวายร้ายไปแล้ว จึงบุกเข้าใส่นักเรียนตัวเอง ข่-มขืนแล้วถ่ายรูปแบล็กเมล์ไว้ แล้วเขาก็ได้ทำแบบนี้เสมอมา ไม่มีใครจับเขาได้ เหยื่อก็กลัวว่ารูปลับตัวเองจะถูกเอาไปปล่อยในเนตตามคำขู่ของติวเตอร์ เลยทำให้การมาเรียนแต่ละครั้งคือการถูกติวเตอร์ติวเรื่องเซ็กส์แบบจัดหนักตลอด
โดยตัวหนังจะเป็นการเล่าย้อนภายหลังจากที่เขาโดนตำรวจหญิงจับได้ โดนอัดแล้วจับมานั่งสอบสวน

ในช่วงท้ายคือการพยายามทำให้เกิดสมดุลบางอย่างขึ้น ที่ไม่ได้บอกว่าการข่มขื-นเหยื่อมันคือความชอบธรรม โดยสิ่งที่ทำให้สมดุล ณ ที่นี้ก็คือปมในอดีตของติวเตอร์ที่เป็นบาดแผลตลอดมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กวัยรุ่น บาดแผลนี้ก็คือ เขาได้โดนติวเตอร์หญิงข่มแหงรังแกและข่-มขืนเขา สั่งสอนเขาด้วย SM ในเวลาเดียวเขาก็โดนพวกเด็กนักเรียนหญิงรุมรังแกแบบสูญสิ้นความเป็นชายเรื่อยมา จนปมตรงนี้ได้กลายเป็นความตั้งใจบางอย่างในใจของเขาว่า เขาจะแก้แค้นพวกผู้หญิงอย่างเจ็บแสบให้ได้เลยคอยดู …จนมาระเบิดกลายเป็นวายร้ายเต็มตัวแล้วเริ่้มต้นการล้างแค้นพวกผู้หญิงในตอนโตนี่แหละ

แต่ตอนจบดูฝืนเกินไปนะ ฝืนเพื่อให้ชะตากรรมของไอ้ติวเตอร์สายเยสจบแบบฟ้ามีตาอะไรพวกนี้ให้ได้นั่นแหละ

อีกอย่างนึงที่เหมือนหนังจะดึงเอาความเป็นจริงในสังคมบางอย่างมาใส่ไว้ ผ่านตัวตำรวจหญิงที่ได้เจอมากับตัวชนิดที่ไม่เชื่อว่ามันเกิดขึ้นจริงแบบนี้ คิดว่าจะแต่ในหนังอีโรติกหรือนิยายเท่านั้น กับสภาพของหญิงสาวที่เพิ่งจะโดนข่มขื-นแต่ได้ถูกช่วยไว้ ตำรวจหญิงที่ขอให้เหยื่อไปให้ปากคำที่สถานีแต่เหยื่อกลับแก้ตัวน้ำขุ่นว่า อ้อ ฉันไม่ได้โดนข่มขื-นนะคะ ตะกี้คือแฟนฉัน ฉันไม่ได้ร้องให้ใครช่วยเลยนะ คุณเข้าใจผิดแล้ว บลาบลาบลา แก้ตัวไปเรื่อยเพื่อไม่ต้องการไปโรงพัก ต้องการเก็บเหตุการณ์พวกนี้ไว้กับตัวเองแบบนี้แหละด้วยความกลัวความอายอะไรก็ว่ากันไป

ตัวหนังโป๊มหาศาลเลยครับ แต่ดูแล้วจะอารมณ์ขึ้นตามมั้ยมันก็อีกเรื่องนึงนะ…

Ito (2021)

Ito (2021 / Satoko Yokohama)
(Japan)

โปสเตอร์นั้นมันดูเป็นดั่งภาพรวมของหนังเลย พอได้รับชมจริงๆ ทุกอย่างบนโปสเตอร์ที่เห็นนั้นมันช่างกระจัดกระจายเหลือเกิน กระจัดกระจายมากๆ จนคิดว่ามันคงไม่ได้ใช้เวลาแปปเดียวเพื่อรวมให้กลายเป็นหนึ่งดั่งภาพบนโปสเตอร์แน่นอน …ซึ่งก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ

อิโตเด็กสาวขี้อายพูดไม่เก่งเสียงเบาที่หมดความสนใจในความสามารถพิเศษตนเองกับการเล่นชามิเซ็น เพียงเพราะเมื่อเธอเล่นการจัดร่างกายของเธอเมื่อปลดปล่อยอารมณ์ออกมา “มันดูไม่เท่-ดูน่าเกลียด” ในเวลาเดียวกันช่วงเวลาที่เบื่อไม่มีอะไรทำ อิโตก็ได้สนใจงานพิเศษกับการไปทำงานเมดคาเฟ่แห่งหนึ่งในตัวเมืองอาโอโมริ เป็นเมดคาเฟ่ร้านเล็กๆ แต่สำหรับอิโตนั้นเธอมองว่าที่นี่น่าจะเป็นการพัฒนาและได้ฝึกการพูดคุยที่เป็นจุดด้อยของตนเองได้ แต่ความจริงแล้วเหตุผลที่อิโตมาทำงานที่เมดคาเฟ่นี้ก็คือ ได้เงินเยอะ เท่านั้นแหละ ~

นานวันเข้า สำหรับอิโตแล้วเธอรักเพื่อนร่วมงานรักบรรยากาศที่เมดคาเฟ่แห่งนี้ แต่ไม่ใช่ในมุมมองของพ่อ คำพูดของพ่อที่ยกมาเปรียบเนื้อแท้ของเมดคาเฟ่นั้น เป็นงานบริการที่ต้องเอาอกเอาใจออดอ้อนผู้ชายแบบนี้ ฟังๆ ไปมันก็เปรียบได้ดั่่งงานบริการแบบเกอิชาในยุคโบราณโน้นเลยก็ว่าได้ ยิ่งตัวหนังมีชามิเซ็นด้วย ยิ่งเหมือนลงล็อคเข้าไปใหญ่ …แต่ก็เป็นแค่การเปรียบเปรยของฉันแหละ ในหนังไม่ได้ใช้งานชามิเซ็นสื่อถึงการเป็นเกอิชาตรงๆ หรอก

ชอบในส่วนของการคัมแบ็คทูชามิเซ็นของอิโตมาก ที่แรกเริ่มมันไม่ได้เกี่ยวกับการตระหนักถึงความสามารถตนเองแต่อย่างใดเลย เสียงแรกที่ดีดออกมามันมาจากการต้องการระบายความเจ็บปวดในใจอะไรบางอย่างออกมาของอิโต ในเมื่อเธอไม่ใช่คนพูดเก่งพูดเสียงดังแถมเป็นคนเรียบร้อยการจะตะโกนหรือระบายผ่านร่างกายใดๆ มันคงเป็นไปได้ยาก การหยิบชามิเซ็นมาดีดแบบเจ็บนิ้วที่ไม่ได้เล่นมานานจนเสียงบอดหลายต่อหลายครั้งค่อยๆ กลายเป็นเสียงตรงคีย์นี่แหละ คือการระบายอารมณ์ของอิโตออกมา หลังจากนั้นภายหลังจากการได้รับเงินเดือนก้อนแรกของอิโต ความสบายใจดีใจมีความสุขก็ได้ถูกส่งผ่านการหยิบชามิเซ็นมาดีดเพลินๆ ในห้องตัวเองแม้ส่วนหนังของชามิเซ็นจะเสียหายไปแล้วก็ตาม อีกอย่างที่น่าจะเริ่มทำให้อิโตเปลี่ยนมุมมองในเรื่องของสิ่งที่ตัวเองชอบและจริงจังไปกับมันผ่านเพื่อนร่วมงานเมดคาเฟ่สองคน คนหนึ่งอายุมากกว่ายี่สิบไปมากโขแล้วแต่เธอก็จริงจังและเต็มที่กับการเมดเหมือนเดิม อีกคนเบื่อและเกลียดโรงเรียนแต่มี่ความสามารถในการวาดรูปวาดมังงะตั้งเป้าไว้ว่าจะตามหาฝันเป็นนักวาดมังงะมืออาชีพในโตเกียวซักวันหนึ่ง

ซึ่งที่ผ่านมาอาจไม่ใช่การคัมแบ็คทูชามิเซ็นแบบจริงจังของอิโตหรอก เหตุผลเดียวที่น่าจะเป็นส่วนสำคัญให้อิโตจริงจังกับชามิเซ็นอีกครั้งก็คือ เพื่อนคนเดียวของอิโต เพื่อนที่น่าจะเพิ่งได้คุยกันจริงจังเป็นครั้งแรก เพื่อนที่แนะนำให้อิโตรู้จักวงนินเง็น อิสุ ที่ดูเป็นวงร็อคสำเนียงโบราณที่มีเอกลักษณ์โคตรๆ แต่ก็อยู่มาได้เรื่อยๆ ปาเข้าไปก็เกือบ 30 ปีแล้ว และเพื่อนคนนี้แหละที่เปลี่ยนความรู้สึกของอิโตตอนเล่นชามิเซ็น อิโตอาจเคยมองตัวเองว่าสภาพตอนตัวเองเล่นชามิเซ็นมันน่าเกลียด แต่ในมุมมองของเพื่อนคนนี้ อิโตตอนเล่นชามิเซ็นคืออย่างเท่เลย คือกำลังใจที่กลายเป็นแรงบวกสำหรับอิโตที่ตั้งใจจะจริงจังต่อชามิเซ็นอีกครั้ง

ตัวหนังมีรายละเอียดหลายอย่างที่น่าสนใจเยอะมาก ทั้งประวัติศาสตร์ช่วงสงครามการทิ้งบอมปูพรมใส่บ้านเมือง รายละเอียดเรื่องเมดที่ลอกๆ กันมาจากโตเกียวสู่อาโอโมริ รายละเอียดการชงกาแฟ รายละเอียดการขึ้นหนังชามิเซ็น และรายละเอียดการตะไบเล็บเป็นแง่งของอิโต (ตรงส่วนนี้มากมาย เล็บที่เป็นแง่งมันทำไว้เพื่อโยก/ดันสายได้สะดวกมือมากขึ้นเหรอ)

เคยอ่านเจอมาว่า หนังมันโดนเส้นคนญี่ปุ่น แต่ไม่คิดว่ามันจะถึงขนาดนี้ เปลี่ยนผืนนาให้ออกมาแบบนี้

Summer Is the Coldest Season (2019)

Summer Is the Coldest Season (2019 / Sun Zhou)
(China)

เด็กสาวอายุ 14 อยู่กับพ่อที่ทำงานขับรถขนเนื้อวัวจากโรงเชือด ด้วยเหตุผลนี้ทำให้เด็กสาวโดนเพื่อนร่วมชั้นบลูลี่ผ่านการล้อเลียนกลิ่นเหม็นจากงานของพ่อประหนึ่งไม่มีใครซักคนอยากเข้าใกล้เด็กสาวคนนี้เพราะรู้สึกขยะแขยง แต่สิ่งที่เด็กสาวคนนี้โต้ตอบก็ใช่เล่นซะที่ไหนกัน
นอกเหนือจากเรื่องตรงนี้ที่อาจจะมีเพียงเด็กสาวคนนี้ที่รับรู้อีกเรื่องก็คือเกรดวิชาเลขนั่นตก อาจารย์ก็เป็นห่วงเพราะเด็กสาวคนนี้เป็นเด็กดีเคยเรียนเก่งมาตลอด จากตรงนี้มันเลยดูเหมือนเป็นเรื่องของเด็กสาวที่ต้องฝ่าฝันทั้งการเรียนและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่รุมด้อยค่าเธอจนต่ำเรี่ยดินแบบนี้

…แต่ช้าก่อน ถ้าคิดว่านั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นปัญหาสำหรับเด็กสาวในเรื่องนี้แล้ว ไม่ใช่เลย เพราะสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าสำหรับเด็กสาวคือเมื่อเธอได้เจอไอ้หนุ่มคนหนึ่งที่เพิ่งออกจากโรงเรียนดัดสันดานมา ไอ้หนุ่มคนนี้คือที่มีส่วนทำให้แม่ของเด็กสาวตายจนครอบครัวเธอตกอยู่ในสภาพที่ไร้ความสุขแบบนี้ สิ่งสำคัญของเด็กสาวในหนังรวมไปถึงสิ่งที่หนังเลือกโฟกัสก็จะไม่ใช่เรื่องปัญหาในห้องเรียนหรือการเรียนของเด็กสาวอีกต่อไป แต่เป็นตัวเด็กสาวที่จะเอายังไงกับไอ้หนุ่มคนนี้กันแน่ จะแอบตาม เก็บข้อมูล เอาคืนหรือล้างแค้นให้แม่กันแน่

ความน่าสนใจของหนังที่ทำให้ไม่ดูราบเรียบก็คือ การเริ่มอะไรซักอย่างขึ้นในหนังที่ชวนให้คนดูสงสัยว่ามันคืออะไรกันน้า อย่างเรื่องของไอ้หนุ่มเราก็ไม่อาจรู้ได้ทันทีเลยว่า เด็กสาวรู้จักหรือเกี่ยวข้องอะไรกับไอ้หนุ่มคนนี้เมื่อได้เห็นปฏิกิริยาของเด็กสาวต่อไอ้หนุ่มคนนั้นที่ได้เจอครั้งแรก ซึ่งเมื่อหนังดำเนินไปเรื่อยๆ บางอย่างก็อาจเผยที่มาที่ไปหรือข้อเท็จจริงบางอย่างออกมาในเวลาอันสั้น บางอย่างก็อาจเลี้ยงไปเรื่อยๆ แล้วค่อยให้คนดูได้รับรู้ชัดๆ ไปว่ามัน(ได้)เกิดอะไรขึ้นกันแน่ ไม่เว้นแม้แต่สิ่งที่เด็กสาวตั้งใจและให้ความสำคัญมาตลอดว่าสุดท้ายแล้วเด็กสาวจะเลือกวิธีการ/ทางออก/ผลลัพท์/บทสรุปแบบไหนกันในเส้นทางชีวิตของเธอเอง

8th Wonderland (2008)

8th Wonderland (2008 / Nicolas Alberny, Jean Mach)
(France)

ถ้ามองข้ามความไม่สมจริงโง่ๆ บางอย่างไปได้ ฉันก็จะไม่มีปัญหาอะไรต่อหนังซักเท่าไหร่ แม้ว่ากว่าจะจูนติดกับประเด็นของหนังมันจะใช้เวลากว่าปกติก็ตามที

สปอย****

8th Wonderland ก็เป็นเว็บไซต์แบบเดียวกับ facebook หรือ twitter นี่แหละ เป็นสังคมออนไลน์ลับๆ(?)แห่งหนึ่งที่ใช้การพูดคุยแบบเห็นหน้ากัน จากการถกกันเรื่องปัญหาบ้านเมืองแบบไม่แบ่งแยกประเทศแต่ใช้ภาษาอังกฤษถกเถียงพูดคุยกันเป็นหลัก ตั้งแง่ในเรื่องการเมืองที่ยุติธรรม จนในที่สุดก็เป็นเหมือนกลุ่มขับเคลื่อนสังคมแบบ anonymous เพียงแต่สมาชิก 8th Wonderland จะลงสนามเผยตัวตนไปเลย แต่ไปในนามคนทำงานปกติก่อนจะใช้พื้นที่การงานตรงนั้นขัดขวางการเจรจาบางเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นในมุมของพวกเขา เช่น การเจรจาของอิหร่านกับรัสเซียต่อการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้น ซึ่งสมาชิก 8th Wonderland คนนี้จะทำหน้าที่ล่าม แล้วก็ใช้หน้าที่ตัวเองนี่แหละ ปรับแต่งการแปลให้เกิดการชวนทะเลาะกันขึ้นระหว่างสองฝ่าย จนสุดท้ายการเจรจา สิ่งที่ตามมาคือ สมาชิกคนนั้นลี้ภัยจ้า ไปซ่อนตัวในที่แห่งหนึ่งแทน เพราะหน้าตาทางสังคมการงานมันเผยหมดแล้วยิ่งเมื่อสืบสวนย้อนหลังก็คงชัดเจนว่าผิดที่คนนี้แล้วจะหมดอนาคตทันที

เมื่อพวกเขาเริ่มรู้ว่าตัวเองก็มีพาวเวอร์กัน จึงเริ่มคิดการณ์ใหญ่ขึ้นหมายสถาปณาเว็ปไซต์ 8th Wonderland ให้กลายเป็นประเทศหนึ่งขึ้นมา แล้วให้สมาชิกทั้งหมดร่วมกันโหวตเลือกประธานาธิบดีประเทศ 8th Wonderland ขึ้น
หลังๆ นี่เริ่มแทรกแซงหนักขึ้น เช่นเป้าหมายการให้ชาวโลกตื่นตัวเรื่อง HIV แล้วให้ความสำคัญแก่กับช่วยเหลือผู้ป่วยกันจริงจัง การแทรกแซงตรงนี้คือโผล่เข้ากลางการประชุมกลุ่ม G8 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ สิ่งที่ประธานาธิบดีประเทศ 8th Wonderland กดดันต่อกลุ่ม G8 ให้ตระหนักถึงเรื่อง HIV ก็คือ การกดดันผ่านครอบครัวสมาชิก G8 เช่นลูกๆ ของพวกเขาด้วยการทำให้ลูกๆ ของพวกเขาติดเชื้อ HIV วิธีใดวิธีหนึ่งที่ไม่ใช่การยัดเยียดหรือใช้กำลัง เท่านี้พวกสมาชิก G8 ก็จะหันมาใส่ใจเรื่อง HIV กันเป็นวาระแห่งชาติกันในทันที (ช่วยลูกๆ ตัวเองไปในเวลาเดียวกัน)

หลังๆ นี่มันหนักข้อขึ้นเสียยิ่งกว่าแทรกแซงซะอีก เป็นการโหวตหมายกำจัดผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีประเทศหนึ่งว่าควรกำจัดทิ้งหรือไม่ ถ้าปล่อยไว้มันจะส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อประเทศนั้นเหมือนที่แล้วมาหรือไม่

จริงๆ เราก็รู้ๆ กันอยู่แล้วแหละถ้ากลุ่มคนบนเนตมันเหิมเกริมและรุกล้ำคุกคามผู้คนมากเกินไป การกำจัดทิ้งต้นทางทั้งหมดเลยก็ไม่ยากคือ ปิดเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์นั้นในทันที แต่ในหนังนี่ติดเวอร์ไปหน่อยตรงที่ ไม่ปิดปกติหรอก เป็นการบุกเข้าจับกุมผู้ก่อตั้งเว็บไซต์แล้วติดตั้งระเบิด บอมแม่งทั้งชั้นเซิร์ฟเวอร์แห่งนี้ไปเลย

แต่ตลกสัสๆ ก็ช่วยเอนเครดิตที่เล่าเรื่องต่อว่าทางกลุ่มไม่คิดยุติอุดมการณ์ลงแค่นี้ สิ่งที่พวกเขาทำต่อไปก็คิด ทำให้ไม่สามารถให้ทางการมายุ่มย่ามกับเซิร์ฟเวอร์ได้ ทำไงล่ะ นั่นคือเอาเซิร์ฟเวอร์ไปไว้บนยานในอวกาศซะเลยสิ 5555555555555 เอากับมันสิ

BhamaKalapam (2022)

BhamaKalapam (2022 / Abhimanyu Tadimeti)
(India)

ต้นเหตุทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นจาก “ความเสือก” ล้วนๆ เลย

ด้วยความเสือกเรื่องชาวบ้านต่อผู้คนเพื่้อนบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกแฟลตใกล้เคียงกันของแม่ครัวยูทูปเบอร์ ทำให้เธอต้องเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์ฆาตรกรรมเข้า เท่านั้นไม่พอเธอยังต้องพยายามหาที่ซ่อนศพโดยไว เพราะในเวลาไม่นานตำรวจก็เข้ามาดูคดีโดยพลัน สั่งปิดล็อคโซนแฟลตที่อยู่อาศัยนี้ทั้งหมดเพื่อไขคดีและหาตัวการฆาตกร ใช่มีคนตายจริงในคดีที่ตำรวจเข้าดูแลแต่นั่นไม่เกี่ยวกับแม่ครัวยูทูปเบอร์ อีกคนต่างหากที่แม่ครัวยูทูปเบอร์เผลอก่อเรื่องให้จนเธอต้องพยายามซ่อนศพ สุดท้ายก็ต้องใช้ห้องตัวเองนี่แหละในการซ่อน แม่ครัวยูทูปเบอร์แต่งงานมีลูกมีสามีแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถหาที่ซ่อนศพในบ้านตัวเองอย่างสะดวก

ตัวหนังจะมีสิ่้งหนึ่งที่เหมือนเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวทั้งหมด สิ่งหนึ่งนั้นก็คือ ไข่ฟองหนึ่ง ไม่ใช่ไข่ธรรมดาแต่เป็นไข่หายากที่ถูกขโมยมาจากพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง ผู้ซื้อคือมาเฟียสายโหดคนหนึ่ง แต่ด้วยความสะเพร่าระหว่างขนส่งทำให้จับพลัดจับพลูก่อให้เกิดการฆ่ากันตายขึ้นเพื่อชิงไข่ฟองนั้นคืนมา ซึ่งตัวแม่ครัวยูทูปเบอร์ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับไข่เลย เธอแค่ขี้เสือกจนหาเรื่องใส่ตัวเท่านั้นเอง แล้วนอกเหนือจากต้องซ่อนศพในบ้านตัวเองแล้ว มาเฟียยังตามรอยมาเจอเธอแล้วพยายามขู่กรรโชกหลายอย่างให้แม่ครัวยูทูปเบอร์ต้องหาไข่ฟองนั้นมาคืนเขาให้ได้ แม่ครัวยูทูปเบอร์นี่ตอนแรกถึงกับงง “ฉิบหายละ ไข่อะไรอีกวะเนี่ย” แต่เธอก็ต้องพยายามเพราะไม่งั้นทั้งทั้งครอบครัวเธอจะต้องโดนดีแน่นอน

ภายใต้สถานการณ์ตลกร้ายที่นางเอกต้องเจอและพยายามจัดการแก้ไขแบบมีสติที่สุด มันทำให้นึกถึงฟีลตลกร้ายแบบ “เรื่องตลก 69” เลย ความคล่องและมีสติจัดการสถานการณ์มีศพในบ้านทุกอย่างได้อย่างลงตัว มันทำให้เกิดความตลกเลยเมื่อ สาวเพื่อนบ้านที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยส่วนหนึ่งทักนางเอกว่า “นี่เหมือนไม่ใช่การฆาตกรรมครั้งแรกของคุณเลย” …พอมานึกๆ ดู ก็จริงแฮะ 55555

Aswang (2019)

Aswang (2019 / Alyx Ayn G. Arumpac)
(Philippines / France / Norway / Qatar / Germany)

ผลกระทบจากนโยบายสงครามยาเสพติดของประธานาธิบดี โรดรีโก ดูแตร์เต ส่งผลให้เกิดผู้คนล้มตายจากการถูกฆ่านับไม่ถ้วนและทุกๆ วัน ชาย หญิงหรือแม้แต่เด็กก็ตาม จะซื้อขายกันจริงหรือไม่ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะยิงตายไปแล้ว จะสู้กับคืนต่ออีกฝ่ายจริงหรือไม่ไม่รู้แต่สำนวนตำรวจจะลงไว้เสมอว่าอีกฝ่ายปืนและยิงสู้กลับ
แม้ดูแตร์เตจะบอกเขาไม่มีหน่วยงานไล่ฆ่าประชาชนแบบนี้ก็เหอะ แต่กฏหมายที่ดูแตร์เตออกไว้มันก็เอื้อให้เกิดปฏิบัติการสงครามยาเสพติดขึ้นได้ แล้วที่ผู้คนล้วนตั้งข้อสงสัย ทำไมมีแต่คนจนโดนจับหรือโดนฆ่าเท่านั้น พวกคนรวยเห็นจะโดนจับโดนฆ่าบ้างเลย คำตัวแก้ที่ออกมาก็คือ คนรวยที่โดนจับก็มี แต่คนจนส่วนใหญ่มักไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด….

แล้วความเหี้ยที่สุดนอกเหนือจากสงครามยาเสพติดที่เอื้อให้ฆ่าคนได้ทันทีก็คือ การหาผลประโยชน์เข้าตัวผ่านกฏหมายยาเสพติดพวกนี้ ที่เหยื่อคือคนจนทั่วไปไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเลย แต่ตำรวจก็จะลักพาตัวพวกเขามาเรียกเงินค่าไถ่ พร้อมกันนั้นก็จะโดนข่มขู่ด้วยข้อกฏหมายเรื่้องยาเสพติดที่โทษรุนแรงมากๆ แต่ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นเมื่อสามารถทลายความระยำตรงนี้ได้ มันหาได้ใช้ความปรีดีแต่เป็นความหดหู่ซะมากกว่า ที่เราไม่สามารถทำอะไรผู้ใช้กฏหมายได้เลย แถมเหยื่อก็ยังคงตกเป็นเหยื่อไปเหมือนเดิม…

สิ่งเดียวที่พอจะทำให้มีพลังใจร่วมไปได้ตลอดรอดฝั่งของสารคดีเรื่องนี้ก็คือ พลังใจเด็กน้อยคนหนึ่ง ที่พ่อแม่ติดคุกเพราะยาเสพติด เด็กน้อยใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกคนเดียว มีเงินก็จะซื้อข้าวไปเยี่ยมในคุก ถ้ามองไปในอนาคตชีวิตเด็กน้อยจะมีแสงสว่างที่สดใสมากกว่านี้หรือไม่ ไม่อาจรู้แน่ชัด แต่บทสรุปของเด็กน้อยท้ายสารคดีเรื่องนี้คือปัจจุบันที่น่าจะดีและมีความสุขที่สุดสำหรับเด็กน้อยแล้ว

ระหว่างดูก็คิดถึงเรื่องนี้ Watch List (2019)
ที่เป็นเสมือนการจำลองการทำงานของมือปืนในการจะเก็บพวกค้า/ใช้ยาเสพติด ด้วยวิธีการขี่มอเตอร์ไซค์มายิงทิ้ง