Tag Archive | Jean-Luc Godard

Keep Your Right Up (1987)

Keep Your Right Up (1987 / Jean-Luc Godard)
(France / Switzerland)

เข้าใจความรู้สึกของคนที่บอกว่า “ทำงานมาเหนื่อยๆ จะพักผ่อนทีใครเขาอยากจะดูหนังดราม่าเครียดๆ กันล่ะ” สำหรับฉันก็คือ ไม่ได้เครียดไม่ได้เหนื่อย รู้สึกชิลๆ เลยนี่แหละ แต่พอเลือกหยิบหนังซักเรื่องมาดูแล้วพบว่าเป็นหนังของ ฌ็อง-ลุก กอดาร์ ฉันก็รู้สึกว่าเหนื่อยและไม่มีอารมณ์จะดูขึ้นในทันทีเลย 😃

ซึ่งพอฝืนดูมันก็เป็นไปตามที่คิดไว้จริงๆ มันคือความรู้สึกที่ดูหนังไม่รู้เรื่องไม่รู้เรื่องนั่นแหละ ให้ตายยังไงก็ไม่รู้เรื่องจริงๆ ซึ่งก็อาจเป็นปกติของหนังกอดาร์อยู่แล้ว

Vivre Sa Vie (1962)

Vivre Sa Vie (1962)

Vivre Sa Vie (1962 / Jean-Luc Godard)
(France)

ชีวิตนานาสิบสองฉาก
นั่งดูไปสัปหงกไปประมาณสิบสองรอบ

แต่มันก็มีอะไรที่น่าสนใจมากมายเลย ชอบสุดก็ตอนนานาหลงเข้ามาทำงานเป็นผู้หญิงขายบริการที่ซื่อๆ งงๆ แต่ตั้งใจเองนี่แหละ หลังจากนั้นแมงดาก็อธิบายกฏหมายสำหรับการมาเป็นผู้หญิงขายบริการที่โคตรละเอียดยิบเลย
ตอนจบที่นี่โหดร้ายมาก ในแง่ของการถ่ายทำที่ยกระดับความโหดขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆ ที่บทสรุปใกล้เคียงกัน ทุกอย่างจะประดาดังด้วยการบิ้วส์ให้ฉากนี้กลายเป็นไคลแม็กซ์ไป แต่ไม่ใช่กับหนังนี้ในมือของฌ็อง-ลุก กอดาร์ ถ้าหนังจะจบแล้ว ก็จบเลยละกันนะ โอเค๊?

Le Petit Soldat (1963)

le-petit-soldat.jpg

 

Le Petit Soldat (1963 / Jean-Luc Godard)
(France)

สิ่งที่ชอบในหนังคือการมีพระเอกเป็นเหมือนฟันเฟืองให้เราได้เห็นการทำงานของคนสองกลุ่มสองฝั่ง
ฝั่งหนึ่งต้องการให้พระเอกไปฆ่าเป้าหมายคนหนึ่ง พระเอกไม่อยากทำเพราะติดหญิง จึงตามมาซึ่งการจัดฉากบีบพระเอกด้วยกฏหมาย ส่วนอีกฝั่งเป็นการสวนกลับในจังหวะที่พระเอกกำลังจะหนี สิ่งที่พระเอกโดนคือการทรมาณรีดข้อมูลว่า “ก่อนหน้านี้ เอ็งโทรหาใคร บอกเบอร์มา” 
สำหรับเรื่องการทรมาณรีดข้อมูล ก็เป็นการเทียบการทำงานของคนสองกลุ่มในวีธีที่ต่างกัน ฝั่งนึงเป็นการทรมาณรีดข้อมูลโดยให้ความระวังไม่ต้องการทิ้งร่องรอยใดๆ ในการทรมาณรีดข้อมูลเป้าหมายคนนี้ กับอีกฝั่งแม้ไม่มีภาพให้เห็น แต่ผลลัพท์คือความตรงข้ามอีกฝั่งโดยสิ้นเชิงในเรื่องการทิ้งร่องรอยของการทรมาณรีดข้อมูลกับเหยื่อ

ในตอนจบ ยอมรับนะว่าใจหายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในภายหลังกับคนหนึ่งๆ แต่ประโยคปิดหนังของพระเอกนี่..แม่งเอ๊ย

บางทีก็รู้สึกมึนเมาไปกับคำคมปรัชญาที่พระเอกพ่นออกมานะ จะเยอะไปไหน

49569719_2283007945094792_3510678457837158400_o.jpg

Le livre d’image / The Image Book (2018)

The Image Book (2018).jpg

 

Le livre d’image / The Image Book (2018 / Jean-Luc Godard)
(France / Switzerland)

หนังแบ่งออกเป็น 5 บท ที่เปรียบเสมือนนิ้วทั้ง 5 นิ้ว ที่จะไล่เรียงนำพาไปสู่แก่นกลางช่วงสุดท้ายที่เปรียบเสมือนฝ่ามือ (เชื่อผม ผมลอกข้อสอบมา จากที่นี่)

ถ้าเอาคร่าวๆ เลย ก็เหมือนเดิม เหมือนกับ Goodbye to Language คือไม่รู้เรื่องและไม่คิดดื้อด้านเพื่อให้รู้เรื่องด้วย เหนื่อยเปล่า
ภายใน 4 บทแรก ก็เหมือนน้ำ พอเริ่มบทถัดไปเท่านั้นแหละเนื้อมาเลย จากภาพ(สี,แสง,สัดส่วนภาพยับเยินวุ่นวาย)-เสียง(หลากหลายภาษาเบาบ้างดังบ้างติดๆดับๆ)-ซับ(นึกอยากแปลตรงก็ขึ้นซับให้ตรงนั้น) แบบเฉี่ยวหน้าไปมาวูบวาบจนรู้สึกได้ว่ามันแทบจะไม่ได้เป็นส่วนเดียวกันเลยซักนิด (จะยกเว้นก็แค่ภาพรวมในแต่ละบทที่ยังคงเป็นไปตามหัวเรื่องของบทนั้นๆ) พอเข้าบท 5 แล้วลากยาวไปจนจบ เนื้อที่ว่าคือสามสิ่งที่ว่าไว้ ที่เคยเฉี่ยวหน้าไปมา ก็ค่อยๆ จับมือเคลื่อนกายไปพร้อมๆ กัน จนสามารถสัมผัสได้ว่าโครงเรื่องในบทสำคัญส่วนนี้ มันเน้นพูดถึงเรื่องหรือบทบาทอะไรเป็นสำคัญ (เนื้อหาไปในทางไหน ไปอ่านเพิ่มได้ในข้อสอบที่ลิ้งก์ด้านบนแทนละกัน)

ชอบซีนจบปิดหนังมาก มันคือความเที่ยงบนโลกนี่แหละ อาจจะเคยมีสุข แฮปปี้ เฮฮาสนุกสนาน เริงร่า แต่ถ้าจู่ๆ คุณล้มลงท่ามกลางความสุขที่แล้ว คนรอบข้างคงตกใจและใจเสียน่าดู ซึ่งก็อาจยกตัวอย่างลวกๆ ได้ประมาณ ประเทศที่เคยแข็งแกร่ง ประชาชนมีสุข แต่เมื่อผู้นำเปลี่ยนไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ส่งผลให้ประเทศพินาศ ผู้คนประชาชนล้มตายจากพิษการปกครองประเทศที่เกิดขึ้น …อะไรก็ว่ากันไป

Numéro deux / Number Two (1975)

Number Two (1975).jpg

 

Numéro deux / Number Two (1975 / Jean-Luc Godard)
(France)

ช่วงต้นเรื่องประมาณ 10-20 นาทีแรกน่าจะเป็นการพูดถึงใจความสำคัญจากหนังของ Godard รูปแบบหนังแบบภาพสองจอ หรือจอเดียวแต่แทรกสองภาพ รวมไปใช้เสียงแบบสองแทร็คเสียง ตรงภาพมั่ง ไม่ตรงภาพมั่ง แล้วแต่ใจผู้กำกับ ซึ่งช่วงต้นนี้ Godard พูดแบบร่ายยาวเลย ที่ฉันว่า “น่าจะ” นั่นก็เพราะ ฉันหลับจ้า หลับใส่ Godard แบบไม่มีคำว่าเกรงใจกันเลย

ถึงอย่างไร ไอ้เรื่องราวครอบครัว+เซ็กส์ที่ถูกเล่าออกมามันก็มีความสนใจแล้วน่าติดตามอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะฉากกลางเรื่องน่าจะเป็นฉากที่แรงอยู่ แต่มันก็สื่อสารได้ตรงจนน่ากลัวมากๆ โดยมันเริ่มมาจากลูกชายที่ถามแม่ว่า “ถ้าแม่มีเซ็กส์ ขอผมเข้าไปนั่งดูได้มั้ย”
แล้วฉากที่ว่าคือพ่อแม่อยู่บนเตียงแก้ผ้าเห็นทั้งหมอยทั้งควย เรียกลูกชายกับลูกสาวมานั่งบนเตียง แล้วสอนเรื่องเพศโดยสื่อออกมาว่ามันคือการพูดคุยสื่อถึงกันระหว่างสามีภรรยา แม่ชี้ไปที่จิ๋มบอกว่า “นี่คือริมฝีปาก” พ่อชี้ไปควยตัวเองบอกลูกว่า “นี่คือปาก” “แล้วเมื่อมีเซ็กส์กัน พ่อก็จะเอาปากใส่เข้าไปในริมฝีปากของแม่” ลูกสาวก็สงสัย “อย่างนี้มันก็เงียบน่ะสิ” แม่ก็บอก “ถูกจ่ะ เซ็กส์ก็คือการพูดคุยกันอีกรูปแบบหนึ่ง” พ่อก็เสริมแบบตลกร้ายว่า “ถ้าเราเอานี้วชี้ไปจ่อที่ริมฝีปาก ก็หมายถึงอีกฝ่ายควรหยุดพูด”

ประโยคส่วนนี้อาจเป็นคำสอนที่ดี แต่ในชีวิตคู่ของพ่อแม่มันกลับไม่ใช่การพูดคุยสื่อถึงกันด้วยดีแบบที่ประโยคนี้ เพราะไม่ได้มีเซ็กส์กัน ส่วนหนึ่งคือพ่อควยไม่แข็ง มันเลยกลายเป็นการพูดคุยแบบปกตินั้นไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตคู่ได้เพียงทางเดียว ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ก็มีแอบบอกที่มาที่ไปที่น่าจะเป็นปัญหาของตัวสามีที่ควยไม่แข็งในภายหลัง … จากประโยคกลางเรื่อง มันจึงกลายเป็นการบอกผ่านๆ ว่า ชีวิตคู่ที่ดีนั้น สามีภรรยาควรพูดคุยกันให้มาก ทั้งคุยกันปกติแล้วคุยกันด้วยปากด้านล่าง 

42156489_2121818577880397_4878773236948533248_n.jpg


ทีนี้ตอนจบของ Numéro deux มันวนกลับมาภาพ Godard เหมือนตอนต้น พอฉันหลับใส่ช่วงต้นไปซะหมด จึงทำให้ตอนจบปล่อยเลยตามเลย ไม่พยายามเก๊ตอะไรตามทั้งนั้น (ฮา)

First Name: Carmen (1983)

First Name Carmen (1983).jpg

 

First Name: Carmen (1983 / Jean-Luc Godard)
(France)

กลัวแล้วจ้า ถึงอย่างนั้นหนังมันก็ไม่ได้เหวอเซอร์แตกเกินเลยไป แต่ความเอาแน่เอานอนไม่ได้ในโครงสร้างของหนังเรื่องนี้แหละ คืออะไรที่สมกับเป็น Godard มาก (Jean-Luc Godard รับบท Jean-Luc Godard ผู้กำกับหนังมึนๆ)

ระหว่างดูไปตอนยังไม่ถึงครึ่งเรื่อง ก็มองว่าหนังมันเหมือนแยกเลเยอร์เอาไว้ เรื่องของกลุ่มผู้ร้ายที่หนึ่งในนั้นคือคาเมนผู้หญิงสวยได้ตกหลุมรักกับตำรวจหนุ่มที่ธนาคารตอนปล้นและยิงใส่กัน รวมไปถึงความสัมพันธ์คาเมนกับโกดาร์ดในต้นเรื่องด้วย กับเรื่องของกลุ่มนักดนตรีเครื่องสายที่ฝึกซ้อมกันอย่างหนัก แล้วระหว่างการตัดไปมา มันก็ดันเชื่อมถึงได้อย่างพอเหมาะพอเจาะอีก ดูเป็นความตั้งใจในจังหวะท่าทีของเพลงที่ซ้อมกันมันลงตัวกับหลายๆ ฉากของพวกคาเมนจนสามารถเรียกว่านี่คือสกอร์ของหนังในช่วงนั้นๆ ได้
แล้วมันจะมีอีกเลเยอร์ที่ตอนแรกฉันไม่เข้าใจว่าจะสื่อถึงอะไรกันแน่กับพวกคาเมน ก็คือภาพทะเลและเสียงคลื่น ที่ตัดสลับผสานไปมาระหว่างสามเลเยอร์ที่ว่านี้ ..จนมาเก๊ตในช่วงท้ายว่าทะเลและเสียงคลื่นมีความหมายยังไงก็ตอนที่ตำรวจเอ่ยถึงนั่นแหละ
แล้วก็ในช่วงหลังๆ นี่อีกนั่นแหละที่ทำให้การมองว่าหนังมันแยกเลเยอร์ของฉันต้องปัดตกไป เพราะสุดท้ายทุกคนที่ได้เห็นมาในหนังนั้นก็มีความเกี่ยวข้องกันพบหน้ารู้จักกันหมดนั่นแหละ

พอเก๊ตความหมายของทะเลและเสียงคลื่น มันก็ทำให้รู้สึกภาพฉากจบของหนังเอามากๆ

Alphaville (1965)

Alphaville.jpg

 

Alphaville (1965 / Jean-Luc Godard)
(France / Italy)

แรกเริ่มเลยนึกว่าเป็นหนังสายลับ แต่พอดูไปประมาณ 10-20 นาที ก็รู้สึกแปลก ๆ พบอะไรที่ไม่เข้าใจตามไม่มันเยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะพฤติกรรมความพิลึกและวิถีชีวิตของผู้คนที่นี่ จนอดนึกสงสัยไม่ได้ว่านี่มันดาวดวงไหนกัน สุดท้ายมันก็จริงตามที่สงสัยไว้เลย ที่นี่ Alphaville คือดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลก คนจากดาวอื่นจะถูกเรียกว่าคนต่างแดน แล้วเขาคนนี้ก็คือสายลับที่ถูกส่งมายัง Alphaville แห่งนี้เพื่อทำภารกิจสำคัญ ในเวลาเดียวกันเขาก็พบรักกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ Alphaville แห่งนี้

ที่ว่าตามไม่ทันไม่เข้าใจนั้น มันคืออารมณ์เดียวกับสายลับคนนี้เลยที่สงสัยงงไม่เข้าใจกับบางสิ่งบางอย่างที่ Alphaville แห่งนี้เป็นอยู่ แต่พอดูไปเรื่อย ๆ เราก็จะเริ่มเข้าใจแต่ตามทันว่าอะไรเป็นอะไรแบบสายลับคนนี้ค่อย ๆ เข้าใจ ว่าพื้นฐานการใช้ชีวิตของผู้คนที่ Alphaville มันดำเนินโดยยึดอะไรเป็นหลักแล้วมันต่างกับความเป็นมนุษย์ที่โลกเราแบบไหนกัน หลัก ๆ เลย Alphaville คือการปกครองโดยยึดตรรกะความถูกต้องแบบเส้นตรงเป็นหลักจนผู้คนแทบจะไร้อารมณ์และความรู้สึก ถ้าใครมีอารมณ์ร่วมมีความรู้สึกอ่อนไหวก็จะถูกประหาร คนต่างแดนบางจำพวกเป็นที่ต้องการของ Alphaville ในเรื่องแนวคิดความรู้ก็จะถูกล้างสมองด้วยโฆษณาชวนเชื่อที่นี้จนกลายเป็นหนึ่งเดียวกับ Alphaville
สิ่งหนึ่งเลยที่ชอบคือการเซนเซอร์ริบรอนศัพท์ตำพูดทิ้งไปจาก Alphaville บางคำเคยมีแต่ก็โดนลบจนไม่สามารถหาความหมายได้ว่ามันหมายถึงอะไรในภายหลัง แล้วการพูดคำศัพท์ที่ถูกริดรอนลบหายไปนั้นมันกลายเป็นสิ่งต้องห้าม อาจมีความผิดติดตัวถูกจับได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงค่อย ๆ กลายสภาพเป็นเหมือนหุ่นยนต์ที่ถูกผู้มีอำนาจเป็นฝ่ายจูงจมูกให้ทำตามแต่เพียงผู้เดียว
แต่การที่ Alphaville เป็นแบบนี้บางสิ่งมันจึงกลายเป็นกำแพงที่สมองกลไม่สามารถก้าวข้ามได้ นั่นคือการแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์ที่สมองกลไม่อาจเข้าใจได้ การแฝงความรู้สึกใส่ลงไปในบทกวี ในปรัชญาคือสิ่งที่สมองกลไม่สามารถวิเคราะห์ทำความเข้าใจว่าได้ว่าบทกลอน ปรัชญา กวีเหล่านั้นมันหมายถึงอะไร

กราบโกดาร์ด นี่คือหนังที่มาก่อนกาล คือระหว่างที่นั่งดูหนังเรื่องนี้ในหัวก็คิดถึงหนังในยุคสมัยนี้ที่ใช้รูปแบบความผิดเพี้ยนของมนุษย์ในมุมที่แหกคอกออกไปจากโลกความเป็นจริง เท่าที่นึกออกก็มี Dogtooth กับ Lobster สองเรื่องนี่แหละ (อาจมีเรื่องอื่นอีกแต่นึกไม่ออก) ที่ให้อารมณ์ใกล้เคียงกัน

Alphaville2.jpg

Breathless (1960)

Breathless

 

Breathless (1960)

ไอ้เรานี่ก็แปลก Jean-Luc Godard ชื่อนี้ได้ยินรู้จักมานานแต่ยังไม่มีโอกาสได้ดูหนังของเขาซักเรื่องเลย แต่แทนที่จะเปิดซิงหนัง Godard เรื่องแรกกลับกลายเป็นหนังเรื่องล่าสุดของเขา(เมื่อปีที่แล้ว)อย่าง Goodbye to Language (2014) ไปซะได้ (3Dในโรงด้วย เหวอแดกไปเลย) จากนั้นก็วกกลับมาดู Breathless หนังยาวเรื่องแรกของเขาเป็นลำดับที่สองถัดมา

ส่วนเรื่องเทคนิคการตัดต่อแบบ Jump cut นี้ พอดีมารู้จักเอาในยุคหลัง ๆ แล้ว ยุคที่ Jump cut นั้นกลายเป็นความธรรมดาทั่วไป กลับกันตอนที่คิดจะดูเรื่องนี้ หนังเป็นจุดดำเนิด Jump cut ก็ได้หลอกตัวเองก่อนดูว่า ให้ย้อนกลับไปยังช่วงที่ยังไม่รู้จัก Jump cut แล้วเราก็กำลังนั่งดูหนังที่ใช้ Jump cut เป็นเรื่องแรกเชียวนะ
ผลตอบรับที่ได้คือความทึ่งและรู้สึกถึงความสดใหม่ไปกับหนังพร้อม ๆ กัน ก็พี่แกเล่น Jump cut แบบไม่บันยะบันยังเลย ขับรถอยู่ก็ Jump cut ตอนกำลังคุยกันก็ Jump cut ระหว่างเดินเคลื่อนที่ทำอะไรซักอย่างก็ Jump cut บางทีก็เล่น Jump cut ข้ามช่วงเวลาหนึ่งไปเลย คุยกันบนเตียงผู้หญิงใส่ชุดหนึ่ง ตัดมาอีกที บนเตียงกลายเป็นช่วงเวลาถัดมา ผู้หญิงใส่เสื้ออีกชุดแล้ว แต่เพื่อให้หนังกลมกล่อมไม่ได้โดดฉับลูกเดียว ฉาก Long take ถ่ายแบบไหลไปเรื่อย ๆ จึงเข้ามาถ่วงดุล จนรู้สึกถึงความพอดีสมส่วนในตัวหนังได้ว่าเทคนิกการถ่ายทำทั้งหลายนั้นไม่ได้ทำลายหรือโดดเด่นกลบเรื่องราวความรักเรียบง่ายของหนุ่มสาวทั้งคู่ไปได้เลย

แต่ในส่วนเรื่องรักของทั้งคู่นั้นดูไปก็รู้สึกว่ามันง่ายไป ผู้ชายเป็นโจรที่ยกระดับตัวเองเป็นอาชญากรโดยไม่ได้ตั้งใจ ความเก่งของเขาคือความไหลลื่นในการใช้ชีวิตที่มีความผิดตามตูดอยู่อย่างง่ายดาย เขากลับมาหาหญิงอเมริกันที่เคยกิ๊กกันมาก่อนหลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะพบว่าตนรักผู้หญิงคนนี้แบบถอนตัวไม่ออก (แน่นอนเขาให้ความสำคัญกับตามติดอยู่กับผู้หญิงคนนี้ไปพร้อมกับการหลบสายตำรวจแบบไหลลื่น) ส่วนตัวผู้หญิงนั้นแรกเริ่มนันเธอตั้งการ์ดไว้ว่าไม่เปิดโอกาสให้ชายคนนี้(ที่เธอยังไม่รู้ว่าเขาเป็นโจรและก่อเหตุมา) แต่พอการ์ดเธอตกหัวใจเธอก็อยู่ในกำมือชายคนนั้นไปพร้อม ๆ กับความรู้สึกเธอที่รักชายคนนี้ จากสิ่งที่เห็นมาตลอดมันจึงเป็นเหตุผลที่ฉันสงสัยจังว่าทำไมเธอนั้นแสดงความรักกับเขากันง่ายถึงขนาดนี้
จะมาหายข้องใจก็ในช่วงท้ายใกล้จบ เธอมีเหตุผลของเธอที่เธอเคยพูดกับเขาไว้ในช่วงตอนคุยบนเตียงกับเขาในห้องเธอ เธอต้องการแน่ใจว่าเธอต้องการรักเขาหรือต้องการเลิกรักเขากันแน่ …

แล้วก็เหมือนผู้ชายทุกคนที่ได้รับชมเรื่องนี้ ที่ล้วนแต่ตกหลุกรักคลั่งไคล้หลงไหล Jean Seberg สาวผมสั้นทองกันทุกคนแบบถอนตัวไม่ขึ้น ❤

Goodbye To Language 3D (2014)

Goodbye To Language 3D

 

Goodbye To Language 3D (2014)

เนื้อเรื่องคืออะไร..ไม่รู้ ความสัมพันธ์ของบุคคลตัวละครที่ปรากฏทั้งหมดไม่ชัดเจน เสียงพูด,บทสนทนาที่ไม่สัมพันธ์กับภาพ ภาพที่ไม่รู้ความหมาย ซับไตเติ้ลขี้อายที่มีมั่งไม่มีมั่ง ดนตรี+การตัดต่อที่แปลกประหลาดขาด ๆ เกิน ๆ อย่างตั้งใจและแสบสัน
และที่เป็นตัวชูโรงของหนังคือระบบ 3D ที่ค่อนข้างแหกคอกจากหนัง 3D ทั่วไปหลายขุม หนัง 3D ทั่วไปคือการทำให้ผู้ชมรับรู้ถึงความตื้นลึกมีมิติพุ่งเข้าหน้า สำหรับเรื่องนี้รูปแบบ 3D เหมือนหนังอื่น ๆ ก็มีไม่ให้เห็นต่างกัน แต่ก็ยังแอบใส่ลูกเล่นส่วนตัวมากวนผู้ชมอยู่บ่อยครั้ง ทั้ง 3D แบบแฮนเฮลกล้องส่าย,3D ที่ไม่เนียนเหลื่อมออกมาอย่างเห็นได้ชัด อะไรพวกนี้มันช่างชวนปวดลูกตาจริง ในส่วนที่ต้องอึ้งในลูกเล่น 3D จริง ๆ คือการใช้ประโยชน์ของภาพทับซ้อนซ้าย-ขวาของระบบ 3D เช่นการใช้เฉดสีที่ต่างกันทั้งซ้ายและขวา เมื่อรวมกันแล้วมันจึงดูประหลาดขึ้น

-spoiler- Read More…